โต้วาที และยอวาที แต่งต่างกันอย่างไร?

การโต้วาที

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การพูดมีมากมายหลายประเภท แล้วแต่จุดประสงค์ของผู้พูดว่าต้องการจะสื่อสารออกมาในรูปแบบใด แต่จะมีอยู่ประเภทหนึ่งที่มีหัวข้อให้พูดและต้องแบ่งออกเป็นสองฝ่าย โดยไม่ได้มีเจตนาเพื่อมาทะเลาะกัน เพราะเรากำลังหมายถึงการพูดโต้วาทีและการยอวาที ที่เป็นการพูดแสดงความคิดเห็นในลักษะที่ต่างกัน แต่จะต่างกันอย่างไรบ้างนั้น เราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ

 

การโต้วาที

 

การโต้วาที

 

การโต้วาที เป็นการแสดงความคิดเห็นโต้แย้งด้วยเหตุผลเพื่อให้ชนะอีกฝ่าย โดยจะแบ่งผู้พูดออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายญัตติและฝ่ายคัดค้านญัตติ และมีกรรมการคอยตัดสินว่าจะให้ฝ่ายใดชนะ โดยแต่ละฝ่ายจะต้องมีข้อมูลเพื่อมาสนับสนุนการพูดของตัวเอง หักล้างแนวคิดของอีกฝ่ายและต้องมีปฏิภาณไหวพริบ

 

องค์ประกอบของการโต้วาที

 

การโต้วาที

 

  1. ญัตติ

คือหัวข้อในการโต้วาที จะถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า โดยญัตติที่นำมาเป็นหัวข้อในโต้วาทีนั้นจะต้องเป็นเรื่องที่มีประโยชน์และไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีงามของไทย

  1. ประธาน หรือผู้ดำเนินการโต้วาที

ประธานจะทำหน้าโดยรวมคือดำเนินการตลอดการโต้วาทีอย่างการกล่าวนำ ชี้แจงญัตติ อธิบายระเบียบการโต้วาที กำหนดเวลาพูด เชิญผู้โต้วาทีฝ่ายญัตติและฝ่ายค้านญัตติ รวมไปถึงการรวบรวมคะแนนของคณะกรรมการเพื่อประกาศผลฝ่ายที่ชนะและกล่าวปิดการโต้วาที

  1. กรรมการ

กรรมการตัดสินควรมีจำนวนที่เป็นเลขที่เพื่อป้องกันปัญหาคะแนนเท่ากัน โดยคณะกรรมการจะต้องให้ความเป็นธรรม ตัดสินอย่างตรงไปตรงมาตามเหตุผลที่ได้ฟังจากทั้งสองฝ่าย

  1. ผู้โต้วาที

มี 2 ฝ่าย คือฝ่ายญัตติและฝ่ายค้านญัตติ แต่ละฝ่ายจะมีหัวหน้า 1 คน และมีสมาชิกฝ่ายละ 2-3 คน ลำดับจากพูดจะเริ่มจากหัวน้าฝ่ายญัตติ ต่อด้วยหัวหน้าฝ่ายค้าน และค่อยกลับมาที่สมาชิกฝ่ายญัตติอีกครั้ง

 

การโต้วาที

 

มารยาทในการฟัง

 

เทคนิคโต้วาที

 

 

การป้องกัน หมายถึง การป้องกันญัตติด้วยการหาเหตุผลมาล้อมสาระของญัตติ เพื่อไม่ให้มีช่องโหว่ที่อาจจะเป็นจุดอ่อนให้ฝ่ายค้านเห็น

การโจมตี หมายถึง การกล่าวหาฝ่ายตรงข้ามว่าไม่มีเหตุผล เหตุผลไม่เพียงพอ

การต่อต้าน หมายถึง การหักล้างเหตุผลของฝ่ายตรงข้ามที่โจมตีด้วยเหตุผลหรือตอบโต้โดยใช้การอ้างอิงที่เชื่อถือได้

การค้าน ในการค้านนั้นสามารถทำได้ 3 วิธี

–  ค้านญัตติ เป็นการค้านตัวญัติหรือสาระของญัตติโดยตรงว่าไม่ถูกต้อง

– ด้านเหตุผล เป็นการค้านเหตุผลที่อีกฝ่ายเสนอมา

– ด้านอ้างอิง เป็นการค้านข้ออ้างอิงที่ฝ่ายตรงข้ามยกขึ้นมาพูด

 

การยอวาที

 

 

มีลักษณะคล้ายกับการโต้วาที แบ่งเป็นสองฝ่ายคือ ฝ่ายเยิน และฝ่ายยอ มีจำนวนผู้พูดฝ่ายละ 3-4 คน โดยทั้งสองฝ่ายจะยกกันยกช่วยกันยอในหัวข้อนั้น ๆ ลักษณะของการยอวาทีจึงอาจเรียกได้ว่าเป็นการกระแหนะกระแหน ประชดประชัน แดกดัน เหน็บแนม

 

 

การโต้วาที แตกต่างจากการยอวาทีอย่างไร

 

การยอวาทีเริ่มขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2515 เป็นยุคที่การเมืองไทยกำลังเข้มข้น การโต้วาทีทางการเมืองถูกห้าม คนในยุคนั้นจึงคิดการยอวาทีขึ้นมาเพื่อเหน็บแนมในเรื่อที่ไม่สามารถพูดได้ การยอวาทีจึงเป็นการโต้วาทีที่ถูกทำให้เบาลงมา ไม่ได้โต้แย้งเพื่อเอาชนะ แต่เป็นเหมือนการโชว์มากกว่า

 

แม้ทั้งการโต้วาที การยอวาที จะต่างกันบ้างแต่ก็มีจุดเริ่มต้นเหมือนกันคือการแสดงความคิดเห็น ไม่ว่าจะแสดงออกมาอย่างตรง ๆ หรือใช้การเยินยอเพื่อเหน็บแนม นั่นเป็นการสะท้อนว่ากิจกรรมการพูดเหล่านี้มีขึ้นเพื่อให้ทุกคนสามารถพูดสิ่งที่คิดได้อย่างอิสระ ไม่ว่าหัวข้อนั้น ๆ จะเป็นเรื่องอะไร นับว่าเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์และเป็นการฝึกให้เราใช้เหตุผลและมีไหวพริบมากขึ้นด้วยค่ะ สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่อยากฟังคำอธิบายแบบสนุก ๆ ก็สามารถไปติดตามดูคลิปการสอนของครูอุ้มได้เลยค่ะ รับรองว่าจะเข้าใจบทเรียนในวันนี้มากขึ้นอย่างแน่นอน ไปดูกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

บทพากย์เอราวัณ

บทพากย์เอราวัณ ที่มาของวรรณคดีพากย์โขนอันทรงคุณค่า

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ทุกคนยินดีต้องรับเข้าสู่เนื้อหาวิชาภาษาไทยที่จะมาให้สาระความรู้ดี ๆ ซึ่งวันนี้เราจะมาเรียนรู้ความเป็นมาของวรรณคดีเรื่องหนึ่งที่มักจะใช้ในการแสดงโขน นั่นก็คือบทพากย์เอราวัณแน่นอนว่าน้อง ๆ ในระดับมัธยมต้นจะต้องได้เรียนเรื่องนี้ เพราะเป็นวรรณคดีอีกเรื่องที่แสดงถึงพระปรีชาสามารถของรัชกาลที่ 2 ในด้านกวีนิพนธ์จากการที่เลือกใช้ถ้อยคำภาษาที่สวยงามเพื่อมาบรรยายถึงลักษณะของช้างเอราวัณได้อย่างดี ดังนั้น ถ้าพร้อมแล้วมาดูกันว่าวันนี้เรามีเนื้อหาที่น่าสนใจอะไรมาฝากน้อง ๆ กันบ้างดีกว่า ประวัติความเป็นมา สำหรับวรรณคดี บทพากย์เอราวัณ เป็นอีกหนึ่งผลงานการพระราชนิพนธ์ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ซึ่งถือเป็นบทที่นิยมนำไปใช้ในการแสดงโขน โดยได้เค้าโครงเรื่องมาจาก “รามายณะ”

ศึกษาตัวบทในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณคดีที่มีเค้าจากเรื่องจริงในสมัยอยุธยา จากนิทานชาวบ้านสู่วรรณคดีราชสำนักตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 ในตอน ขุนข้างถวายฎีกา เป็นหนึ่งในตอนที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งได้ดีที่สุด จากที่เราได้เรียนรู้ที่มาและเรื่องย่อกันไปแล้ว บทเรียนในนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปศึกษาตัวบทเด่น ๆ ที่อยู่ในเรื่องนี้เพื่อถอดความกันค่ะ รวมไปถึงคุณค่าที่ซ่อนอยู่ในเรื่อง ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจ   ตัวบทที่ 1     ถอดความ มาจากตอนที่จมื่นไวยบุกมาหานางวันทองผู้เป็นแม่ที่เรือนขุนช้างแล้วพยายามจะพานางกลับไปอยู่ด้วยกัน

M4 Past Passive

Past Passive in English

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.4 ทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง Past Passive กันค่ะ ก่อนอื่นจะต้องไปรู้ความหมายกันก่อนน๊าว่ามันคืออะไร พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด   ความหมาย Past หมายถึง อดีต ส่วน Passive มาจาก Passive voice หมายถึง ประโยคที่ประธานถูกกระทำ รวมแล้วหมายถึงการใช้ Passive Voice

โคลนติดล้อ บทความปลุกใจในรัชกาลที่ 6

เป็นที่รู้กันดีกว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ของเรานั้น ทรงโปรดงานด้านวรรณกรรมมาตั้งแต่ยังเยาว์ และเริ่มงานวรรณกรรมตั้งแต่ยังทรงศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ทำให้มีผลงานในพระราชนิพนธ์มากมายหลายเรื่อง และแตกต่างกันออกไป ที่ผ่านมาน้อง ๆ คงจะได้เรียนมาหลายเรื่องแล้ว บทเรียนในวันนี้ก็จะพาน้อง ๆ ไปรู้จักกับผลงานของพระองค์อีกเรื่องหนึ่ง แตกต่างจากเรื่องก่อน ๆ ที่เคยเรียนมาอย่างแน่นอน เพราะเรากำลังพูดถึงโคลนติดล้อ ผลงานในพระราชนิพนธ์ที่อยู่ในรูปแบบของบทความ จะมีที่มา มีเนื้อหาที่น่าสนใจอย่างไรบ้างนั้น เราไปติดตามกันเลยค่ะ   ที่มาของ โคลนติดล้อ

ม.3 สำนวนการเสนอ การขออนุญาต และขอความช่วยเหลือ

สำนวนการเสนอ การขออนุญาต และขอความช่วยเหลือ

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม. 3 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุย “สำนวนการเสนอ การขออนุญาต และขอความช่วยเหลือ พร้อมทั้งเทคนิคการพูดตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ต่างๆ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า สำนวนการเสนอ   ในชีวิตประจำวันของเรานั้น ล้วนจะต้องเจอกลุ่มประโยคคำถามในเชิงชักชวน และการเสนอแนะที่ใช้เป็นรูปแบบคำถามนั้นถือเป็นการเสนอแนะชักชวนทางอ้อม ถ้าเทียบกับนิสัยคนไทยแล้ว ก็เพื่อแสดงถึงความเกรงใจ ไม่พูดมาตรงๆ เพื่อจุดประสงคืบางอย่าง ซึ่งเป็นนิสัยที่คนไทยส่วนใหญ่มีอยู่แล้ว ในภาษาอังกฤษการใช้ภาษาเหล่านี้จะทำให้การสนทนาดูเป็นธรรมชาติและคล่องมากขึ้น โดยที่บางครั้งผู้ถามนั้นหว่านล้อมผู้ฟังด้วยการ ชวนให้ทำ หรือแนะนำให้ทำนั่นเอง ประโยคคำถามที่ใช้มีดังนี้  

กราฟของความสัมพันธ์

กราฟของความสัมพันธ์ กราฟของความสัมพันธ์ r คือเซตของจุดในระนาบx, y โดยที่แต่ละจุดคือสมาชิกของความสัมพันธ์ r นั่นเอง อธิบายให้เข้าใจง่ายคือ เมื่อเราได้เซตของความสัมพันธ์ r ที่มีสมาชิกในเซตคือคู่อันดับแล้ว เราก็นำคู่อันดับแต่ละคู่มาเขียนกราฟนั่นเอง เช่น r = {(1, 1), (1, 2), (2, 2), (3, 4)} นำมาเขียนกราฟของความสัมพันธ์

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1