Direct and Indirect Objects

สวัสดีน้องๆ ม. 5 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเรื่อง Direct และ Indirect Objects กันครับว่าคืออะไร ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย
Direct Object

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Object คืออะไร?

ก่อนที่จะไปถึง Direct กับ Indirect Objects เรามาทำความเข้าใจกับ “Object” กันก่อนครับว่าคือ “กรรม” ในภาษาอังกฤษนั้นก็คือคน สัตว์ หรือวัตถุที่ “ถูกกระทำ” จากกริยา (Verb) นั่นเอง ตัวอย่างเช่น

Example: I write a letter.

Subject

Verb

Object

I

write

a letter

“I” คือ Subject หรือประธานของประโยค

“write” คือ Verb หรือกริยา โดยที่ Subject เป็นผู้กระทำ (ฉันเขียน)

“a letter” คือ Object หรือกรรม ที่ถูกกระทำนั่นเองครับ (จดหมายถูกเขียน)

 

Direct Object (D.O.)

จากประโยคตัวอย่างข้างต้น a letter จะถึงว่าเป็น “Direct Object” (กรรมตรง) เพราะเป็นกรรมที่ถูกกระทำโดยตรงจากกริยา ลองดูตัวอย่างอีกสักประโยค

Hugo repairs his car.

Hugo = ประธาน

กระทำกริยา repair (ซ่อม)

รถของเขา (his car) เป็นกรรมที่ถูกกระทำ (ซ่อม) โดยตรงนั่นเอง

 

He invites Luna to the party.

He = ประธาน

กระทำกริยา invite (เชิญ)

Luna เป็น Object ที่ถูกเชิญมางานปาร์ตี้นั่นเอง

 

Indirect Object (I.O.)

สำหรับ “Indirect Object” (กรรมรอง) นั่นคือกรรมที่เป็น “ผู้รับ” ผลจากกรรมตรงอีกทอดหนึ่ง โดยที่ I.O. นั้นจะมาเดี่ยวๆ ไม่ได้ จะต้องมี D.O. ก่อนเสมอ

ตัวอย่างเช่น

I write a letter.
สามารถเพิ่ม Indirect Object เข้าไปได้ 2 รูปแบบคือ

I write a letter to you.
หรือ
I write you a letter.
(ทั้ง 2 ประโยคแปลว่า ฉันเขียนจดหมายถึงคุณ)

เราทราบอยู่แล้วว่า “letter” นั้นเป็น D.O. และเราต้องการเพิ่ม “ผู้รับ” คือ “you” เข้าไปด้วย

ฉะนั้น you จะถือว่าเป็น I.O. เพราะเป็น “ผู้รับ” จดหมายมานั่นเอง

 

หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง

My mom bought a bike.
(แม่ของฉันซื้อจักรยาน)
bike = D.O. เพราะถูกซื้อมา

เมื่อเพิ่มผู้รับ (Indirect Object) เข้าไปจะได้ว่า

My mom bought a bike for me.
หรือ
My mom bought me a bike.

(ทั้ง 2 ประโยคแปลว่า แม่ซื้อจักรยานให้ฉัน)

bike = D.O. เหมือนเดิม
me = I.O. เพราะฉัน “ได้รับ” จักรยานมาอีกที

 

โครงสร้างประโยค

จากตัวอย่างข้างต้นเราจึงสามารถเขียนโครงสร้างได้ดังนี้

Direct Object

Indirect Object

 

ข้อควรจำ

  1. ไม่ใช่กริยาทุกตัวจะต้องการกรรม กริยาที่สามารถมีกรรมได้เรียกว่า สกรรมกริยา (Transitive Verbs) เช่น send, play, fix ส่วนกริยาที่ไม่ต้องการกรรมเรียกว่า อกรรมกริยา (Intransitive Verbs) เช่น lie, sleep, walk
  2. ดังนั้น Direct and Indirect Objects จะตามหลังกริยาที่ต้องการกรรม (Transitive Verbs) เท่านั้น
  3. Direct Object นั้นสามารถมี Indirect Object ตามมาด้วยหรือไม่ก็ได้ ต่างจาก I.O. ที่ต้องมี D.O. มาก่อนเสมอ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับน้องๆ สำหรับเรื่อง Direct และ Indirect Objects หวังว่าน้องๆ จะเข้าใจและนำไปใช้ได้ในการเรียนภาษาอังกฤษนะครับ สำหรับน้องๆ คนไหนที่อยากทบทวยเพิ่มเติมก็สามารถคลิกดูวิดีโอจากช่อง NockAcademy ด้านล่างได้เลยครับ

ทบทวนเนื้อหาม. 6 เรื่องอื่นๆ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

auxiliary verbs

Auxiliary Verbs คืออะไร?

สวัสดีน้องๆ ม.5 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสิ่งที่เรียกว่า Auxiliary Verbs ในภาษาอังกฤษกันครับ

การเก็บรวบรวมข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำคัญมากทางสถิติ เพื่อใช้ในการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ โดยข้อมูลที่ได้มีหลากหลายรูปแบบ อาจจะเป็นตัวเลข ข้อความ หรือรูปภาพ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ตอบสนองวัตถุประสงค์หรือเป็นเรื่องที่เราสนใจ โดยสามารถจำแนกข้อมูลได้ตามลักษณะและแหล่งที่มาของข้อมูล ได้แก่ จำแนกตามลักษณะของข้อมูล แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) คือ ข้อมูลที่วัดค่าได้ แสดงเป็นตัวเลข ซึ่งสามารถนำมาใช้เปรียบเทียบกันได้โดยตรง เช่น จำนวนบุตรในครอบครัว,

ฟังก์ชันและกราฟของฟังก์ชัน

ฟังก์ชันและกราฟของฟังก์ชัน ฟังก์ชันและกราฟของฟังก์ชัน มีความเกี่ยวข้องกันเนื่องจากฟังก์ชันที่เราเขียนในรูป y = f(x) สามารถนำไปเขียนกราฟในระบบพิกัดฉากได้ ซึ่งกราฟในระบบพิกัดฉากก็คือ กราฟที่ประกอบไปด้วยแกน x และ แกน y   ก่อนที่เราจะเริ่มบทเรียนของฟังก์ชัน อยากให้น้องๆได้ศึกษารูปต่อไปนี้ก่อนนะคะ จากรูป คือการส่งสมาชิกในเซต A ไปยังสมาชิกในเซต B เซต A จะถูกเรียกว่า โดเมน

โคลงสี่สุภาพ เจาะลึกคำประพันธ์ที่กวีนิยมแต่งมากที่สุด

  โคลงสี่สุภาพ เป็นคำประพันธ์ประเภทหนึ่งของบทร้อยกรองที่กวีนิยมนำไปใช้กันมากมาย บทเรียนวันนี้ จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องของโคลงสี่สุภาพ ว่ามีฉันทลักษณ์และลักษณะคำประพันธ์อย่างไร ทำไมถึงได้รับความนิยมในหมู่กวี ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   โคลงสี่สุภาพคืออะไร     โคลง เป็นคำประพันธ์ที่มีการเรียบเรียงถ้อยคำเป็นคณะ มีกำหนดเอกโทและสัมผัส ส่วนสุภาพ หรือเสาวภาพ หมายถึงคำที่ไม่มีวรรณยุกต์ โคลงสี่สุภาพปรากฏในวรรณคดีไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยโคลงที่มีชื่อเสียงและได้รับการยกย่องว่าแต่งดี ยอดเยี่ยม

ม3 เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did_ Was_Were_

Short question เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did, Was, Were

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.3 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง “Short question เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did, Was, Were” ไปลุยกันโลดเด้อ   ทำไมต้องเรียนเรื่อง Did, Was, Were Did, Was, Were ใช้ถามคำถามใน Past Simple Tense กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและจบลงไปแล้วในอดีต หรือ ถามเพื่อให้แน่ใจว่าได้ทำสิ่งนั้นๆไปแล้ว

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1