การเขียนบรรยาย อธิบาย พรรณนา เรียนรู้ 3 การเขียนที่สำคัญในยุคปัจจุบัน

การเขียนบรรยาย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ทักษะการเขียนอธิบาย การเขียนบรรยาย และการเขียนพรรณนา ถือว่ามีความสำคัญอย่างมากในปัจจุบัน เพราะมนุษย์นั้นมีสัญชาตญาณในการอยากรู้และหาคำตอบ ดังนั้นเราจึงไม่อาจเลี่ยงตอบคำถามใครได้ ดังนั้นการตอบคำถามหรือทำให้ผู้รับสารเข้าใจตรงกันจึงเป็นสิ่งจำเป็น บทเรียนวันนี้เราจะมาเรียนรู้เทคนิคการเขียนทั้งสามแบบว่ามีวิธีการเขียนอย่างไร ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ

 

การเขียน

 

การเขียนอธิบาย

 

การเขียนอธิบาย หมายถึง การทำให้บุคคลอื่นเข้าใจในความจริงที่เกิดขึ้น มีกลวิธีการเขียนดังนี้

กลวิธีการเขียนอธิบาย

1. การอธิบายตามลำดับขั้น เป็นอธิบายไปทีละขั้นตอน ใช้ในการเขียนอธิบายถึงกิจกรรมหรือวิธีทำบางสิ่งบางอย่าง

 

 

2. การใช้ตัวอย่าง การยกตัวอย่างนี้จะเหมาะกับการเขียนเพื่ออธิบายหลักการ วิธีการ หรือข้อความบางอย่างที่เข้าใจยาก มีคำจำกัดความที่ไม่ชัดเจนจึงต้องเขียนยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจง่ายมากขึ้น

 

 

3. การเปรียบเทียบความเหมือนและความต่างกัน เหมาะกับการใช้อธิบายสิ่งที่ไม่เป็นที่คุ้นเคยหรือสิ่งแปลกใหม่ โดยนำสิ่งนั้นไปเปรียบเทียบกับสิ่งที่คุ้นเคยอยู่แล้วว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

ตัวอย่าง

“ลูกอมนี้รสชาติเปรี้ยวเหมือนกินมะนาวเข้าไปทั้งลูก” การอธิบายเช่นนี้เพื่อให้ผู้ฟังที่อาจจะยังไม่เคยกิน เข้าใจถึงรสชาติของลูกอมอย่างคร่าว ๆ ว่ามีรสชาติเปรี้ยวมาก

 

4.การชี้สาหตุและผลลัพธ์สัมพันธ์กัน เหมาะกับการใช้เขียนอธิบายเรื่องที่มีความสัมพันธ์กับเหตุผล โดยอาจจะเขียนอธิบายจากสาเหตุไปสู่ผลลัพธ์ หรือเขียนจากผลลัพธ์ไปสู่สาเหตุ

ตัวอย่าง

“การปอกมะปรางริ้วเป็นศิลปะชั้นสูง เพราะมะปรางเป็นผลไม้ที่เนื้อนิ่มมาก ถ้าจับหนักมือก็จะทำให้ช้ำ”

 

5. การให้นิยาม เหมาะกับการอธิบายศัพท์ยาก หรือคำศัพท์ที่ยังเข้าใจไม่ตรงกันให้เป็นที่เข้าใจตรงกัน

 

 

การเขียนบรรยาย

 

การเขียนบรรยาย คือ การเล่าเรื่อง กล่าวถึงเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกันโดยชี้ให้เห็นฉาก สถานที่ เวลาเหตุการณ์สาเหตุที่ก่อให้เกิดสภาพแวดล้อม บุคคลที่เกี่ยวข้องตลอดจนผลที่เกิดจากเหตุการณ์นั้น ๆ เนื้อหาที่เขียนบรรยายอาจมาจากเรื่องจริงเช่น ประวัติบุคคล เรื่องเล่าจากประสบการณ์หรือเป็นเรื่องสมมติ เช่น นิทาน นิยาย

 

กลวิธีการเขียนบรรยาย

 

การเขียนบรรยาย

 

1. การเลือกหัวข้อ เนื้อหาและความคิดรวบยอด ในการเขียนบรรยายควรเลือกหัวข้อ เนื้อหา และความคิดรวบยอดที่น่าสนใจ ให้ความรู้ ความบันเทิง และความจรรโลงใจแก่ผู้อ่านผู้ฟัง และตั้งชื่อเรื่องให้สอดคล้องกับเนื้อหา

2. การจัดเนื้อหา

– การเขียนบรรยายจะมีเนื้อหาเป็นเหตุการณ์ต่าง ๆ โดยใช้หลัก 5W1H เพื่อดำเนินเรื่องว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร

– เลือกเฉพาะเหตุการณ์ที่สำคัญมาบรรยายเพื่อไม่ให้การบรรยายนั้นยืดยาวและน่าเบื่อ

– เรียงลำดับเหตุการณ์เพื่อไม่ให้สับสน

– เรียงเหตุการณ์ไม่ให้สับสน

3. การเสนอบทบรรยาย

– แทรกบทพรรณนา เพื่อให้การบรรยายมีชีวิตจิตใจ

– ขมวดเป็นคำถาม คลี่คลายเป็นคำตอบเพื่อให้น่าสนใจ

– ผูกเป็นบทสนทนา แทนที่จะบรรยายอย่างเดียว วิธีนี้จะช่วยให้การบรรยายน่าสนใจ

– นำตัวเองเข้าไปมีส่วนร่วมในการบรรยายโดยการใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างผู้สื่อสารและผู้รับสาร

 

การเขียนพรรณนา

 

การเขียนพรรณนา คือ การให้รายละเอียดของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สิ่งนั้นอาจจะเป็นบุคคล วัตถุ สถานที่หรือเหตุการณ์ช่วงใดช่วงหนึ่ง โดยยกการพรรณนาส่วนประกอบแต่ละส่วนให้ชัดเจน เพื่อให้เห็นลักษณะเด่นของสิ่งนั้น ๆ

กลวิธีการเขียนพรรณนา

1. วิเคราะห์สิ่งที่จะพรรณนา เพื่อให้เห็นรายละเอียดว่าสิ่งที่พรรณนาประกอบด้วยอะไรบ้าง

2. หาความสัมพันธ์ของสิ่งที่วิเคราะห์ได้ เพื่อนำมารวมให้เป็นภาพหรืออารมณ์เดียวกัน

3. พรรณนาโดยเน้นลักษณะเด่น เพื่อให้ผู้อ่านผู้ฟังทราบทันทีว่าเป็นภาพอะไรหรืออารมณ์ใดแต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงลักษณะประกอบด้วย เพื่อให้ได้ภาพหรืออารมณ์ที่ครบถ้วน

4. เลือกใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมทั้งเสียงและความหมาย เพื่อให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพหรืออารมณ์สะเทือนใจ โดยใช้ศิลปะการประพันธ์และโวหารภาพพจน์ที่เหมาะสม

 

การเขียนบรรยาย กับ การเขียนพรรณนาต่างกันอย่างไร

 

การบรรยายเน้นการแสดงเหตุการณ์ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร ส่วนการพรรณนาเน้นการแสดงภาพ อารมณ์ ความรู้สึกอย่างละเอียด

 

การเขียนบรรยาย

 

ไม่ว่าจะเป็นการเขียนอธิบาย บรรยาย หรือพรรณนา ผู้เขียนก็ต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงเรื่องที่จะเขียน เพียงเท่านี้น้อง ๆ ก็จะสามารถเขียนให้ผู้อ่านเข้าใจตรงกับตัวเองได้แล้วค่ะ และเพื่อให้น้อง ๆ ได้เห็นตัวอย่างของการเขียนทั้ง 3 แบบมากขึ้น น้อง ๆ ก็สามารถเข้าไปรับชมการสอนของครูอุ้มได้ตามคลิปด้านล่างนี้เพื่อทบทวนบทเรียนค่ะ

 

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

เรียนออนไลน์ คณิตศาสตร์

การตรวจสอบคู่อันดับที่เป็นความสัมพันธ์

การตรวจสอบคู่อันดับที่เป็นความสัมพันธ์ การตรวจสอบคู่อันดับที่เป็นความสัมพันธ์ คือการตรวจสอบคู่อันดับว่าคู่ไหนเป็นความสัมพันธ์ที่ตรงกับเงื่อนไขที่กำหนด จากที่เรารู้กันในบทความเรื่อง ความสัมพันธ์ว่า r จะเป็นความสัมพันธ์จาก A ไป B ก็ต่อเมื่อ r เป็นสับเซตของ A × B แต่ถ้าเราใส่เงื่อนไขบางอย่างเข้าไป ความสัมพันธ์ r ที่ได้ก็อาจจะจะเปลี่ยนไปด้วย แต่ยังคงเป็นสับเซตของ A × B เหมือนเดิม

เมทริกซ์

เมทริกซ์ และเมทริกซ์สลับเปลี่ยน

เมทริกซ์ เมทริกซ์ (Matrix) คือตารางสี่เหลี่ยมที่บรรจุตัวเลขหรือตัวแปร สามารถนำมาบวก ลบ คูณกันได้ เราสามารถใช้เมทริกซ์ในการการแก้ระบบสมการเชิงเส้นได้ซึ่งจะสะดวกกว่าการแก้แบบกำจัดตัวแปรสำหรับสมการที่มากกว่า 2 ตัวแปร ตัวอย่างการเขียนเมทริกซ์ เรียกว่าเมทริกซ์มิติ 3×3 ซึ่ง 3 ตัวหน้าคือ จำนวนแถว 3 ตัวหลังคือ จำนวนหลัก ซึ่งเราจะเรียกแถวในแนวนอนว่า แถว และเรียกแถวในแนวตั้งว่า หลัก และจากเมทริกซ์ข้างต้นจะได้ว่า

เรียนรู้เรื่อง ส่วนประกอบของประโยค

​ประโยค คือถ้อยคำต่าง ๆ ที่นำมาเรียงกันแล้วมีใจความสมบูรณ์ว่าใครกำลังทำอะไร ที่ไหน และเมื่อไหร่ บทเรียนในวันนี้ น้อง ๆ จะได้เรียนรู้เรื่อง ส่วนประกอบของประโยค เพื่อให้เข้าใจมากขึ้นว่าประโยคที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ประกอบด้วยอะไรบ้าง ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ส่วนประกอบของประโยค   โดยทั่วไปประโยคจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ภาค คือ ภาคประธานและภาคแสดง     ภาคประธาน คือ

สมมูลและนิเสธ

สมมูลและนิเสธของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ

“สมมูลและนิเสธ” ของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ สมมูลและนิเสธ เราเคยเรียนกันไปแล้วก่อนหน้านี้ แต่เป็นของประพจน์ p, q, r แต่ในบทความนี้จะเป็นสมมูลและนิเสธของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ ซึ่งก็จะเอาเนื้อหาก่อนหน้ามาปรับใช้กับประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ สิ่งที่เราจะต้องรู้และจำให้ได้ก็คือ การสมมูลกันของประพจน์ เพราะจะได้ใช้ในบทนี้แน่นอนน ใครที่ยังไม่แม่นสามารถไปอ่านได้ที่ บทความรูปแบบของประพจน์ที่สมมูลกัน  นิเสธของตัวบ่งปริมาณ เมื่อเราเติมนิเสธลงไปในประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ ข้อความต่อไปนี้จะสมมูลกัน กรณี 1 ตัวแปร ∼∀x[P(x)] ≡ ∃x[∼P(x)] ∼∃x[P(x)]

อิศรญาณภาษิต

อิศรญาณภาษิต ศึกษาวรรณคดีคำสอนของไทย

อิศรญาณภาษิต เป็นวรรณคดีที่มีเนื้อหาสอนให้ผู้อ่านรู้จักลักษณะของกลอนเพลงยาวและยังสอดแทรกข้อคิดต่าง ๆ ไว้อีกมากมาย บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงประวัติความความเป็นมา ผู้แต่ง ลักษณะคำประพันธ์ของกลอนเพลงยาว และตัวบทที่น่าสนใจ ๆ ในเรื่อง ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วว่าวรรณคดีเรื่องนีมีความเป็นมาและความสำคัญอย่างไร เหตุใดจึงอยู่ในแบบเรียนภาษาไทยในเราได้ศึกษากันอยู่ตอนนี้ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ     ความเป็นมาของ   อิศรญาณภาษิต (อ่านว่า

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1