โคลงโสฬสไตรยางค์ โคลงสุภาษิตผลงานพระราชนิพนธ์ในร.5

โคลงโสฬสไตรยางค์

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

โคลงโสฬสไตรยางค์ เป็นโคลงสุภาษิต ผลงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับวรรณคดีที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่าและข้อคิดสอนใจมากมาย ถ้าอยากรู้แล้วว่ามีเนื้อหาอะไรและมีข้อคิดอย่างไรบ้าง เราก็ไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

ประวัติความเป็นมา

 

โคลงโสฬสไตรยางค์

 

โคลงโสฬสไตรยางค์ (พ.ศ. 2423) เป็นโคลงสุภาษิต บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จเพราะจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 5 เดิมเป็นภาษาอังกฤษ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กวีในพระราชสำนักแปลและประพันธ์โคลงเป็นภาษาไทย โดยพระองค์ได้ทรงตรวจแก้และทรงพระราชนิพนธ์โคลงบทนำด้วย

 

โคลงโสฬสไตรยางค์

 

ความหมายของโสฬสไตรยางค์

 

โสฬส แปลว่า 16 ไตรยางค์ แปลว่า องค์ 3 โคลงโสฬสไตรยางค์จึงหมายถึงโคลงสี่สุภาพที่แบ่งเนื้อหาออกเป็น 16 หมวด หมวดละ 3 ข้อ

 

จุดมุ่งหมายในการแต่ง

 

 

ลักษณะคำประพันธ์

 

โคลงสี่สุภาพ

 

เนื้อหาของโคลงโสฬสไตรยางค์ 16 หมวด

 

1. สามสิ่งควรรัก คือ ความกล้า ความสุภาพ ความรักใคร่

2. สามสิ่งควรชม คือ อำนาจปัญญา เกียรติยศ มารยาทดี

3. สามสิ่งควรเกลียด คือ ความดุร้าย ความหยิ่งกำเริบ ความอกตัญญู

4. สามสิ่งควรรังเกียจติเตียน คือ ชั่วเลวทราม มารยา ริษยา

5. สามสิ่งควรเคารพ คือ ศาสนา ยุติธรรม ความประพฤติเป็นประโยชน์ทั่วไป

6. สามสิ่งควรยินดี คือ งาม ความซื่อตรง ไทยแก่ตน

7. สามสิ่งควรปรารถนา คือ ความสุขสบาย มิตรสหายที่ดี จิตใจที่ผ่องใส

8. สามสิ่งควรอ้อนวอนขอ คือ ความเชื่อถือ ความสงบ ใจบริสุทธิ์

9. สามสิ่งควรนับถือ คือ ปัญญา ฉลาด มั่นคง

10. สามสิ่งควรชอบ คือ ความเอื้ออารี ความสนุกสนาน ความเบิกบาน

11. สามสิ่งควรสงสัย คือ คำกล่าวยอ ความหน้าเนื้อใจเสือ ความกลับกลอก

12. สามสิ่งควรละ คือ ความเกียจคร้าน การพูดเพ้อเจ้อ วาจาหยาบคาย

13. สามสิ่งควรกระทำให้มี คือ หนังสือดี เพื่อนดี ใจดี

14. สามสิ่งควรหวงแหน คือ ชื่อเสียงยศศักดิ์ บ้านเมืองของตน มิตรสหาย

15. สามสิ่งควรระวัง คือ อาการที่เกิดจากใจพาไป ความมักง่าย วาจา

16. สามสิ่งควรเตรียมเผื่อ คือ อนิจจัง ชรา มรณะ

 

โคลงบทเด่น ในโคลงโสฬสไตรยางค์

 

 

      ควรกล้ากล้ากล่าวถ้อย    ทั้งหทัย แท้แฮ

สุวภาพพจน์ภายใน               จิตพร้อม

ความรักประจักษ์ใจ               จริงแน่ นอนฤา

สามสิ่งควรรักน้อม                 จิตให้สนิทจริง

 

ถอดคำประพันธ์ โคลงบทนี้นำสามสิ่งที่ควรรัก คือ ความกล้า ความสุภาพ และความรักใคร่ ให้กล้าที่จะพูดออกมาจากใจ สุภาพอ่อนน้อม และแสดงความรักใคร่ ซึ่งเป็นสามสิ่งที่ควรมีให้ผู้อื่นอย่างจริงใจ

 

คุณค่าและข้อคิดที่ได้จากโคลงโสฬสไตรยางค์

 

 

โคลงโสฬสไตรยางค์ เป็นโคลงสุภาษิตที่สอนให้มนุษย์รู้จักดำเนินชีวิตไปในทางที่ดีงาม ใช้ชีวิตอย่างตระหนักรู้อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรัก ความสุภาพ การมีมารยาทที่ดี การมีจิตใจโอบอ้อมอารี และเรื่องอื่น ๆ อีกมากมายที่ครอบคลุมการใช้ชีวิตทั้งหมดไว้อย่างครบถ้วน นอกจากนี้โครงโสฬสไตรยางค์ ยังเป็นเป็นบทประพันธ์ที่เป็นด้วยคุณค่าด้านวรรณศิลป์ ทั้งการใช้สัมผัสสระและสัมผัสพยัญชนะในโคลงแต่ละบท รวมไปถึงการใช้ถ้อยคำที่แสนจะตรงไปตรงมา ทำให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องราวได้ง่าย แต่ก็ไม่ละทิ้งความสวยงามทางภาษา

 

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ หลังจากได้เรียนรู้เรื่องโคลงสุภาษิต เรื่อง โคลงโสฬสไตรยางค์กันไปแล้ว น้อง ๆ คงจะรู้ได้ทันทีเลยใช่ไหมล่ะคะ ว่าทำไมวรรณคดีเรื่องนี้ถึงได้มีคุณค่าแก่ประชาชนคนไทย เพราะนอกจากจะประพันธ์โดยในหลวง รัชกาลที่ 5 แล้วนั้น โคลงบทนี้ยังเปี่ยมไปด้วยข้อคิดเตือนใจอีกมากมาย ที่ถ้าน้อง ๆ ได้อ่านและศึกษาแล้ว รับรองว่าได้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตขึ้นอีกเยอะเลยค่ะ ก่อนลากัน น้อง ๆ อย่าลืมทำแบบฝึกหัดและดูคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อทบทวนเนื้อหาที่เรียนกันด้วยนะคะ ไปชมพร้อม ๆ กันเลยค่า

 

โคลงสุภาษิต

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความวิชาภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

คำซ้ำคืออะไร เรียนรู้และเข้าใจหลักการสร้างคำอย่างง่าย

  จากที่ได้เรียนเรื่องการสร้างคำประสมและคำซ้อนไปแล้ว บทเรียนหลักภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้การสร้างคำอีกหนึ่งชนิดที่สำคัญไม่แพ้สองคำก่อนหน้า นั่นก็คือ คำซ้ำ นั่นเองค่ะ คำซ้ำคืออะไร มีวิธีสร้างคำได้อย่างไรบ้าง วันนี้เราไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   คำซ้ำ     คำซ้ำคืออะไร?   คำซ้ำ หมายถึง การสร้างคำขึ้นใหม่ โดยนำคำมูลซึ่งส่วนมากเป็นคำพยางค์เดียวมาซ้ำกันแล้วมีความหมายเปลี่ยนแปลงไป อาจเน้นหนักขึ้น หรือเบาลง

รากที่ n ของจำนวนจริง

รากที่ n ของจำนวนจริง และจำนวนจริงในรูปกรณฑ์

รากที่ n ของจำนวนจริง รากที่ n ของจำนวนจริง คือจำนวนจริงตัวหนึ่งยกกำลัง n แล้วเท่ากับ x   เมื่อ n > 1 เราสามารถตรวจสอบรากที่ n ได้ง่ายๆ โดยนิยามดังนี้ นิยาม ให้  x, y เป็นจำนวนจริง และ n

การเขียนจำนวนในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์

การเขียนจำนวนในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์

การเขียนจำนวนในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ บทความนี้ได้รวมรวมเนื้อหาและตัวอย่างเกี่ยวกับ การเขียนจำนวนในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ ไว้อย่างหลากหลายและแสดงวิธีทำอย่างละเอียด  แต่ก่อนที่น้องๆจะได้เรียนรู้เรื่องนี้น้องสามารถทบทวน การเขียนเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก และ การคูณเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก (กดลิ้งค์ที่ข้อความได้เลยค่ะ)  ซึ่งจะทำให้น้องๆ ได้เรียนรู้เรื่องต่างๆอย่างง่ายดาย ซึ่งได้นำเสนออกมาในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ทำให้น้องๆสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ ฝึกการเขียนจำนวนในรูปเลขยกกำลังที่มีฐานเป็น 10 ดังนี้ 10 = 10 = 10¹ 100 = 10

การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง

การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง คือ การนำเสนอข้อมูลที่ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้โดยใช้รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก ซึ่งเเต่ละรูปมีความกว้างเท่ากัน เเละใช้ความสูงหรือความยาวเเสดงปริมาณของข้อมูล เเต่จุดเริ่มต้นจะต้องเริ่มในระดับเดียวกันเสมอ อาจอยู่ในเเนวตั้งหรือเเนวนอนก็ได้ การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่งเปรียบเทียบ คือ การนำเสนอข้อมูลโดยเปรียบเทียบข้อมูลตั้งเเต่ 2 ชุดขึ้นไปในแผนภูมิเดียวกัน โดยมีเเท่งสี่เหลี่ยมที่เเสดงข้อมูลชนิดเดียวกันอยู่ด้วยกันเป็นชุดๆ เเละมีสีหรือเเรเงาในเเท่งสี่เหลี่ยมต่างกัน เเละระบุไว้บนเเผนภูมิด้วยว่าสีหรือเเรเงานั้น ๆ เป็นข้อมูลของอะไร ตัวอย่างของแผนภูมิเเท่งเปรียบเทียบ ส่วนประกอบของเเผนภูมิแท่ง: 1. ชื่อแผนภูมิ 2. จำนวน 3.

อัตราส่วนของจำนวนหลายๆ จำนวน

อัตราส่วนของจำนวนหลายๆ จำนวน

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้หลักการเขียนอัตราส่วนแทนการเปรียบเทียบปริมาณของสิ่งต่างๆที่มากกว่า 2 สิ่งขึ้นไปได้ โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับอัตราส่วนของจํานวนหลายๆจํานวนในการแก้ปัญหาหรือสถานการณ์ต่าง ๆได้

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1