หลังจากที่ได้เรียนรู้ความเป็นมาและเนื้อหาในโคลงโลกนิติกันแล้ว น้อง ๆ ก็คงจะอยากรู้กันแล้วใช่ไหมคะว่าตัวบทในโคลงโลกนิติที่มีอยู่มากมายนั้น มีตัวบทไหนที่เด่น ๆ กันบ้าง วันนี้เรามาศึกษาตัวบทที่น่าสนใจเพื่อทำความเข้าใจถึงคติธรรมและคุณค่าที่อยู่ในเรื่องกันค่ะ
โคลงโลกนิติ
โคลงโลกนิติเป็นบทประพันธ์ที่มีคำสอนมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการคบเพื่อน การปฏิบัติตัวกับพ่อแม่ หรือแม้แต่การดำเนินชีวิตในแต่ละวัน เรามาดูตัวบทเด่น ๆ ที่ควรรู้กันทีละบทเลยนะคะว่าแต่ละบทสอนเรื่องอะไรบ้าง
ศึกษาตัวบท
ความหมาย
กล่าวถึงปลาร้าที่มีกลิ่นเหม็น และใบคา แม้ใบคาจะเป็นใบไม้ที่ไม่มีกลิ่นเฉพาะตัว แต่เมื่อนำไปห่อปลาร้าก็จะทำให้มีกลิ่นเหม็นจากปลาร้าติดไปด้วย เปรียบได้กับการคบคน ถ้าเราไปคบคนพาล คนไม่ดี ก็จะทำให้ตัวเรากลายเป็นแบบเพื่อนไปด้วย
คำศัพท์
เฟื่อง หมายถึง ฟุ้ง, กระจาย
พงษ์ หมายถึง เชื้อสาย, สกุล
ความหมาย
กล่าวถึงใบพ้อที่เมื่อไปห้อหุ้มกฤษณาซึ่งเป็นไม้หอม ก็จะทำให้ใบพ้อมีกลิ่นหอมตามไปด้วย เปรียบเทียบได้กับการคบเพื่อนเช่นเดียวกับบทก่อนหน้า แต่มีความแตกต่างตรงที่บทนี้จะเปรียบเทียบในด้านดีว่าเมื่อเราคบเพื่อนดีที่ดี ตัวเราก็จะได้รับสิ่งดี ๆ นั้นจากเพื่อนไปด้วย
คำศัพท์
เพริศ หมายถึง งาม, ดีเลิศ
ความหมาย
กล่าวถึงก้านดอกบัวที่สามารถบอกความลึกของน้ำได้ว่าลึกหรือตื้น หญ้าที่เหี่ยวแห้งก็เป็นตัวบอกให้รู้ว่าดินไม่ดี เช่นเดียวกับคน คำพูดคำจา กิริยาและมารยาทที่แสดงออกมาย่อมสะท้อนถึงการอบรมเลี้ยงดู บทนี้จึงเป็นการสอนให้เรารู้จักระมัดระวังในการวางตัวเมื่ออยู่กับผู้อื่น เพราะการกระทำทุกอย่างเกี่ยวโยงไปถึงวงศ์ตระกูลว่าสอนเรามาดีแค่ไหน ในขณะเดียวกันก็ยังสอนให้รู้จักสังเกตคนได้อีกด้วย
คำศัพท์
ชลธาร หมายถึง ลำน้ำ, คลอง, ห้วย, ทะเลสาบ
ความหมาย
กล่าวถึงการห้ามนินทาว่าสามารถทำได้หากเราห้ามเพลิงไม่ให้มีควัน ห้ามพระอาทิตย์กับพระจันทร์ไม่ให้ส่องแสง และห้ามอายุไม่ให้เพิ่มขึ้น ซึ่งในความเป็นจริงเราไม่สามารถไปห้ามเพลิงที่กำลังลุกไหม้ไม่ให้มีควัน ห้ามไม่ให้พระอาทิตย์กับพระจันทร์ส่องแสง หรือห้ามอายุให้อยู่ที่เดิมเนื่องจากคนเราต้องโตขึ้นทุกปี อายุจึงไม่ใช่เรื่องที่จะหยุดกันได้ เช่นเดียวกับการนินทา ที่เราไม่สามารถห้ามคนอื่นไม่ให้นินทาตัวเองได้ บทนี้จึงสอนเกี่ยวกับสัจธรรมของโลก
คำศัพท์
สุริย-, สุริยะ หมายถึง พระอาทิตย์, ดวงตะวัน
ความหมาย
กล่าวถึงการประพฤติตัว ถ้าเป็นคนอ่อนหวาน ใคร ๆ ก็อยากจะเข้าใกล้ทำให้มีเพื่อนเยอะ เปรียบได้กับดวงจันทร์ที่มีดวงดาวมาล้อมอยู่เสมอ แต่ถ้าหากเป็นคนหยาบคาบก็จะทำให้ไม่มีใครอยากอยู่ใกล้หรือเป็นเพื่อนด้วย เหมือนพระอาทิตย์ที่ส่องแสงมากเกินจนทำให้ไม่มีดวงดาวดวงไหนมาอยู่ใกล้ได้ บทนี้จึงสอนเรื่องการประพฤติตัวต่อคนรอบข้าง
คำศัพท์
เกลอ หมายถึง เพื่อน
กราย หมายถึง เข้าไปใกล้
ศศิ หมายถึง ดวงจันทร์
คุณค่าที่อยู่ในโคลงโลกนิติ
โคลงโลกนิติมีเนื้อหาหลัก ๆ เกี่ยวกับคำสอน ทำให้ทุกบทจะมีข้อคิดในตัวเอง โดยใช้การเปรียบเทียบการกระทำของคนกับสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างลึกซึ้ง ซึ่งคำสอนในโคลงโลกนิติถือเป็นคำสอนที่สอดคล้องกับหลักพุทธศาสนา เน้นให้พิจารณาตนเองและคนอื่น ทำให้มีคุณค่าต่อผู้ที่อ่านเป็นอย่างยิ่งไม่ว่าจะอายุเท่าใด หรือเป็นเพศใด เพราะสามารถนำไปเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินชีวิตได้ทั้งหมด
บทส่งท้าย
จากการศึกษาตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจและได้เรียนรู้คุณค่าที่อยู่ในโคลงโลกนิติ คงจะทำให้น้อง ๆ หลายคนหายข้องใจเกี่ยวกับคำสอนและคติธรรมในเรื่องได้ แต่ถ้าหากยังมีน้อง ๆ คนไหนอยากจะฟังคำอธิบายในแต่ละตัวบทเพิ่มเติมก็สามารถไปชมคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มได้ ในคลิปครูอุ้มจะอธิบายตัวบทแต่ละบทให้เข้าใจอย่างง่าย น้อง ๆ สามารถฟังไปและทำแบบฝึกหัดไปได้เลยค่ะ ไปดูกันเลย