มาสำรวจรอบๆโรงเรียนกันดีกว่า: การใช้ There is/There are แบบเข้าใจง่ายๆ

เชื่อว่าช่วงนี้น้องๆ น่าจะเปิดเทอมกันมาได้สักพักนึงแล้ว แล้วน้องๆ เคยมีเวลาไปสำรวจรอบๆ โรงเรียนของเรากันรึยังเอ่ย? วันนี้พี่จะมาบอกประโยคง่ายๆ ที่ใช้พูดเวลาเจอสิ่งที่น่าสนใจรอบๆโรงเรียนของเรากัน

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ทำความรู้จักกับ There is/There are

พื้นฐานที่ควรมีมาก่อน: Singular/Plural Noun, Countable/Uncountable Noun

There is/There are ถ้าแปลเป็นไทยให้เข้าใจง่ายๆ นั้นจะแปลว่า “มี” ใช้บอกว่ามีสิ่งนั้นอยู่ตรงนั้น มีสิ่งนี้อยู่ตรงนี้ แต่เอ๊ะ!…เราจะเลือกใช้ There is หรือ There are อย่างไรดีล่ะ? น้องๆ ลองดูประโยคตัวอย่างกันเลย

There is a teacher in a classroom.

มีครูคนนึงอยู่ในห้องเรียน

There are students in a cafeteria.

มีเด็กนักเรียน(หลายคน)อยู่ในโรงอาหาร

ถ้าน้องๆ สังเกตจะเห็นว่า There is จะตามด้วยคน 1 คน สิ่ง 1 สิ่ง หรืออะไรที่มีอย่างเดียวเท่านั้น (ในตัวอย่างคือ ครู 1 คน) ซึ่งเราจะเรียกสิ่งนั้นว่าเป็น Singular Noun หรือ คำนามเอกพจน์

ในทางกลับกัน There are จะตามด้วยคนหลายๆคน ของหลายๆอย่าง (ในตัวอย่างคือ เด็กนักเรียนหลายคน) ซึ่งเราเรียกสิ่งนั้นว่าเป็น Plural Noun หรือ คำนามพหูพจน์นั่นเอง

และน้องๆ ทราบหรือไม่ว่า There is นั้นใช้กับคำนามที่นับไม่ได้ (Uncountable Noun) ด้วยนะ (แน่ล่ะ! เพราะว่ามันนับไม่ได้ มันจึงมีค่าเป็น 1 อยู่ตลอดเวลาไง) เช่น

There is rice in my plate.

มีข้าวอยู่ในจานของฉัน

There is milk in a school fridge.

มีนมอยู่ในตู้เย็นของโรงเรียน

*ถ้าน้องๆ คนไหนยังไม่มั่นใจเรื่อง Countable/Uncountable Noun อย่าลืมกลับไปทบทวนกันด้วยนะ 🙂

“There is”

 

“There are”

 

ย่อ There is ให้พูดง่ายๆ สบายปาก

 

ในการพูด There is ในชีวิตจริงนั้น น้องๆ สามารถย่อประโยคให้สั้นลงได้ด้วยนะ ซึ่งการย่อแบบนี้เรียกว่า Contractions (ไม่จำเป็นต้องจำชื่อเรียกมันหรอกนะ)

สำหรับคำย่อของ There is คือ There’s ออกเสียงเหมือนคำว่า There เลย แค่ใส่เสียง s ต่อท้ายแค่นั้นเอง เช่น

There is a burger at a food stall.

มีเบอร์เกอร์ที่ซุ้มขายอาหารด้วยล่ะ (จะแปลว่า “ที่ซุ้มขายอาหารมีเบอร์เกอร์ด้วยล่ะ” ก็ได้นะ)

ย่อได้เป็น

There’s a burger at a food stall.

สำหรับ There are นั้นเราไม่สามารถย่อได้นะ

*การใช้รูป There’s ที่ย่อแบบนี้นิยมใช้ในภาษาพูด (Spoken Language) เท่านั้นนะ ถ้าน้องๆ เอาไปเขียนเรียงความส่งคุณครูให้เขียน There is แบบเต็มๆ ตลอดนะครับ 🙂

 

There’s a burger.

 

แล้วถ้า “ไม่มี” ล่ะ?: Negative Form

 

เรารู้กันไปแล้วใช่ไหมครับว่า There is/There are แปลว่า “มี” แล้วถ้าน้องๆ อยากบอกว่า “ไม่มี” ล่ะ สามารถพูดอย่างไรได้บ้าง? ง่ายมากครับ แค่เติม not ไปข้างหลัง is/are เท่านั้นเอง เช่น

There is not a TV in the class.

ไม่มีทีวีอยู่ในชั้นเรียน (หรือ ในชั้นเรียนไม่มีทีวี)

There is not a dog in school.

ไม่มีสุนัขอยู่ในโรงเรียน (หรือ ในโรงเรียนไม่มีสุนัข)

There are not students in the library.

ไม่มีนักเรียนอยู่ในห้องสมุด (หรือ ในห้องสมุดไม่มีนักเรียน)

There are not parents in the building.

ไม่มีผู้ปกครองอยู่ในอาคาร

ซึ่งในภาษาพูดเราสามารถย่อประโยคปฎิเสธของ There is/There are ได้ดังนี้ครับ

There isn’t a TV in the class. (There is not = There isn’t)

There aren’t parents in the building. (There are not = There aren’t)

Tips: เราสามารถใช้ any ตามหลัง there are not ได้ เพื่อแสดงให้เห็นว่า “ไม่มีสิ่งนั้นเลย” เช่น There are not any students in school on Sunday. (ไม่มีนักเรียนที่โรงเรียนในวันอาทิตย์เลย) หรือใช้กับ Uncountable Noun เช่น There is not any grass in the football field. (ไม่มีหญ้าในสนามฟุตบอลเลย)

There’s a TV.

 

There isn’t a TV.

 

มีถั่วไหม?: Question Form

 

ถ้าเราต้องการถามใครสักคนว่า มี…ไหม? เราสามารถใช้โครงสร้าง There is/There are ถามได้ โดยย้าย Is/Are มาไว้ด้านหน้าประโยค เช่น

Is there a toilet in the building?

มีห้องน้ำในตัวอาคารไหม?

Is there a computer in the library?

มีคอมพิวเตอร์ในห้องสมุดไหม?

(Is there สามารถตอบได้ว่า Yes, there is. หรือ No, there isn’t)

และถ้าเป็นคำนามพหูพจน์และคำนามที่นับไม่ได้ ให้ใช้ any ด้วยเสมอ เช่น

Are there any teachers on the second floor?

มีครูอยู่บนชั้น 2 บ้างไหม?

Is there any juice for students?

มีน้ำผลไม้สำหรับนักเรียนบ้างไหม?

Are there any children in the playground?

มีเด็กๆอยู่ในสนามเด็กเล่นบ้างไหม?

Is there any sugar left?

มีน้ำตาลเหลือบ้างไหม?

(Are there สามารถตอบได้ว่า Yes, there are. หรือ No, there aren’t)

Are there any beans?

 

มีกี่อันกันนะ?: How many … are there?

 

หากน้องๆ ต้องการถามจำนวนของสิ่งนั้นๆว่ามีกี่อัน กี่ชิ้น กี่คน น้องๆ สามารถใช้โครงสร้าง

How many + plural noun + are there?

*ใช้กับคำนามที่นับได้ที่เป็นพหูพจน์เท่านั้น (น้องๆ ยังจำได้ใช่ไหมว่าคำนามที่นับไม่ได้มีค่าเป็น 1 เสมอ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องถามว่ามีเท่าไหร่นั่นเอง)

How many students are there in this room?

ในห้องนี้มีนักเรียนกี่คน?

How many tables are there in the cafeteria?

ในโรงอาหารมีโต๊ะกี่ตัว?

How many food stalls are there around the school?

มีรถเข็นขายอาหารกี่ร้านรอบๆโรงเรียน?

A: How many people are there?

B: There are five people.

 

เห็นไหมครับว่าการใช้ There is/There are นั้นง่ายมากๆ ใช้บอกได้ว่าตรงนั้นมีอะไร ตรงนู้นมีอะไร หรือถามว่ามีอะไรอยู่ตรงนั้นไหม? มีจำนวนเท่าไหร่? ประโยชน์ในการใช้หลากหลายมากๆ ครับ ว่างๆ ลองเดินสำรวจรอบๆ โรงเรียนและฝึกพูดกับคุณครูหรือเพื่อนๆ กันได้นะครับ 🙂

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การใช้ตัวเชื่อม (Connective words): First,… Second,… Third,… Fourth,… Finally,…

 การใช้ตัวเชื่อม (Connective words) สวัสดีค่ะนักเรียน ม.2 ทุกคน วันนี้ครูมีเทคนิคที่จะทำให้ทุกคนนำไปปรับใช้กับงานเขียนด้วย  การใช้ตัวเชื่อม (connective words) ในภาษาอังกฤษกันค่ะ โดยปรกติแล้วงานเขียนแบ่งออกออกเป็นสองรูปแบบหลักๆคือ เรียงความ (Essay Writing) กับ พารากราฟ (Paragraph Writing) ขอสรุปสั้นๆง่ายๆ ให้ทุกคนเข้าใจว่า Essay คือเรียงความเพราะฉะนั้นจะยาวกว่า Paragraph ที่เป็นเพียงย่อหน้าหนึ่งเท่านั้นนั่นเองค่ะ 

ภาษาถิ่นใต้

ภาษาถิ่นใต้ มรดกทางวัฒณธรรมที่ควรค่าแก่การศึกษา

ภาษาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม โดยสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมผ่านภาษามากที่สุด ก็คือ การมีอยู่ของภาษาถิ่น ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้พูดติดต่อสื่อสารตามท้องถิ่นต่าง ๆ เพื่อให้คนในพื้นที่เข้าใจกัน ประเทศไทยมีทั้งหมด 6 ภาค ภาษาถิ่นที่เด่นชัดที่สุดจะแบ่งออกเป็นภาษาถิ่นภาคกลางซึ่งครอบคลุมไปถึงภาคตะวันตะวันตก อาจมีแตกต่างบ้างในเรื่องของคำศัพท์บางคำและสำเนียง ภาษาถิ่นเหนือและภาษาถิ่นอีสาน ที่ได้รับอิทธิพลจากประเทศเพื่อนบ้าน และด้วยภูมิภาคที่อยู่ใกล้กันทำให้บางคำก็ใช้ด้วยกัน และสุดท้าย ภาษาถิ่นใต้ ที่ค่อนข้างจะแตกต่างกับภาษาถิ่นอื่น ๆ แต่จะมีลักษณะ และมีคำศัพท์น่ารู้อะไรบ้างนั้น เราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ภาษาถิ่นใต้  

เทคนิคอ่านจับใจความ Skim and Scan

เทคนิคอ่านเร็วจับใจความในภาษาอังกฤษ (Skimming and Scanning)

เคยเป็นมั้ยว่าเจอบทความภาษาอังกฤษทีไร ปวดหัวทุกที ทั้งเยอะและยาว เมื่อไหร่จะอ่านจบกว่าจะตอบได้หมดเวลากันพอดี สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิคการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญ โดยใช้วิธีการที่เรียกว่า อ่านแบบเร็ว (จ๊วด …) หรือ Speed Reading (ภาษาอีสาน จ๊วด แปลว่า เร็วเหมือนเสียงปล่อยจรวด) ถ้าเราสามารถอ่านได้เร็วเหมือนจรวดคงเป็นสิ่งที่ดีมาก ไปจ๊วดกันเลยกับเทคนิคอ่านเร็วทุกคน ก่อนอื่นจะต้องรู้จักกับประเภทของ Speed Reading กันก่อนค่ะ การอ่านแบบจับใจความสำคัญส่วนใหญ่แล้วเราจะเจอ

จำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์

จำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์

       บทความนี้ ได้รวบรวมเนื้อหาเรื่อง จำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการบวกลบจำนวนเต็ม โดยก่อนหน้านี้น้องๆได้เรียนเรื่องการเปรียบเทียบจำนวนเต็มมาแล้ว ต่อไปจะพูดถึงค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเต็มใดๆ จะหาได้จากระยะที่จำนวนเต็มนั้นอยู่ห่างจาก 0 บนเส้นจำนวน แต่ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับจำนวนตรงข้ามกันก่อนนะคะ จำนวนตรงข้าม       “หากค่าของจำนวนที่อยู่ห่างจาก 0 เท่ากัน แต่อยู่ต่างทิศทางกันมีค่าเท่ากันหรือไม่” (ค่าไม่เท่ากัน)           

สมบัติการคูณจำนวนจริง

การให้เหตุผลแบบอุปนัย

การให้เหตุผลแบบอุปนัย การให้เหตุผลแบบอุปนัย คือ การนำประสบการณ์มาสรุปผล เช่น เราไปซื้อผลไม้แล้วเราชิมผลไม้ 2-3 ลูก ปรากฏว่า มีรสหวาน เราเลยสรุปว่าผลไม้ทั้งกองนั้นหวาน เป็นต้น ซึ่งการสรุปผลอาจจะเป็นจริงหรือเท็จก็ได้ อาจจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้สรุป ดังนั้น ผลสรุปไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น เหตุ เมื่อวานแป้งตั้งใจเรียน วันนี้แป้งตั้วใจเรียน ผลสรุป  พรุ่งนี้แป้งจะตั้งใจเรียน การให้เหตุผลแบบนี้ เหมือนเป็นการคาดคะเนเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไป ซึ่งการคาดคะเนนี้อาจจะจริงหรือเท็จก็ได้

โจทย์ปัญหาการวัด ม.2

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้ตัวอย่างโจทย์การแปลงหน่วย และหาพื้นที่ของรูปเรขาคณิตต่างๆ พร้อมทั้งเรียนรู้การใช้สูตรที่เร็วขึ้น

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1