Two – and Three-Word Phrasal Verbs

Phrasal verb with2 and 3

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.4 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง “Two – and Three-Word Phrasal verbs กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด

ทบทวน Phrasal verbs 

 

Phrasal verb คือ กริยาวลี  มีที่มาคือ เป็นการใช้กริยาร่วมกันกับคำบุพบท แล้วทำให้ภาษาพูดดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น  เรามักไม่ค่อยเจอคำลักษณะนี้ในภาษาอังกฤษที่เป็นทางการ  ซึ่งในบทเรียนนี้เราจะไปดูตัวอย่างการใช้  กริยาวลีที่มี 2 คำ และกริยาวลีที่มี 3 คำ กันจ้า

หลักการใช้ Phrasal Verbs ทั้งแบบ 2 คำและ 3 คำ

 

M4 Two - and Three -Word Verbs

สำหรับ Two – and three-word verbs หรือ Phrasal verb โดยทั่วไปแล้ว สามารถใช้กับกรรมได้ เราจะแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ซึ่งก็คือ

  • Phrasal verb ที่ใช้แยกกันได้
    (1) เราจะต้องใช้ object pronoun คั่นกลางเท่านั้น
    ***
    ถ้ากรรมเป็น Object pronoun ได้แก่ me, you, him, her, it, us, them

    (2) ใช้ Phrasal verb มาใช้คั่นกลางถ้ากรรมเป็นวลียาวๆ
  • Phrasal verb ที่ใช้แยกกันไม่ได้เพราะว่าบางคำอาจมีหลายความหมาย เช่น ต้องแปลเป็นสำนวน ซึ่งแต่ละความหมายอาจต้องมีหรือไม่ต้องมีกรรม หรือใช้แยกได้หรือแยกไม่ได้ต่างกันยกตัวอย่างดังประโยคด้านล่างนี้

The new director brought about a new inspiration.
ผู้กำกับคนใหม่ทำให้เกิดแรงบันดาลใจใหม่

The police were brought in to prevent the violence.
ตำรวจถูกนำตัวเข้ามาเพื่อป้องกันความรุนแรง

Jane brought out a new dress to show everyone.
เจนเอาชุดใหม่ออกมามาอวดทุกคน

 

ตาราง Two-words Phrasal verb ที่ใช้บ่อย

 

M4 Two - and Three -Word Verbs (2)

Break off หยุดพูด/ยุติ
Break out หลบหนี/อุบัติ
Break up เลิกคบ/แยกทาง
Bring about ทำให้เกิด/เป็นสาเหตุของ
Bring up เลี้ยงดู/นำขึ้นมา/เปิดขึ้นมา
Care for ดูแล/ห่วงใย
Carry on ทำต่อ/ดำเนินต่อ
Come up มาหา/โผล่ขึ้นมา
Find out ค้นพบ/ค้นหา
Get back ถอยไป/กลับ/ได้คืน
Get in บุกรุกเข้าไปข้างใน/ได้รับเลือก/ มาถึง
Get off ออกไป/เลิกงาน/ถอด
Get on ทำต่อ/สวมใส่
Get out ออกไป/ออกนอกบ้าน/ นำออกมา
Give back คืน
Give in ยอมแพ้/ยอมรับ
Go back ย้อนกลับไป
Go down ลงไปข้างล่าง
Go in เข้าไปข้างใน
Go off ออกจาก/หยุดทำงาน
Go on ดำเนินต่อไป
Go out ออกไปข้างนอก
Go over เคลื่อน/เดินทางไป
Go through ผ่าน/ตรวจสอบ
Go up เพิ่มขึ้น/ สร้าง
Hold up ยังอยู่ดี/ยังคงเข้มแข็ง/รับมือ
Look around เดินชม/มองหา
Look back มองย้อนกลับไป (อดีต)/ย้อนกลับไปดู
Look down ดูถูก
Make out จัดการได้/ทนอยู่ได้/มีเพศสัมพันธ์, กอดจูบ
Make up แต่งขึ้นมา
Move back ถอยกลับ/กลับไปยัง/ย้ายกลับ
Move out ย้ายออก
Move up ขยับขึ้นมา/เลื่อนขั้น/เลื่อนชั้น
Pick out เลือก/มองออก
Pick up รับ (ของหรือคน)/รับโทรศัพท์/ ดีขึ้น
Put down วางลง/หยุด
Put in ใช้/ยื่น/ซ่อม
Put through ทำให้ต้องเผชิญกับ/โอนสาย
Set out เริ่มทำบางสิ่งอย่างมีจุดมุ่งหมาย/ เริ่มแผนการ/จัดวาง
Set up จัดตั้ง/จัดเตรียม/นัด
Sit back นั่งอย่างสบายๆ/หยุดพยายาม
Sit down นั่งลง
Sit up ลุกขึ้นนั่ง
Take back ถอนคำพูด/คืนสินค้า
Take in โดนหลอก/ให้ที่พักพิง/ทำความเข้าใจและจำ
Take off ถอด/เอาออก/บินขึ้น (เครื่องบิน)
Take on จ้าง/ รับงานมาทำ/ รับหน้าที่
Turn around เลี้ยวกลับ/หมุน/ กลับมามีทิศทางที่ดีขึ้น
Work out ออกกำลังกาย

 

My grandmother brought up five children by herself.
คุณยายของฉันเลี้ยงลูกห้าคนด้วยตัวเอง

James doesn’t know how to care for his girlfriend.
เจมส์ไม่รู้วิธีดูแลแฟนสาวของเขา

They must carry out my orders.
พวกเขาต้องปฏิบัติตามคำสั่งของฉัน

They can come along with us.
พวกเขาสามารถมากับเราได้

We will come around later.
เราจะมาอีกทีหลัง

He will never come back to you.
เขาจะไม่กลับมาหาคุณ

They got back to the office just in time.
พวกเขากลับมาที่สำนักงานทันเวลา

My friend moved in here yesterday.
เพื่อนของฉันย้ายมาที่นี่เมื่อวานนี้

You should move on from your ex.
คุณควรลืมแฟนเก่าไปได้แล้ว

She picked out the biggest apples for me.
เธอเลือกแอปเปิ้ลที่ใหญ่ที่สุดให้ฉัน

Lisa didn’t pick up my phone.
ลิซ่าไม่รับโทรศัพท์ฉัน

ตารางการใช้ Three-words Phrasal Verbs

 

M4 Two - and Three -Word Verbs (3)

Phrasal Verb แปล
The bad boss likes to look down on everybody. หัวหน้าที่ไม่ดีมักจะดูถูกทุกคน
We often fall out with my baby sister. เรามักจะตกหลุมรักน้องสาวของฉัน
You should not make up with your ex-boyfriend. คุณไม่ควรชดเชยอะไรใดๆให้กับแฟนเก่าของคุณเลย
I think he’s going to break up with me. ฉันคิดว่าเขาจะเลิกกับฉัน
You should stand up for your loved ones. คุณควรยืนหยัดเพื่อคนที่คุณรัก
We’ve run out of water. เราหมดน้ำแล้ว
They have to put up with the summer. พวกเขาต้องทนกับฤดูร้อน
My best friend came up with a new idea. เพื่อนสนิทของฉันได้ไอเดียใหม่
Lisa comes across as a bit rude. ลิซ่าดูค่อนข้างหยาบคาย
The thief got away with the money. โจรก็เอาเงินไป
I always look forward to hearing a good news from you. ฉันรอฟังข่าวดีจากคุณเสมอ
Please come out of your arrogant. โปรดออกมาจากความหยิ่งของคุณ
They’ll never grow out of comfort zone. พวกเขาจะไม่มีวันเติบโตจากเขตสบาย
James need to cut down on chocolate. เจมส์จำเป็นต้องลดช็อกโกแลตลง
We can’t keep up with you. เราไม่สามารถติดตามคุณได้
They won’t own up to their mistakes. พวกเขาจะไม่ยอมรับความผิดพลาดของพวกเขา

เป็นยังไงกันบ้างคะนักเรียนทุกคน พอจะเข้าใจการใช้ ” Two – and Three-word Phrasal verbs ขึ้นมาบ้างหรือยังเอ่ย นักเรียนที่รักสามารถทบทวนบทเรียนได้ที่วีดีโอด้านล่างเลยนะคะ

กดปุ่มเพลย์แล้วไปเรียนให้สนุกกันจ้า
Have fun guys!

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
เรียนพิเศษออนไลน์ ดูได้ทั้ง 4 รายวิชา - NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

กระเช้าสีดา นิทานสอนใจที่สอดแทรกตำนานของพรรณไม้

น้อง ๆ รู้จัก กระเช้าสีดา กันไหมคะ พืชชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่อินเดีย และเป็นพรรณไม้ที่มีตำนานมาจากวรรณคดีที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ซึ่งก็คือเรื่อง รามเกียรติ์นั่นเองค่ะ แล้ววรรณคดีเรื่องกระเช้าสีดานี้จะมีความเป็นมาและเรื่องย่อที่เกี่ยวกับรามเกียรติ์อย่างไร ถ้าพร้อมแล้วเราไปหาคำตอบด้วยกันเลยค่ะ   ความเป็นมา กระเช้าสีดา     กระเช้าสีดาเป็นนิทานเรื่องหนึ่งในหนังสือรวมนิทานของพระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) แต่เมื่อพ.ศ. 2485 มีลักษณะเป็นร้อยแก้ว เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะนิสัย ความเป็นอยู่ของพวกภูต

เรียนรู้ตัวบทและคุณค่าในสังข์ทอง ตอน กำเนิดพระสังข์

สังข์ทอง เป็นวรรณคดีที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณแต่ได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน เพราะถูกนำไปปรับปรุงเป็นบทละครovdในรัชกาลที่ 2 จนได้มาอยู่ในแบบเรียนภาษาไทย นอกจากนี้หนึ่งในตอนที่สำคัญอย่างตอน กำเนิดพระสังข์ นี้ก็ยังเป็นอีกตอนที่สำคัญเพราะมักถูกหยิบยกมาทำเป็นนิทานสำหรับเด็ก แถมยังเคยได้รับรางวัลหนังสือดีสำหรับเด็ก และได้ชื่อว่าเป็นหนังสือดีสำหรับเด็กและเยาวชนในปี 2561 อีกด้วย บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปศึกษาตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจและคุณค่าในตอนนี้เพื่อไขข้อข้องใจว่าทำไมวรรณคดีที่ถูกแต่งขึ้นเมื่อหลายร้อยปีก่อนถึงมีคุณค่าและอิทธิพลกับเด็กไทย ถ้าพร้อมแล้วเราไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ     ถอดความ กล่าวถึงพระสังข์เมื่อตอนเกิดว่าเป็นเทพลงมาเกิด

M5 Past Passive

Passive Voice ในอดีต

  Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.5 ทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง Past Passive กันค่ะ ก่อนอื่นจะต้องไปรู้ความหมายกันก่อนน๊าว่ามันคืออะไร พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด   ความหมาย Past หมายถึง อดีต ส่วน Passive มาจาก Passive voice หมายถึง ประโยคที่ประธานถูกกระทำ รวมแล้วหมายถึงการใช้ Passive

ภาษาชวา มลายู ในภาษาไทย มีลักษณะอย่างไร?

น้อง ๆ สงสัยกันไหมคะว่าในภาษาที่เราใช้พูดและใช้เขียนกันอยู่นี้ มีคำไหนบ้างที่ถูกหยิบยืมมาจากต่างประเทศ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักและศึกษาลงลึกถึงภาษาชวาและมลายู เป็นอีกหนึ่งภาษาที่เข้ามามีอิทธิพลกับภาษาไทยมาตั้งแต่สมัยอดีต ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้ด้วยกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของการยืมคำจากภาษาชวา มลายู     ทางตอนใต้ของประเทศไทยติดต่อกับประเทศมาเลเซีย จึงทำให้มีการติดต่อค้าขายสานสัมพันธ์ไมตรีกันมาตั้งแต่สมัยอดีต โดยเดิมทีชาวชวาและชาวมลายูเคยใช้ภาษามลายูร่วมกัน ต่อว่าชาวชวามีภาษาเป็นของชนชาติตัวเอง แต่ก็ยังมีบางคำที่คล้ายคลึงกับภาษามลายูอยู่ 1. คำยืมภาษาชวา เพราะอิทธิพลของวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลายเรื่องดาหลังและอิเหนา วรรณคดีเรื่องนี้เป็นที่นิยมถูกนำมาปรับปรุงและประพันธ์เป็นบทละคร โดยในเรื่องมีภาษาชวาอยู่เยอะมาก ทำให้เป็นที่รู้จักและถูกหยิบยืมมาใช้ในการประพันธ์เรื่อยมา

เสภาขุนช้างขุนแผน

เสภาขุนช้างขุนแผน จากนิทานชาวบ้านสู่วรรณคดีราชสำนัก

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของกลอนเสภาและเป็นที่ยอมรับกันในหมู่นักวรรณคดีว่าเป็นเลิศทั้งในด้านเนื้อเรื่องและการประพันธ์ มีมากมายหลายตอน หลายสำนวนและหลายผู้แต่ง แต่บทเรียนที่น้อง ๆ จะได้ศึกษากันในวันนี้เป็น เสภาขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา จะมีเนื้อหาและความเป็นมาอย่างไรเราไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของ เสภาขุนช้างขุนแผน   ขุนช้างขุนแผนสันนิษฐานว่าเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในสมัยอยุธยา จากพงศาวดารทำให้ทราบว่าขุนแผนรับราชการอยู่ในสมัยสมเด็จพระพันวษา หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2034-พ.ศ 2072 ต่อมามีการนำเรื่องขุนช้างขุนแผนมาแต่งเป็นกลอนสุภาพและบทเสภาโดยใช้กรับเป็นเครื่องประกอบจังหวะ

เมื่อฉันโดนงูรัด!: เรียนรู้การใช้ Passive Voice แบบผ่อน ‘คลายย’

น้องๆ ทราบกันมั้ยว่าในไวยากรณ์ภาษาอังกฤษจะมีสิ่งที่เรียกว่า ‘Voice’ ถ้ายังไม่ทราบหรือเคยได้ยินแต่ยังไม่แน่ใจว่าคืออะไรวันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่อง Voice ในภาษาอังกฤษแบบเข้าใจง่ายๆ กันครับ

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1