เรียนรู้กลวิธีการสรรคำ ความสวยงามทางภาษา

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ในการแต่งบทประพันธ์ประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะบทร้อยกรอง การสรรคำ จะช่วยทำให้บทประพันธ์นั้น ๆ มีความไพเราะมากขึ้น บทเรียนเรื่องการเสริมสร้างความรู้ทางภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปศึกษาเกี่ยวกับการสรรคำ ว่ามีความหมายและวิธีการเลือกคำมาใช้อย่างได้บ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

 

การสรรคำ ความหมายและความสำคัญ

 

การสรรคำ

 

การสรรคำ คือ การเลือกใช้คำให้สื่อความคิด ความเข้าใจ ความรู้สึก และอารมณ์ได้อย่างงดงาม โดยคำนึงถึงความงามด้านเสียง โวหาร และรูปแบบคำประพันธ์ การสรรคำเป็นกลวิธีทางวรรณศิลป์ที่กวีเลือกสรรคำมาใช้ในการแต่งกวีนิพนธ์ ผู้แต่งมักสรรคำต่าง ๆ มาเรียงร้อยให้เกิดความไพเราะ ให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพและเกิดความรู้สึกคล้อยตา สามารถทำได้ดังนี้

 

1. เลือกใช้คำให้ถูกต้องตรงตามความหมายที่ต้องการ

2. เลือกใช้คำที่เหมาะสมแก่เนื้อเรื่องและฐานะของบุคคล

3. เลือกใช้คำให้เหมาะสมกับคำประพันธ์ บางคำสามารถใช้ได้ทั้งในร้อยแก้วและร้อยกรอง แต่ก็จะมีบางคำที่ไม่เหมาะกับการนำมาเขียนแบบร้อยแก้ว ส่วนมากจะเป็นคำที่ยากเกินไป บทร้อยแก้วไม่มีกำหนดสัมผัสเหมือนร้อยกรอง ดังนั้นจึงไม่จำเป็นที่จะต้องใช้คำยากเกินความจำเป็น

 

กลวิธีการสรรคำ

 

การสรรคำ

 

1. การเล่นคำ คือ การนำคำที่มีรูปหรือเสียงพ้องกันหรือใกล้เคียงกันมาเล่น มีหลายวิธี เช่น การเล่นคำพ้อง การเล่นคำหลายความหมาย เป็นต้น

  • คำพ้องเสียง ในบทประพันธ์หลายเรื่อง มักใช้การคำพ้องเสียงที่ออกเสียงเหมือนแต่คนละความหมาย ดังตัวอย่างในบทละครเรื่อง รามเกียรติ์ ที่มีการเล่นคำที่ออกเสียงเหมือนกัน “เบญจวรรณจับวัลย์มาลี   เหมือนวันเจ้าวอนพี่ให้ตามกวาง” วรรณ วัลย์ และวัน ออกเสียงว่า วัน เหมือนกัน
  • คำพ้องรูป เป็นการเล่นคำที่ใช้คำที่เขียนเหมือนกัน แต่มีความหมายแตกต่างกันให้มาอยู่ในวรรคเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่นในนิราศพระบาทของสุนทรภู่ ที่มีการใช้คำว่า รอ ใน 3 ความหมายแต่อ่านออกเสียงเหมือนกัน “เห็นรอหักเหมือนหนึ่งรักพี่รอรา แต่รอท่ารั้งทุกข์มาตามทาง” รอ คำแรก คือ หลักปักกั้นกระแสน้ำ ส่วน รอรา คือหยุด และในคำว่า รอท่า หมายถึง คอย

2. การซ้ำคำ คือ การนำคำคำเดียวมาซ้ำในที่ใกล้กัน เพื่อย้ำความหมาย

 

การสรรคำ

 

3. นาฏการ คือ การใช้คำที่แสดงการเคลื่อนไหวที่สวยงาม

 

 

4. คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน ตรงกัน หรือคล้ายกันมาก แต่เขียนและออกเสียงต่างกัน

 

 

ในบทประพันธ์นี้มีคำไวพจน์คือคำว่า แก้วตา เยาวมาลย์ นฤมล หมายถึง ผู้หญิง ส่วนคำว่า ดำริ ตริ หมายถึง คิด

 

นอกจากจะทำให้บทประพันธ์นั้นมีความไพเราะยิ่งขึ้นแล้ว การสรรคำยังเหมือนเป็นเครื่องแสดงถึงคลังความรู้ของผู้แต่งอีกด้วยค่ะ ผู้แต่งที่แต่งวรรณคดีดัง ๆ หลายเรื่องจึงเลือกใช้คำที่สวยงามและไพเราะเพื่อให้เห็นว่ามีคลังคำศัพท์มากมายให้หัว สุดท้ายนี้น้อง ๆ สามารถดูคลิปการสอนของครู้อุ้มย้อนหลังเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการสรรคำให้มากขึ้นได้ ไปดูกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การใช้รูปประโยคคำสั่ง คำขอร้อง คำแนะนำ ที่ใช้ในการเรียน

การใช้รูปประโยคคำสั่ง คำขอร้อง คำแนะนำ ที่ใช้ในการเรียน + การใช้ Can/ Could/ Should

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม. 1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาเรียนรู้เกี่ยวกับ การใช้รูปประโยคคำสั่ง คำขอร้อง คำแนะนำ ที่เจอบ่อยและการใช้ Can, Could, Should กันนะคะ ไปลุยกันเลย   มารู้จักกับประโยคคำสั่ง (Imperative sentence)     รูปแบบและโครงสร้างประโยคคำสั่ง Imperative sentence Imperative sentence ในรูปแบบประโยคบอกเล่าจะ

should have

I Should Have Done It! โครงสร้างประโยค “รู้งี้”

สวัสดีน้องๆ ม. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับหลักไวยากรณ์เล็กๆ น้อยๆ ที่ได้ใช้ประโยชน์มากๆ นั่นคือเรื่องการใช้ should have + past participle นั่นเองครับ จะเป็นอย่างไรลองไปดูกันเลยครับ

ไตรภูมิพระร่วง เรียนรู้วรรณคดีเก่าแก่จากสมัยสุโขทัย

ไตรภูมิพระร่วง เป็นวรรณคดีเก่าแก่ที่แต่งขึ้นตั้งแต่สมัยสุโขทัย น้อง ๆ สงสัยไหมคะว่าทำไมวรรณคดีที่เก่าแก่ขนาดนี้ถึงยังมีให้เห็น ให้เราได้เรียนกันมาจนถึงปัจจุบัน บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ทุกคนไปไขข้องใจทั้งประวัติความเป็นมา ลักษณะคำประพันธ์ รวมไปถึงเรื่องย่อในตอน มนุสสภูมิ กันด้วย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของเรื่อง   ไตรภูมิพระร่วง เดิมเรียกว่า เตภูมิกถา หรือ ไตรภูมิกถา แต่สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเปลี่ยนชื่อให้เพื่อเป็นเกียรติแก่พญาลิไท กษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วงผู้พระราชนิพนธ์เรื่องนี้เมื่อปี

ทศนิยมกับการวัด

ความสัมพันธ์ของทศนิยมกับการวัด

บทความนี้จะกล่าวถึงความสัมพันธ์ของทศนิยมกับการวัด ที่จะทำให้น้อง ๆสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสถาณการณ์ที่ต้องเจอในชีวิตประจำวัน จะทำให้เข้าใจหลักการและสามารถบอกค่าของการวัดที่เป็นทศนิยมได้ถูกต้อง

การเลื่อนขนาน

สำหรับการแปลงทางเรขาคณิตในบทนี้จะกล่าวถึงการแปลงที่จะได้ภาพที่มีรูปร่างเหมือนกันและขนาดเดียวกันกับรูปต้นแบบเสมอ โดยใช้การเลื่อนขนาน

สัญลักษณ์พื้นฐานเกี่ยวกับเซต

สัญลักษณ์ของเซตจะช่วยให้เราไม่ต้องเขียนประโยคยาวซ้ำๆ และใช้ได้เกือบทุกบทของวิชาคณิตศาสตร์ ช่วยให้ประหยัดเวลาและเนื้อที่บนกระดาษมากๆ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1