เรียนรู้และทำความเข้าใจการใช้คำในภาษาไทยอย่างง่ายๆ

การใช้คำ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การใช้คำในภาษาไทย มีความสำคัญมาก แม้ว่าน้อง ๆ จะคุ้นเคยกับภาษาไทยดีในระดับหนึ่งแล้ว แต่แน่ใจหรือเปล่าคะว่าใช้คำกันได้อย่างถูกต้องแล้ว เพราะการใช้คำให้ถูกก็ถือเป็นเรื่องสำคัญค่ะ ดังนั้นบทเรียนหลักภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องการใช้คำต่าง ๆ ได้ถูกต้องกันค่ะ จะมีอะไรบ้างไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

การใช้คำ

 

การใช้คำในภาษาไทย

 

การใช้คำกำกวม

 

คำกำกวม คือ การใช้คำหรือภาษาที่มีความหมายไม่ชัดเจน เป็นเหตุให้การสื่อสารผิดพลาด มีลักษณะสำคัญดังนี้

– ใช้คำขยายผิดที่

– ใช้กลุ่มคำหรือคำประสมที่อาจเป็นประโยคได้

– ใช้คำที่มีหลายความหมาย (พ้องรูปพ้องเสียง)

– เว้นวรรคไม่ถูกต้อง

 

การใช้คำในภาษาไทย

 

เกร็ดน่ารู้ เกี่ยวกับการใช้คำขยายผิดที่ วิธีที่สังเกตกันอย่างง่าย ๆ ว่าประโยคนี้เป็นการใช้คำกำกวมหรือไม่ ให้ดูว่าผู้ ที่ ซึ่ง อัน อยู่หลังคำไหน เพราะเมื่อคำเหล่านี้ไปหลังคำไหนก็มักจะขยายคำนั้น ถ้าไปขยายแล้วไม่เข้าใจ อ่านแล้วสับสน หมายความว่าวางคำขยายผิดนั่นเองค่ะ

 

การใช้คำฟุ่มเฟือย

 

เป็นการใช้คำที่เกินความจำเป็น ความหมายไม่กระชับรัดกุม บางครั้งเป็นการใช้คำผิดความหมาย หรือผิดหลักการใช้ภาษา อาจทำให้ประโยคมีความยืดเยื้อจนผู้ฟังจับใจความได้ยาก เช่น การติดพูดว่า ทำการ, มีการ, ทำความ, มีความ, แบบว่า, ในส่วนนี้ และคำเชื่อมต่าง ๆ ที่บางครั้งก็เผลอใช้ติด ๆ กันโดยไม่รู้ตัว เช่น ที่, ซึ่ง, อัน, แล้ว เป็นต้น

 

การใช้คำในภาษาไทย

 

เกร็ดน่ารู้ วิธีแก้ไขคำฟุ่มเฟือยอย่างง่าย คือลองตัดคำออก ถ้าตัดคำไหนออกแล้วประโยคยังเข้าใจได้อยู่ ความหมายไม่เปลี่ยนแปลง แสดงว่านั่นเป็นคำฟุ่มเฟือยที่ไม่จำเป็น

 

การใช้คำให้ถูกตามหลักภาษา

 

การใช้คำบุพบท กับ,แก่,แด่,ต่อ ให้ถูกต้อง มีลักษณะดังนี้

กับ มีความหมายว่า รวมกัน ใช้เชื่อมคำหรือความเข้าด้วยกัน

แก่ มีความหมายว่า สำหรับ ใช้นำหน้านามฝ่ายรับ ผู้ที่มีศักดิ์เสมอกันหรือต่ำกว่าผู้ให้

แด่ มีความหมายว่า สำหรับ เพื่อ อุทิศ ใช้นำหน้านามฝ่ายรับ ซึ่งมีศักดิ์สูงกว่าผู้ให้

ต่อ มีความหมายว่า เฉพาะ ใช้เพื่อแสดงความหมายของการมอบสิ่งของให้ต่อหน้า หรืออยู่ในบริบทของการประจันหน้า

 

 

สำนวนต่างประเทศ

 

โครงสร้าง โครงสร้างภาษาไทยจะเป็นแบบ ประธาน + กริยา + กรรม แต่ถ้าขึ้นต้นด้วยกรรมก็เป็นสำนวนต่างประเทศ

ต่อการ หนังสือเล่มเหมาะสมต่อการเป็นแบบเรียน ถ้าตัดต่อการออกความหมายยังเหมือนเดิม

การใช้ลักษณนาม ภาษาไทยมีลักษณะนามของแต่ละคำ เช่น ผู้ชาย 2 คน คือการเรียกลักษณนามแบบไทย แต่ถ้าเรียกว่า 2 หนุ่ม เป็นสำนวนต่างประเทศ

การใช้คำว่า ให้ความ มีความ ในความ ทำความ เป็นคำฟุ่มเฟือย และเป็นสำนวนต่างประเทศอีกด้วย

ในอนาคตอันใกล้ – ฉันจะไปเรียนต่างประเทศในอนาคตอันใกล้

นำมาซึ่ง – การแสดงความคิดเห็นจะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลง

นอกจากนี้ยังมีคำที่เป้นสำนวนต่างประเทศอีก อย่างเช่นคำว่า เต็มไปด้วย, มันเป็นอะไรที่, เป็นที่, ในความคิดของฉัน, มันเป็นการยากที่, รักษาไว้ซึ่ง, ก่อให้เกิด เป็นคำที่เรามักเห็นกันได้บ่อย ๆ ในประโยคภาษาอังกฤษ เวลาแปลก็เลยมักจะแปลตามตัว ซึ่งไม่ควรเอามาใช้ในทั่วไป เพราะผิดหลักเรื่องการใช้คำ

 

 

เห็นไหมคะน้อง ๆ ว่าคำที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ เพราะความเคยชิน ทำให้เราแทบไม่สังเกตและดูไม่ออกเลยว่าใช้กันถูกหรือไม่อย่างไร ดังนั้นเพื่อการใช้คำในภาษาไทยในถูกต้อง อย่าลืมหมั่นทบทวนความรู้และดูคลิปบทเรียนเรื่องการใช้คำในภาษาไทยระหว่างทำแบบฝึกหัดนะคะ ไปชมกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

เรียนรู้เรื่องกาพย์ยานี 11 พร้อมเคล็ดลับการแต่งกาพย์แบบง่ายดาย

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน กลับมาพบกันอีกครั้งกับบทเรียนภาษาไทยที่ได้ทั้งสาระความรู้ และความสนุกไปพร้อม ๆ กัน เชื่อว่า น้อง ๆ หลายคนคงเคยได้อ่านหรือได้เรียนเกี่ยวกับการแต่งกาพย์กลอนกันมาบ้างแล้ว ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ‘กาพย์ยานี 11’ และต้องบอกว่ากาพย์ชนิดนี้มีวรรณคดีหลาย ๆ เรื่องที่ใช้ในการแต่งบทประพันธ์ หรือเราเองก็มักจะได้เริ่มการแต่งกาพย์ชนิดนี้ก่อนเป็นอันดับแรก ๆ ด้วยรูปแบบของฉันทลักษณ์ที่เข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน ไม่ได้กำหนดสระหรือคำเป็นคำตายแต่อย่างใด เพราะฉะนั้น เพื่อเป็นการทบทวน และเพิ่มเติมความรู้ให้กับน้อง

who what where

Who What Where กับ Verb to be

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกๆ คนนะครับ วันนี้เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ Who/What/Where ร่วมกับ Verb to be กันครับ ไปดูกันเลย

ม.1 หลักการใช้ Past Simple

หลักการใช้ Past Simple Tense

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง หลักการใช้ Past Simple   ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด Past Simple Tense     หลักการใช้ง่ายๆ ใช้กับเหตุการณ์ หรือการกระทำที่เกิดขึ้นและจบลงในอดีต มักมีคำหรือกลุ่มคำของอดีตมากำกับ ตัวอย่างประโยคทั่วไปที่มักเจอบ่อยๆ   บอกเล่า I saw Jack yesterday.

Phrasal verb with2 and 3

Two – and Three-Word Phrasal Verbs

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.4 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง “Two – and Three-Word Phrasal verbs“ กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด ทบทวน Phrasal verbs    Phrasal verb คือ กริยาวลี  มีที่มาคือ เป็นการใช้กริยาร่วมกันกับคำบุพบท แล้วทำให้ภาษาพูดดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น  เรามักไม่ค่อยเจอคำลักษณะนี้ในภาษาอังกฤษที่เป็นทางการ  ซึ่งในบทเรียนนี้เราจะไปดูตัวอย่างการใช้  กริยาวลีที่มี 2

การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กราฟ

การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กราฟ

การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กราฟ บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กราฟ ทำได้โดยนำตัวเลขแทนค่าตัวแปร แล้วจะได้กราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปรเป็นกราฟเส้นตรง สังเกตกราฟที่ได้ว่าตัดกัน ขนานกัน หรือทับกัน ลักษณะกราฟจะบอกคำตอบของระบบสมการ ซึ่งก่อนที่จะเรียนเรื่องนี้ น้องๆสามารถศึกษาเรื่อง กราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปร สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ กราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปร ⇐⇐ สมการเชิงเส้นสองตัวแปร  คือ สมการที่มีตัวแปรสองตัว  เลขชี้กำลังของตัวแปรแต่ละตัวเป็น 1 และไม่มีการคูณกันของตัวแปร  เช่น 2x +

ประโยคความเดียวและประโยคความรวมในภาษาอังกฤษ

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคน เจอกันอีกแล้วจร้ากับไวยากรณ์การเขียนภาษาอังกฤษและวันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิคการการใช้ประโยคความเดียว และประโยคความรวมในภาษาอังกฤษกันค่ะ ซึ่งเป็นไม้เบื่อไม้เมามากกับคนที่ไม่ชอบเขียน  ครูเอาใจช่วยทุกคนค่า ไปลุยกันเลย 3 โครงสร้างประโยคในภาษาอังกฤษ การจะเป็นประโยคสมบูรณ์ได้นั้น ประโยคจะต้องประกอบไปด้วย 3 ส่วนสำคัญดังนี้ กริยา หรือ verb (ภาคขยาย) ภาคขยาย จะมีหรือไม่มีก็ได้ การใส่ภาคขยายเข้ามาเพื่อให้ประโยคสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ประธาน subject  + กริยา หรือ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1