อิเหนา จากนิทานปันหยีสู่วรรณคดีเลื่องชื่อของไทย

อิเหนา

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

อิเหนา เป็นวรรณคดีที่ถูกเผยแพร่เข้ามาในไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา น้อง ๆ สงสัยไหมคะว่าจุดเริ่มต้นของนิทานของชาวชวานี้มีจุดเริ่มต้นในไทยอย่างไร เหตุใดถึงถูกประพันธ์ขึ้นเป็นบทละครให้ได้เล่นกันในราชสำนัก ถ้าน้อง ๆ พร้อมหาคำตอบแล้ว เราไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของอิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิงกันเลยค่ะ

 

ความเป็นมา

อิเหนา

 

อิเหนามีความเป็นมาจากนิทานปันหยี หรือที่เรียกว่า อิเหนาปันหยีรัตปาตี ซึ่งเป็นนิทานที่เล่าแพร่หลายกันมากในชวา เชื่อกันว่าเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ของชวา ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 ปรุงแต่งมาจากพงศาวดารชวา อิทธิพลของเรื่องอิเหนาเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกในสมัยอยุธยา จากการที่เจ้าฟ้าหญิงกุณฑลและเจ้าฟ้าหญิงมงกุฎ พระราชธิดาในพระเจ้าอยู่หัวพระบรมโกศ ได้ฟังเรื่องราวจากข้าหลวงชาวชวา เมื่อเห็นว่าเนื้อเรื่องสนุกจึงนำมาแต่งเป็นบทละคร โดยเจ้าหญิงกุณฑลทรงนิพนธ์เรื่องอิเหนาใหญ่ (ดาหลัง) ส่วนเจ้าฟ้าหญิงมงกุฎทรงนิพนธ์เรื่องอิเหนาเล็ก (อิเหนา)

ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้พระราชนิพนธ์อิเหนาขึ้นมาใหม่เป็นบทละคร เรียกว่า ละครใน

 

อิเหนา

 

อิเหนา

 

 

อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

 

 

 

ในดินแดนชวาโบราณ มีกษัตริย์ราชวงศ์หนึ่งชื่อ วงศ์อสัญแดหวา หรือ วงศ์เทวา คือ ท้าวกุเรปัน ท้าวดาหา ท้าวกาหลัง และท้าวสิงหัดส่าหรี ปกครองเมืองกันคนละเมืองตามชื่อของตัวเอง ท้าวกุเรปันมีโอรสที่เก่งกล้าสามารถ ชื่อ อิเหนา ท้าวดาหามีธิดาที่มีรูปโฉมงดงามชื่อ บุษบา กษัตริย์ทั้งสองเมืองจึงให้โอรสและธิดาหมั้นกันไว้ตั้งแต่ยังเด็ก แต่เมื่อโตขึ้น อิเหนาต้องเดินทางไปช่วยปลงพระศพพระอัยกีที่เมืองหมันยา จึงได้พบกับจินตะหรา ธิดาท้าวมันหยา อิเหนาตกหลุมรักทำให้ไม่อยากกลับไปแต่งงานกับบุษบา

เมื่อท้าวดาหาทราบเรื่องก็ทรงเคืองจึงประกาศว่าถ้าใครมาขอบุษบาก็จะยกให้ทันที จรกาที่เห็นรูปบุษบาก็ตกหลุมรักจึงมาสู่ขอ เช่นเดียวกับวิหยาสะกำ แต่เมื่อพระบิดาอย่างท้าวกะหมังกุหนิงส่งราชทูตมาสู่ขอ ก็พบว่าท้าวดาหาได้ยกบุษบาให้จรกาไปแล้ว ท้าวกะหมังกุหนิงจึงยกทัพไปหมายจะตีเมืองดาหา ทำให้ท้าวดาหาต้องไปขอความช่วยเหลือจากพี่น้องในวงศ์เทวาทั้งสี่เมืองมาช่วยกันรบ อิเหนาถูกตามตัวกลับอีกครั้ง และครั้งนี้ท้าวกุเรปันก็ยื่นคำขาดว่าถ้าหากไม่กลับมาช่วยรบจะตัดพ่อตัดลูก อิเหนาจึงต้องจำใจจากนางจินตะหรามารบกับท้าวกะหมังกุหนิง จนในที่สุดก็ได้รับชัยชนะ

 

สรุปเนื้อเรื่อง

 

 

 

จนถึงตอนนี้น้อง ๆ ก็คงจะเข้าใจแล้วใช่ไหมคะว่าทำไมวรรณคดีของชาวชวาเรื่องนี้ถึงได้ถูกนำมาแต่งขึ้นใหม่ในภาษาไทยและโด่งดังเป็นที่รู้จักมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะเนื้อเรื่องที่สนุกและน่าติดตามนี้เองค่ะที่ทำใครไม่ว่าใครก็ตามที่ได้ยินต่างก็ต้องอยากจะอ่านต่อ รวมถึงยังได้ศึกษาเรื่องวัฒนธรรมและการใช้ภาษาที่แสนจะงดงามในเรื่องได้อีกด้วย สำหรับตัวบทและคุณค่าของวรรณคดี น้อง ๆ จะได้เรียนรู้กันในบทถัดไปนะคะ สุดท้ายนี้อย่าลืมไปดูคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อไม่สับสนเกี่ยวกับตัวละครและเมืองต่าง ๆ ที่ปรากฏในเรื่องนะคะ ไปดูกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ประโยคและวิธีการใช้ Would like กับ Wh-questions

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่รักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูตัวอย่างประโยคและวิธีการใช้ Would like กับ Wh-questions กันค่ะ ไปลุยกันเลย ตารางเปรียบเทียบประโยคก่อนเข้าสู่บทเรียน: คำถาม Wh-questions VS Yes-no Questions ประโยคคำถามแบบ Wh-question “what” ประโยคคำถามที่ใช้ would + Subject +like…

ความน่าจะเป็นกับการตัดสินใจ

ความน่าจะเป็นกับการตัดสินใจ บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง ความน่าจะเป็นกับการตัดสินใจ สำหรับบางเหตุการณ์ความรู้เรื่องความน่าจะเป็นเพียงอย่างเดียว  อาจไม่เพียงพอที่จะช่วยตัดสินใจได้  จำเป็นจะต้องหาองค์ประกอบอื่นมาช่วยในการตัดสินใจด้วย  นั่นคือผลตอบแทนของการเกิดเหตุการณ์นั้น ซึ่งก่อนที่จะเรียนเรื่องนี้ น้องๆจะต้องมีความรู้ในเรื่อง ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ ⇐⇐ ผลตอบแทนของเหตุการณ์อาจหมายถึง ผลตอบแทนที่ได้หรือผลตอบแทนที่เสีย  เช่น  ในการเล่นแทงหัวก้อย  ถ้าออกหัว พีชจะได้เงิน 2 บาท และถ้าออกก้อย พอลจะต้องเสียเงิน 3 บาท เงิน 2 บาทที่พอลจะได้รับเป็นผลตอบแทนที่ได้ 

คติธรรมในสำนวนไทย

คติธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นแบบอย่าง เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับหลักการดำเนินชีวิตซึ่งได้มาจากหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาหรืออาจเรียกได้ว่าเป็นวัฒนธรรมทางจิตใจอย่างหนึ่งที่คนไทยให้ความสำคัญอย่างมากและมักจะถูกสอดแทรกอยู่ในสื่อต่าง ๆ เพื่อปลูกฝังเด็กรุ่นใหม่ให้มีคติธรรมประจำใจ ไม่ว่าจะเป็นนิทานหรือสำนวนไทย สำหรับบทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง คติธรรมในสำนวนไทย มาดูกันค่ะว่าจะมีอะไรบ้าง   สำนวนที่เกี่ยวกับคติธรรม   สำนวนไทยถือเป็นภูมิปัญญาในการใช้ภาษาไทยอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นถ้อยคำที่มิได้มีความหมายตรงไปตรงมาตามตัวอักษร หรือแปลตามรากศัพท์ แต่เป็นถ้อยคำที่มีความหมายเป็นอย่างอื่น ชวนให้ผู้อ่านได้คิด มีรูปแบบการใช้ภาษาที่ต้องผ่านการเรียบเรียงถ้อยคำ การรวมข้อความยาว ๆ ให้สั้น โดยนำถ้อยคำเพียงไม่กี่คำมาเรียงร้อย

ประโยคความเดียวและประโยคความรวมในภาษาอังกฤษ

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคน เจอกันอีกแล้วจร้ากับไวยากรณ์การเขียนภาษาอังกฤษและวันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิคการการใช้ประโยคความเดียว และประโยคความรวมในภาษาอังกฤษกันค่ะ ซึ่งเป็นไม้เบื่อไม้เมามากกับคนที่ไม่ชอบเขียน  ครูเอาใจช่วยทุกคนค่า ไปลุยกันเลย 3 โครงสร้างประโยคในภาษาอังกฤษ การจะเป็นประโยคสมบูรณ์ได้นั้น ประโยคจะต้องประกอบไปด้วย 3 ส่วนสำคัญดังนี้ กริยา หรือ verb (ภาคขยาย) ภาคขยาย จะมีหรือไม่มีก็ได้ การใส่ภาคขยายเข้ามาเพื่อให้ประโยคสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ประธาน subject  + กริยา หรือ

Comparison of Adjectives

การใช้ประโยค Comparative Adjectives

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.3 ที่น่ารักทุกคน ยินดีต้อนรับทุกคนเข้าสู่บทเรียนเรื่องคำคุณศัพท์กันนะคะ วันนี้ครูได้ สรุปเรื่อง การใช้ ประโยค ประโยค Comparative Adjectives หรือ อีกชื่อหนึ่งคือ Comparison of Adjectives: การเปรียบเทียบคำคุณศัพท์ในภาษาอังกฤษ มาฝาก ไปลุยกันเลยจร้า   คำศัพท์สำคัญ: Comparative VS Comparison comparative (Adj.)

ลำดับเลขคณิต

ลำดับเลขคณิต

ลำดับเลขคณิต ลำดับเลขคณิต คือลำดับที่มีค่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างคงที่ โดยจำนวนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนี้เราเรียกว่าผลต่างร่วม แทนด้วยสัญลักษณ์ d  โดยที่ d = พจน์ขวา – พจน์ซ้าย การเขียนลำดับเราจะเขียนแทนด้วย    โดยที่ คือพจน์ทั่วไปหรือเรียกอีกอย่างว่า พจน์สุดท้ายนั่นเอง   การหาพจน์ทั่วไปของลำดับเลขคณิต พจน์ที่1 n = 1     

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1