เพลงพื้นบ้าน เรียนรู้วิถีชีวิตของผู้คนในอดีตผ่านบทเพลง

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ในอดีตประเทศไทยจัดว่าเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก ประชาชนมีชีวิตที่สุขสบาย เมื่อมีเวลาว่างก็มักรวมตัวกันในชุมชนเพื่อร้องรำทำเพลง เล่นกันสนุกสนาน หรือในงานเทศกาลต่าง ๆ บทเพลงที่ใช้ร้องเล่นกันนั้นเรียกว่า เพลงพื้นบ้าน ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันไปแล้วแต่ท้องถิ่น บทเรียนในวันนี้เราจะไปพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของเพลงพื้นบ้านในแต่ละถิ่นของประเทศไทยกันว่าจะมีอะไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ

 

เพลงพื้นบ้าน

 

เพลงพื้นบ้าน หมายถึง เพลงของชาวบ้านในท้องถิ่นต่าง ๆ ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นจะมีการร้องเล่นที่แตกต่างกันออกไปตามสภาพของท้องถิ่นนั้น ๆ นิยามเล่นกันในเทศกาลต่าง ๆ หรืองานที่มาร่วมรื่นเริงกัน หรือแม้แต่ในขณะทำงานและยามว่างจากการทำงานด้วย เป็นเพลงที่มีทำนองง่าย ๆ ถ้อยคำภาษาที่ใช้ในเพลงก็เป็นคำที่เรียบง่าย แต่ฟังแล้วกินใจ

 

เพลงพื้นบ้าน

 

เพลงพื้นบ้านแต่ละภาค

 

เพลงพื้นบ้านในแต่ละท้องถิ่นจะมีบทร้องและท่วงทำนองแตกต่างกันไปตามสภาพธรรมชาติ ความเป็นอยู่ ความนิยม ละสำเนียงที่ใช้พูดกันในท้องถิ่นนั้น ๆ

 

เพลงพื้นบ้าน

 

เพลงพื้นบ้านภาคกลาง

เพลงเรือ เป็นเพลงพื้นบ้านของชาวไทยภาคกลางที่อยู่ตามริมลำน้ำ มีการร้องตอบโต้ระหว่างชาย-หญิง มีตั้งแต่บทไหว้ครู บทเกี้ยว และบทลา นิยมเล่นในงารประเพณีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตทางน้ำ

เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเกี่ยวข้าว เป็นชื่อเพลงพื้นบ้านเพลงหนึ่งทางภาคกลางของไทย นิยมร้องในเวลาลงแขกเกี่ยวข้าวหรือเสร็จจากการทำงาน เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน ผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าระหว่างการทำงาน สิ่งที่สำคัญของการร้องเพลงเกี่ยวข้าวคือ ทำให้เกิดความสามัคคีระหว่างเพื่อนบ้านที่ทำงานร่วมกัน การร้องเพลงเกี่ยวข้าวที่มักจะร้องถามถึงการทำนา และการเกี้ยวพาราสีกันบ้างตามประสาเพลงพื้นบ้าน

เพลงฉ่อย เพลงฉ่อย เป็นเพลงพื้นเมืองที่มีการแสดงท่าทาง และการร้องคล้ายกับลำตัด โดยมีผู้แสดงประกอบด้วย ฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ฝ่ายละประมาณสองถึงสามคน ในขณะที่พ่อเพลงแม่เพลงร้องโต้ตอบกันผู้เล่นคนอื่นๆ จะทำหน้าที่เป็นลูกคู่ เนื้อหาที่ร้องส่วนใหญ่มีทั้งเรื่อง ทางโลก ทางธรรม ชิงชู้ และมักจะมีถ้อยคำ ที่มีความหมายสองแง่สองง่าม การแสดงเพลงฉ่อยจะไม่มีเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ แต่จะใช้การตบมือเป็นจังหวะแทน

 

 

ลำตัด เป็นการละเล่นที่มีผู้แสดงเป็นชายและหญิงว่าเพลงร้องแก้กัน มีลูกคู่และรำมะนาประกอบ การเล่นลำตัดดัดแปลงมาจากการแสดงดิเกหรือจิเกของชาวมลายู ซึ่งเป็นการขับร้องเพลงสวดบูชาพระอัลเลาะห์ประกอบจังหวะรำมะนาของชาวมุสลิม

 

เพลงภาคเหนือ

เพลงค่าว เป็นบทขับร้องที่มีทำนองสูงต่ำ ไพเราะ เป็นฉันทลักษณ์ของชาวล้านนาที่ระบุจำนวนคำในวรรคและสัมผัสระหว่างวรรคคือ “สามตัวเหลียว เจ็ดตัวเตียว บาทหลัง บาทหน้า”

เพลงจ๊อย เป็นวิธีขับลำนำ มักดำเนินท่วงทำนองไปอย่างช้า ๆ มีการเอื้อน และอาจมีเครื่องดนตรีบรรเลงคลอประกอบหรือไม่มีก็ได้

เพลงซอ เป็นการขับร้องที่มีซอเป็นเครื่องดนตรีที่ให้ทำนอง ซอจะต้องขับร้องด้วยถ้อยคำที่สัมผัสคล้องจองกัน ตามท่วงทำนองของเพลงซอ นั้น ๆ ซอแต่ละทำนองนั้นจะส่งคำสัมผัสและคำรับสัมผัสที่ไม่เหมือนกัน “คำซอ” หรือบทขับร้องซอนั้น จะไม่ส่งสัมผัสเหมือนบทค่าวหรือบทกวีเลย แต่จะสัมผัสโยงถ้อยคำ ในทำนองแต่ละเพลงนั้นโดยเฉพาะเท่านั้น

 

เพลงพื้นบ้านภาคใต้

เพลงเรือ เพลงพื้นเมืองภาคใต้ ทำนองเป็นกลอนเพลง สำหรับให้จังหวะในการพายเรือคล้ายภาคกลางแต่ภาษาที่ใช้ร้องเป็นภาษาถิ่นใต้

เพลงบอก คือบทร้อยกรองประเภทหนึ่ง ที่ร้องกันตามงานบุญประเพณี ทั้งงานบวช งานศพ หรืองานบุญทอดผ้าป่า ทอดกฐิน โดยเฉพาะ ช่วงวันสงกรานต์ จะมีคณะเพลงบอก จะเดินไปตามบ้าน ร้องเพลงบอกยกย่อง ชื่นชมเจ้าของบ้าน แล้วจบลงด้วยการบอกบุญ เรี่ยไรเงินทองเข้าวัด

เพลงนา เป็นการละเล่นกลอนโต้ตอบระหว่างหนุ่มสาวในท้องนา งานวัดหรืองานมงคลต่าง ๆ เพื่อใช้สื่อความรักเกี้ยวพาราสีขณะหนุ่มไปเยือนสาวที่บ้าน การเล่นจะมีแม่เพลงซึ่งมีไหวพริบ รอบรู้ และท้ายไฟ (คนคอยเสริม) ด้วย

 

เพลงพื้นบ้านภาคอีสาน

เพลงเซิ้ง เพลงที่ร้องประกอบพิธีกรรมต่างๆ ตามความเชื่อของคนอีสาน ร้องเพื่อให้คนที่ร่วมงานเกิดความสนุกสนานและเป็นการสนุกสนานร่วมกันระหว่างคนร้องและคนดูด้วย โดยการร้องเพลงเซิ้งจะมีคนขับกาพย์นำและจะมีลูกคู่คอยร้องรับด้วย เพลงเซิ้งจะมีลักษณะเป็นการด้นกลอนสด

เพลงหมอลำ เป็นรูปแบบของเพลงลาวโบราณในประเทศลาวและภาคอีสานของประเทศไทย สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายอย่าง ตามลักษณะทำนองของการลำ

 

 

ตัวอย่างเพลงพื้นบ้านภาคกลาง

 

 

เพลงพื้นบ้านเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของวัฒนธรรมไทย ที่ทำให้เราสามารถเรียนรู้ประวัติศาสตร์ไทย คติชาวบ้าน คำประพันธ์ ภาษาถิ่น และวิถีชีวิตของผู้คนในอดีตผ่านบทเพลงที่สนุกสนานและไพเราะ แม้ว่าในปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยจะทำให้หลาย ๆ อย่างเปลี่ยนไปทำให้เพลงบางเพลงสูญหายไปเพราะไร้คนสืบทอด ดังนั้นเราจึงควรช่วยกันรักษาเพลงพื้นบ้านของไทยไว้เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ความงดงามทางภาษาและวัฒนธรรมอันดีงามเช่นเดียวกันกับเราด้วยนะคะ สุดท้ายนี้น้อง ๆ สามารถติดตามความรู้ดี ๆ ได้จากการคลิปการสอนของครูอุ้ม โดยในบทเรียนเรื่องเพลงพื้นบ้านนี้ครูอุ้มก็ได้ยกตัวอย่างเพลงเรือของภาคกลางมา ไปดูกันเลยค่ะเพลงนี้มีการร้องและเล่นกันอย่างไรบ้าง

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

คุณค่าในเรื่องพระอภัยมณี มีอะไรบ้าง?

หลังจากที่บทเรียนคราวที่แล้วเราได้เรียนเรื่องประวัติความเป็นมาของวรรณคดีเรื่องสุนทรภู่ไปแล้ว วันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ถึง คุณค่าในเรื่องพระอภัยมณี ว่ามีคุณค่าด้านใดบ้าง เพื่อที่น้อง ๆ จะได้รู้เหตุผลว่าทำไมวรรณคดีเรื่องนี้ถึงเป็นเรื่องที่โด่งที่สุดอีกเรื่องหนึ่งของสุนทรภู่ เป็นวรรณคดีที่ดังข้ามเวลาและอยู่ในแบบเรียนภาษาไทย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   คุณค่าในเรื่องพระอภัยมณี     คุณค่าทางด้านวรรณศิลป์   พระอภัยมณีเป็นเรื่องมีรสทางวรรณคดีคือเสาวรจนีย์และสัลปังคพิสัย ดังนี้ เสาวรจนีย์ เป็นบทชมโฉมหรือความงาม พบในตอนที่พระอภัยชมความงามของนางเงือก     2.

wh-questions + was, were

การใช้ Wh-questions  with  was, were

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง “การใช้ Wh-questions  with  was, were (Verb to be in the past)” ไปลุยกันเลยจร้า Sit back, relax, and enjoy the lesson! —นั่งพิงหลังชิวๆ ทำใจสบายๆ แล้วไปสนุกกับบทเรียนกันจร้า—  

การใช้ going to / will ในการสร้างประโยค

การใช้ going to / will ในการสร้างประโยค เกริ่นนำเกริ่นใจ   ภาพใหญ่ของ Will และ Be going to การจะเข้าใจอะไรได้อย่างมั่นใจและคล่องตามากขึ้น เราในฐานะผู้เรียนรู้ควรที่จะต้องเห็นภาพรวมทั้งหมดก่อน โดย Will เนี่ย อยู่ในตระกูล Auxiliary verb หรือ Helping verb

ตัวอย่างโจทย์ปัญหา + – × ÷ เศษส่วนและจำนวนคละ

หัวใจสำคัญของการทำโจทย์ปัญหาก็คือการวิเคราะห์ประโยคที่เป็นตัวหนังสือออกมาเป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์หรือเรียกสั้นๆว่า “การตีโจทย์”ถ้าเราวิเคราะห์ถูกต้องเราก็สามารถแสดงวิธีคิดได้ออกมาอย่างถูกต้องคำตอบที่ได้ก็จะถูกต้องตามมาด้วย ดังนั้นสิ่งที่น้อง ๆจะได้รับจากบทความนี้คือการฝึกวิเคราะห์โจทย์ปัญหาและการแสดงวิธีทำ รับรองว่าถ้าอ่านบทความนี้แล้วนำไปใช้จะได้คำตอบที่ถูกทุกข้ออย่างแน่นอน

สมบัติของจำนวนเต็ม

สมบัติของจำนวนเต็ม

ก่อนที่น้องๆจะได้เรียนรู้ในเรื่องสมบัติของจำนวนเต็ม น้องๆจำเป็นต้องเรียนเรื่อง การเปรียบเทียบจำนวนเต็ม และเรื่อง จำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์  ซึ่งบทความนี้ได้รวบรวมสมบัติของจำนวนเต็ม ประกอบด้วย สมบัติเกี่ยวกับการบวกและคูณจำนวนเต็ม ได้แก่ สมบัติการสลับที่ สมบัติการเปลี่ยนหมู่ และสมบัติการแจกแจง  รวมไปถึงสมบัติของหนึ่งและศูนย์ เรามาศึกษาสมบัติแรกกันเลย สมบัติเกี่ยวกับการบวกและคูณจำนวนเต็ม สมบัติการสลับที่ สมบัติการสลับที่สำหรับการบวก ถ้า a และ b แทนจำนวนเต็มใดๆ แล้ว a + b =

วิธีใช้คำราชาศัพท์ ใช้อย่างไรให้เหมาะสม

ราชาศัพท์ เป็นถ้อยคำที่ใช้พูดกับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ พระภิกษุสงฆ์ รวมถึงคำสุภาพที่ใช้กับคนทั่วไป การใช้คำราชาศัพท์ เป็นเรื่องที่มีปัญหาอยู่มาก เพราะการใช้ที่ไม่ถูกต้อง บทเรียนที่เราจะได้เรียนรู้กันในวันนี้น้อง ๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ วิธีใช้คำราชาศัพท์ สำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ทั้งคำนาม และคำสรรพนาม ว่าเราควรแทนตัวเองหรือพระองค์อย่างไรให้ถูกต้อง ถ้าอยากรู้แล้ว ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   ลักษณะการใช้คำราชาศัพท์   คำราชาศัพท์มีไว้ใช้สำหรับคนธรรมดาทั่วไปพูดกับผู้ที่มีศักดิ์สูงกว่าอย่าง กษัตริย์ พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1