การอ่านบทร้อยกรอง กาพย์และโคลงอ่านอย่างไรให้ไพเราะ

การอ่านบทร้อยกรอง

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

น้อง ๆ คงจะรู้การคำประพันธ์อย่างกาพย์และโคลงกันอยู่แล้วใช่ไหมคะ เพราะวรรณคดีไทยหลาย ๆ เรื่องที่เราเรียนกันมา ก็ใช้กาพย์และโคลงแต่งกันเสียส่วนใหญ่ และหลังจากที่ได้เรียนลักษณะการแต่งกาพย์กับโคลงสี่สุภาพ ให้ไพเราะกันไปแล้ว จะแต่งอย่างเดียวโดยไม่อ่านให้ถูกต้องก็ไม่ได้ใช่ไหมล่ะคะ ดังนั้นบทเรียนวันนี้จะพาร้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง การอ่านบทร้อยกรอง กันบ้าง ว่ามีวิธีอ่านอย่างไรให้ถูกต้องและไพเราะ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

การอ่านบทร้อยกรอง

 

การอ่านบทร้อยกรอง

 

การอ่านบทร้องกรอง ประเภทกาพย์

 

 

จังหวะการอ่านกาพย์

กาพย์แต่ละประเภท จะแบ่งจังหวะดังนี้

 

การอ่านบทร้อยกรอง

การอ่านกาพย์ยานี 11

 

กาพย์ยานีมีจังหวะที่ดำเนินช้า จึงนิยมแต่งในความพรรณนา เช่น ชมนกชมไม้ พรรณนาความสวยงามของธรรมชาติ พรรณนาอารมณ์โศก คร่ำครวญ หรือใช้แต่งบทสวด บทสรภัญญะที่ใช้ในบทละคร เป็นต้น

 

ตัวอย่าง

เรื่อยเรื่อย/มารอนรอน//

ทิพากร/จะตกต่ำ//

สนธยา/จะใกล้ค่ำ//

คำนึงหน้า/เจ้าตาตรู//

 

การอ่านกาพย์ฉบัง 16

 

กาพย์ฉบังจะใช้พรรณนาธรรมชาติที่เคลื่อนไหว พรรณนาอารมณ์คึกคัก สดชื่น รื่นเริง เป็นต้น กาพย์ฉบัง 16 แบ่งจังหวะวรรคแรกและวรรคท้ายเป็น 2/2/2 วรรคกลางเป็น 2/2

 

การอ่านบทร้อยกรอง

 

ตัวอย่าง

สัตว์จำ/พวกหนึ่ง/สมญา

พหุ/บาทา//

มีเท้า/อเนก/นับหลาย//

 

ทำนองการอ่านกาพย์

 

กาพย์ยานี 11

วรรคที่ 1 และ 2 อ่านเสียงให้เป็นกลาง ๆ หรือเสียงสูงในวรรคที่ 2 ส่วนวรรคที่ 3 และ 4 อ่านเสียงสูงขึ้น 1 บันไดเสียง หรืออ่านเสียงสูงเสมอกันทุกวรรค โดยบางวรรคอาจสลับเป็นอ่านเสียงต่ำเพื่อให้เกิดความไพเราะ

กาพย์ฉบัง 16

อ่านเสียงสูงเสมอกันทุกวรรค หรืออ่านวรรคที่ 2 ต่ำกว่าวรรคที่ 2 ต่ำกว่าวรรคอื่น 1 บันไดเสียง

 

การอ่านกาพย์ควรใส่อารมณ์สอดแทรกลงไปในบทที่อ่าน ให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่องและบรรยากาศโดยอาศัยการตีความตัวบทที่จะอ่านให้ถ่องแท้เสียก่อนแล้วอ่านถ่ายทอดอารมณ์ออกมาเป็นท่วงทำนองให้น่าฟัง

 

การอ่านบทร้อยกรอง ประเภทโคลง

 

 

โคลง มีลักษณะการใช้คำที่สั้น กะทัดรัด เนื้อความกระชับ เนื่องจากมีการดำหนดจำนวนจำแต่ละวรรคไม่มากนัก และยังมีคำเอกคำโทอีกด้วย  ทำให้บางคนอ่านแล้วอาจทำให้เสียงหลง แต่ถ้าหากอ่านให้ถูกวิธี การอ่านโคลง ก็จะไพเราะไม่แพ้บทร้อยกรองประเภทอื่นเลยค่ะ

 

การแบ่งจังหวะการอ่านโคลง

 

การอ่านบทร้อยกรอง

 

การอ่านโคลงสี่สุภาพ

 

การอ่านโคลงสี่สุภาพ จะแบ่งจังหวะ 3 บาทแรก เป็น 2/3 และ 2 หรือ 2/2 ถ้ามีคำสร้อย บาทสุดท้ายเป็น 2/3 และ 2/2

 

การอ่านบทร้อยกรอง

 

ตัวอย่าง

ผลเดื่อ/เมื่อสุกไซร้//  มีพรรณ

ภายนอก/แดงดูฉัน//  ชาดป้าย

ภายใน/ย่อมแมลงวัน//  นอนบ่อน

ดุจดั่ง/คนใจร้าย//  นอกนั้น/ดูงาม

 

ทำนองการอ่านโคลงสี่สุภาพ

 

-อ่านด้วยเสียงระดับเดียวกันทั้งบท บางคำขึ้นลงสูงต่ำตามเสียงวรรณยุกต์ ยกเว้นวรรคแรกของบาทที่ 3 จะอ่านเสียงสูงกว่าทุกวรรค 1 บันไดเสียง หรือวรรคสุดท้าย อาจจะอ่านเป็นเสียงต่ำกว่าทุกวรรค 1 บันไดเสียง

-คำสุดท้ายของวรรคหลังบาทที่ 2 หากเป็นเสียงตรี สามารถอ่านได้สองแบบ คือ อ่านผวนเสียงขึ้นสูง หรืออ่านเสียงทบต่ำ

-คำสุดท้ายของบาทที่ 1 หรือ 4 หากเป็นเสียงจัตวา มักอ่านขึ้นเสียงและผวนเสียงขึ้นสูง

 

 

จบไปแล้วนะคะ สำหรับบทเรียนเรื่องการอ่านบทร้อยกรอง ประเภทกาพย์และโคลง เป็นอีกคำประพันธ์ที่เมื่ออ่านแล้วจะมีความไพเราะมาก ไม่ยากอย่างที่คิดเลยค่ะ น้อง ๆ สามารถฝึกอ่านได้ด้วยตัวเอง หรือจะไปฟังคำอธิบายจากครูอุ้มในคลิปการสอนเรื่อง การอ่านบทร้อยกรองได้ รับรองว่าจะสามารถเข้าใจการอ่านและอ่านได้อย่างถูกวิธีมากขึ้นด้วยค่ะ ไปดูกันเลย

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

NokAcademy_ม6 Relative Clause

ทบทวนเรื่อง Relative clause + เทคนิค Error Identification

สวัสดีค่ะนักเรียนม. 6 ที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปดู Relative clause หรือ อนุประโยคในภาษาอังกฤษ ที่ทำหน้าที่เหมือนกันกับคำคุณศัพท์ (Adjective) ซึ่งมีหน้าที่ขยายคำนามที่อยู่ข้างหน้า  และจะใช้ตามหลัง Relative Pronoun เช่น  who, whom, which, that, และ whose แต่สงสัยมั้ยคะว่าทำไมต้องเรียนเรื่องนี้ ลองดูตัวอย่างประโยคด้านล่างแล้วจะร้องอ๋อมากขึ้น พร้อมข้อสอบ Error

NokAcademy_Question ป5 การใช้ Question Words

การใช้ Question Words

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้น ป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาเรียนรู้เกี่ยวกับ Question Words ที่รวมทั้งรูปแบบกริยาช่วยนำหน้าประโยค และรูปแบบ Wh-questions กันนะคะ พร้อมกันหรือยังเอ่ย ถ้าพร้อมแล้วก็ ไปลุยกันเลย   Question words ขึ้นต้นด้วยกริยาช่วย   ทบทวนกริยาช่วยสักนิด Helping verb หรือ Auxiliary verb

ร้อยละ

การคำนวณร้อยละในชีวิตประจำวัน

บทความนี้เราจะได้เรียนรู้ความหมายของคำว่าร้อยละ หรือเปอร์เซ็นต์ รวมทั้งความสัมพันธ์ของอัตราส่วนที่คิดคำนวณเป็นร้อยละ หรือเปอร์เซ็นต์ ที่จะทำให้เราสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน

กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น ปก

กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น

บทความนี้จะเป็นการสอนวิธีการเขียน กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น ซึ่งทำได้โดยการหาความสัมพันธ์ของจำนวนสองจำนวน เขียนให้อยู่ในรูปคู่อันดับ และเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ข้างต้น ซึ่งน้องๆสามารถศึกษาการเขียนกราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้นเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น ⇐⇐ คู่อันดับ กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น เขียนแสดงความเกี่ยวข้องของปริมาณสองปริมาณที่กำหนดให้ โดยความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสองปริมาณที่พบในชีวิตประจำวัน เช่น ปริมาณของน้ำประปาที่ใช้กับค่าน้ำ ปริมาณเวลาในการใช้โทรศัพท์กับค่าโทรศัพท์ ระยะทางที่โดยสารรถประจำทางปรับอากาศกับค่าโดยสาร ปริมาณของกระแสไฟฟ้ากับค่าไฟฟ้า เป็นต้น เราสามารถเขียนแสดงความสัมพันธ์เหล่านี้ในรูปตาราง แผนภาพ คู่อันดับ รวมทั้งแสดงในรูปของกราฟได้ ซึ่งในหัวข้อนี้ เราจะทำความรู้จักกับคู่อันดับกันก่อนนะคะ

แบบฝึกหัดการให้เหตุผล

แบบฝึกหัดการให้เหตุผล

แบบฝึกหัดการให้เหตุผล   แบบฝึกหัดการให้เหตุผล ประกอบไปด้วยการให้เหตุผลแบบอุปนัยและการให้เหตุผลแบบนิรนัย ซึ่งแบบฝึกหัดนี้จะช่วยให้น้องๆได้ฝึกฝนการทำโจทย์จนน้องๆเชี่ยวชาญและส่งผลให้น้องๆทำข้อสอบได้แบบไม่ผิดพลาด ถ้าเรารู้เฉยๆเราอาจจะทำข้อสอบได้แต่การที่เราฝึกทำโจทย์ด้วยจะทำให้เราทำข้อสอบได้แน่นอนค่ะ แบบฝึกหัดเพิ่มเติมและข้อสอบ O-Net ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นข้อสอบ O-Net ของปีก่อนๆ   1.) พิจารณาการอ้างเหตุผลต่อไปนี้ ก. เหตุ 1. ถ้าฝนไม่ตกแล้วเดชาไปโรงเรียน   2. ฝนตก      ผล   

การสร้างตารางค่าความจริง

บทความนี้เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างตารางค่าความจริงของประพจน์ เป็นเนื้อหาที่ไม่ยากมากหลังจากน้องๆได้อ่านบทความนี้แล้ว น้องๆจะสามารถสร้างตารางค่าความจริงได้ สามารถบอกได้ว่าประพจน์แต่ละประพจน์เป็นจริงได้กี่กรณีและเป็นเท็จได้กี่กรณี และจะทำให้น้องเรียนเนื้อหาเรื่องต่อไปได้ง่ายยิ่งขึ้น

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1