โคลงโสฬสไตรยางค์ โคลงสุภาษิตผลงานพระราชนิพนธ์ในร.5

โคลงโสฬสไตรยางค์

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

โคลงโสฬสไตรยางค์ เป็นโคลงสุภาษิต ผลงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับวรรณคดีที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่าและข้อคิดสอนใจมากมาย ถ้าอยากรู้แล้วว่ามีเนื้อหาอะไรและมีข้อคิดอย่างไรบ้าง เราก็ไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

ประวัติความเป็นมา

 

โคลงโสฬสไตรยางค์

 

โคลงโสฬสไตรยางค์ (พ.ศ. 2423) เป็นโคลงสุภาษิต บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จเพราะจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 5 เดิมเป็นภาษาอังกฤษ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กวีในพระราชสำนักแปลและประพันธ์โคลงเป็นภาษาไทย โดยพระองค์ได้ทรงตรวจแก้และทรงพระราชนิพนธ์โคลงบทนำด้วย

 

โคลงโสฬสไตรยางค์

 

ความหมายของโสฬสไตรยางค์

 

โสฬส แปลว่า 16 ไตรยางค์ แปลว่า องค์ 3 โคลงโสฬสไตรยางค์จึงหมายถึงโคลงสี่สุภาพที่แบ่งเนื้อหาออกเป็น 16 หมวด หมวดละ 3 ข้อ

 

จุดมุ่งหมายในการแต่ง

 

 

ลักษณะคำประพันธ์

 

โคลงสี่สุภาพ

 

เนื้อหาของโคลงโสฬสไตรยางค์ 16 หมวด

 

1. สามสิ่งควรรัก คือ ความกล้า ความสุภาพ ความรักใคร่

2. สามสิ่งควรชม คือ อำนาจปัญญา เกียรติยศ มารยาทดี

3. สามสิ่งควรเกลียด คือ ความดุร้าย ความหยิ่งกำเริบ ความอกตัญญู

4. สามสิ่งควรรังเกียจติเตียน คือ ชั่วเลวทราม มารยา ริษยา

5. สามสิ่งควรเคารพ คือ ศาสนา ยุติธรรม ความประพฤติเป็นประโยชน์ทั่วไป

6. สามสิ่งควรยินดี คือ งาม ความซื่อตรง ไทยแก่ตน

7. สามสิ่งควรปรารถนา คือ ความสุขสบาย มิตรสหายที่ดี จิตใจที่ผ่องใส

8. สามสิ่งควรอ้อนวอนขอ คือ ความเชื่อถือ ความสงบ ใจบริสุทธิ์

9. สามสิ่งควรนับถือ คือ ปัญญา ฉลาด มั่นคง

10. สามสิ่งควรชอบ คือ ความเอื้ออารี ความสนุกสนาน ความเบิกบาน

11. สามสิ่งควรสงสัย คือ คำกล่าวยอ ความหน้าเนื้อใจเสือ ความกลับกลอก

12. สามสิ่งควรละ คือ ความเกียจคร้าน การพูดเพ้อเจ้อ วาจาหยาบคาย

13. สามสิ่งควรกระทำให้มี คือ หนังสือดี เพื่อนดี ใจดี

14. สามสิ่งควรหวงแหน คือ ชื่อเสียงยศศักดิ์ บ้านเมืองของตน มิตรสหาย

15. สามสิ่งควรระวัง คือ อาการที่เกิดจากใจพาไป ความมักง่าย วาจา

16. สามสิ่งควรเตรียมเผื่อ คือ อนิจจัง ชรา มรณะ

 

โคลงบทเด่น ในโคลงโสฬสไตรยางค์

 

 

      ควรกล้ากล้ากล่าวถ้อย    ทั้งหทัย แท้แฮ

สุวภาพพจน์ภายใน               จิตพร้อม

ความรักประจักษ์ใจ               จริงแน่ นอนฤา

สามสิ่งควรรักน้อม                 จิตให้สนิทจริง

 

ถอดคำประพันธ์ โคลงบทนี้นำสามสิ่งที่ควรรัก คือ ความกล้า ความสุภาพ และความรักใคร่ ให้กล้าที่จะพูดออกมาจากใจ สุภาพอ่อนน้อม และแสดงความรักใคร่ ซึ่งเป็นสามสิ่งที่ควรมีให้ผู้อื่นอย่างจริงใจ

 

คุณค่าและข้อคิดที่ได้จากโคลงโสฬสไตรยางค์

 

 

โคลงโสฬสไตรยางค์ เป็นโคลงสุภาษิตที่สอนให้มนุษย์รู้จักดำเนินชีวิตไปในทางที่ดีงาม ใช้ชีวิตอย่างตระหนักรู้อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรัก ความสุภาพ การมีมารยาทที่ดี การมีจิตใจโอบอ้อมอารี และเรื่องอื่น ๆ อีกมากมายที่ครอบคลุมการใช้ชีวิตทั้งหมดไว้อย่างครบถ้วน นอกจากนี้โครงโสฬสไตรยางค์ ยังเป็นเป็นบทประพันธ์ที่เป็นด้วยคุณค่าด้านวรรณศิลป์ ทั้งการใช้สัมผัสสระและสัมผัสพยัญชนะในโคลงแต่ละบท รวมไปถึงการใช้ถ้อยคำที่แสนจะตรงไปตรงมา ทำให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องราวได้ง่าย แต่ก็ไม่ละทิ้งความสวยงามทางภาษา

 

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ หลังจากได้เรียนรู้เรื่องโคลงสุภาษิต เรื่อง โคลงโสฬสไตรยางค์กันไปแล้ว น้อง ๆ คงจะรู้ได้ทันทีเลยใช่ไหมล่ะคะ ว่าทำไมวรรณคดีเรื่องนี้ถึงได้มีคุณค่าแก่ประชาชนคนไทย เพราะนอกจากจะประพันธ์โดยในหลวง รัชกาลที่ 5 แล้วนั้น โคลงบทนี้ยังเปี่ยมไปด้วยข้อคิดเตือนใจอีกมากมาย ที่ถ้าน้อง ๆ ได้อ่านและศึกษาแล้ว รับรองว่าได้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตขึ้นอีกเยอะเลยค่ะ ก่อนลากัน น้อง ๆ อย่าลืมทำแบบฝึกหัดและดูคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อทบทวนเนื้อหาที่เรียนกันด้วยนะคะ ไปชมพร้อม ๆ กันเลยค่า

 

โคลงสุภาษิต

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความวิชาภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ศึกษาที่มาของ ขัตติยพันธกรณี บทประพันธ์ที่มาจากเรื่องจริงในอดีต

ขัตติยพันธกรณี เป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 มีที่มาจากเหตุการณ์จริงในประวัติศาสตร์ น้อง ๆ สงสัยกันไหมคะว่าเกี่ยวกับเรื่องไหน เหตุใดพระองค์จึงต้องพระราชนิพนธ์วรรณคดีเรื่องนี้ขึ้นมา เราไปหาคำตอบถึงที่มา ความสำคัญ และเนื้อเรื่องกันเลยค่ะ รับรองว่านอกจากจะได้ความรู้เกี่ยวกับบทประพันธ์แล้ว บทเรียนในวันนี้ยังมีเกร็ดความรู้ทางประวัติศาสตร์ให้น้อง ๆ อีกด้วยค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ที่มาของ ขัตติยพันธกรณี     ขัตติยพันธกรณีมีความหมายถึงเหตุอันเป็นข้อผูกพันของกษัตริย์ เป็นพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและตอบกลับโดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีที่มาจากเหตุการณ์จริงในประวัติศาสตร์ ช่วง

ม.1 There is_There are ทั้งประโยคบอกเล่า_ คำถาม_ปฏิเสธ

การใช้ There is/There are ทั้งประโยคบอกเล่า/คำถาม/ปฏิเสธ

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้น ม.1 ที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้ “การใช้ There is/There are ทั้งประโยคบอกเล่า/คำถาม/ปฏิเสธ” กันจ้า ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยเด้อ ตารางแสดงความแตกต่างของ  There is/There are และ  Have/Has นักเรียนลองสังเกตดูความแตกต่างของการใช้ There is/There are กับ Have/has จากตารางด้านล่าง ดูนะคะ

NokAcademy_ ม5 Passive Modals

Passive Modals

สวัสดีค่านักเรียนชั้นม.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดู ” Passive Modals“ ที่ใช้บ่อยพร้อมเทคนิคการใช้งานง่ายๆกันค่า Let’s go! ไปลุยกันเลยเด้อ   Passive Modals คืออะไร   Passive Modals หรือ Modal Verbs in the Passive Voice คือ 

เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยมีความสำคัญอย่างไร

  เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยมีความสำคัญไม่แพ้เสียงพยัญชนะและเสียงวรรณยุกต์เลยค่ะ น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยเรานั้นเป็นเหมือนตัวกำหนดความหมายของคำเลยก็ว่าได้ ทำไมถึงเป็นแบบนั้น วันนี้เรามีคำตอบให้แล้วค่ะ เราไปเรียนรู้เกี่ยวเสียงวรรณยุกต์พร้อมๆ กันเลยค่ะว่าทำไมถึงมีความสำคัญ   เสียงวรรณยุกต์คืออะไร   เสียงวรรณยุกต์ หมายถึง เสียงที่ใช้บอกระดับสูงต่ำของคำ มี 4 รูป 5 เสียง   รูปวรรณยุกต์   รูปวรรณยุกต์มี 4

พญาช้างผู้เสียสละ

ทำความรู้จักกับพญาช้างผู้เสียสละนิทานธรรมะจรรโลงใจ

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคน กลับมาพบกันอีกครั้งในวิชาภาษาไทยแสนสนุก ซึ่งวันนี้เราจะพาทุกคนมาเปลี่ยนบรรยากาศกันด้วยการมาอ่านนิทานชาดกเรื่อง พญาช้างผู้เสียสละ เป็นเรื่องราวของพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งที่ได้ลงมาเกิดเป็นพญาช้างรูปร่างงดงาม ต้องบอกว่าเรื่องราวในนิทานชาดกเรื่องนี้นอกจากจะทำให้น้อง ๆ สนุกไปกับเนื้อเรื่องแล้วก็ยังมอบคติสอนใจให้กับน้อง ๆ ได้ไม่น้อยเลย เพราะฉะนั้นถ้าทุกคนพร้อมแล้วไปเข้าสู่บทเรียนกันเลย ภูมิหลังตัวละคร สำหรับเรื่อง พญาช้างผู้เสียสละ อย่างที่ได้บอกไปว่าเป็นนิทานชาดกที่จัดเป็น 1 ใน 500 ชาติที่พระพุทธเจ้าเคยได้เสวยชาติ ซึ่งชาดกเรื่องนี้จะเล่าถึงพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งที่ได้ลงมาเกิดเป็นพญาช้างสีลวะ ด้วยความที่พระองค์ทรงบำเพ็ญทานบารมีมานานจึงได้เกิดเป็นพญาช้างร่างใหญ่กำยำผิวขาวเผือกผ่อง มีงวงและงาสวยงามและมีบริวารรายล้อม

เพลงพื้นบ้าน เรียนรู้วิถีชีวิตของผู้คนในอดีตผ่านบทเพลง

ในอดีตประเทศไทยจัดว่าเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก ประชาชนมีชีวิตที่สุขสบาย เมื่อมีเวลาว่างก็มักรวมตัวกันในชุมชนเพื่อร้องรำทำเพลง เล่นกันสนุกสนาน หรือในงานเทศกาลต่าง ๆ บทเพลงที่ใช้ร้องเล่นกันนั้นเรียกว่า เพลงพื้นบ้าน ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันไปแล้วแต่ท้องถิ่น บทเรียนในวันนี้เราจะไปพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของเพลงพื้นบ้านในแต่ละถิ่นของประเทศไทยกันว่าจะมีอะไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ   เพลงพื้นบ้าน   เพลงพื้นบ้าน หมายถึง เพลงของชาวบ้านในท้องถิ่นต่าง ๆ ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นจะมีการร้องเล่นที่แตกต่างกันออกไปตามสภาพของท้องถิ่นนั้น ๆ นิยามเล่นกันในเทศกาลต่าง ๆ หรืองานที่มาร่วมรื่นเริงกัน

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1