โคลนติดล้อ บทความปลุกใจในรัชกาลที่ 6

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

เป็นที่รู้กันดีกว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ของเรานั้น ทรงโปรดงานด้านวรรณกรรมมาตั้งแต่ยังเยาว์ และเริ่มงานวรรณกรรมตั้งแต่ยังทรงศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ทำให้มีผลงานในพระราชนิพนธ์มากมายหลายเรื่อง และแตกต่างกันออกไป ที่ผ่านมาน้อง ๆ คงจะได้เรียนมาหลายเรื่องแล้ว บทเรียนในวันนี้ก็จะพาน้อง ๆ ไปรู้จักกับผลงานของพระองค์อีกเรื่องหนึ่ง แตกต่างจากเรื่องก่อน ๆ ที่เคยเรียนมาอย่างแน่นอน เพราะเรากำลังพูดถึงโคลนติดล้อ ผลงานในพระราชนิพนธ์ที่อยู่ในรูปแบบของบทความ จะมีที่มา มีเนื้อหาที่น่าสนใจอย่างไรบ้างนั้น เราไปติดตามกันเลยค่ะ

 

ที่มาของ โคลนติดล้อ

 

โคลนติดล้อ

 

โคลนติดล้อ เป็นผลงานพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้นามแฝงว่า อัศวพาหุ ซึ่งเป็นพระนามแฝงที่ทรงใช้สำหรับบทความตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทย ฉบับ 28 เมษายน – 3 มิถุนายน พ.ศ. 2458 และต่อมา หนังสือพิมพ์สยามออบเซอร์เวอร์ (Siam observer) ได้นำมาพิมพ์ลงไว้อีกครั้งในชื่อว่า Clogs on our wheels
โดยพระประสงค์ของการพระราชนิพนธ์เรื่องโคลนติดล้อมาจากการที่พระองค์ต้องการจะปลุกใจให้คนไทยรักชาติและชี้ให้คนไทยได้เห็นถึงข้อบกพร่องของตนเองซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้าช้ากว่าที่ควร

 

โคลนติดล้อ

 

บทความเรื่องโคลนติดล้อของรัชกาลที่ 6 ได้รับความนิยมมาก มีคนติดตามอ่านเยอะ จนพระยาวินัยสุนทรที่ใช้นามปากกาว่า “โคนันทวิศาล” ได้เขียน ล้อติดโคลน เป็นบทความโต้ตอบ แสดงให้เห็นว่ารัชกาลที่ 6 ทรงยอมรับคำวิจารณ์จากผู้อื่น ซึ่งเป็นแบบอย่างของเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่ดี

 

โคลนติดล้อ

 

ลักษณะคำประพันธ์

 

ลักษณะการประพันธ์เป็นบทความ เนื้อหาแสดงความคิดเห็น มีทั้งหมด 12 บท บทที่ 12 จบด้วยกาพย์ยานี 11 จำนวน 4 บท

 

โคลนติดล้อ มีทั้งหมด 12 ตอน

 

 

1.การเอาอย่างโดยไม่ตริตรอง – เอาอย่างชาวตะวันตกโดยไม่คิด ควรริเริ่มทำอะไรด้วยตัวเอง

2.การทำตนให้ต่ำต้อย -ไม่นับถือตัวเอง อาศัยชาวตะวันตกมากไป

3.การบูชาหนังสือจนเกินเหตุ – เชื่อหนังสือพิมพ์มากเกินไป จนอคติกับรัฐบาล

4.ความนิยมเป็นเสมียน – คนหนุ่มสาวไม่คิดจะประกอบอาชีพอื่นนอกจากงานเสมียน

5.ความเห็นผิด – คิดว่าตามฝรั่งแล้วจะถูกต้องเสมอ ทั้งที่ผิดจริยธรรมก็เห็นว่าดี

6.ถือเกียรติไม่มีมูล – มีบางคนคิดว่าคนมีความเสมอภาคกัน จึงไม่เคารพผู้ใหญ่ ผู้ที่เคารพคือพวกประจบ

7.ความจนไม่จริง – คนไทยจริงๆ ไม่ได้จน แต่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เป็นหนี้พนัน จึงจน

8.แต่งงานชั่วคราว – ถูกคลุมถุงชน จึงเป็นปัญหาแก่ฝ่ายหญิง ยิ่งถ้ามีลูกยิ่งลำบาก

9.ความไม่รับผิดชอบของบิดามารดา – ชายหญิงแต่งงานกัน มีลูก เลิกกัน แล้วไม่รับผิดชอบลูก

10.การค้าสาว – ชายซื้อเมียน้อย เมื่อไม่ต้องการก็ทิ้งขว้าง

11.ความหยุมหยิม – นิสัยใจแคบ เห็นแก่ตัว ชอบจับผิดคนอื่น

12.หลักฐานไม่มั่นคง -ผู้มีหลักมีฐานไม่มั่นคง แต่ยังบกพร่องในหน้าที่ ชอบเล่นการพนัน

 

เรื่องย่อ โคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน

 

ความนิยมเป็นเสมียน เป็นบทความลำดับที่ 4 ใน 12 บทความของเรื่องโคลนติดล้อ โดยเสมียน หมายถึง ผู้ทำหน้าที่เกี่ยวกับหนังสือหรืองานธุรการ เป็นงานที่นิยมทำในหมู่คนมีการศึกษาและไม่สนใจกลับไปทำการเกษตรในบ้านเกิดของตัวเองซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์มากกว่าการเป็นเสมียน คนเหล่านี้นิยมใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯ และมองว่าการทำงานอย่างอื่นไม่สมเกียรติจึงต้องทนอยู่ในกรุงเทพฯ ทั้งที่เงินเดือนไม่มากแต่ก็ยังจับจ่ายใช้สอยเพื่อความสบายต่าง ๆ เช่น ดูหนัง กินข้าวตามร้านอาหาร ถ้าคนเรายังมีค่านิยมที่เห็นว่าการเป็นเสมียนมีศักดิ์ศรีสูงกว่าการเป็นชาวนา ชาวสวน หรือพ่อค้า คนก็มักจะทะเยอทะยาน อยากเป็นเสมียน เมื่อกระทรวงทบวงการคัดเลือกเสมียนที่มีมากเกินความจำเป็นออก บุคคลเหล่านี้จะไม่สามารถไปทำงานอื่นได้ เพราะเคยทำแต่เสมียนมานาน และไม่อาจไปเป็นชาวนาได้ ด้วยเห็นว่าไม่สมศักดิ์ศรี ไม่สมเกียรติของตัว จึงไม่สามารถไปอยู่บ้านนอกได้ ดังนั้นจึงต้องฝืนอยู่ในเมืองแล้วเป็นเสมียนต่อไป แต่เมื่ออายุมากขึ้นโอกาสที่จะได้งานก็มีน้อยลงตามไปด้วย ในตอนท้ายของบทความ จบด้วยคำถามกระตุ้นให้ผู้อ่านคิดตามมา สมควรหรือไม่ที่จะเปลี่ยนค่านิยมในการเป็นเสมียนแล้วหันไปทำงานอื่น ๆ ที่ทำประโยชน์ได้ดีกว่าการเป็นเสมียน

 

บทความเรื่องโคลนติดล้อ เป็นบทความที่ได้รับความนิยม นอกจากนี้ยังมีความแปลกใหม่สำหรับวงการวรรณกรรมไทยในยุคนั้น ทำให้เห็นพระปรีชาของรัชกาลที่ 6 และภาพสะท้อนของสังคมในยุคนั้น แต่เราไม่ได้จะศึกษากันแค่ที่มากับเนื้อเรื่องนะคะ เพราะบทเรียนต่อไปเราจะพาน้อง ๆ ไปรู้จักวรรณกรรมเรื่องนี้มากขึ้นนะคะว่ามีตัวบทเด่น ๆ และคุณค่าอย่างไรบ้าง สุดท้ายนี้อย่าลืมทบทวนบทเรียนโดยการตามไปดูคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อทบทวนบทเรียนนะคะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

signal words

Signal Words ในภาษาอังกฤษคืออะไร?

สวัสดีน้องๆ ม. 1 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่อง Signal Words ในภาษาอังกฤษว่าคืออะไร และเอาไปใช้ได้อย่างไรได้บ้าง เราไปเริ่มกันเลยครับ

01NokAcademy_Question Tag Profile

การใช้โครงสร้างประโยค Question Tags (ปัจจุบัน)

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป. 6 ที่น่ารักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้ในหัวข้อเรื่อง การใช้โครงสร้างประโยค Question Tags ในรูปแบบปัจจุบัน โดยที่เราจะเจอกลุ่มประโยคในลักษณะนี้ร่วมกับรูปแบบโครงสร้างประโยคและกริยาที่เป็นปัจจุบัน (V. 1 and Present form) พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยค่า ความหมายของ Question Tags   Question แปลว่า คำถาม ส่วนคำว่า Tag จะแปลว่า วลี

ม.1 There is_There are ทั้งประโยคบอกเล่า_ คำถาม_ปฏิเสธ

การใช้ There is/There are ทั้งประโยคบอกเล่า/คำถาม/ปฏิเสธ

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้น ม.1 ที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้ “การใช้ There is/There are ทั้งประโยคบอกเล่า/คำถาม/ปฏิเสธ” กันจ้า ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยเด้อ ตารางแสดงความแตกต่างของ  There is/There are และ  Have/Has นักเรียนลองสังเกตดูความแตกต่างของการใช้ There is/There are กับ Have/has จากตารางด้านล่าง ดูนะคะ

การใช้รูปประโยคคำสั่ง คำขอร้อง คำแนะนำ ที่ใช้ในการเรียน

การใช้รูปประโยคคำสั่ง คำขอร้อง คำแนะนำ ที่ใช้ในการเรียน + การใช้ Can/ Could/ Should

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม. 1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาเรียนรู้เกี่ยวกับ การใช้รูปประโยคคำสั่ง คำขอร้อง คำแนะนำ ที่เจอบ่อยและการใช้ Can, Could, Should กันนะคะ ไปลุยกันเลย   มารู้จักกับประโยคคำสั่ง (Imperative sentence)     รูปแบบและโครงสร้างประโยคคำสั่ง Imperative sentence Imperative sentence ในรูปแบบประโยคบอกเล่าจะ

หลักการใช้คำราชาศัพท์ รู้ไว้ไม่สับสน

เมื่อได้รู้ความหมาย ที่มาและความสำคัญของคำราชาศัพท์ รวมถึงคำศัพท์หมวดร่างกายไปแล้ว น้อง ๆ ก็คงจะสงสัยใช่ไหมคะ ว่าหลักการใช้คำราชาศัพท์ มีอะไรบ้าง และใช้อย่างไร ต้องใช้แบบไหนถึงจะถูก บทเรียนในวันนี้เราจะมาเรียนรู้หลักการใช้คำราชาศัพท์ที่ถูกต้องกันค่ะ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันแลย   หลักการใช้คำราชาศัพท์ กับราชวงศ์ไทย     ลำดับพระอิสริยศักดิ์ของพระบรมราชวงศ์สามารถลำดับอย่างคร่าว ๆ ได้ดังนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระราชินี,

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1