โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ความเป็นมาและเรื่องย่อ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร

 

พงศาวดาร คือเรื่องราวความเป็นมาของเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับประเทศชาติ เรื่องนี้น้อง ๆ ก็คงจะเคยได้ยินและรู้จักกันมาพอสมควรแล้วใช่ไหมคะ แต่น้อง ๆ เคยได้ยินเรื่อง โคลงภาพพระราชพงศาวดาร กันมาบ้างหรือเปล่าคะว่าคืออะไร ทำไมถึงมีทั้งโคลง ภาพ และพงศาวดารในเรื่องเดียวกันได้ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ย้อนอดีตไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของโคลงภาพพระราชพงศาวดาร วรรณคดีไทยที่ทรงคุณค่าอีกเรื่องหนึ่ง ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

ประวัติความเป็นมาและจุดประสงค์ในการแต่งโคลงภาพพระราชพงศาวดาร

 

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร

 

ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์จะสรรเสริญพระเกียรติคุณของพระมหากษัตริย์ไทยและเหล่าทหาร ข้าราชการที่ความกล้าหาญ ซื่อสัตย์สุจริตและกตัญญูต่อแผ่นดินในสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ นอกจากนี้ยังต้องการเชิดชูงานฝีมือของช่างไทยและศิลปะการประพันธ์ จึงได้เลือกสรรเรื่องในพระราชพงศาวดาร ให้ช่างเขียนที่มีฝีมือเขียนรูปภาพและมีโคลงบอกเล่าเรื่องราว และโปรดให้นำไปประดับพระเมรุท้องสนามหลวงให้ประชาชนชมในปี พ.ศ. 2430

 

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร

 

นอกจากนี้โคลงพระราชพงศาวดารยังได้รับการพิมพ์เป็นเล่มแล้วแจกให้ประชาชนอีกด้วย เมื่อเสร็จสิ้นงานพระเมรุแล้วจึงโปรดให้แบ่งรูปภาพและเรื่องพระราชพงศาวดารไปประดับไว้ ณ พระที่นั่งอัมพรวินิจฉัย พระที่นั่งวโรภาสพิมาน และพระราชวังบางประอิน

 

ลักษณะคำประพันธ์

 

โคลงสี่สุภาพ

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร

 

โคลงภาพพระราชพงศาวดารในแบบเรียนวิชาภาษาไทย

 

โคลงภาพพระราชพงศาวดารมีจำนวนหลายบทและหลายเรื่อง แต่เรื่องที่ถูกนำมาเป็นแบบเรียนภาษาไทยมีด้วยกัน 2 เรื่อง คือ โคลงบรรยายภาพที่ 10 พระสุริโยทัยขาดคอช้างและโคลงบรรยายภาพที่ 56 พันท้ายนรสิงห์ถวายชีวิต

 

เรื่องย่อโคลงภาพพระราชพงศาวดาร

 

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ตอน พระสุริโยไทขาดคอช้าง

 

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร

 

ผู้พระราชนิพนธ์ : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ผู้วาด : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เจอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

 

พระสุริโยทัยขาดคอช้าง (พ.ศ. 2061) เป็นเรื่องราวในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เกิดขึ้นเมื่อพระเจ้าบุเรนองเสด็จกรีธาทัพหลวงเข้ามายังประเทศไทยหมายจะตีกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระมหาจักรพรรดิจึงเสด็จยกกองทัพออกไปหวังจะดูกำลังข้าศึก สมเด็จพระสุริโยทัยพระอัครมเหสีก็ทรงเครื่องเป็นชายแล้วเสด็จตามออกไปด้วย จนไปเจอกับพระเจ้าแปร ซึ่งเป็นทัพหน้าของพระเจ้าหงสาวดี จึงเกิดการปะทะขึ้น สมเด็จพระมหาจักรพรรดิกับพระเจ้าแปรทรงไสช้างชนกัน กระทั่งช้างของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสียที พระเจ้าแปรจึงไล่ตาม สมเด็จพระสุริโยทัยเห็นท่าไม่ดีจึงรีบเข้าไปช่วยพระสวามี ทรงสู้กับพระเจ้าแปรบนช้าง แต่แล้วก็พลาดท่าถูกพระเจ้าแปรจ้วงฟันจนสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง

 

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ตอน พันท้ายนรสิงห์ถวายชีวิต

 

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร

 

ผู้ประพันธ์ : พระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าวรวรรณากร (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิป ประพันธ์พงศ์)

ผู้วาด : นายทอง (พระวรรณวาดวิจิตร)

 

พันท้ายนรสิงห์ถวายชีวิต (พ.ศ. 2249) เรื่องราวในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าสรรเพชญ์ที่ 8 เกิดขึ้นในตอนที่สมเด็จพระเจ้าสรรเพชญ์ที่ 8 หรือพระเจ้าเสือประทับเรือพระที่นั่งไปทรงเบ็ด ณ ปากน้ำเมืองสาครบุรีเมื่อเรือพระที่นั่งไปถึงคลองโคกขามซึ่งคดเคี้ยว พันท้ายนรสิงห์ซึ่งถือท้ายเรือพระนั่งแก้ไขไม่ทันทำให้โขนเรือพระที่นั่งชนกิ่งไม้หักลงไปในน้ำ พันท้ายนรสิงห์ตกใจมากจึงกราบทูลให้ตัดศีรษะตามกฎหมาย แม้ว่าพระองค์จะทรงกรุณาอภัยโทษ และสั่งให้ฝีพายปั้นดินแล้วตัดคอหุ่นแทน แต่พันท้ายนรสิงห์ก็ไม่ยอม โดยกล่าวว่าพระเจ้าเสือทรงทำผิดกฎมณเฑียรบาล อ้อนวอนให้พระองค์ทรงรับสั่งให้ประหารชีวิตตน เพื่อธำรงความศักดิ์สิทธิ์ของพระมหากษัตริย์ไว้ เพราะถือว่าพระมหากษัตริย์ต้องมีพระราชภาระปกครองราษฎรในแผ่นดินให้ร่มเย็นเป็นสุขสืบไป หากกฎหมายไม่มีความศักดิ์สิทธิ์แล้วจะมีใครแผ่นดินเกรงกลัวในพระราชอำนาจ จนสุดท้ายพระเจ้าเสือก็ยอมทำตามที่พันท้ายนรสิงห์ขอและให้เอาศีรษะกับโขนเรือที่หักตั้งเซ่นไว้ที่ศาลเพียงตา

 

เกร็ดน่ารู้ในโคลงภาพพระราชพงศาวดาร

 

สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8

สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือสมเด็จพระเจ้าเสือ ทรงเป็นกษัตริย์แห่งกรุงศีอยุธยา สาเหตุที่คนทั่วไปเรียกว่าสมเด็จพระเจ้าเสือ เพราะพระองค์ดูดุดันเหมือนเสือ ทรงชื่นชอบออกประพาสออกเยี่ยมหัวเมืองแบบไม่เปิดเผยตัวตน และด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้พระองค์ได้รู้จักกับนายสินและกลายมาเป็นเพื่อนรักกัน ก่อนที่นายสินจะรู้ความจริงว่าเพื่อนรักของตนแท้จริงคือพระเจ้าเสือ ต่อมานายสินได้รับพระราชทานยศเป็นพันท้ายนรสิงห์ถือท้ายเรือพระที่นั่งนั่นเอง

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร

 

พระสุริโยทัย

เรื่องราวของพระสุริโยทัยถูกนำไปทำเป็นภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ชื่อเรื่อง สุริโยไท สาเหตุที่ไม่เขียนว่า สุริโยทัย เพราะผู้สร้างและผู้กำกับภาพยนตร์มองว่า คำว่า ไท น่าจะเป็นคำโบราณที่ชาวกรุงศรีอยุธยาใช้กันมากกว่า ทัย จึงใช้คำว่าสุริโยไทเป็นชื่อหนัง แต่นักวิชาการหลาย ๆ ท่าน อาทิ สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ใช้คำว่า สุริโยทัย ซึ่งเป็นไปตามที่พระราชพงศาวดารต่าง ๆ บันทึกไว้

 

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร

 

เป็นอย่างไรบ้างคะน้อง ๆ หลังจากที่ได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับโคลงภาพพระราชพงศาวดารไปแล้ว นอกจากจะได้รู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทยแล้ว ยังได้ความรู้เกี่ยวกับการประพันธ์ที่ยอดเยี่ยมอีกด้วย โคลงภาพพระราชพงศาวดารถือเป็นวรรณคดีที่ทรงคุณค่าอีกเรื่องหนึ่ง ควรค่าแก่การศึกษามาก ๆ เลยใช่ไหมล่ะคะ และสุดท้ายนี้ ถ้าน้อง ๆ คนไหนอยากฟังคำอธิบายเพิ่มเติมก็ตามไปดูคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มได้เลยค่ะ ในคลิปครูอุ้มจะเล่าเรื่องย่อโดยแปลจากโคลงโดยตรง ทำให้นอกจากได้รู้เรื่องราวแล้ว น้อง ๆ จะได้เห็นลักษณะการประพันธ์ที่ชัดขึ้น และได้เรียนรู้คำศัพท์เพิ่มด้วย มีประโยชน์มาก ๆ เลยค่ะ ไปดูกันเลยนะคะ

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

วัฒนธรรมกับภาษา

วัฒนธรรมกับภาษา ความสัมพันธ์ของสองสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น

มนุษย์ก่อให้เกิดภาษา และภาษาก็ก่อให้เกิดวัฒนธรรม น้อง ๆ สงสัยกันหรือไม่คะว่ามนุษย์ วัฒนธรรมกับภาษา เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกันได้อย่างไร บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงเรื่องราวที่ว่านี่กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้กันเลยค่ะ   มนุษย์ วัฒนธรรมกับภาษา   วัฒนธรรม คืออะไร วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น รากศัพท์ในภาษาละตินมีความหมายว่าการเพาะปลูก แต่ไม่ได้ใช้แค่ในเชิงเกษตรกรรม แต่จะรวมไปถึงการปลูกฝังในด้านต่าง ๆ ทั้งให้การศึกษา ความเคารพ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลง

Imperative Sentence: เรียนรู้การใช้ประโยคคำสั่ง ขอร้องในชีวิตประจำวัน

เชื่อว่าชีวิตประจำวันของน้องๆ ไม่ว่าจะเป็นที่โรงเรียน ที่บ้าน หรือเวลาออกไปเที่ยว น้องๆ อาจจะเคยได้ยินประโยคประมาณนี้กันมาบ้าง

Turn off the computer! (จงปิดคอมพิวเตอร์!)

Please pass me the sugar (ช่วยส่งน้ำตาลมาให้ที)

Drink a lot of water (ดื่มน้ำเยอะๆ)

ประโยคเหล่านี้ภาษาอังกฤษมีชื่อเรียกว่า Imperative Sentence วันนี้เราจะมาดูกันว่า Imperative Sentence คืออะไร และสามารถใช้ในสถานการณ์ไหนได้บ้าง

การตั้งคําถามทางสถิติ

การตั้งคําถามทางสถิติ บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง การตั้งคําถามทางสถิติ ไว้อย่างละเอียด ก่อนอื่นน้องมาทำความเข้าใจกับความหมายของ “คำถามทางสถิติ” คำถามทางสถิติ  หมายถึง คำถามที่มีคำตอบหรือคาดว่าจะได้รับคำตอบมากกว่า 1 คำตอบ รวมถึงคำถามที่ต้องการคำตอบซึ่งได้มาจากการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานบางอย่างแล้วนำมาจำแนก  คำนวณ หรือวิเคราะห์เพื่อใช้ตอบคำถามนั้น คำถามทางสถิติจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ ระบุสิ่งที่ต้องการศึกษาได้ มีกลุ่มบุคคลหรือสิ่งที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลที่หลากหลาย สามารถคาดการณ์ได้ว่าคำตอบที่จะเกิดขึ้นมีความแตกต่างกัน ตัวอย่างคำถามทางสถิติ คำถามต่อไปนี้เป็นคำถามทางสถิติ อัตราส่วนที่เหมาะสมในการผสมสีทาบ้าน แต่ยี่ห้อควรเป็นอย่างไร

เรียนรู้และเข้าใจเรื่องคำซ้อนในภาษาไทย

คำซ้อน เป็นหนึ่งในบทเรียนหลักภาษาไทยเรื่องการสร้างคำ น้อง ๆ หลายคนอาจจะเคยสับสนกับวิธีสร้างคำซ้อน ไม่รู้ว่าแบบไหนกันแน่ที่เรียกว่าคำซ้อน เพราะภาษาไทยเรานั้นก็มีคำมากมายเหลือเกิน วันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องคำซ้อนให้มากขึ้น รับรองว่าไม่ยากแน่นอนค่ะ   คำซ้อน     ความหมายของคำซ้อน   คำซ้อน คือ คำที่เกิดจากการนำคำตั้งแต่ 2 คำ ขึ้นไปมาเรียงต่อกัน โดยคำที่นำมาซ้อนกันจะต้องเป็นคำที่มีความหมายเหมือนกัน ใกล้เคียงกัน ตรงข้ามกัน หรืออาจมีเสียงที่คล้ายกัน

ป6การใช้ love, like, enjoy, hate ในการเเต่งประโยค

การใช้ love, like, enjoy, hate ในการเเต่งประโยค

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.6 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง การใช้  love, like, enjoy, hate ในการเเต่งประโยค หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ Let’s go!   โครงสร้าง: In my free time/ In my spare time,…     In my

ตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.)

ตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.)

ตัวคูณร่วมน้อย(ค.ร.น.) ของจำนวนนับตั้งแต่ 2 จำนวนขึ้นไป หมายถึง ตัวตั้งร่วมหรือพหุคูณร่วมที่มีค่าน้อยที่สุดของจำนวนนับเหล่านั้น

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1