เรียนรู้เรื่องกาพย์ยานี 11 พร้อมเคล็ดลับการแต่งกาพย์แบบง่ายดาย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทนำ

สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน กลับมาพบกันอีกครั้งกับบทเรียนภาษาไทยที่ได้ทั้งสาระความรู้ และความสนุกไปพร้อม ๆ กัน เชื่อว่า น้อง ๆ หลายคนคงเคยได้อ่านหรือได้เรียนเกี่ยวกับการแต่งกาพย์กลอนกันมาบ้างแล้ว ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ‘กาพย์ยานี 11’ และต้องบอกว่ากาพย์ชนิดนี้มีวรรณคดีหลาย ๆ เรื่องที่ใช้ในการแต่งบทประพันธ์ หรือเราเองก็มักจะได้เริ่มการแต่งกาพย์ชนิดนี้ก่อนเป็นอันดับแรก ๆ ด้วยรูปแบบของฉันทลักษณ์ที่เข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน ไม่ได้กำหนดสระหรือคำเป็นคำตายแต่อย่างใด เพราะฉะนั้น เพื่อเป็นการทบทวน และเพิ่มเติมความรู้ให้กับน้อง ๆ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับรูปแบบของฉันลักษณ์ พร้อมกับให้ดูตัวอย่างของ
กาพย์ยานี 11 ประกอบไปด้วย เพื่อความเข้าใจที่สมบูรณ์ น้อง ๆ จะได้ลองไปแต่งด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง ถ้าพร้อมแล้วไปเข้าสู่บทเรียนของวันนี้ได้เลย

กาพย์ยานี 11

กาพย์ยานี 11 คืออะไร?

กาพย์ชนิดหนึ่งที่นิยมใช้ในการเล่าเรื่อง นิยมใช้แต่งบทสั้น ๆ หรือใช้แต่งคำประพันธ์ร่วมกับกาพย์ และฉันท์ประเภทอื่น ๆ เพื่อความไพเราะ  โดยกาพย์ยานี 11 จะมีลักษณะบังคับ หรือโครงสร้างของฉันทลักษณ์ที่เข้าใจง่าย และสามารถเลือกสรรคำมาแต่งได้หลากหลาย เพียงแต่ต้องมีเสียงที่คล้องจองกัน ดังนั้น เดี๋ยวเราจะมาดูกันว่าโครงสร้างฉันทลักษณ์ของกาพย์ยานี 11 มีรูปร่างหน้าตาประมาณไหน

ฉันทลักษณ์ของกาพย์ยานี 11

 

กาพย์ยานี 11

 

องค์ประกอบของกาพย์ยานี 11 ใน 1 บท จะมีแบ่งออกเป็นวรรคหน้า 5 คำ วรรคหลัง 6 คำ รวมเป็น 11 คำ ใน 1 บทจะมี 2 บาท บาทละ 2 วรรค รวมเป็น 4 วรรค ส่วนวิธีสัมผัสจะมีเพียงแค่ 2 คู่ และอาจมีการเชื่อมสัมผัสกับบทถัดไปด้วย โดยจะมีลักษณะของการเชื่อมสัมผัส ดังต่อไปนี้

 

กาพย์ยานี 11

 

  • คำสุดท้ายของวรรคที่ 1 สัมผัสกับคำที่ 3 ของวรรคที่ 2
  • คำสุดท้ายของวรรคที่ 2 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 3
  • คำสุดท้ายของวรรคที่ 4 ในบทต้นจะไปสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 2 ของบทต่อไป และจะสัมผัสแบบเดียวกันไปเรื่อย ๆ ซึ่งกาพย์ยานีสามารถแต่งให้มีความยาวต่อกันกี่บทก็ได้ไม่จำกัด

ตัวอย่างการแต่งกาพย์ยานี 11

 

ธรรมชาติแมกไม้งาม             มองฟ้าครามในยามเย็น

ต้องตาทุกคราเห็น                 คงไว้เป็นเช่นภาพฝัน

ออกเที่ยวเลี้ยวลัดเลาะ          มองหมู่เกาะอัศจรรย์

ความสุขเปี่ยมอนันต์              เพียงเราได้ออกเดินทาง

จะเห็นว่าในแต่ละวรรคจะมีการสัมผัสกันหลัก ๆ อยู่เพียง 2 คู่ อย่างคำว่า “งาม” ที่ไปสัมผัสกับคำว่า “คราม” คำว่า “เย็น” ในวรรคที่ 2 จะไปสัมผัสกับคำว่า “เห็น” ในวรรคที่ 3 ส่วนคำว่า “ฝัน” ในวรรคที่ 4 ก็จะไปสัมผัสกับคำว่า “อัศจรรย์” ในวรรคที่ 2 ของบทถัดไป

บทส่งท้าย

จบไปแล้วสำหรับเนื้อหาการเรียนรู้เรื่องกาพย์ยานี 11 หวังว่าหลังจากเรียนจบบทเรียนวันนี้ไปแล้วจะช่วยให้น้อง ๆ สามารถเข้าใจ และแต่งกาพย์ยานี 11 ได้อย่างถูกต้อง ที่สำคัญคือน้อง ๆ ต้องหมั่นเรียนรู้คำศัพท์ภาษาไทยใหม่ ๆ ด้วย จะได้เลือกใช้คำได้หลากหลายขึ้น ส่วนน้อง ๆ คนไหนที่ยังไม่จุใจอยากจะเรียนรู้เรื่องนี้เพิ่มเติม หรือทบทวนอีกก็สามารถเข้าไปดูครูอุ้มสอนได้ที่คลิปด้านล่างนี้เลย

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

should have

I Should Have Done It! โครงสร้างประโยค “รู้งี้”

สวัสดีน้องๆ ม. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับหลักไวยากรณ์เล็กๆ น้อยๆ ที่ได้ใช้ประโยชน์มากๆ นั่นคือเรื่องการใช้ should have + past participle นั่นเองครับ จะเป็นอย่างไรลองไปดูกันเลยครับ

โดเมนของความสัมพันธ์

โดเมนของความสัมพันธ์ โดเมนของความสัมพันธ์ r คือ สมาชิกตัวหน้าของคู่อันดับในความสัมพันธ์ r เขียนแทนด้วย กรณีที่ r เขียนแบบแจกแจงสมาชิก เราสามารถหาโดเมนได้เลยโดย คือสมาชิกตัวหน้า เช่น = {(2, 2), (3, 4), (8, 9)} จะได้ว่า  = {2, 3, 8}

ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์

ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ ซึ่งได้กล่าวถึงขั้นตอนและวิธีการหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ และยกตัวอย่างประกอบ อธิบายอย่างละเอียด ซึ่งก่อนจะเรียนเรื่อง ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์น้องๆสามารถทบทวน การทดลองสุ่มและเหตุการณ์ ได้ที่  ⇒⇒ การทดลองสุ่มและเหตุการณ์ ⇐⇐ ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ (probability) คือ  อัตราส่วนระหว่างจำนวนเหตุการณ์ที่สนใจ (n(E)) กับจำนวนแซมเปิลสเปซ (n(S)) ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้พร้อม ๆ กัน ใช้สัญลักษณ์ “P(E)”  แทนความน่าจะเป็นของการเกิดเหตุการณ์ที่สนใจ โดยที่ 

สมบัติการบวกจำนวนจริง

สมบัติการบวกจำนวนจริง สมบัติการบวกจำนวนจริง เป็นสมบัติที่น้องๆต้องรู้ เพราะเป็นรากฐานของวิชาคณิตศาสตร์และน้องๆจะต้องใช้สมบัติพวกนี้ในการเรียนคณิตศาสตร์ในระดับที่สูงขึ้น สมบัติการบวกของจำนวนจริง มีทั้งหมด 5 ข้อ ดังนี้   1.) สมบัติปิดการบวก  สมบัติปิดการบวก คือ การที่เรานำจำนวนจริง 2 ตัวมาบวกกัน เราก็ยังได้ผลลัพธ์เป็นจำนวนจริงเหมือนเดิม เช่น 1 + 2 = 3 จะเห็นว่า

การวัดพื้นที่ ม.2

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้มาตราต่างๆของหน่วยในระบบที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย รวมทั้งสูตรต่างๆที่ใช้ในการหาพื้นที่ เพื่อให้เราได้นำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง

Profile

การตั้งประโยคคำถามแบบมีกริยาช่วยนำหน้าและ Wh-questions

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดู ความแตกต่างของ ประโยคคำถามที่มีกริยาช่วยนำหน้า กับ Wh-questions กันค่ะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย มารู้จักกับกริยาช่วย   Helping verb หรือ Auxiliary verb กริยาช่วย หรือ ภาษาทางการเรียกว่า กริยานุเคราะห์  คือกริยาที่วางอยู่หน้ากริยาหลัก (Main verb) ในประโยค  ทำหน้าที่ช่วยกริยาอื่นให้มีความหมายตาม

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1