พระบรมราโชวาท จดหมายของร.5ที่เขียนถึงพระโอรส

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

พระบรมราโชวาท เป็นจดหมายร้อยแก้วที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เขียนให้พระโอรสทั้ง 4 พระองค์ก่อนจะไปศึกษาต่างประเทศ เหตุใดเนื้อความในจดหมายถึงกลายเป็นวรรณคดีอันทรงคุณค่าให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา บทเรียนในวันนี้จะพาไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเนื้อหาโดยรวมของเนื้อความเพื่อให้เข้าใจถึงคำสอนและข้อคิดจากพระบรมราโชวาทของพระมหากษัตริย์ในแง่มุมของพ่อสอนลูก จะเป็นอย่างไรไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

ประวัติความเป็นมา

 

พระบรมราโชวาท

 

วรรณคดีเรื่องพระบรมราโชวาท เป็นคำสั่งสอนของรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีต่อพระราชโอรสทั้ง 4 พระองค์ที่กำลังจะเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศ พระองค์จึงมีพระบรมราโชวาทเพื่อสั่งสอนและตักเตือนพระราชโอรส ซึ่งในการส่งไปศึกษาต่อในครั้งนี้ พระองค์ทรงเล็งเห็นว่า การศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาประชาชนและประเทศชาติ

 

พระบรมราโชวาท

 

พระโอรสทั้ง 4 พระองค์ มีดังนี้

1. พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์

ดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมพระจันทบุรีนฤนาถ หลังจากนั้นทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติและเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์ อีกทั้งยังทรงดำรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรี (ที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์) ในสมัยรัชกาลที่ 7 และต่อมาทรงเป็นต้นราชสกุล “กิติยากร” ซึ่งมาจากพระนามของพระองค์นั่นเอง

2. พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์

ดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ หลังจากนั้นทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมและเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ทรงได้รับยกย่องว่าเป็น “พระบิดาแห่งกฎหมายไทย” จึงเกิดวันรพีขึ้นนั่นเอง นอกจากนั้น ยังทรงเป็นต้นราชสกุล “รพีพัฒน”

3. พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม

ดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมหลวงปราจิณกิติบดี และทรงดํารงตําแหน่งราชเลขาธิการ (หมายถึงเลขาธิการของพระมหากษัตริย์) ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงเป็นต้นราชสกุล “ประวิตร” อีกด้วย

4. พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช

ดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก รวมถึงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม และยังทรงเป็นต้นราชสกุล “จิรประวัติ”

 

พระบรมราโชวาท

 

เนื้อหาในวรรณคดีเรื่อง พระบรมราโชวาท

 

พระบรมราโชวาท

 

เนื้อเรื่องเป็นการสั่งสอนพระโอรส โดยเริ่มต้นพูดถึงจุดประสงค์ในการส่งพระโอรสไปศึกษาเล่าเรียนยังต่างประเทศ ต่อมาพูดเรื่องเงินที่มอบให้ซึ่งเป็นเงินส่วนพระองค์เพื่อป้องกันข้อครหาจากชาวบ้าน จะใช้อย่างไรก็ได้แต่ต้องใช้ให้เกิดคุณค่าที่สุดโดยแนะนำให้นำไปฝากธนาคารเพื่อกินดอกเบี้ยโดยให้ผู้ดูแลเป็นธุระถอนเงินออกมาให้เพราะยังไม่มีพระโอรสคนไหนอายุถึง 21 ปี และยังกำชับอีกว่าการส่งลูกไปเรียนก็เหมือนการแบ่งมรดกให้ลูกไปศึกษาหาความรู้

ต่อมา พูดถึงการเกิดมามียศ การรับราชการถ้าจะให้ยศต่ำก็ไม่สมควร แต่หากจะให้ยศสูงก็เกรงใจว่าความรู้ความสามารถจะไม่ถึง จึงอยากให้ลูก ๆ ตั้งใจเรียนเพื่อนำความรู้กลับมาพัฒนาประเทศชาติ อย่าทำตัวไร้ประโยชน์ อย่าถือตัวว่าเป็นลูกพระเจ้าแผ่นดินแล้วจะทำอะไรไม่ดีกับใครก็ได้ และยังได้ทรงย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้เงินว่าไม่ควรฟุ่มเฟือย อย่าก่อหนี้สิน

เนื้อหาต่อไปในจดหมายพูดถึงวิชาที่ควรศึกษา โดยต้องการให้ศึกษาวิชาเลขและภาษาทั้ง 3 ภาษาคือภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาเยอรมัน แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่อยากให้ละเลยภาษาไทย ควรฝึกภาษาไทยอยู่เสมอเนื่องจากว่าอย่างไรก็ต้องกลับมาทำงานที่ประเทศไทย และยังแนะว่าไม่ให้พูดไทยคำอังกฤษคำ และสุดท้ายคือการบอกกับพระโอรสว่ากรมหมื่นเทวะวงษ์วโรประการจะเป็นผู้ดูแลทุกอย่าง

 

เมื่อสรุปออกมาแล้วจะได้ใจความหลัก ๆ ทั้ง 7 ข้อดังนี้

1. ไม่ให้ถือตัวว่าเป็นเจ้า ถึงแม้ว่าพระโอรสทั้ง 4 จะเป็นลูกของกษัตริย์ แต่ก็ไม่ให้เจ้ายศเจ้าอย่าง เพราะหากแสดงตัวว่าเป็นเชื้อพระวงศ์ก็จะถูกจับตามอง จึงให้ตัวเหมือนสามัญชน

2. มรดกที่ประเสริฐกว่าทรัพย์คือความรู้ เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเรียน

3. ตั้งใจอุตสาหะเล่าเรียนเพื่อทำคุณแก่บ้านเมือง เนื่องจากว่าต่างประเทศมีความเจริญรุ่งเรืองกว่าประเทศไทยมาก พระองค์จึงหวังให้พระโอรสทั้ง 4 นำความรู้ที่ได้เล่าเรียนมากลับมาพัฒนาชาติของตัวเองให้เจริญรุ่งเรืองทัดเทียมกับนานาประเทศ

4. อย่าถือตัวว่าเป็นลูกพระเจ้าแผ่นดิน จงประพฤติตัวให้ดี เป็นการตักเตือนให้ประพฤติตัวให้ดี ไม่มีข้อยกเว้นแม้จะเป็นลูกกษัตริย์

5. จงประหยัด อย่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย อย่าก่อหนี้ และกำชับเงินที่ส่งไปศึกษาเล่าเรียนนั้นเป็นเงินส่วนพระองค์ซึ่งได้มาจากประชาชน

6. วิชาที่ต้องเรียนคือ ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน และวิชาเลข

7. กรมหมื่นเทวะวงษ์วโรประการเป็นผู้คอยดูแลทุกอย่างให้พระโอรสทั้ง 4 พระองค์

 

พระบรมราโชวาท

 

น้อง ๆ สามารถอ่านวรรณคดีเรื่องพระบรมราโชวาทฉบับเต็มได้ที่ หอสมุดแห่งชาติ

 

สำหรับบทเรียนประวัติความเป็นมาวรรณคดีเรื่องพระบรมราโชวาทก็จบลงไปแล้วนะคะ น้อง ๆ จะได้เห็นเรื่องราวคร่าว ๆ ไปแล้ว แต่ในบทเรียนครั้งต่อไป น้อง ๆ จะได้เจาะลึกถึงตัวบทเด่น ๆ เรียนรู้คำศัพท์และศึกษาคุณค่าของบทประพันธ์ค่ะ แต่ก่อนที่จะไปเรียนเรื่องนั้น น้อง ๆ ก็อย่าลืมทบทวนเนื้อหาที่ได้เรียนกันไปโดยการเปิดคลิปการสอนของครูอุ้มระหว่างทบทวนบทเรียน ครูอุ้มอธิบายเนื้อหาหลัก ๆ ทั้ง7ข้อให้ออกมาเข้าใจอย่างง่าย ไม่ยากเลยค่ะ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยนะคะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

เตรียมสอบเข้า ม.1 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

เตรียมสอบเข้าม.1 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สวัสดีค่ะน้อง ๆ วันนี้มาพบกับพี่แอดมินและ Nock Academy อีกเช่นเคย ซึ่งเรายังคงอยู่กับหัวข้อของการเตรียมสอบเข้าม.1กันนะคะ วันนี้แอดมินจะพาน้อง ๆ ไปรู้จักกับโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาและการเตรียมตัวสอบเข้าในระดับชั้นม.1ของโรงเรียนแห่งนี้กันค่ะ ก่อนอื่นแอดมินต้องขอกล่าวประวัติคร่าว ๆ ของโรงเรียนให้ทุกคนได้รู้จักกันก่อนนะคะ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาเป็นโรงเรียนชายล้วนที่ก่อตั้งขึ้นมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ถือเป็นโรงเรียนรัฐบาลแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีความโดดเด่นในเรื่องของวิชาการ ภาษาและความเป็นผู้นำ โดยศิษย์เก่าที่สำเร็จการศึกษามาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยแห่งนี้หลายคนเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงและประสบความเร็จจึงทำให้ชื่อเสียงของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยนั้นเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน หลักสูตรสวนกุหลาบวิทยาลัย ม.ต้น ในปัจจุบันโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยได้มีการปรังปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้มีความเท่าทันสังคมไทยในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น

สมบัติของจำนวนเต็ม

สมบัติของจำนวนเต็ม

ก่อนที่น้องๆจะได้เรียนรู้ในเรื่องสมบัติของจำนวนเต็ม น้องๆจำเป็นต้องเรียนเรื่อง การเปรียบเทียบจำนวนเต็ม และเรื่อง จำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์  ซึ่งบทความนี้ได้รวบรวมสมบัติของจำนวนเต็ม ประกอบด้วย สมบัติเกี่ยวกับการบวกและคูณจำนวนเต็ม ได้แก่ สมบัติการสลับที่ สมบัติการเปลี่ยนหมู่ และสมบัติการแจกแจง  รวมไปถึงสมบัติของหนึ่งและศูนย์ เรามาศึกษาสมบัติแรกกันเลย สมบัติเกี่ยวกับการบวกและคูณจำนวนเต็ม สมบัติการสลับที่ สมบัติการสลับที่สำหรับการบวก ถ้า a และ b แทนจำนวนเต็มใดๆ แล้ว a + b =

คำสมาสแบบสมาส คำสมาสแบบสนธิ

เรียนรู้หลักการสร้างคำสมาสแบบสมาส และคำสมาสแบบสนธิ

บทนำ คำสมาส และคำสนธิ ถือว่าเป็นหนึ่งบทเรียนในหลักภาษาไทยของระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่หลายคนมักมองว่าเป็นเรื่องยาก และปราบเซียนในการสอบสุด ๆ เนื่องจากว่าเราจะต้องมีพื้นฐานความเข้าใจเรื่อง คำบาลี สันสกฤตเพื่อให้สามารถแยกแยะคำ หรือสร้างคำใหม่ได้ รวมไปถึงต้องจำหลักการอ่านเชื่อมเสียงแบบต่าง ๆ จึงทำให้ใครหลายคนรู้สึกว่ามันยากมาก แต่จริง ๆ แล้วน้อง ๆ หลายคนอาจเคยได้ยินหลักการจำที่ว่า “คำสมาสนำมาชน สนธินำมาเชื่อม” ซึ่งเป็นวิธีที่น้อง ๆ ควรจะใช้เป็นแนวทางในการจำอย่างเข้าใจ ดังนั้น เพื่อเป็นการเรียนรู้เรื่องคำสมาสแบบสมาส และคำสมาสแบบสนธิให้เข้าใจมากขึ้น

เลขยกกำลัง

เลขยกกำลัง ที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ

เลขยกกำลัง ที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ เลขยกกำลัง ที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะมีความเกี่ยวข้องกับกรณฑ์ในบทความ จำนวนจริงในรูปกรณฑ์ จากที่เรารู้ว่า จำนวนตรรกยะคือจำนวนที่สามารถเขียนอยู่ในรูปเศษส่วนของจำนวนเต็มได้ เช่น , , , 2 , 3 เป็นต้น ดังนั้นเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ ก็คือจำนวนจริงใดๆยกกำลังด้วยจำนวนที่สามารถเขียนในรูปเศษส่วนของจำนวนเต็ม เช่น , เป็นต้น โดยนิยามของเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ คือ เมื่อ k และ

ขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม ถอดคำประพันธ์และเรียนรู้คุณค่าของวรรณคดี

จากที่บทเรียนคราวก่อนเราได้รู้ความเป็นมาและเรื่องย่อของตอนที่สำคัญอีกตอนหนึ่งของเรื่องอย่างตอน กำเนิดพลายงาม กันไปแล้ว บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกตัวบทที่น่าสนใจเพื่อถอดคำประพันธ์พร้อมทั้งศึกษาคุณค่าในเรื่อง น้อง ๆ จะได้รู้พร้อมกันว่าเหตุใดวรรณคดีเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ถึงมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักแพร่หลายมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ตัวบท ขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม     ถอดคำประพันธ์ : เป็นคำสอนของนางวันทองที่ได้สอนพลายงามก่อนที่จะต้องจำใจส่งลูกไปอยู่กับย่าที่กาญจนบุรีว่าเกิดเป็นผู้ชายต้องลายมือสวย โตขึ้นจะได้รับราชการก่อนจะพาพลายงามมาส่งด้วยความรู้สึกที่เหมือนใจสลาย    

ตัวประกอบของจำนวนนับ

ตัวประกอบของจำนวนนับ ป.6

บทความนี้จะให้ความรู้เกี่ยวกับตัวประกอบของจำนวนนับ น้องๆชั้นป.6 จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับความหมายของตัวประกอบ รวมไปถึงวิธีหาตัวประกอบของจำนวนนับนั่นเอง

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1