สามัคคีเภทคำฉันท์ วรรณคดีขนาดสั้นที่ว่าด้วยความสามัคคี

สามัคคีเภทคำฉันท์

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นนิทานสุภาษิตขนาดสั้นว่าด้วยเรื่องความสามัคคี เป็นอีกหนึ่งวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี ทั้งด้านการประพันธ์และเนื้อหา เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ทุกคนไปทำความรู้จักกับวรรณคดีเรื่องดังกล่าวเพื่อศึกษาที่มา จุดประสงค์ รวมไปถึงเรื่องย่อ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ

 

ที่มาของเรื่องและจุดประสงค์ในการแต่ง

 

สามัคคีเภทคำฉันท์ ดำเนินเรื่องโดยอิงประวัติศาสตร์ครั้งพุทธกาล เป็นนิทานสุภาษิตในมหาปรินิพพานสูตรและอรรถกถาสุมังคลวิลาสินี

 

สามัคคีเภทคำฉันท์

 

ในสมัยรัชกาลที่ 6 เกิดวิกฤตการณ์ทั้งภายในและภายนอกประเทศ เช่น เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดกบฏ ร.ศ. 130 ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของบ้านเมือง นายชิต บุรทัต จึงได้แต่งเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ โดยอาศัยเค้าคำแปลของเรื่องสามัคคีเภท มาแต่งเป็นคำฉันท์ขึ้นมาในปี พ.ศ. 2457 ลงพิมพ์ในหนังสือธรรมจักษุ ของมหามกุฏราชวิทยาลัย มีจุดประสงค์เพื่อมุ่งชี้ความสำคัญของความสามัคคี การร่วมกันเป็นอันหนึ่งใจเดียวกันของคนในชาติ

 

สามัคคีเภทคำฉันท์

 

ประวัติผู้แต่ง

 

 

นายชิต บุรทัต เป็นกวีในสมัยรัชกาลที่ 6 มีสกุลเดิมว่า ชวางกูร ก่อนได้รับพระราชทานนามสกุลเป็น บุรทัต จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ. 2450 มีผลงานด้านการประพันธ์มากมายทั้งสุภาษิต นิยายเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ลงในหนังสือรายเดือน รวมถึงไปบทละครต่าง ๆ ผลงานที่โดดเด่นคือได้เข้าร่วมในการแต่งฉันท์สมโภชพระมหาเศวตฉัตรในงานราชพิธีฉัตรมงคล ซึ่งขณะนั้นยังบรรพชาเป็นสามเณรและมีอายุเพียง 18 ปี ต่อมาเมื่ออายุ 22 ปี ก็ได้ส่งกาพย์ปลุกใจลงในหนังสือพิมพ์สมุทรสาร ใช้นามปากกาว่า เจ้าเงาะ เอกชนและแมวคราว

 

ลักษณะคำประพันธ์

 

แต่งเป็นบทร้อยกรองประเภทฉันท์ 18 ชนิด และกาพย์อีก 2 ชนิด สลับกันไปมา

รูป ฉันท์ 18 ชนิด กาพย์ 2 ชนิด

 

เรื่องย่อ สามัคคีเภทคำฉันท์

 

พระเจ้าอชาตศัตรูแห่งกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ ทรงมีวัสสการ พราหมณ์ผู้ฉลาดหลักแหลมเป็นที่ปรึกษา มีพระประสงค์จะขยายอาณาจักรไปยังแคว้นวัชชีของเหล่ากษัตริย์ลิจฉวี ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าแคว้นนี้ได้ถูกปกครองโดยยึดมั่นในอปริหานิยธรรม (ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม) ดังนี้

  1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์
  2. พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจที่พึงทำ
  3. ไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ (อันขัดต่อหลักการเดิม) ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้ (ตามหลักการเดิม) ถือปฏิบัติมั่นตามวัชชีธรรม (หลักการ) ตามที่วางไว้เดิม
  4. ท่านเหล่าใดเป็นผู้ใหญ่ในชนชาววัชชี เคารพนับถือท่านเหล่านั้น เห็นถ้อยคำของท่านว่าเป็นสิ่งอันควรรับฟัง
  5. บรรดากุลสตรีกุลกุมารีทั้งหลาย ให้อยู่ดีโดยมิถูกข่มเหง หรือฉุดคร่าขืนใจ
  6. เคารพสักการบูชาเจดีย์ (ปูชนียสถานและปูชนียวัตถุ ตลอดถึงอนุสาวรีย์ต่างๆ) ของวัชชี (ประจำชาติ) ทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ไม่ปล่อยให้ธรรมิกพลีที่เคยให้เคยทำแก่เจดีย์เหล่านั้นเสื่อมทรามไป
  7. จัดให้ความอารักขา คุ้มครอง ป้องกัน อันชอบธรรม แก่พระอรหันต์ทั้งหลาย ตั้งใจว่าขอพระอรหันต์ทั้งหลายที่ยังมิได้มาพึงมาสู่แว่นแคว้น ที่มาแล้วพึงอยู่ในแว่นแคว้นโดยผาสุก

อปริหานิยธรรม 7 ประการนี้ พระพุทธเจ้าตรัสแสดงแก่เจ้าวัชชีทั้งหลายผู้ปกครองรัฐโดยระบอบสามัคคีธรรม เมื่อชาววัชชียังปฏิบัติตามหลักธรรมนี้ จะเอาชนะด้วยการรบไม่ได้ นอกจากจะใช้การเกลี้ยกล่อมหรือยุแยงให้แตกสามัคคี ด้วยเหตุนั้น วัสสการพราหมณ์ปุโรหิตผู้เป็นที่ปรึกษาจึงอาสาเป็นไส้ศึกเพื่อทำให้แคว้นวัชชีแตกความสามัคคี โดยออกอุบายกราบทูลทัดทานการไปตีแคว้นวัชชีให้พระเจ้าอชาตศัตรูแกล้งกริ้ว สั่งให้ลงโทษววัสสการและขับไล่ออกจากเมือง เมื่อทางแคว้นวัชชีทราบเรื่องก็ให้วัสสการมาเข้าเฝ้าเพราะเห็นว่าเป็นคนที่มีความรู้ ความสามารถอย่างมาก จึงจะให้รับใช้ในราชสำนัก ทั้งพิจารณาคดีความและสั่งสอนพระโอรส วัสสการก็ได้ทำตามหน้าที่อย่างสุดความสามารถจนได้รับความไว้วางใจ หลังจากนั้นจึงได้เริ่มสร้างความแคลงใจให้แก่พระโอรส จนนำความไปกราบทูลพระบิดาต่างก็ทรงเชื่อถือพระโอรสของพระองค์ ทำให้เกิดความขุ่นเคืองกันทั่วในหมู่กษัตริย์ลิจฉวี เมื่อเวลาผ่านไป 3 ปี ความสามัคคีก็ถูกทำลายสิ้น

วัสสการพราหมณ์ทดสอบด้วยการตีกลองนัดประชุม ปรากฏว่าไม่มีกษัตริย์ลิจฉวีมาเข้าร่วมประชุมสักพระองค์ เมื่อมั่นใจว่าแผนการสำเร็จ จึงลอบส่งข่าวไปยังพระเจ้าอชาตศัตรู ให้ยกทัพมาตีแคว้นวัชชี เมื่อกองทัพแคว้นมคธมาถึงเมืองเวสาลี ชาวเมืองตื่นตระหนก แต่เพราะความทิฐิ ทำให้ไม่มีกษัตริย์พระองค์ใดออกมาป้องกันเมือง วัสสการพราหมณ์จึงเปิดประตูเมืองให้กองทัพมคธเข้ามายึดได้อย่างง่ายดาย

 

เป็นอย่างไรบ้างคะ น้อง ๆ คงจะคิดเหมือนกันว่าวรรณคดีเรื่องนี้ไม่เพียงแต่ให้ความบันเทิงแต่ยังแทรกคติธรรมไว้อีกด้วย ไม่แปลกใจเลยใช่ไหมล่ะคะว่าทำไมคำฉันท์ขนาดสั้นที่มีความยาวเพียงแค่ 10 หน้ากระดาษเรื่องนี้ถึงได้มาอยู่ในแบบเรียนภาษาไทยให้เราได้ศึกษากัน และเพื่อให้น้อง ๆ ได้รับความรู้เต็มอิ่มมากกว่าเดิม เรายังมีอีกบทเรียนซึ่งก็คือศึกษาตัวบทเด่น ๆ และคุณค่าที่อยู่ในเรื่องรออยู่ แต่ก่อนจะไปเรียนกัน น้อง ๆ อย่าลืมดูคลิปของครูอุ้มเพื่อทบทวนในสิ่งที่เรียนไปและหมั่นทำแบบฝึกหัดกันเยอะ ๆ ด้วยนะคะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

มงคลสูตร

รอบรู้เรื่องมงคลสูตรคำฉันท์ วรรณคดีพระพุทธศาสนาที่มาของหลักมงคล 38

บทนำ   สวัสดีน้อง ๆ ทุกคนกลับมาพบกับบทเรียนภาษาไทยที่น่าสนใจอีกเช่นเคย สำหรับเนื้อหาวันนี้เราจะขอหยิบยกวรรณคดีพระพุทธศาสนามาเล่าให้ทุกคนได้ฟังกันบ้าง ซึ่งวรรณคดีที่เราได้เลือกมานั่นก็คือเรื่อง มงคลสูตรคำฉันท์ เชื่อว่าน้อง ๆ มัธยมปลายหลายคนคงจะคุ้นเคยกับเรื่องนี้กันดีอยู่แล้ว เพราะเป็นวรรณคดี ที่สอนบรรทัดฐานของการกระทำความดีตามวิถีของชาวพุทธ และเป็นที่มาของหลักมงคล 38 ประการด้วย ดีงนั้น เดี๋ยววันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปรู้จักกับวรรณคดีเรื่องนี้ให้มากขึ้น ถ้าพร้อมแล้วก็เตรียมตัวเข้าสู่เนื้อหากันได้เลย     ประวัติความเป็นมา เรื่อง

ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ

ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ เรียนรู้บทร้อยกรองจากพุทธศาสนสุภาษิต

สุภาษิต หมายถึงถ้อยคำที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านาน และมีความหมายเป็นคติสอนใจ บางสุภาษิตพูดนำมาแต่งเป็นบทร้อยกรองเพื่อใช้เป็นบทอาขยานให้กับเด็ก ๆ ได้เรียน ได้ฝึกอ่าน รวมไปถึงให้เรียนรู้ข้อคิดจากสุภาษิตได้ง่ายมากขึ้น บทที่เราจะได้เรียนกันในวันนี้คือ ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความเป็นมา ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ     ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญเป็นบทร้อยกรองที่ถูกประพันธ์ขึ้นโดยพระยาอุปกิตศิลปสาร แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ 1 บท และกาพย์ยานี 11

Profile- WH Questions

ประโยคคำถาม Wh-Questions ที่ต้องการคำตอบ

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.  6 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุยตัวอย่างวิธีการแต่งประโยคคำถามด้วย Wh- Questions ที่ใช้กับเวลาในอดีตและคำถามทั่วไปที่ต้องการคำตอบแบบไม่ใช่ Yes หรือ No กันค่ะ ไปดูกันเลย อะไรคือ Wh-Questions     เมื่อต้องถามคำถามอะไรก็ตามที่ไม่ต้องการคำตอบ Yes หรือ No แบบทื่อๆ เราจะเรียกคำถามประเภทนี้ว่า Question  word หรืออีกชื่อในวงการคือ

ศัพท์บัญญัติ

ศัพท์บัญญัติ เรียนรู้การยืมคำและบัญญัติขึ้นใหม่

น้อง ๆ หลายคนอาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยกับคำว่า ศัพท์บัญญัติ สักเท่าไหร่ บทเรียนวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับศัพท์บัญญัติที่ว่านั่นกันค่ะว่าคืออะไร มีที่มาและมีหลักเกณฑ์ในการสร้างอย่างไรบ้าง ถ้าน้อง ๆ พร้อมที่จะเรียนรู้กันแล้ว ก็ไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   การบัญญัติศัพท์คืออะไร     การบัญญัติศัพท์ คือการกำหนดคำศัพท์จากภาษาต่างประเทศขึ้นมาใหม่ในภาษาไทย เพื่อใช้สื่อความหมายบางอย่างโดยเฉพาะในศาสตร์แขนงใดแขนงหนึ่ง หรือเพื่อใช้ในการเขียนเอกสารของงานราชการ ตามเจตนาของผู้บัญญัติ ซึ่งคำศัพท์ที่เกิดจากวิธีการเช่นนี้จะเรียกว่า ศัพท์บัญญัติ โดยทั่วแล้วศัพท์บัญญัติมักจะมาจากภาษาอังกฤษ

คำเชื่อม Conjunction

การใช้คำสันธาน (Conjunctions) เช่น and/ but/ or/ before/ after and etc.

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง “การใช้คำสันธาน (Conjunctions) เช่น and/ but/ or/ before/ after and etc.” กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด คำสันธาน(Conjunctions)คืออะไร   คำสันธาน (Conjunctions) คือ คำที่ใช้เชื่อมระหว่างประโยคต่อประโยค คำต่อคำ หรือระหว่างกริยาต่อกริยา และอื่นๆ เช่น and/

Imperative Sentence: เรียนรู้การใช้ประโยคคำสั่ง ขอร้องในชีวิตประจำวัน

เชื่อว่าชีวิตประจำวันของน้องๆ ไม่ว่าจะเป็นที่โรงเรียน ที่บ้าน หรือเวลาออกไปเที่ยว น้องๆ อาจจะเคยได้ยินประโยคประมาณนี้กันมาบ้าง

Turn off the computer! (จงปิดคอมพิวเตอร์!)

Please pass me the sugar (ช่วยส่งน้ำตาลมาให้ที)

Drink a lot of water (ดื่มน้ำเยอะๆ)

ประโยคเหล่านี้ภาษาอังกฤษมีชื่อเรียกว่า Imperative Sentence วันนี้เราจะมาดูกันว่า Imperative Sentence คืออะไร และสามารถใช้ในสถานการณ์ไหนได้บ้าง

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1