บทเสภาสามัคคีเสวก ที่มาของกลอนเสภาอันทรงคุณค่า

บทเสภาสามัคคีเสวก

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทเสภาสามัคคีเสวก

 

เมื่อเห็น บทเสภาสามัคคีเสวก ครั้งแรก เชื่อว่าต้องมีน้อง ๆ หลายคนต้องเผลออ่านคำว่า เสวก เป็น (สะ-เหวก) แน่ ๆ เลยใช่ไหมคะ แต่ที่จริงแล้วคำว่าเสวกนั้นต้องอ่านให้ถูกต้องว่า (เส-วก) ที่มีความหมายถึงผู้ใกล้ชิด เป็นยศของข้าราชการในราชสำนักนั่นเองค่ะ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้ไม่เพียงแต่จะสอนอ่านให้ถูกต้อง แต่จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของเรื่องย่อวรรณคดีไทยอย่างบทเสภาสามัคคีเสวกกันอีกด้วย โดยจะเป็นเรื่องราวแบบไหน มีลักษณะคำประพันธ์และเรื่องย่ออย่างไรบ้าง เราไปศึกษาเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

 

บทเสภาสามัคคีเสวกและประวัติความเป็นมา

 

บทเสภาสามัคคีเสวก

 

บทเสภาสามัคคีเสวก มีที่มาจากที่ในสมัยก่อน ทุกวันเสาร์ ข้าราชการในราชสำนักจะจัดงานเลี้ยงที่พระราชวังสนามจันทร์ซึ่งในงานเลี้ยง จะมีการแสดงเพื่อความบันเทิง และในครั้งที่เจ้าพระยาธรรมธิกรณาธิบดี หรือ หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล เป็นเจ้าภาพจัดงานเลี้ยง ก็ได้ทูลขอให้พระบาทสมเด็จเพราะมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวคิดการละเล่นขึ้นมาอย่างหนึ่ง พระองค์จึงได้ผูกระบำสามัคคีเสวกขึ้น ซึ่งเป็นระบำที่ไม่มีบทร้อง มีเพียงดนตรีของวงพิณพาทย์บรรเลง โดยในระหว่างที่ให้วงพิณพาทย์พักเหนื่อย พระองค์ก็ทรงพระราชนิพนธ์บทเสภาขึ้นมาสำหรับขับร้องระหว่างตอน

บทเสภาสามัคคีเสวก

 

 

ลักษณะคำประพันธ์

 

กลอนเสภาที่มีฉันทลักษณ์เหมือนกลอนสุภาพ

 

เรื่องย่อของบทเสภาสามัคคีเสวก

 

บทเสภาสามัคคีเสวก

 

บทเสภาสามัคคีเสวกมีด้วยกันทั้งหมด 4 ตอน ได้แก่

1. กิจการแห่งพระนนที เป็นบทกล่าวสรรเสริญพระนนทีว่าเป็นเทพเสวกที่ดี รับใช้พระอิศวรอย่างซื่อสัตย์

2. กรีนิรมิต เป็นบทกล่าวสรรเสริญพระคเณศ เทพเจ้าแห่งศิลปวิทยา

3. วิศวกรรมา เป็นบทกล่าวสรรเสริญพระวิศวกรรมเทพ ผู้ให้กำเนิดการก่อสร้างและช่างต่าง ๆ

4. สามัคคีเสวก เป็นบทกล่าวถึงความสามัคคีในหมู่ราชการ ให้มีความจงรักภักดี ซื่อสัตย์ และขยันทำงาน

 

 

ตอนที่เราจะศึกษากันในวันนี้มีด้วยกัน 2 ตอน คือ วิศวกรรมาและสามัคคีเสวกค่ะ

 

บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน วิศวกรรมา

 

บทเสภาสามัคคีเสวก

 

บทวิศวกรรมา มีทั้งหมด 13 บท เป็นบทที่กล่าวสรรเสริญพระวิศวกรรมผู้เป็นเทพแห่งการสร้าง การช่าง นอกจากนี้ยังชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของศิลปะ

 

บทประพันธ์เด่น

 

แม้ผู้ใดไม่นิยมชมสิ่งงาม

เมื่อถึงยามเศร้าอุราน่าสงสาร

เพราะขาดเครื่องระงับดับรำคาญ

โอสถใดจะสมานซึ่งดวงใจ

 

ถอดความ คนที่ไม่สนใจในศิลปะ เมื่อถึงเวลาที่เศร้าก็จะไม่มีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ เพราะทุกข์ที่เกิดขึ้นในใจไม่สามารถใช้ยาช่วยได้

 

อันชาติใดไร้ช่างชำนาญศิลป์

เหมือนนารินไร้โฉมบรรโลมสง่า

ใครใครเห็นไม่เป็นที่จำเริญตา

เขาจะพากันเย้ยให้อับอาย

 

ถอดความ ชาติใดก็ตามที่ไม่มีช่างฝีมือด้านศิลปะ ก็เหมือนผู้หญิงที่ไม่มีเสน่ห์ ไม่สวย ใครเห็นก็รู้สึกไม่ชอบและพากันดูถูกได้ว่าเป็นเมืองที่ไร้ศิลปะ

 

สรุปแนวคิดในตอนวิศวกรรมา

เป็นบทที่แสดงให้เห็นถึงคุณค่าของงานฝีมือและศิลปะว่ามีความสำคัญมาก เพราะศิลปะจะช่วยเยียวยาจิตใจ ให้ความเพลิดเพลิน บำรุงประเทศให้งดงาม และนอกจากนี้ยังส่งเสริมให้คนไทยภาคภูมิใจและสนับสนุนงานศิลปะ เพราะนอกจากจะช่วยพัฒนาฝีมือช่างไทยแล้วยังเป็นการพัฒนาชาติให้เจริญรุ่งเรืองอีกด้วย

 

บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน สามัคคีเสวก

 

 

มีทั้งหมด 9 บท มุ่งเน้นที่จะสอนข้าราชการให้จงรักภักดีและทำงานอย่างขยันขันแข็งเพื่อให้ประเทศเจริญก้าวหน้า

 

บทประพันธ์เด่น

 

ประการหนึ่งพึงคิดในจิตมั่น

ว่าทรงธรรม์เหมือนบิดาบังเกิดหัว

ควรเคารพยำเยงและเกรงกลัว

ประโยชน์ตัวนึกน้อยหน่อยจะดี

ควรนึกว่าบรรดาข้าพระบาท

ล้วนเป็นราชบริพารพระทรงศรี

เหมือนลูกเรืออยู่ในกลางหว่างวารี

จำต้องมีมิตรจิตรสนิทกัน

 

ถอดความ พระมหากษัตริย์เปรียบเหมือนบิดาที่ควรเคารพ และสอนให้ข้าราชการนึกถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว นอกจากนี้ยังเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจนอีกด้วยว่าข้าราชการเหมือนลูกเรือกะลาสี เรือเปรียบเหมือนประเทศชาติ

 

แม้ลูกเรือเชื่อถือผู้เป็นนาย

ต้องมุ่งหมายช่วยแรงโดยแข็งขัน

คอยตั้งใจฟังบังคับกัปปิตัน

นาวานั้นจึ่งจะรอดตลอดทะเล

 

ถอดความ ข้าราชการที่เหมือนลูกเรือ ต้องสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจ และตั้งใจฟังกัปตันหรือก็คือพระมหากษัตริย์เพื่อพาประเทศชาติอยู่รอดปลอดภัยไปตลอดรอดฝั่งได้

 

แม้ต่างคนต่างเถียงเกี่ยงแก่งแย่ง

นายเรือจะเอาแรงมาแต่ไหน

แม้ไม่ถือเคร่งคงตรงวินัย

เมื่อถึงคราวพายุใหญ่จะครวญคราง

 

ถอดความ สื่อถึงว่าหากลูกเรือหรือบรรดาข้าราชการแตกคอกัน แม้แต่พระมหากษัตริย์เองก็สู้ไม่ไหว และถ้าหากเกิดเรื่องไม่ดีก็อาจจะทำให้ประเทศเดือดร้อนได้

 

ไม่ควรเลือกที่รักมักที่ชัง

สามัคคีเป็นกำลังพลังศรี

ควรปรองดองในหมู่ราชเสวี

ให้สมที่ร่วมพระเจ้าเราองค์เดียว

 

ถอดความ เป็นการสอนให้ข้าราชการไม่ลำเอียง ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง วางตัวเป็นกลาง และควรปรองดองกันในหมู่ราชการ สามัคคีกัน

 

สรุปแนวคิดที่ในตอนสามัคคีเสวก

เป็นบทที่มุ่งเน้นสอนข้าราชการเกี่ยวกับการทำงาน ความซื่อสัตย์ ให้นึกถึงประโยชน์ส่วนรวม เคร่งครัดในระเบียบวินัย มีความจงรักภักดีและสามัคคีปรองดองกัน

 

สิ่งที่ทำให้กลอนเสภาเรื่องนี้แตกต่างจากบทเสภาทั่วไป คือการอัดแน่นไปด้วยแนวคิดมากกว่าจะเล่าเรื่องราว เรียกได้ว่าเป็นวรรณคดีที่เปี่ยมไปด้วยความรู้และข้อคิดมากมายเลยค่ะ และเพื่อให้น้อง ๆ ได้ทำความเข้าใจกันมากขึ้น ก็สามารถตามไปดูคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้ม ในคลิปครูอุ้มจะอธิบายตัวบทเด่น ๆ และยังมีคำศัพท์น่ารู้อีกมากมายเลยค่ะ ไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

ตอน สามัคคีเสวก

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยใหม่ๆ ได้ใน nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ฉันท์

ฉันท์ เรียนรู้การแต่งคำประพันธ์โบราณที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย

จากที่เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับวรรณคดีกันมามากมายหลายเรื่อง น้อง ๆ หลายคนคงจะพอจะคุ้นหูและผ่านตากันมาบ้างแล้วกับคำประพันธ์ประเภท ฉันท์ แต่เมื่อเห็นครั้งแรก ด้วยความที่ไม่คุ้นเคยก็อาจจะทำให้น้อง ๆ คิดว่าคำประพันธ์ประเภทนี้แต่งยาก เพราะรู้สึกไม่คุ้นเคยเหมือนอย่างพวกกาพย์หรือกลอน แต่รู้หรือไม่คะ ว่าจริง ๆ แล้วการแต่งฉันท์ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิดเลยค่ะ บทเรียนในวันนี้นอกจากจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ความเป็นมาของฉันท์ รวมไปถึงลักษณะบังคับต่าง ๆ ที่จำเป็นเพื่อฝึกแต่งกันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้กันเลยดีกว่า   ความเป็นมาของ ฉันท์  

การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง

การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง คือ การนำเสนอข้อมูลที่ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้โดยใช้รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก ซึ่งเเต่ละรูปมีความกว้างเท่ากัน เเละใช้ความสูงหรือความยาวเเสดงปริมาณของข้อมูล เเต่จุดเริ่มต้นจะต้องเริ่มในระดับเดียวกันเสมอ อาจอยู่ในเเนวตั้งหรือเเนวนอนก็ได้ การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่งเปรียบเทียบ คือ การนำเสนอข้อมูลโดยเปรียบเทียบข้อมูลตั้งเเต่ 2 ชุดขึ้นไปในแผนภูมิเดียวกัน โดยมีเเท่งสี่เหลี่ยมที่เเสดงข้อมูลชนิดเดียวกันอยู่ด้วยกันเป็นชุดๆ เเละมีสีหรือเเรเงาในเเท่งสี่เหลี่ยมต่างกัน เเละระบุไว้บนเเผนภูมิด้วยว่าสีหรือเเรเงานั้น ๆ เป็นข้อมูลของอะไร ตัวอย่างของแผนภูมิเเท่งเปรียบเทียบ ส่วนประกอบของเเผนภูมิแท่ง: 1. ชื่อแผนภูมิ 2. จำนวน 3.

โจทย์ปัญหาการวัด ม.2

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้ตัวอย่างโจทย์การแปลงหน่วย และหาพื้นที่ของรูปเรขาคณิตต่างๆ พร้อมทั้งเรียนรู้การใช้สูตรที่เร็วขึ้น

สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สมการ คือ ประโยคสัญลักษณ์ที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ของจำนวนโดยมีสัญลักษณ์  “ = ”  บอกความสัมพันธ์ระหว่างจำนวน อาจมีตัวแปร หรือไม่มีตัวแปร เช่น สมการที่ไม่มีตัวแปร                           

กาพย์พระไชยสุริยา เรียนรู้ความเป็นมาของแบบเรียนภาษาไทยอันทรงคุณค่า

กาพย์พระไชยสุริยา   กาพย์พระไชยสุริยาเป็นอีกหนึ่งบทเรียนที่น้อง ๆ ทุกคนจะได้ศึกษากัน แต่รู้ไหมคะว่าคำกาพย์ที่แต่งโดยสุนทรภู่นี้เป็นกาพย์แบบไหน มีประวัติความเป็นมาอย่างไร เหตุใดถึงมาอยู่ในแบบเรียนวิชาภาษาไทยได้ วันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับประวัติความเป็นมาของกาพย์พระไชยสุริยา รวมถึงเรื่องลักษณะคำประพันธ์และสรุปเนื้อเรื่องโดยย่อ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความเป็นมาของกาพย์พระไชยสุริยา     กาพย์พระไชยสุริยา เป็นวรรณคดีคำกาพย์ที่สุนทรภู่แต่ง มีความยาว 1 เล่มสมุดไทย นักวรรณคดีและนักวิชาการสันนิษฐานว่าสุนทรภู่แต่งขึ้นขณะบวชอยู่ที่วัดเทพธิดาระหว่าง

จำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์

จำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์

       บทความนี้ ได้รวบรวมเนื้อหาเรื่อง จำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการบวกลบจำนวนเต็ม โดยก่อนหน้านี้น้องๆได้เรียนเรื่องการเปรียบเทียบจำนวนเต็มมาแล้ว ต่อไปจะพูดถึงค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเต็มใดๆ จะหาได้จากระยะที่จำนวนเต็มนั้นอยู่ห่างจาก 0 บนเส้นจำนวน แต่ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับจำนวนตรงข้ามกันก่อนนะคะ จำนวนตรงข้าม       “หากค่าของจำนวนที่อยู่ห่างจาก 0 เท่ากัน แต่อยู่ต่างทิศทางกันมีค่าเท่ากันหรือไม่” (ค่าไม่เท่ากัน)           

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1