การพูดรายงานหน้าชั้น พูดอย่างไรให้ได้ใจผู้ฟัง

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การพูดรายงานหน้าชั้น เป็นการแสดงผลงานศึกษาค้นคว้าโดยนำมาบอกเล่า ชี้แจง นำเสนอให้ผู้อื่นได้ทราบด้วย การพูดรายงานจึงมีความสำคัญในฐานะที่เป็นการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ความคิด บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้กันว่าหลักในการพูดรายงานหน้าชั้นนั้นมีอะไรบ้าง พูดอย่างไรจึงจะดึงดูดผู้ฟัง รวมไปถึงมารยาทขณะที่ออกไปพูดด้วย จะเป็นอย่างไรบ้างนั้นเราไปดูกันเลยค่ะ

 

หลักการพูดรายงานหน้าชั้น

 

การพูดรายงานหน้าชั้น

 

1. กล่าวทักทายผู้ฟัง แนะนำผู้ร่วมงาน หัวข้อ จุดประสงค์

การทักทายถือเป็นการสร้างความประทับใจแรกให้แก่ผู้ฟัง ไม่ว่าหัวข้อที่เราจะนำมาพูดหน้าชั้นคืออะไร แต่หากเราพูดเนื้อหาขึ้นมาเลยแบบไม่มีปี่ไม่ขลุ่ย ก็อาจจะทำให้ผู้ฟังไม่อยากฟัง หรือคิดว่าการพูดหน้าชั้นของเราเป็นเรื่องน่าเบื่อ ดังนั้นวิธีดึงดูดความสนใจตั้งแต่แรก จึงจำเป็นที่จะต้องทักทายก่อนจะแนะนำตัว ถ้าพูดคนเดียวก็ให้แนะนำตัวเอง แต่หากทำเป็นกลุ่มก็ให้แนะนำเพื่อนร่วมงานทุกคน พูดหัวข้อที่จะมาพูดให้ทุกคนฟัง รวมไปถึงจุดประสงค์เล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นการเกริ่นนำก่อนเข้าสู่เนื้อหา

2. ออกเสียงดังฟังชัดขณะพูด

ลักษณะของอ่านออกเสียงให้ดี ทำได้ดังนี้

  • -อ่านเนื้อหาที่จะพูดทั้งหมดก่อนพูดจริง
  • -ฝึกพูดออกเสียงให้ตรงตามอักขรวิธี
  • -ใช้น้ำเสียงให้เหมาะสมกับเนื้อหา
  • -เว้นวรรคตอนให้เหมาะสม ไม่พูดติดกันเกินไป หรือเว้นวรรคนานเกินไปจนดูติดขัด
  • -ไม่พูดเสียงเบา แสดงถึงความไม่มั่นใจ

3. รายงานตามลำดับเนื้อหาให้ต่อเนื่องสัมพันธ์กัน

การลำดับเนื้อหาในการพูดให้สัมพันธ์กันจะช่วยเพิ่มความน่าติดตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสิ่งที่นำมารายงานหน้าชั้นมีเนื้อหาที่ยาว ถ้าหากเราไม่จัดลำดับเนื้อหาให้สัมพันธ์กันก็จะสร้างความสับสนให้กับผู้ฟัง จนไม่สามารถจับต้นชนปลายได้

 

การพูดรายงานหน้าชั้นเรียน

 

4. มีบุคลิกภาพที่ดี ยืนนั่งสำรวม

เมื่อต้องออกไปพูดหน้าชั้นเรียนต่อหน้าเพื่อน ๆ อาจทำให้หลายคนรู้สึกประหม่าและตื่นเต้นเกินกว่าจะอยู่นิ่ง ๆ ได้ซึ่งการเป็นแบบนั้นนอกจากจะไม่สำรวมแล้วยังทำให้ผู้พูดเสียบุคลิกอีกด้วย

5.รักษาเวลาในการพูด

การรักษาเวลาในการพูดเป็นเรื่องสำคัญพอ ๆ กับการพูด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีคนรอพูดต่อจากเราอยู่ หากเราใช้เวลานานเกิน ก็จะทำให้ผู้อื่นต้องเสียเวลาไปด้วย

6.พูดจบเปิดโอกาสให้ผู้อื่นซักถาม

การพูดรายงานหน้าชั้นเรียนที่ดีควรจะเปิดโอกาสให้เพื่อน ๆ ซักถามด้วย เพราะเรื่องที่เรานำมาพูด เป็นเรื่องที่เราศึกษาค้นคว้ามา ดังนั้นอาจจะมีหลายจุดที่ทำให้เพื่อนสงสัยและไม่เข้าใจ ผู้พูดจึงต้องเตรียมตัวตอบคำถามเรื่องนั้น ๆ ให้ทุกคนเข้าใจตรงกันด้วย

7.กล่าวขอบคุณเมื่อได้รับคำชม

การกล่าวขอบคุณเป็นมารยาทขั้นพื้นฐานและเป็นวัฒนธรรมอันดีงามของไทย ไม่ว่าคำชมนั้นจะมาจากผู้ใหญ่หรือเพื่อนรุ่นเดียวกัน เราควรจะขอบคุณเมื่อได้รับคำชม หรือคำแนะนำ เพื่อนำไปปรับใช้ในการรายงานหน้าชั้นเรียนครั้งถัดไป

 

มารยาทในการพูดรายงานหน้าชั้น

 

ไม่เพียงแต่รู้หลักในการพูด แต่สิ่งที่จำเป็นและสำคัญอย่างมากที่ผู้พูดทุกคนจะต้องมีก็คือมารยาทในการพูด เพราะจะเป็นการเสริมสร้างบุคลิกให้ผู้พูดและสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ฟังขณะที่เรากำลังพูดหน้าชั้นเรียนอีกด้วย

 

การพูดรายงานหน้าชั้น

 

1.ใช้ภาษาที่สุภาพเหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล

ถึงแม้ว่าผู้ฟังในการรายงานหน้าชั้นเรียนจะมีเพื่อนร่วมห้องเป็นส่วนมาก แต่ก็ควรคำนึงถึงครูประจำวิชาหรือในกรณีที่มีผู้ใหญ่เข้ามารับฟังการนำเสนอด้วย ดังนั้นภาษาที่ใช้ควรเป็นภาษาที่สุภาพ ไม่เป็นกันเองเหมือนพูดกับเพื่อนเล่น ๆ มากเกินไป เพราะจะทำให้เนื้อหาที่พูดนั้นไม่มีความน่าเชื่อถือ

2. ไม่ควรพูดเรื่องส่วนตัวของตนเอง และไม่นำเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นมาพูด

การพูดรายงานหน้าชั้นเรียน เป็นนำเสนอความรู้ นอกจากการทักทาย แนะนำตัว และเนื้อหาแล้วก็ไม่ควรเอาเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องมาพูด เพราะนอกจากจะไม่เกี่ยวกับเนื้อหาแล้ว ยังทำให้เสียเวลาอีกด้วย รวมไปถึงเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง เพราะเป็นการเสียมารยาทต่อผู้ที่ถูกกล่าวถึงเป็นอย่างยิ่ง

 

 

เป็นอย่างไรบ้างคะ หลังจากที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ การพูดรายงานหน้าชั้น กันไปแล้ว หวังว่าบทเรียนนี้จะช่วยให้การพูดรายการหน้าชั้นเรียนครั้งถัด ๆ ไปของน้อง ๆ เป็นไปอย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จ ได้คะแนนกันเยอะ ๆ ทุกคนเลยนะคะ สุดท้ายนี้น้อง ๆ สามารถตามไปชมคลิปการสอนของครูอุ้มย้อนหลังเพื่อทบทวนบทเรียน จะได้เข้าใจกันยิ่งขึ้นค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
เรียนพิเศษออนไลน์ ดูได้ทั้ง 4 รายวิชา - NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ที่มาของขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม

​ขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณกรรมที่เชื่อว่ามีเค้าเรื่องจริงในสมัยอยุธยา มีมากมายหลายตอน แต่ตอนที่ถูกนำมาให้เด็กได้เรียนกันมีด้วยกันสองตอนคือกำเนิดพลายงามและขุนช้างถวายฎีกา สำหรับตอนที่น้อง ๆ จะได้เรียนรู้กันในวันนี้คือตอน กำเนิดพลายงาม ซึ่งคือว่าเป็นตอนที่สำคัญอย่างมากเพราะเป็นเหมือนจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมดของเรื่อง ตอนนี้จะมีความเป็นมา เรื่องย่อ และมีความดีเด่นอย่างไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมา   ขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณคดีที่มีมาอย่างยาวนาน แต่ในสมัยรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้ชำระเสภาขุนช้างขุนแผน ได้ทรงประชุมกวีเอกสมัยนั้น ช่วยกันแต่งคนละตอนสองตอน สุนทรภู่ก็ได้รับมอบหมายให้ร่วมแต่งด้วย และท่านคงต้องแต่งอย่างสุดฝีมือทำให้ตอน

Suggesting Profile

การใช้ Imperative for Advice

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้น ม.2 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาเรียนรู้เกี่ยวกับ “การใช้ Imperative for Advice หรือ การใช้ประโยคแนะนำในภาษาอังกฤษ”กันค่ะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า ประโยคแนะนำที่เจอบ่อย (Imperative for advice) คำศัพท์น่าสนใจ Advice (Noun): คำแนะนำ Advise (Verb): แนะนำ ประโยคคำแนะนำ ส่วนใหญ่แล้วจะเจอในรูปแบบของประโยคบอกเล่า ซึ่งจะมีความหมายในทางเสนอแนะ

หลักการใช้ Simple Present Tense+ Present Continuous Tense

สวัสดีนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง” หลักการใช้ Simple Present Tense+ Present Continuous Tense” พร้อมทั้งตัวอย่างสถานการณ์ใกล้ตัว และเทคนิคการจำและนำ Tense ไปใช้กันจร้า ซึ่ง Simple Present Tenseและ Present Continuous Tense นั้นมีสิ่งที่เหมือนกันคือ อยู่ในรูปปัจจุบัน (Present) เหมือนกัน

การสร้างตารางค่าความจริง

บทความนี้เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างตารางค่าความจริงของประพจน์ เป็นเนื้อหาที่ไม่ยากมากหลังจากน้องๆได้อ่านบทความนี้แล้ว น้องๆจะสามารถสร้างตารางค่าความจริงได้ สามารถบอกได้ว่าประพจน์แต่ละประพจน์เป็นจริงได้กี่กรณีและเป็นเท็จได้กี่กรณี และจะทำให้น้องเรียนเนื้อหาเรื่องต่อไปได้ง่ายยิ่งขึ้น

M6 Phrasal Verbs

Phrasal Verbs 

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.6 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง “Phrasal Verbs“ กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด   ความหมาย Phrasal Verbs  Phrasal Verbs คือ คำกริยา โดยเป็นกริยาที่มีคำอื่นๆ อย่างเช่น คำบุพบท (Preposition) ร่วมกันส่วนใหญ่แล้ว Phrasal Verbs จะบอกถึงการกระทำ มักจะเจอในชีวิตประจำวันในสถานการณ์ทั่วไป ไม่เป็นทางการมาก ข้อดีคือจะทำให้ภาษาใกล้เคียงกับเจ้าของภาษามากขึ้นนั่นเองจ้า

ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.)

ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.)

             ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.) ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.) ของจำนวนนับตั้งแต่สองจำนวนขึ้นไปนั้น  เป็นการหาตัวหารร่วมหรือตัวประกอบร่วมที่มีค่ามากที่สุดของจำนวนนับเหล่านั้น ในบทความนี้ได้รวบรวมวิธี การหา ห.ร.ม. ไว้ทั้งหมด 3 วิธี น้องๆอาจคุ้นชินกับ การหา ห.ร.ม. โดยวิธีตั้งหาร แต่น้องๆทราบหรือไม่ว่าวิธีการหา ห.ร.ม. มีวิธีการดังต่อไปนี้ การหา ห.ร.ม. โดยการหาผลคูณร่วม การหา ห.ร.ม.

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1