เรียนรู้ตัวบทเด่นของบทละครพูดคำฉันท์เรื่องดัง มัทนะพาธา

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

มัทนะพาธา เป็นบทละครพูดคำฉันท์ที่ประพันธ์โดยรัชกาลที่ 6 ซึ่งพระองค์ทรงคิดขึ้นเองไม่ได้แปลหรือดัดแปลงมาจากเรื่องใด จากการศึกษาความเป็นมาในบทเรียนคราวที่แล้วทำให้เราได้รู้ที่มา ลักษณะคำประพันธ์รวมไปถึงเรื่องย่อของเรื่องกันไปแล้ว บทเรียนในวันนี้เราจะศึกษาตัวบทเด่น ๆ ของเรื่องกันนะคะว่ามีบทใดที่ได้ชื่อว่าเป็นวรรคทอง ถอดความ พร้อมทั้งเรียนรู้คุณค่าของานประพันธ์ชิ้นนี้อีกด้วย ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ

 

ตัวบทเด่น ๆ ใน มัทนะพาธา

 

มัทนะพาธา

 

ถอดความ บทนี้เป็นคำพูดของฤษีกาละทรรศินที่กำลังอธิบายให้ศุภางค์ แม่ทัพของท้าวชัยเสนว่าเหตุใดพระฤษีจึงเห็นว่าการห้ามปรามความรักระหว่างพระชัยเสนกับมัทนาเป็นสิ่งไร้ประโยชน์ โดยบอกว่า ความรักเป็นเหมือนโรคร้ายที่มีฤทธิ์ทำให้หลงมัวเมาเหมือนคนตาบอด มองไม่เห็นและไม่รับรู้ถึงอุปสรรคที่เกิดจากความรัก ความรักเหมือนโคหนุ่มคึกคะนอง ต่อให้ขังไว้ก็ไม่ยอมอยู่ในคอก และถึงจะผูกไว้ โคนั้นก็จะพยายามใช้กำลังดึงเชือกที่ผูกไว้ให้หลุดออกจนได้ ยิ่งห้ามปรามเท่าไหร่ก็จะยิ่งทำให้เสียสติและอาละวาดจนทำให้บาดเจ็บ ตัวบทนี้โดดเด่นในเรื่อของการพูดถึงโทษของความรักของหนุ่มสาวโดยใช้ภาพพจน์เปรียบเทียบที่คมคาย

 

มัทนะพาธา

 

ถอดความ เป็นตอนที่สุเทษณ์กำลังจะสาปนางมัทนาให้ลงไปเป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมตามที่นางขอ มายาวินก็เลยแนะนำดอกไม้ชื่อดอกกุพชกะหรือก็คือดอกกุหลาบ มีสีแดงเหมือนแก้มผู้หญิงยามอาย มีดอกขนาดใหญ่ และมีเกสร อยู่คงทน มีกลิ่นหอมส่งไปไกล อีกทั้งมีหนามราวกับเข็มประดับไว้ ผึ้งบินอยู่ขวักไขว่ ไม่ยอมห่าง มีกลิ่นหอม รับประทานอร่อย มีรสหวานเป็นเลิศ กินแล้วระงับความเครียด ความโกรธ ทำให้รู้สึกดีขึ้น ช่วยขับเสมหะ อีกทั้งยังเจริญกามคุณ ช่วยให้ร่างกายเย็นลงทำให้หายป่วย และช่วยขับพยาธิ ทั้งหมดนี้เป็นการบรรยายสรรพคุณของดอกกุหลาบ

 

คำศัพท์น่ารู้ใน มัทนะพาธา

 

 

คุณค่าในมัทนะพาธา

 

 

มัทนะพาธาเป็นวรรณคดีที่มีความโดดเด่นในด้านการประพันธ์ เพราะมีการใช้คำประพันธ์ที่หลากหลายตามเนื้อเรื่อง ทำให้ผู้อ่านได้ซึมซับความรู้ของตัวละครได้อย่างชัดเจน แม้ว่าจะเป็นเรื่องราวที่แต่งได้ยาก เพราะนอกจากจะต้องสร้างตัวละครให้มีลักษณะนิสัยที่เด่นชัดแล้ว ยังต้องดำเนินเรื่องให้เห็นความขัดแย้ง จนถึงตอนคลี่คลายปัญหาต่าง ๆ โดยยังคงแก่นของเรื่องที่พูดเรื่องโทษของความรักเอาไว้อย่างดีเยี่ยม มีการใช้ภาษาที่หลากหลาย ทำให้ผู้อ่านได้ข้อคิดสอนใจเกี่ยวกับเรื่องความรักและยังได้เพลิดเพลินไปกับภาษาที่สวยงามอีกด้วย

 

เรียกได้ว่ามัทนะพาธาเป็นผลงานพระราชนิพนธ์เรื่องเอกของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกเรื่องหนึ่ง ที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี ใช้คำฉันท์เป็นบทละครพูดที่แปลและแต่งได้ยาก ทำให้เห็นว่าพระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถอย่างมาก และเพราะเหตุนี้ทำให้เราได้อ่านวรรณคดีที่ดีเยี่ยมทั้งในแง่ของข้อคิดสอนใจและภาษาที่สวยงาม นับว่าทรงคุณค่าอย่างมากเลยนะคะ สุดท้ายนี้น้อง ๆ สามารถดูคลิปการสอนของครูอุ้มใน YouTube ให้เข้าใจมากขึ้นได้นะคะ เพราะครูอุ้มได้อธิบายเกี่ยวกับตัวบทเพิ่มเติมไว้ด้วย เป็นบทพูดของนางมัทนากับสุเทษณ์ รวมถึงสรุปความรู้อีกครั้งเพื่อให้สามารถเข้าใจเรื่องราวทั้งหมดอย่างง่ายได้อีกด้วยค่ะ ไปชมกันเลยค่ะ

 

 

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การใช้ Possessive Pronoun

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.6 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง การใช้ Possessive Pronoun ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจ้า บทนำ Possessive pronoun (เช่น mine, yours, hers) ถือเป็นหัวข้อหนึ่งในภาษาอังกฤษที่หลายคนมักจะสับสน นั่นก็เพราะมันมีความคล้ายคลึงกับ Possessive adjective (เช่น my, your, her) ลองเปรียบเทียบประโยคเหล่านี้ดูนะคะ   A

NokAcademy_ม2การใช้ Wh-questions กับ Past Simple Tense

การใช้ Wh-questions กับ Past Simple Tense

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุย ” การใช้ Wh-questions ร่วมกับ Past Simple Tense” กันนะคะ หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า   Wh-Questions คืออะไร      เมื่อต้องถามคำถามอะไรก็ตามที่ไม่ต้องการคำตอบ Yes หรือ No แบบตรงประเด็น เราจะเรียกคำถามประเภทนี้ว่า Question  word

วิธีใช้คำราชาศัพท์ ใช้อย่างไรให้เหมาะสม

ราชาศัพท์ เป็นถ้อยคำที่ใช้พูดกับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ พระภิกษุสงฆ์ รวมถึงคำสุภาพที่ใช้กับคนทั่วไป การใช้คำราชาศัพท์ เป็นเรื่องที่มีปัญหาอยู่มาก เพราะการใช้ที่ไม่ถูกต้อง บทเรียนที่เราจะได้เรียนรู้กันในวันนี้น้อง ๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ วิธีใช้คำราชาศัพท์ สำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ทั้งคำนาม และคำสรรพนาม ว่าเราควรแทนตัวเองหรือพระองค์อย่างไรให้ถูกต้อง ถ้าอยากรู้แล้ว ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   ลักษณะการใช้คำราชาศัพท์   คำราชาศัพท์มีไว้ใช้สำหรับคนธรรมดาทั่วไปพูดกับผู้ที่มีศักดิ์สูงกว่าอย่าง กษัตริย์ พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์

แบบฝึกหัดการให้เหตุผล

แบบฝึกหัดการให้เหตุผล

แบบฝึกหัดการให้เหตุผล   แบบฝึกหัดการให้เหตุผล ประกอบไปด้วยการให้เหตุผลแบบอุปนัยและการให้เหตุผลแบบนิรนัย ซึ่งแบบฝึกหัดนี้จะช่วยให้น้องๆได้ฝึกฝนการทำโจทย์จนน้องๆเชี่ยวชาญและส่งผลให้น้องๆทำข้อสอบได้แบบไม่ผิดพลาด ถ้าเรารู้เฉยๆเราอาจจะทำข้อสอบได้แต่การที่เราฝึกทำโจทย์ด้วยจะทำให้เราทำข้อสอบได้แน่นอนค่ะ แบบฝึกหัดเพิ่มเติมและข้อสอบ O-Net ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นข้อสอบ O-Net ของปีก่อนๆ   1.) พิจารณาการอ้างเหตุผลต่อไปนี้ ก. เหตุ 1. ถ้าฝนไม่ตกแล้วเดชาไปโรงเรียน   2. ฝนตก      ผล   

Vtodo+Present Simple Tense

การใช้ V. to do ในรูปแบบของ Present Simple Tense

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง การใช้ V. to do ในรูปแบบของ Present Simple Tense หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ Let’s go! V. to do คืออะไร   ปรกติแล้วคำว่า do นั้นแปลว่าทำ แต่เมื่ออยู่ในประโยคแล้ว V. to do

ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง

ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง เป็นการส่งสมาชิกจากของเซตหนึ่งเรียกเซตนั้นว่าโดเมน ส่งไปให้สมาชิกอีกเซตหนึ่งเซตนั้นเรียกว่าเรนจ์ จากบทความก่อนหน้าเราได้พูดถึงฟังก์ชันและการส่งสมาชิกในเซตไปแล้วบางส่วน ในบทความนี้เราจะได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่งมากขึ้น จากที่เรารู้ว่าเซตของคู่อันดับเซตหนึ่งจะเป็นฟังก์ชันได้นั้น สมาชิกตัวหน้าต้องไปเหมือนกัน แต่ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่งเป็นการกำหนดขอบเขตให้ฟังก์ชันนั้นแคปลงกว่าเดิม เช่น {(1, a), (2, b), (3, a), (4, c)}  จากเซตของคู่อันดับเราสมารถตอบได้เลยว่าเป็นฟังก์ชัน เพราะสมาชิกตัวหน้าไม่เหมือนกัน แต่ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง คือการที่เรามีเซต 2 เซต แล้วเราส่งสมาชิกในเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1