ประวัติความเป็นมาของวรรณคดีคำสอน เรื่องสุภาษิตพระร่วง

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

สุภาษิตพระร่วง

 

คนไทยนิยมใช้สุภาษิตสั่งสอนลูกหลานกันมาตั้งแต่สมัยก่อนจนถึงปัจจุบัน เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนก็คงจะเคยได้ยินสุภาษิตกันมาไม่มากก็น้อย ดังนั้นบทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของสุภาษิตพระร่วง วรรณคดีอันทรงคุณค่าและเป็นวรรณคดีเล่มแรกที่แต่งคำประพันธ์เป็นร่ายโบราณแบบร่ายสุภาพ ไปศึกษาเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

ความเป็นมาของสุภาษิตพระร่วง

 

 

สุภาษิตพระร่วง เป็นวรรณคดีคำสอนที่ทรงคุณค่าที่มีมาอย่างยาวนาน มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สุภาษิตบัณฑิตพระร่วง คำว่า พระร่วง ทำให้คนเข้าใจว่าอาจจะเป็นคำสอนของกษัตริย์สักคนที่มีนามว่า พระร่วง แต่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดที่เป็นตัวบ่งบอกว่าพระร่วงที่กล่าวถึงในสุภาษิตนั้นคือกษัตริย์องค์ใด นอกจากนี้ยุคสมัยที่แต่งสุภาษิตพระร่วงขึ้นก็ยังไม่แน่ชัดอีกด้วย เพราะถึงแม้จะมีนักวิชาการบอกว่าสุภาษิตพระร่วงคล้ายคลึงกับคำสอนของพ่อขุนรามคำแหง กษัตริย์ในสมัยสุโขทัย แต่บางคนก็มองว่าอาจจะไม่ได้เก่าขนาดนั้น เพราะคำประพันธ์นั้นคล้ายกับแต่งใหม่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อย่างไรก็ตาม ในสมัยรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จารึกเรื่องสุภาษิตพระร่วงลงบนแผ่นศิลาประดับไว้บนฝาผนังภายในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

 

ลักษณะคำประพันธ์

 

 

ร่ายสุภาพ

 

ลักษณะบังคับของร่ายสุภาพ

  1. คณะ ร่ายสุภาพ 1 บท มีตั้งแต่ 5 วรรคขึ้นไป วรรค 1 มี 5 คำ บทหนึ่งจะมีกี่วรรคก็ได้แต่ต้องจบด้วยโคลงสองสุภาพ
  2. สัมผัส สัมผัสจากวรรคหน้าไปคำที่ 1 2 หรือ 3 ของวรรคถัดไปและวรรคที่อยู่หน้า 3 วรรคสุดท้ายจะสัมผัสกับคำที่ 1 2 หรือ 3 ของบาทต้นในโคลงสองสุภาพ
  3. คำสร้อย เติมได้ 2 คำท้ายบท

 

โคลงสี่สุภาพ

 

ลักษณะบังคับของโคลงสี่สุภาพ

  1. คณะ 1 บทมี 4 บาท แต่ละบาทมี 2 วรรค วรรคหน้า 2 คำ วรรคหลัง 4 คำ ยกเว้นวรรคหลังของบาทที่ 4 ที่จะมี 4 คำ
  2. คำสร้อย ในบาทที่ 1 และบาทที่ 3 อาจมีคำสร้อยหรือไม่มีก็ได้
  3. คำเอก คำโท คำเอก 7 แห่งและโท 4 แห่ง กรณีที่หาคำเอกไม่ได้ให้ใช้คำตายแทน
  4. คำเอกโทษและคำโทโทษ หมายถึง คำที่เคยใช้วรรณยุกต์เอกหรือโท แต่เปลี่ยนไปใช้วรรณยุกต์ให้เป็นเสียงเดียวกันกับข้อบังคับ ในกรณีที่ไม่สามารถหาคำมาแต่งได้
  5. สัมผัส คำสุดท้ายของบาทที่ 1 สัมผัสกับคำที่ 5 ของวรรคที่ 2 หรือบาทที่ 3, คำสุดท้ายของบาทที่ 2 สัมผัสกับคำที่ 5 ของบาทที่ 4 ส่วนสัมผัสระหว่างบทนั้น คำสุดท้ายของบทต้องสัมผัสกับคำที่ 1 2 หรือ 3 ของบทต่อไป

 

โคลงสี่สุภาพในลักษณะโคลงกระทู้โดยแยกคำหน้าออกมา จากบทนี้จะได้คำว่า บัณฑิตพระร่วง ซึ่งก็หมายถึงสุภาษิตพระร่วงนั่นเอง

 

เป็นอย่างไรบ้างคะ หลังจากที่ได้รู้เรื่องราวประวัติความเป็นมาของสุภาษิตพระร่วงแล้ว ถึงผู้แต่งและปีที่แต่งจะไม่มีระบุแน่ชัดว่าเป็นใครและแต่งขึ้นในปีไหน แต่สุภาษิตพระร่วงก็นับว่าเป็นวรรณคดีอันทรงคุณค่า เต็มไปด้วยคติธรรมสอนใจมากมาย และถ้าน้อง ๆ คนไหนอยากฟังคำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับสุภาษิตพระร่วง รวมไปถึงลักษณะคำประพันธ์ทั้งสองให้เข้าใจมากขึ้น ก็สามารถตามไปฟังได้ที่คลิปด้านล่างนี้เลยค่ะ

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ป6การใช้ love, like, enjoy, hate ในการเเต่งประโยค

การใช้ love, like, enjoy, hate ในการเเต่งประโยค

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.6 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง การใช้  love, like, enjoy, hate ในการเเต่งประโยค หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ Let’s go!   โครงสร้าง: In my free time/ In my spare time,…     In my

บทนมัสการมาตาปิตุคุณ

บทนมัสการมาตาปิตุคุณ และอาจาริยคุณ บทอาขยานที่ควรค่าแก่การจำ

จนถึงตอนนี้น้อง ๆ คงได้เรียนวรรณคดีกันมามากมายหลายเรื่อง แต่ละเรื่องก็อาจจะมีการใช้ลักษณะคำประพันธ์ที่ต่างกันออกไป หรือซ้ำกันบ้าง บทนมัสการมาตาปิตุคุณ และอาจาริยคุณ ก็เป็นหนึ่งในวรรณคดีไทยที่อยู่ในแบบเรียนของน้อง ๆ แต่ความพิเศษคือลักษณะคำประพันธ์ที่น้อง ๆ อาจจะไม่เคยได้ยินมาก่อนอย่าง อินทรวิเชียร์ฉันท์ 11 จะเป็นอย่างไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วไปเรียนรู้วรรณคดีเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของบทนมัสการมาตาปิตุคุณ และอาจาริยคุณ   บทนมัสการมาตาปิตุคุณ และอาจาริยคุณ เป็นบทร้อยกรองขนาดสั้น มีเนื้อหาแสดงคุณของบิดามารดาและครูอาจารย์ ประพันธ์ขึ้นโดย

การคูณเศษส่วนและจํานวนคละ

การคูณเศษส่วนและจํานวนคละ

บทความนี้จะพาน้อง ๆมารู้จักกับการคูณเศษส่วนและจำนวนคละ รวมถึงเทคนิคการคูณเศษส่วนและจำนวนคละที่ถูกต้องและรวดเร็ว หลังจากอ่านบทความนี้จบสิ่งที่จะได้รับก็คือหลักการคูณเศษส่วนและจำนวนคละประเภทต่าง ๆ การตัดทอนเศษส่วนจำนวนคละและตัวอย่างการคูณเศษส่วนจำนวนคละที่เข้าใจง่ายและเห็นภาพ สามารถนำไปใช้ได้จริงในห้องเรียน

การถามทางในภาษาอังกฤษ Asking for Direction in English

สวัสดีค่ะนักเรียนป.6 ที่น่ารักทุกคน เคยมั้ยที่เราเจอฝรั่งถามทางแล้วตอบไม่ได้ ทำได้แค่ชี้ๆ แล้วก็บ๊ายบาย หากทุกคนเคยเจอปัญหานี้ ต้องท่องศัพท์และรู้โครงสร้างประโยคที่สำคัญในการถามทางแล้วล่ะ ไปลุยกันเลย   การถามทางในภาษาอังกฤษ Asking for Direction in English   การถามทิศทางจะต้องมีประโยคเกริ่นก่อนเพื่อให้คนที่เราถาม ตั้งตัวได้ว่า กำลังจะโดนถามอะไร ยังไง ซึ่งเราสามารถถามได้ทั้ง คำถามแบบสุภาพเมื่อพูดกับคนที่เราไม่คุ้นเคย หรือ คำถามทั่วไปเมื่อพูดกับคนใกล้ตัว  

พระบรมราโชวาท จดหมายของร.5ที่เขียนถึงพระโอรส

พระบรมราโชวาท เป็นจดหมายร้อยแก้วที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เขียนให้พระโอรสทั้ง 4 พระองค์ก่อนจะไปศึกษาต่างประเทศ เหตุใดเนื้อความในจดหมายถึงกลายเป็นวรรณคดีอันทรงคุณค่าให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา บทเรียนในวันนี้จะพาไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเนื้อหาโดยรวมของเนื้อความเพื่อให้เข้าใจถึงคำสอนและข้อคิดจากพระบรมราโชวาทของพระมหากษัตริย์ในแง่มุมของพ่อสอนลูก จะเป็นอย่างไรไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ประวัติความเป็นมา     วรรณคดีเรื่องพระบรมราโชวาท เป็นคำสั่งสอนของรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีต่อพระราชโอรสทั้ง 4 พระองค์ที่กำลังจะเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศ พระองค์จึงมีพระบรมราโชวาทเพื่อสั่งสอนและตักเตือนพระราชโอรส ซึ่งในการส่งไปศึกษาต่อในครั้งนี้ พระองค์ทรงเล็งเห็นว่า การศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาประชาชนและประเทศชาติ    

สำนวนไทยสัตว์น้ำ

สำนวนไทยที่เกี่ยวกับสัตว์น้ำ เรียนรู้ความหมายและที่มา

สำนวนไทย เกี่ยวกับสัตว์น้ำ   สำนวนไทยที่เกี่ยวกับสัตว์น้ำ มีมากมายหลายสำนวน เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนก็คงจะเคยได้ยินผ่านหูกันมาบ้างแล้ว แต่รู้หรือไม่คะว่าทำไมสัตว์น้ำต่าง ๆ ถึงมาอยู่ในสำนวนไทยได้ และสำนวนเหล่านั้นมีที่มาอย่างไร ใช้ในโอกาสใดได้บ้าง วันนี้เรามาเรียนรู้ถึงความหมายและที่มาของสำนวนไทยที่เกี่ยวกับสัตว์น้ำกันค่ะ   ความหมายของสำนวน     สำนวน หมายถึง ถ้อยคำ การพูดหรือเขียนที่มีความหมายไม่ตรงกับรากศัพท์หรือตรงไปตรงมาตามพจนานุกรม แต่เป็นถ้อยคำที่มีความหมายเป็นอย่างอื่น ขึ้นอยู่กับเรื่องที่กล่าวถึง โดยมีชั้นเชิงของถ้อยคำชวนให้คิดหรือตีความ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1