Infinitives after verbs

NokAcademy_Infinitives after verbs

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนม.5 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปดูการใช้ Infinitives after verbs กันเด้อ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดจร้า Let’s go!

 

ทบทวนความหมายของ “Infinitive”

 

NokAcademy_Infinitives after verbs (2)

Infinitive คือ   กริยารูปแบบที่ไม่ผัน ไม่เติมอะไรใดๆเลย ที่นำหน้าด้วย to (Infinitive with “to” หรือ To + infinitive) เช่น to play, to study, to stay, to call, etc. และนอกจากนี้เราจะไปดู รูปโครงสร้างของ Infinitive ที่มีทั้งตามหลัง to และ ไม่มี to (Infinitive without to) พร้อมทั้งโครงสร้างอื่นๆที่ใช้บ่อยเวอร์กันจร้า

***เราจะไปดูทั้ง ตัวอย่างประโยคและการใช้
Infinitive ที่มี  to และ ไม่มี to น๊า 

 

หน้าที่ของ Infinitive with to

 

NokAcademy_Infinitives after verbs (3)

ในประโยคนั้น To+ V. Infinitive หรือ Infinitive with to ทำหน้าที่ได้หลายอย่างมาก ได้แก่

1) เป็นประธาน เช่น

To study well is students’ duty.
***To study เป็นประธานของกริยาหลัก is ส่วน well ในประโยคเป็น คำวิเศษณ์ (Adverb)
ขยายกริยา infinitive “study”

2) เป็นคำวิเศษณ์ เช่น

Dad is content to go back to mom.
***to go back เป็นคำวิเศษณ์ขยาย adj. content

3) เป็นคำคุณศัพท์ เช่น
Jenny collected the trash can to be recycled.
*** to be recycled เป็นคุณศัพท์ ขยายนาม can (กระป๋อง)

4) เป็นกรรมของกริยา เช่น We managed to cook dinner tonight.
*** to cook  เป็นกรรมของกริยาหลัก managed

5) เป็น ส่วนเติมเต็ม (complement) ของ verb to be เช่น
Tiffany’s dream is to be a famous singer.
***to be เป็น complement ของกริยาหลัก is

การทำให้เป็นรูปปฏิเสธ

รูป negative infinitive สร้างขึ้นโดยการเติม not ข้างหน้า to ซึ่งเป็น not to + V.infinitive เช่น

Frank decided not to become a teacher.
แฟรงค์ได้ตัดสินใจแล้วว่าจะไม่เป็นครู

 

สรุป Infinitives after verbs ทั้ง 5 รูปแบบง่ายๆ

 

NokAcademy_Infinitives after verbs (4)

 วันนี้ครูขอเสนอ การใช้ Infinitives หลัง กริยาทั้ง 5 รูปแบบที่ใช้บ่อยนะคะ

  • โครงสร้าง1: Verb + to + infinitive

They planned to go on vacation.
พวกเขาวางแผนที่จะไปเที่ยวพักผ่อน

 

  • โครงสร้าง2: Verb + noun + to + infinitive

The teacher wanted the students to focus on their class.
ครูต้องการให้นักเรียนจดจ่อกับชั้นเรียนของตน

Jennifer told me to study more.
เจนนิเฟอร์บอกให้ฉันศึกษาเพิ่มเติม

 

  • โครงสร้าง3: Verb + noun + infinitive

My father wouldn’t let me stay out late.
พ่อของฉันจะไม่ปล่อยให้ฉันอยู่ดึก

 

  • โครงสร้าง4: Verb + to + infinitive

They needed to have more fun from online lessons.

พวกเขาจำเป็นต้องมีความสนุกสนานมากขึ้นจากบทเรียนออนไลน์

 

กริยากลุ่มนี้ที่เจอบ่อยๆ จะเกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิด ได้แก่

 

choose เลือก

decide ตัดสินใจ

expect คาดหวัง

forget ลืม

hope หวัง

intend ตั้งใจ

learn เรียนรู้

love รัก

mean แปลว่า

plan    วางแผน
prefer ชอบมากกว่า

remember จำ

want ต้องการ

would like/love ชอบที่จะ

 

 

กริยาเกี่ยวกับการพูด

agree   เห็นด้วย
promise สัญญา
refuse  ปฏิเสธ
threaten ปฏิบัติต่อ
advise แนะนำ
ask ถาม
encourage ให้กำลังใจ
order สั่ง
persuade โน้มน้าว
remind เตือน

 

การใช้  Passive form ของ “make, allow”+ to +V. Infinitive

 

She was made to be a millionaire.
เธอถูกสร้างให้เป็นเศรษฐี

Timothy was allowed to go home early today.

วันนี้ทิโมธีได้รับอนุญาตให้กลับบ้านเร็ว

 

โครงสร้าง5: การใช้ dare + (to) ในโครงสร้างประโยคคำถาม และปฏิเสธ

 

ปรกติเราจะไม่ค่อยเจอ dare ในประโยคบอกเล่า
ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวอย่างการใช้ “Dare to”

Jenny didn’t dare (to) go back to her ex-boyfriend.

เจนนี่ไม่กล้า(ที่จะ)กลับไปหาแฟนเก่าของเธอ

 

Who would dare (to) go against the law?

ใครจะกล้า (ที่จะ) ขัดต่อกฎหมาย?

 

 

 

Infinitive without to

NokAcademy_Infinitives after verbs (5)

เช่น Causative verbs: Let, Make, Have, Get และ Help

 

จาก 1 ในตัวอย่าง 5 โครงสร้างที่ใช้บ่อย มี make อยู่ด้วย สังเกตเห็นมั้ยเอ่ย เจ้า make นี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Causativeหรือ โครงสร้างไวยากรณ์ในรูปแบบคำกริยาที่พูดเพื่อให้ผู้อื่นทำบางสิ่งบางอย่างให้ ในภาษาอังกฤษ

****คำกริยา Let, Make, Have, Get และ Help เรียกว่า Causative Verbs เนื่องจากคำกริยาเหล่านี้ก่อให้เกิดบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นนั่นเองค่า

 

โครงสร้างและหลักการใช้ Causative Verbs

  • Let

โครงสร้าง Let + someone/something + Infinitive (V.1) + something

หมายถึง ได้รับอนุญาตหรือปล่อย

 

I don’t know if my dad will let me hang out tonight.

ไม่รู้ว่าพ่อจะอนุญาตให้ออกไปเที่ยวมั้ยนะคืนนี้

Will you let me love you?
คุณจะให้ฉันรักคุณไหม

  • Have

โครงสร้าง Have + someone + Infinitive (V.1) + something

หมายถึง โน้มน้าวหรือสั่ง ตามโครงสร้าง Have + something + Past Participle (V.3)

I had my car fixed yesterday.

ฉันให้ (ช่าง) ซ่อมรถเมื่อวานนี้

 

 หรือ ตัวอย่างประโยค ใน Future tense

I will have him check my writing article.

ฉันจะให้เขาตรวจบทความของฉัน

 

  • Make

โครงสร้าง Make + someone + Infinitive (V.1) + something

หมายถึง บังคับ หรือต้องการให้

 

His mom made him study English.

แม่ของเขาให้เขาเรียนภาษาอังกฤษ

The janitor made his career more meaningful.
ภารโรงทำให้อาชีพของเขามีความหมายมากขึ้น

Mike made me wait for almost three hours.
ไมค์ทำให้ฉันรอเกือบสามชั่วโมง

 

  • Get

โครงสร้าง Get + someone + to Infinitive (to V.1)

I will try to get Liza to come home tonight.

ฉันจะพยายามให้ลิซ่ากลับบ้านคืนนี้

 

 

  • Help

โครงสร้าง Help + someone + infinitive (V.1)/to infinitive (to V.1)

หมายถึง ช่วยใครบางคนทำบางสิ่งบางอย่าง

 

Watching a movie helps me relax. หรือ Watching a movie helps me to relax.

การดูหนังสักเรื่องทำให้ผมผ่อนคลาย สองประโยคนี้ความหมายคล้ายๆกัน

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะทุกคน หวังว่านักเรียนที่รักจะเข้าใจหลักการใช้ Infinitives หลังกริยา กันมากขึ้นนะคะ  เทคนิคด้านบนนี้ครูได้สรุปมาให้แล้ว แต่ว่าก็อย่าลืมทบทวนบทเรียนกับวีดีโอด้านล่างเด้อ เพื่อความเป้ะปังของแกรมม่า และความมันส์ แล้วเจอกันจร้า

คลิกปุ่มเพลย์แล้วไปเรียนให้สนุกและได้ความรู้กับทีชเชอร์กรีซกันจร้า

Take care.
ดูแลตัวเองด้วยน๊า

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

คำซ้ำคืออะไร เรียนรู้และเข้าใจหลักการสร้างคำอย่างง่าย

  จากที่ได้เรียนเรื่องการสร้างคำประสมและคำซ้อนไปแล้ว บทเรียนหลักภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้การสร้างคำอีกหนึ่งชนิดที่สำคัญไม่แพ้สองคำก่อนหน้า นั่นก็คือ คำซ้ำ นั่นเองค่ะ คำซ้ำคืออะไร มีวิธีสร้างคำได้อย่างไรบ้าง วันนี้เราไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   คำซ้ำ     คำซ้ำคืออะไร?   คำซ้ำ หมายถึง การสร้างคำขึ้นใหม่ โดยนำคำมูลซึ่งส่วนมากเป็นคำพยางค์เดียวมาซ้ำกันแล้วมีความหมายเปลี่ยนแปลงไป อาจเน้นหนักขึ้น หรือเบาลง

หลักการคูณทศนิยม พร้อมตัวอย่างที่เข้าใจง่าย

บทความนี้จะพาน้อง ๆมาทำความเข้าใจกับหลักการคูณทศนิยมในแต่ละรูปแบบ พร้อมทั้งอธิบายหลักการและยกตัวอย่างวิธีคิดในแต่ละรูปแบบของการคูณทศนิยม ให้น้อง ๆสามารถนำไปปรับใช้กับการหาคำตอบจากแบบฝึกหัดในห้องเรียนได้จริง

คำไทยที่มักอ่านผิด มีคำใดบ้างที่เราควรรู้?

การอ่านผิด เป็นปัญหาในการอ่านออกเสียง มีสาเหตุมาจากอ่านไม่ออก หรือ อ่านผิด หลายคนอาจมองว่าไม่สำคัญ แต่รู้หรือไม่คะ ว่าการอ่านนั้นมีความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะหากเราอ่านผิด ก็จะทำให้ความหมายของคำนั้นผิดเพี้ยนไป หรือกลายเป็นคำที่ไม่มีความหมายไปเลยก็ได้ บทเรียน คำไทยที่มักอ่านผิด ในวันนี้ เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้การอ่านสะกดคำที่ถูกต้อง กับคำในภาษาไทยที่คนส่วนใหญ่มักอ่านผิดกันบ่อย ๆ จะมีคำใดบ้าง ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   คำไทยที่มักอ่านผิด   ลักษณะของการอ่านผิดมีดังนี้

ที่มาและเรื่องย่อของ มหาชาติชาดก กัณฑ์มัทรี

มหาชาติชาดก หรือมหาเวสสันดรชาดก เป็นชาดกที่ได้ชื่อว่าเป็น มหาชาติ เพราะเป็นชาติสุดท้ายก่อนจะมาจุติเป็นพระพุทธเจ้า จากบทเรียนที่เคยเรียนรู้กันตอน ม.4 น้อง ๆ คงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่ามหาชาตินี้มีด้วยกันทั้งหมด 13 กัณฑ์ โดยเรื่องที่เราจะได้เรียนกันเจาะลึกกันไปอีกในวันนี้ คือ กัณฑ์มัทรี นั่นเองค่ะ ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วว่าเป็นอย่างไร ก็ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมา     มหาชาติชาดกเป็นเรื่องราวในอดีตกาลของพระพุทธเจ้าที่เล่าให้กับเหล่าประยูรญาติฟังเมื่อครั้งเสด็จกลับเมืองและได้แสดงอภินิหาร

การชักชวน และแนะนำในภาษาอังกฤษ

วิธีการพูดเสนอแนะ ชักชวน และแนะนำในภาษาอังกฤษ

  สวัสดีค่ะนักเรียน ม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูวิธีการพูดให้ข้อเสนอแนะ ชักชวน และแนะนำกันค่ะซึ่งในการเสนอแนะ หรือชักชวนนั้น ผู้พูดจะแสดงความคิดเห็นเสนอแนะ เพื่อให้กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยกัน มีการใช้ภาษาหลายระดับ และใช้รูปประโยคหลายชนิด เช่นเดียวกับการพูดในความหมายต่างๆ ที่ผ่านมาเราจึงต้องใช้รูปประโยคต่างๆ เช่นประโยคบอกเล่า คำสั่ง ชักชวน เพื่อให้ผู้ฟังทำตาม รวมถึงเทคนิคการตอบรับและปฏิเสธ ดังในตัวอย่างรูปแบบประโยคด้านล่างนะคะ   1. ประโยคบอกเล่า (Statement)  

ศึกษาตัวบทและข้อคิดที่แฝงอยู่ในสามัคคีเภทคำฉันท์

สามัคคีคือพลัง เป็นคำกล่าวคุ้นหูที่หลายคนคงจะเคยได้ยินคนพูดให้ฟังอยู่บ่อย ๆ เพราะไม่ว่าเราจะทำสิ่งใดร่วมกับใคร เพื่อให้งานนั้นสำเร็จและเป็นไปอย่างราบรื่น เราก็ต้องอาศัยความสามัคคีของคนในกลุ่มช่วยกันขับเคลื่อนให้ทุกอย่างเดินไปข้างหน้าได้ แต่บางครั้งคนเราก็อาจปล่อยให้อารมณ์มาบดบังจนทำให้แตกความสามัคคีกันอยู่บ่อย ๆ สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นวรรณคดีที่ว่าด้วยผลของการแตกความสามัคคี บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ตัวบทเด่น ๆ ที่สำคัญ ถอดบทเรียนจากตัวละครและศึกษาคุณค่าที่แฝงอยู่ในเรื่องกันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้วรรณคดีเรื่องนี้พร้อมกันเลย   ตัวบทเด่น ๆ ใน สามัคคีเภทคำฉันท์     ถอดความ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1