ศิลาจารึก วรรณคดีเชิงประวัติศาสตร์ที่สำคัญของคนไทย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ศิลาจารึก เป็นวรรณคดีเชิงประวัติศาสตร์ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ย้อนอดีตไปในสมัยสุโขทัยเพื่อเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของศิลาจารึก ที่เป็นการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ บนแผ่นดิน ถ้าอยากรู้แล้วว่าแผ่นหินที่ว่านี่มีประวัติความเป็นมาอย่างไร ก็ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

ศิลาจารึกหลักที่ 1 ประวัติความเป็นมา

 

ศิลาจารึก

 

ศิลาจารึกหลักที่ 1 จารึกโดยพ่อขุนรามคำแหง ใช้อักษรไทย สุโขทัย หรือ ลายสือไทย ประดิษฐ์ขึ้นในปี 1826 จุดประสงค์คือเพื่อบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย ทั้งลักษณะการปกครอง ความเป็นอยู่ของประชาชน ความอุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของพระราชประวัติของพ่อขุนรามคำแหง

 

ศิลาจารึก

 

การค้นพบศิลาจารึก หลักที่ 1

 

ในปี พ.ศ. 2376 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงค้นพบศิลาจารึกหลักที่ 1 และพระแท่นมนังคศิลาบาตรที่ปราสาทเก่าเมืองสุโขทัย โดยให้ผู้ที่มีความรู้ด้านภาษาโบราณแปล คือ ศ.ยอร์ช เซเดส์ และ ศ.ฉ่ำ ทองคำวรรณ

 

ศิลาจารึก

 

เกร็ดน่ารู้

ในตอนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวค้นพบศิลาจารึก พระองค์ยังไม่ได้ขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงงผนวชอยู่ 27 พรรษาก่อนลาผนวชเพื่อมาขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลต่อไป

 

ลักษณะคำประพันธ์

 

ลักษณะคำประพันธ์ในศิลาจารึกแต่งเป็นร้อยแก้วบรรยายโวหาร

 

ลักษณะของศิลาจารึก

 

เป็นหลักสี่เหลี่ยมทรงกระโจม เนื้อศิลาเป็นหินทรายแป้ง มีข้อความจารึก 4 ด้าน โดยด้านที่ 1 และ 2 มีจารึกด้านละ 35 บรรทัด ส่วนด้านที่ 3 และ 4 มีจารึกด้านละ 27 บรรทัด แท่นศิลาจารึกมีความสูง 1 เมตร 11 เซนติเมตร

 

เรื่องย่อศิลาจารึก หลักที่ 1

 

เนื้อหาของศิลาจารึกหลักที่ 1 แบ่งออกเป็น 3 ตอน

ตอนที่ 1 พ่อขุนรามคำแหงเล่าถึงประวัติของตัวพระองค์เองว่าเป็นใคร ย้อนไปถึงเรื่องเราในยุคของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ที่ทำศึกสู้รบกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด เมื่อพระราชบิดาเสร็จสวรรคต พ่อขุนบานเมืองซึ่งเป็นพระเชษฐาของพ่อชุนรามคำแหงขึ้นครองราชย์ต่อพระราชบิดา จนกระทั่งพ่อขุนบานเมืองเสด็จสวรรคต พ่อขุนรามคำแหงจึงได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งราชอาณาจักรสุโขทัย

ตอนที่ 2 ในตอนนี้จะกล่าวถึงเหตุการณ์บ้านเมืองและความเจริญรุ่งเรืองในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งเนื้อหาในตอนนี้จะแตกต่างกับตอนแรกตรงที่ในศิลจารึกเลิกแทนตัวสรรพนามบุรุษที่ 1 ว่า “กู” ซึ่งหมายถึงตัวพ่อขุนรามคำแหงเอง แต่เป็นการบันทึกโดยใช้ชื่อของพ่อขุนรามคำแหง จึงมีสันนิษฐานว่าเนื้อในส่วนนี้มีผู้อื่นบันทึกต่อหลังสิ้นรัชกาลของพ่อขุนรามคำแหงหรือจารึกแทน

ตอนที่ 3 ตอนนี้จะกล่าวถึงพระราชกรณียกิจและพระเกียรติคุณของพ่อขุนรามคำแหงในด้านต่าง ๆ ทั้งความฉลาด ความกล้าหาญ และความสามารถด้านการปกครอง นอกจากนี้ยังกล่าวถึงเรื่องที่สำคัญมาก ๆ อย่างการประดิษฐอักษรไทยตามแบบที่พระองค์ทรงใช้ในศิลาจารึกนี่อีกด้วย

 

ศิลาจารึก เป็นการแสดงวัฒนธรรมของชนชาติเจ้าของจารึก ซึ่งศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงนี้ก็ทำให้คนรุ่นหลังได้เห็นถึงความเป็นอยู่และเรื่องราวสำคัญ ๆ ทางประวัติศาสตร์อีกมาก อย่างการเมือง การปกครอง หรือการประดิษฐ์อักษรไทยของพ่อขุนราม ในบทต่อไปน้อง ๆ จะได้ศึกษาเกี่ยวกับเนื้อหาและคุณที่อยู่ในศิลาจารึกเพิ่ม แต่ก่อนอื่น น้อง ๆ อย่าลืมทำแบบฝึกหัดและทบทวนความรู้ในบทนี้โดยการดูคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มนะคะ ไปรับชมและรับฟังพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

Profile_imperative sentence

การใช้ประโยคคำสั่ง หรือ Imperative sentence ในชีวิตประจำวัน

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปเรียนรู้เกี่ยวกับ การใช้ประโยคคำสั่ง หรือ Imperative sentence ในชีวิตประจำวัน กันนะคะ ซึ่งเราจะเจอประโยคเหล่านี้ตั้งแต่ตื่นนอน ทานข้าว เดินไปโรงเรียน ไปดูหนัง ข้ามถนน ข้ามสะพาน ขึ้นแท็กซี่ และในกิจกรรมอื่นๆอีกมากมาย หากว่าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย รูปแบบและโครงสร้างประโยคคำสั่ง Imperative sentence     คือประโยคที่เจอบ่อยเมื่อต้องพูด ให้คำคำปรึกษา

M6 การใช้ Quantity words

การใช้ Quantity words เช่น many/ much/ a lot of/ lots of

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.6 ทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้ “การใช้ Quantity words เช่น many/ much/ a lot of/ lots of  ” ในภาษาอังกฤษกันค่ะ Let’s go! ไปลุยกันโลด Quantity words คืออะไร   “Quantity

การพูดรายงานหน้าชั้น พูดอย่างไรให้ได้ใจผู้ฟัง

การพูดรายงานหน้าชั้น เป็นการแสดงผลงานศึกษาค้นคว้าโดยนำมาบอกเล่า ชี้แจง นำเสนอให้ผู้อื่นได้ทราบด้วย การพูดรายงานจึงมีความสำคัญในฐานะที่เป็นการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ความคิด บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้กันว่าหลักในการพูดรายงานหน้าชั้นนั้นมีอะไรบ้าง พูดอย่างไรจึงจะดึงดูดผู้ฟัง รวมไปถึงมารยาทขณะที่ออกไปพูดด้วย จะเป็นอย่างไรบ้างนั้นเราไปดูกันเลยค่ะ   หลักการพูดรายงานหน้าชั้น     1. กล่าวทักทายผู้ฟัง แนะนำผู้ร่วมงาน หัวข้อ จุดประสงค์ การทักทายถือเป็นการสร้างความประทับใจแรกให้แก่ผู้ฟัง ไม่ว่าหัวข้อที่เราจะนำมาพูดหน้าชั้นคืออะไร แต่หากเราพูดเนื้อหาขึ้นมาเลยแบบไม่มีปี่ไม่ขลุ่ย ก็อาจจะทำให้ผู้ฟังไม่อยากฟัง หรือคิดว่าการพูดหน้าชั้นของเราเป็นเรื่องน่าเบื่อ

ประพจน์และการเชื่อมประพจน์

บทความนี้เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับประพจน์ การเชื่อมประพจน์ และการหาค่าความจริง ซึ่งเนื้อหาเหล่านี้เป็นภาษาของคณิตศาสตร์ เราจะเห็นตัวเชื่อมประพจน์ในทฤษฎีบทต่างๆในคณิตศาสตร์ หลังจากอ่านบทความนี้ น้องๆจะสามารถบอกได้ว่าข้อความไหนเป็นหรือไม่เป็นประพจน์ และน้องๆจะสามารถทำข้อสอบเกี่ยวกับตรรกศาสตร์ได้

ระบบสมการเชิงเส้น

ระบบสมการเชิงเส้น

ระบบสมการเชิงเส้น ระบบสมการเชิงเส้น คือระบบสมการที่มีดีกรีเป็นหนึ่ง ซึ่งก็คือเลขชี้กำลังของตัวแปรเป็นหนึ่งนั่นเอง ซึ่งในตอนมัธยมต้นน้องๆได้เรียนระบบสมการเชิงเส้น 2 ตัวแปรไปแล้ว ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร เช่น แล้วเราก็แก้สมการหาค่า x, y  (ซึ่งอาจจะมีคำตอบหรือไม่มีก็ได้) แต่ในบทความนี้น้องๆจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบสมการเชิงเส้น n ตัวแปร นั่นก็คือน้องๆจะต้องหาคำตอบของตัวแปร n ตัวตัว ซึ่งการหาคำตอบนั้นมีหลายวิธีไม่ว่าจะเป็นการใช้เมทริกซ์ (ซึ่งน้องๆจะได้เรียนในบทความถัดๆไป) หรือการแก้สมการธรรมดาและในข้อสอบส่วนใหญ่จะเน้นให้น้องๆหาคำตอบในระบบสมการเชิงเส้นที่ไม่เกิน 3 ตัวแปร เพราะถ้าเกินกว่านั้นอาจจะใช้เวลาในการหาคำตอบมาก

การพูดอภิปราย

การพูดอภิปรายอย่างง่าย ทำได้ไม่ยาก

การพูดอภิปราย เป็นแบบการพูดซึ่งมีลักษณะคล้ายการสนทนาทั่วไป แต่ก็มีจุดที่แตกต่างกันอยู่ น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าคืออะไร แล้วสรุปว่าการพูดอภิปรายคืออะไร มีหลักในการพูดอย่างไรได้บ้าง บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักและฝึกพูดให้คล่อง เพื่อที่เมื่อถึงเวลาอภิปราย จะได้ผ่านกันแบบฉลุยไร้กังวล ถ้าอยากเรียนรู้แล้วล่ะก็ ไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความหมายของการพูดอภิปราย   การพูดอภิปราย หมายถึง การพูดเพื่อแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหา

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1