วิธีใช้คำราชาศัพท์ ใช้อย่างไรให้เหมาะสม

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ราชาศัพท์ เป็นถ้อยคำที่ใช้พูดกับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ พระภิกษุสงฆ์ รวมถึงคำสุภาพที่ใช้กับคนทั่วไป การใช้คำราชาศัพท์ เป็นเรื่องที่มีปัญหาอยู่มาก เพราะการใช้ที่ไม่ถูกต้อง บทเรียนที่เราจะได้เรียนรู้กันในวันนี้น้อง ๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ วิธีใช้คำราชาศัพท์ สำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ทั้งคำนาม และคำสรรพนาม ว่าเราควรแทนตัวเองหรือพระองค์อย่างไรให้ถูกต้อง ถ้าอยากรู้แล้ว ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ

 

ลักษณะการใช้คำราชาศัพท์

 

คำราชาศัพท์มีไว้ใช้สำหรับคนธรรมดาทั่วไปพูดกับผู้ที่มีศักดิ์สูงกว่าอย่าง กษัตริย์ พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ แต่เวลากษัตริย์ พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์จะไม่ใช้คำราชาศัพท์ยกย่องพระองค์เอง กษัตริย์จะใช้คำราชาศัพท์กับพระบรมวงศานุวงศ์ที่มีศักดิ์สูงกว่า เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ ลุง ป้า น้า อา และพี่

 

วิธีใช้คำราชาศัพท์

 

คำนามราชาศัพท์

ใช้เรียกเครือญาติ ร่างกาย เครื่องประดับ เครื่องแต่งกาย และของใช้

 

-คำนามหมวดเครือญาติ ร่างกาย เครื่องภาชนะใช้สอยต่าง ๆ จะนำหน้าด้วย “พระ”

 

คำราชาศัพท์

 

-คำนามหมวดเครื่องใช้ เครื่องประดับ นำด้วย “ฉลอง” หรือ “พระ”

 

วิธีใช้คำราชาศัพท์

 

คำสรรพนามราชาศัพท์

 

ใช้สำหรับบุคคลต่างระดับชั้นกัน

 

วิธีใช้คำราชาศัพท์

 

วิธีใช้คำราชาศัพท์ ให้ถูกต้อง

 

1. ขอบใจ ใช้สำหรับสุภาพชนเสมอกัน ผู้ใหญ่ใช้กับผู้น้อย พระราชวงศ์ ทรงใช้กับคนสามัญ และพระราชาทรงใช้กับประชาชน ขอบพระทัย ใช้สำหรับคนสามัญกล่าวกับพระราชวงศ์, พระราชวงศ์ทรงใช้กับพระราชวงศ์หรือพระราชาทรงใช้กับพระราชวงศ์

2. ในการถวายของแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ถ้าเป็นของเล็ก เช่น ช่อดอกไม้ หนังสือ เป็นต้น ใช้คำว่า ทูลเกล้าฯ ถวาย (ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย) ถ้าเป็นของใหญ่ เช่น ที่ดิน บ้าน เป็นต้น ใช้คำว่า น้อมเกล้าฯ ถวาย (น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย)

3. คำที่เป็นกริยา ไม่ต้องใช้ “ทรง” นำหน้า เช่น เสวย ไม่ใช้ พระเสวย หรือ บรรทม ไม่ใช้ พระบรรทม

 

คำราชาศัพท์ดูเป็นเรื่องยาก มีข้อบังคับที่เยอะกว่าคำสุภาพทั่วไป เพราะมีเรื่องของยศผู้ฟังเข้ามา ซึ่งจะต้องลำดับขั้นและเลือกใช้คำให้ถูก ทำให้บางครั้งก็ถูกใช้สลับกันอย่างไม่ถูกต้อง แต่ปัญหาเหล่านี้ก็แก้ได้ด้วยการเรียนรู้คำที่ถูกต้อง หมั่นทบทวนบทเรียนและฝึกทำแบบฝึกหัด และที่สำคัญที่สุดอย่าลืมติดตามการสอนของครูอุ้ม น้อง ๆ จะได้เห็นตัวอย่างของการใช้คำราชาศัพท์ให้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น ไปชมกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

Comparison of Adjectives

การใช้ประโยค Comparative Adjectives

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.3 ที่น่ารักทุกคน ยินดีต้อนรับทุกคนเข้าสู่บทเรียนเรื่องคำคุณศัพท์กันนะคะ วันนี้ครูได้ สรุปเรื่อง การใช้ ประโยค ประโยค Comparative Adjectives หรือ อีกชื่อหนึ่งคือ Comparison of Adjectives: การเปรียบเทียบคำคุณศัพท์ในภาษาอังกฤษ มาฝาก ไปลุยกันเลยจร้า   คำศัพท์สำคัญ: Comparative VS Comparison comparative (Adj.)

NokAcademy_ม3 มารู้จักกับ Signal Words

การใช้ Signal words : First, Second, Firstly, Secondly, Finally, Then, Next etc.

มารู้จักกับ Signal Words หรือ อีกชื่อที่รู้จักกันคือ Connective Words: คำเชื่อมประโยค/วลี ในภาษาอังกฤษ สวัสดีค่ะนักเรียน ม.3 ทุกคน วันนี้ครูมีเทคนิคที่จะทำให้ทุกคนนำไปปรับใช้กับงานเขียนด้วย  การใช้ตัวเชื่อม (connective words) ในภาษาอังกฤษกันค่ะ โดยปรกติแล้วงานเขียนแบ่งออกออกเป็นสองรูปแบบหลักๆคือ เรียงความ (Essay Writing) กับ พารากราฟ (Paragraph Writing)

บวก ลบ ทศนิยมอย่างไรให้ตรงหลัก

การบวกและการลบทศนิยมมีหลักการเดียวกันกับการบวกและการลบจำนวนนับคือ ต้องบวกและลบให้ตรงหลัก ดังนั้นหัวใจสำคัญของเรื่องนี้คือต้องเขียนตำแหน่งของตัวเลขให้ตรงหลักไม่ว่าจะเป็นหน้าจุดทศนิยมและหลัดจุดทศนิยม บทความมนี้จะมาบอกหลักการตั้งบวกและตั้งลบให้ถูกวิธี และยกตัวอย่างการบวกการลบทศนิยมที่ทำให้น้อง ๆเห็นภาพและเข้าใจได้อย่างดี

แบบฝึกหัดความสัมพันธ์

แบบฝึกหัดความสัมพันธ์ แบบฝึกหัดความสัมพันธ์ เป็นการทบทวนเนื้อหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ได้แก่ เรื่องโดเมนและเรนจ์ของความสัม กราฟของความสัมพันธ์ และตัวผกผันของความสัมพันธ์ ก่อนทำแบบฝึกหัดความสัมพันธ์ บทความที่น้องๆควรรู้ คือ โดเมนของความสัมพันธ์ เรนจ์ของความสัมพันธ์ กราฟของความสัมพันธ์ ตัวผกผันของความสัมพันธ์   แบบฝึกหัด 1.) ถ้า (x, 5) = (3, x – y)

Imperative for Advice

Imperative for Advice: การให้คำแนะนำ

สวัสดีน้องๆ ป. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนเรื่องง่ายๆ อย่าง Imperative for Advice กัน จะง่ายขนาดไหนเราลองไปดูกันเลยครับ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1