ราชาศัพท์ คำใดบ้างที่เราควรรู้?

ราชาศัพท์

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

น้อง ๆ หลายคนคงจะเคยได้ยินคำราชาศัพท์มาบ้างเวลาที่เปิดโทรทัศน์ดูข่าวช่วงหัวค่ำ แต่เคยสงสัยกันบ้างไหมคะว่า ราชาศัพท์ ที่นักข่าวในโทรทัศน์พูดกันบ่อย ๆ มีความหมายว่าอะไรบ้าง บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เกี่ยวกับคำราชาศัพท์ เพื่อที่เวลาน้อง ๆ ฟังข่าว จะได้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น เราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ

 

ราชาศัพท์

 

ราชาศัพท์

 

การแบ่งลำดับขั้นของบุคคลในการใช้คำราชาศัพท์ แบ่งออกได้เป็น 5 ระดับ ดังนี้

1. พระมหากษัตริย์

2.พระบรมวงศานุวงศ์

3. พระสังฆราชเจ้าและพระสงฆ์

4. ขุนนาง ข้าราชการชั้นสูง

5. สุภาพชน

 

นอกจากนี้คำราชาศัพท์ยังแต่งตามระดับบุคคลดังนี้ได้อีกด้วย

 

ราชาศัพท์

 

1. ชาติวุฒิ

ชาติกำเนิด เป็นสิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด ประเทศไทยไม่ได้มีการแบ่งชนชั้นวรรณะแต่ให้ความเคารพกันและกัน โดยเฉพาะกับผู้ที่มีชาติกำเนิดสูง ๆ อย่างเช่นพระบรมวงศานุวงศ์ หรือพระมหากษัตริย์

2. วัยวุฒิ

นอกเหนือจากชาติกำเนิดแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่คนไทยให้ความสำคัญคืออายุ ผู้ที่อายุน้อยกว่า ต้องให้ความสำคัญ เคารพผู้ที่อาวุโสกว่าด้วยความนอบน้อม

3.คุณวุฒิ

แม้ว่าคุณวุฒิ หรือระดับศึกษา จะเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นมาได้ ไม่เหมือนชาติกำเนิดหรืออายุที่มีติดมาตั้งแต่เกิด แต่ก็เป็นสิ่งที่คนในสังคมให้ความเคารพ เพราะผู้ที่มีคุณวุฒิ ก็คือผู้ที่มีความรู้ความสามารถ

 

คำราชาศัพท์ที่ควรรู้

 

คำราชาศัพท์จะถูกแบ่งออกเป็นหมวด ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ

 

 

ในวันนี้หมวดที่น้อง ๆ จะได้เรียนรู้กันก็คือหมวดเครือญาติ จะมีคำอะไรที่ควรรู้บ้าง ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ

หมวดเครือญาติ

  • พ่อ เรียกว่า พระบิดา
  • แม่ เรียกว่า พระมารดา
  • พี่ชาย เรียกว่า พระเชษฐา
  • น้องชาย เรียกว่า พระอนุชา
  • พี่สาว เรียกว่า พระเชษฐภคินี
  • น้องสาว เรียกว่า พระขนิษฐา
  • ตา ปู่ เรียกว่า พระอัยกา
  • ย่า ยาย เรียกว่า พระอัยยิกา

 

คำราชาศัพท์เป็นการใช้ถ้อยคำที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมการใช้ภาษาของไทยที่ชัดเจนและเป็นเอกลักษณ์และหาได้ยากในภาษาอื่น เพราะเป็นประเทศไทยเป็นประเทศที่นอกจากจะมีรูปแบบการปกครองที่ให้ความสำคัญกับพระมหากษัตริย์แล้ว ประเทศไทยยังเป็นประเทศที่ให้ความเคารพแก่บุคคลทั่วไปโดยไม่ได้แบ่งชนชั้น แต่เป็นความเหมาะสมและกาลเทศะ ที่เราจะต้องใช้กันให้ถูกต้องนั่นเองค่ะ หลังจากที่วันนี้น้อง ๆ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ ราชาศัพท์ หมวดเครือญาติเล็ก ๆ น้อย ๆ กันไปแล้ว ต่อไปน้อง ๆ ก็จะได้รู้หลักการใช้ รวมไปถึงคำศัพท์ต่าง ๆ มากขึ้น แต่รับรองว่าไม่ยากเกินความเข้าใจแน่นอนค่ะ ถ้าเราหมั่นทบทวนบทเรียน และไม่ลืมที่จะดูคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อฟังคำอธิบาย และทำแบบฝึกหัดไปด้วย ไปดูกันเลยค่ะ

 

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

แบบฝึกหัดความสัมพันธ์

แบบฝึกหัดความสัมพันธ์ แบบฝึกหัดความสัมพันธ์ เป็นการทบทวนเนื้อหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ได้แก่ เรื่องโดเมนและเรนจ์ของความสัม กราฟของความสัมพันธ์ และตัวผกผันของความสัมพันธ์ ก่อนทำแบบฝึกหัดความสัมพันธ์ บทความที่น้องๆควรรู้ คือ โดเมนของความสัมพันธ์ เรนจ์ของความสัมพันธ์ กราฟของความสัมพันธ์ ตัวผกผันของความสัมพันธ์   แบบฝึกหัด 1.) ถ้า (x, 5) = (3, x – y)

ตัวบ่งปริมาณ

ตัวบ่งปริมาณและค่าความจริงของตัวบ่งปริมาณ

ตัวบ่งปริมาณ ตัวบ่งปริมาณ คือ สัญลักษณ์หรือข้อความที่เมื่อเราเอาไปเติมใน “ประโยคเปิด” แล้วจะทำให้ประโยคนั้นกลายเป็นประพจน์ ประโยคเปิด คือประโยคบอกเล่าหรือปฏิเสธที่ติดค่าตัวแปรที่ยัง “ไม่รู้ว่าเป็นจริงหรือเท็จ” โดยตัวแปรนั้นเป็นสมาชิกของเอกภพสัมพัทธ์ (Universe : U) ประโยคเปิด ยังไม่ใช่ประพจน์ (แต่เกือบเป็นแล้ว) เพราะเรายังไม่รู้ว่าเป็นจริงหรือเท็จ เช่น  “x มากกว่า 3” จะเห็นว่าตัวแปร คือ x ซึ่งเราไม่รู้ว่า x

comparison of adjectives

Comparison of Adjectives

สวัสดีน้องๆ ม. 1 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเรื่องของ Comparison of Adjectives ซึ่งจะคืออะไรและเอาไปใช้อะไรได้บ้าง เราลองไปดูกันเลยครับ

ตัวอย่างโจทย์ปัญหา + – × ÷ เศษส่วนและจำนวนคละ

หัวใจสำคัญของการทำโจทย์ปัญหาก็คือการวิเคราะห์ประโยคที่เป็นตัวหนังสือออกมาเป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์หรือเรียกสั้นๆว่า “การตีโจทย์”ถ้าเราวิเคราะห์ถูกต้องเราก็สามารถแสดงวิธีคิดได้ออกมาอย่างถูกต้องคำตอบที่ได้ก็จะถูกต้องตามมาด้วย ดังนั้นสิ่งที่น้อง ๆจะได้รับจากบทความนี้คือการฝึกวิเคราะห์โจทย์ปัญหาและการแสดงวิธีทำ รับรองว่าถ้าอ่านบทความนี้แล้วนำไปใช้จะได้คำตอบที่ถูกทุกข้ออย่างแน่นอน

ตัวผกผันของความสัมพันธ์

ตัวผกผันของความสัมพันธ์

ตัวผกผันของความสัมพันธ์ ตัวผกผันของความสัมพันธ์ r คือความสัมพันธ์ใหม่ที่เกิดจากการสลับตำแหน่งของสมาชิกตัวหน้ากับสมาชิกตัวหลังของคู่อันดับทุกคู่ในความสัมพันธ์ r เขียนแทนด้วย   ซึ่ง = {(y, x) : (x, y ) ∈ r} เช่น r = {(1, 2), (3, 4), (5,

wh- question

Wh- Question ใน Past Simple และ Future Tense

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ Wh- Question ในประโยคที่เป็น Past Simple และ Future Tense จะเป็นอย่างไรลองไปดูกันเลยครับ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1