สวัสดีค่านักเรียนชั้นม.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดู ” Passive Modals“ ที่ใช้บ่อยพร้อมเทคนิคการใช้งานง่ายๆกันค่า Let’s go! ไปลุยกันเลยเด้อ
Passive Modals คืออะไร
Passive Modals หรือ Modal Verbs in the Passive Voice
คือ Modal verbs ที่ถูกใช้ร่วมกับ โครงสร้างของ Passive Voice จึงถูกเรียกว่า Passive Modals
ดังนั้น โครงสร้างของ Passive Modals ที่ควรรู้จักคือ shall, should, will, would, may, might, can, could, must, ought to ตามด้วย be แล้วตามด้วย V.3 ที่เราจะได้รู้และทบทวนในบทความนี้นั่นเองค่าSit back, relax, and enjoy your lesson! ขอให้สนุกกับการเรียนน๊า
ตารางการใช้ Modals: Active Voice VS Passive Voice
ก่อนอื่นเราจะต้องรู้จักความหมายและข้อแตกต่างของ Active Voice กับ Passive Voice กันก่อนน๊า
Modals in the Active Voice |
Modals in the Passive Voice |
We can do it. เราทำได้ |
It can be done.
สามารถทำได้ |
You could wash your plates. คุณสามารถล้างจานของคุณ |
Your plates should be washed. ควรล้างจานของคุณ (จานของคุณควรได้ล้าง) |
He might fix the computer.
เขาอาจจะซ่อมคอมพิวเตอร์ |
The computer might be fixed. คอมพิวเตอร์อาจได้รับการซ่อม |
Mr. Obama may make this call.
คุณโอบามาอาจโทรหา |
This call may be made by (Mr. Obama).
สายนี้อาจจะโทรมาจากคุณโอบามา |
Jennifer must submit her thesis today.
เจนนิเฟอร์ต้องส่งวิทยานิพนธ์ของเธอวันนี้ |
This thesis must be submitted today.
ต้องส่งวิทยานิพนธ์วันนี้ |
The secretary has to send the email.
เลขานุการต้องส่งอีเมล |
That email has to be sent by the secretary.
เลขานุการต้องส่งอีเมลนั้น |
James needed to write the thesis.
เจมส์จำเป็นต้องเขียนวิทยานิพนธ์ |
The thesis needed to be written by James.
วิทยานิพนธ์จำเป็นต้องเขียนโดยเจมส์ |
The doctor should inform a new patient.
แพทย์ควรแจ้งผู้ป่วยรายใหม่
|
A new patient should be informed by the doctor.
ผู้ป่วยรายใหม่ควรได้รับแจ้งจากแพทย์ |
มาดูความแตกต่างของ Present Passive VS Past Passive
ตารางด้านล่างได้จำแนกข้อแตกต่างผ่านโครงสร้าง และความหมาย ของ ” Present Passive และ Past Passive” ไว้
ต้องดูก่อนน๊า
Present Passive |
Past Passive
|
โครงสร้าง: Modal + be + Past participle |
โครงสร้าง: Modal + have been + Past participle |
It can be done.
สามารถทำให้สำเร็จได้ |
It could have been done. มันเป็นไปได้ (แต่อาจไม่ได้ทำ) |
Her clothes could be sold.
เสื้อผ้าของเธอสามารถขายได้ |
Her clothes could have been sold.
เสื้อผ้าของเธอสามารถขายได้ (แต่อาจไม่ได้ขาย) |
The car might be fixed.
รถอาจจะซ่อมได้ |
The car might have been fixed, but the mechanic didn’t fix it.
รถน่าจะซ่อมได้แล้ว (แต่ไม่ได้ซ่อม) |
A donation for Covid-19 may be made.
การบริจาคเงินช่วย Covid-19 นั้นอาจสามารถทำได้ |
A donation for Covid-19 may have been made if it won’t lock down.
อาจมีการบริจาคสำหรับโควิด-19 หากไม่ล็อคดาวน์ |
ทวนเรื่อง Passive Voice
นักเรียนอาจจะเคยได้เรียนมาบ้างแล้วว่า ในภาษาอังกฤษ Passive voice ก็คือโครงสร้างที่ประธานถูกกระทำนั่นเอง ซึ่งโครงสร้างนี้แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนดังนี้ค่ะ Subject (ประธาน) + Verb to be (is, am, are, was, were) + Past participle (Verb 3)
หลักการใช้ Passive Voice
- เน้นไปที่ผู้รับผลของการกระทำนั้นๆ ก็คือประธานของประโยคนั่นเอง เช่น
Many kids were bullied on social media.
เด็กมากมายถูกบูลลี่บนโลกโซเซียลมีเดีย
- ไม่เน้นผู้กระทำเพราะไม่รู้ว่าผู้กระทำคือใคร
The previous prime minister was shot to death.
นายกรัฐมนตรีคนก่อนถูกยิงเสียชีวิต
3. เน้นผู้กระทำด้วยการเติม by + ชื่อผู้กระทำ เช่น
The dog was killed by the thug.
สุนัขถูกฆ่าโดยพวกอันธพาลปล. ในส่วนของ by นั้นไม่ต้องใส่ก็ได้นะคะหากไม่เน้นผู้กระทำ ไม่ผิดแกรมม่าแน่นอน เพราะเป็นเพียงส่วนขยายที่เน้นผู้กระทำนั่นเอง
การใช้ passive voice ในรูปประโยคต่างๆ เราสามารถใช้ passive voice ได้กับทุก tense อีกทั้งยังสามารถใช้กับ modal verb ต่างๆได้อีกด้วย (modal verb ก็อย่างเช่น can, could, may, might, must) โดยจะมีรายละเอียดด้านล่าง
โครงสร้าง Passive voice ใน 12 Tenses
Tense | Structure |
Present simple | S + is/am/are + V.3 |
Present continuous | S + is/am/are + being + V.3 |
Present perfect | S + has/have + been + V.3 |
Present perfect continuous | S + has/have + been + being + V.3 |
Past simple | S + was/were + V.3 |
Past continuous | S + was/were + being + V.3 |
Past perfect | S + had + been +V.3 |
Past perfect continuous | S + had + been + being + V.3 |
Future simple | S + will + be + V.3 |
Future continuous | S + will + be + being + V.3 |
Future perfect | S + will + have + been + V.3 |
Future perfect continuous | S + will + have + been + being + V.3 |
ตารางโครงสร้าง Passive Modals:
Subject+ Modal verbs + be + V.3
Subject (S)
I, you, we, they, he, she, it, Mike, Jenny |
Modal verbs | Modal verbs + be |
V.3 (Past Participle) |
Could | could + be | ||
May | may + be | ||
Might | might + be | ||
Shall | shall + be | ||
Should | should + be | ||
Will | will + be | ||
Would | would + be | ||
Must | must + be |
ข้อควรรู้:
โครงสร้าง would + be+ V.3 จะใช้เพื่อแสดงการคาดการณ์ถึงเหตุการณ์ในอนาคต ส่วนการใช้ Modal verbs พวก must, can, will + be + V.3 จะแสดงความเป็นไปได้มาก
- Can
Can แปลเป็นไทยได้ว่า สามารถ หรือ มีโอกาสที่จะ ดังนี้
บอกเล่า: It can be done.
แปล มันมีโอกาสสำเร็จได้
ปฏิเสธ: It cannot (can’t) be done.
แปล มันไม่สามารถสำเร็จได้
- Will
will แปลว่า จะ ใช้บอกอนาคต เพื่อแสดงถึงแนวโน้มของความเป็นไปได้มาก ในโครงสร้างประโยคบอกเล่า Subject + will + V. Infinitive และแสดงให้เห็นว่า ณ ช่วงเวลาหนึ่งในอนาคต จะมีบางอย่างกำลังดำเนินอยู่ในโครงสร้าง Subject + will + be + V. ing ของประโยค Future Continuous Tense
Dad: Mom will cook alone.
แปล แม่จะทำอาหารคนเดียวDaughter: That’s weird today.
แปล วันนี้แม่ดูแปลกๆ
Dad: But the whole next week’s menu must be cooked by you!
แปล แต่อาหารทั้งสัปดาห์หน้าลูกต้องเป็นคนทำนะ
- Must
เราใช้ must เมื่อเรามั่นใจว่าบางสิ่ง ต้อง เกิดขึ้น หลัง must ตามด้วย V. Infinitive
+ Noun/Noun phrase แสดงถึงความมั่นใจมาก เช่น
Nanno: She must be a new student.
เธอต้องเป็นนักเรียนใหม่แน่ๆYuri: And you must be Nanno.
และเธอก็คงเป็นแนนโนะสินะ
กริยาช่วยกลุ่มแสดงความเป็นไปได้ระดับปานกลางได้แก่ may, might, could, should + be + V.3
คำเหล่านี้เมื่ออยู่ในประโยคจะมีน้ำหนักของคำระดับปานกลาง และจะมีความหมายเหมือนกันซึ่งแปลว่า อาจจะ เช่น
The online class may be closed tomorrow.
พรุ่งนี้คลาสเรียนออนไลน์อาจจะปิด
- Should
Should มีความหมายว่า น่าจะ หรือ ควรจะ เช่น
Jane should be called 3 hours ago.
เจนควรโดนเรียกไปแล้วตั้งแต่ 3 ชั่วโมงที่แล้ว
- Could แสดงความเป็นไปได้น้อยมาก
Could นอกจากจะใช้เพื่อแสดงแนวโน้มของความเป็นไปได้ปานกลาง เช่น
William could be crashed by another car if he continued drinking while driving.
วิลเลียมอาจจะโดนรถคันอื่นชนได้ถ้าเขายังคงดื่มไปขับไป
- Semi-modal: “ought to be + V.3”
การใช้ ought นี้จะแปลว่า “ควรจะ” แปลเหมือน should มีหลักการใช้ดังตัวอย่างบทสนทนาด้านล่างนี้
ใช้แนะนำทั่วๆไป:
Cristiano Ronaldo ought to be kicked out of the team if he played unfair.
คริสเตียโน โรนัลโดควรถูกไล่ออกจากทีมถ้าเขาเล่นอย่างไม่ยุติธรรม
เทคนิคการใช้ Passive Modals
-
โครงสร้าง Subject + can, could, may, might + be + V.3
ใช้แสดงความเป็นไปได้ และแนวโน้มของความเป็นไปได้ - โครงสร้าง Subject + should be, ought to be + V.3
เพื่อให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะ - โครงสร้าง Subject +must be+ V.3
เพื่อบอก กฎข้อบังคับ กติกา สิ่งจำเป็นที่ต้องทำ - โครงสร้าง Subject +can, could, may, might, shall, will, would +be + V.3
ใช้บอกมารยาททางสังคม การขออนุญาต แสดงความสุภาพ
แบบฝึกหัด
Direction: Change the sentence from the active voice to the passive voice.
(คำสั่ง:จงเปลี่ยนประโยคจาก Active Voice เป็น Passive Voice)
- You have to clean your room.
- They should teach students.
- They may not deliver her food on time.
- Dad needs to mow the lawn.
- Someone could have warned him about his student debt.
เฉลยแบบฝึกหัด
- Your room has to be cleaned.
แปล ห้องของคุณต้องได้ทำความสะอาด - Students should be taught.
แปล นักศึกษาควรได้รับการสั่งสอน - Her food may not be delivered on time.
แปล อาหารของเธออาจมาส่งไม่ตรงเวลา - The lawn needs to be mown (by dad).
แปล สนามหญ้านี้ต้องตัด (โดยคุณพ่อ) - He could have been warned about his student debt.
แปล เขาอาจได้รับคำเตือนเกี่ยวกับหนี้กู้ยืมเรียนของเขามามั้ง (แสดงความไม่แน่ใจ)
เมื่อจะต้องใช้ Passive Modals สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ “กริยาช่วยต้องตามด้วย + be + V.3” เพื่อให้เราสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ถูกต้อง และคล่องมากๆแบบเจ้าของภาษากันจร้า อย่าลืมดูวีดีโอทบทวนบทเรียนในหัวข้อ วิชาภาษาอังกฤษ ชั้น ม.5 เรื่อง Passive Modals กันด้วยเด้อ เลิฟๆ
คลิกที่ปุ่มเพลย์แล้วไปเรียนให้สนุกกันจร้า