กลอนสุภาพ แต่งอย่างไรให้ไพเราะ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

กลอนสุภาพ เป็นคำประพันธ์ที่หลาย ๆ คนคงจะรู้จักกันดีเพราะพบเจอในวรรณคดีได้ง่าย ใช้กันอย่างแผ่หลาย บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ทุกคนมาสวมบทนักกวี ฝึกแต่งกลอนสุภาพกันอย่างง่าย ๆ จะมีวิธีและรูปฉันทลักษณ์อย่างไร ไปดูกันเลยค่ะ

 

ความรู้ทั่วไปเที่ยวกับกลอนสุภาพ

 

กลอนสุภาพ

กลอนสุภาพ หมายถึง กลอนเพลงยาว บางครั้งเรียก กลอนแปด กลอนตลาด กลอนสุภาพ เป็นกลอนประเภทหนึ่งที่เรียบเรียงเข้าเป็นคณะ ใช้ถ้อยคำและทำนองเรียบ ๆ เป็นพื้นฐานของกลอนหลายชนิด มีชื่อเรียกที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในการแต่ง เช่น ถ้าแต่งเพื่อเล่นละครก็จะเรียกกลอนนั้นว่า กลอนบทละคร เป็นต้น

 

วรรณคดีที่แต่งโดยใช้กลอนสุภาพ

 

 

ก่อนที่จะมีนวนิยายให้ได้อ่านกันในปัจจุบัน เรื่องราวความบันเทิงของคนในอดีตจะอยู่ในรูปแบบของนิทาน โดยนิทานเหล่านั้นก็จะใช้การบรรยายออกมาในลักษณะของลิลิต ฉันท์ กาพย์ กระทั่งสุนทรภู่ กวีเอกของเมืองไทย เริ่มแต่งนิทานออกมาเป็นคำกลอน นั่นก็คือเรื่อง โคบุตร เรียกได้ว่าเป็นต้นแบบที่ใช้ฝึกแต่งกลอนเลยก็ว่าได้ค่ะ ทำให้การแต่งกลอนแผ่หลายมาจนถึงทุกวันนี้ และกลอนที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดของกลอนสุภาพ ก็คือ บทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน นั่นเองค่ะ

 

 

ลักษณะของกลอนสุภาพ

 

คณะ หมายถึง การจัดคำให้เป็นหมวดหมู่ตามลักษณะของรูปแบบคำประพันธ์ สำหรับกลอนสุภาพหรือกลอนแปด ในหนึ่งบทจะมี 2 บาท ซึ่งประกอบไปด้วยบาทเอกและบาทโท หนึ่งบาทมี 2 วรรค แต่ละวรรคจะมีชื่อเรียกดังนี้

วรรคแรก เรียกว่า วรรคสดับ

วรรคสอง เรียกว่า วรรครับ

วรรคสาม เรียกว่า วรรครอง

วรรคสี่ เรียกว่า วรรคส่ง

คำหรือพยางค์ กลอนสุภาพหรือกลอน 8 มีจำนวนคำ 8 คำตามชื่อ แต่บางกรณีถ้าหาคำลงไม่ได้ก็สามารถอนุโลมให้มี 7-9 คำได้

สัมผัส คือ ลักษณะที่บังคับให้ใช้คำที่เสียงสัมผัสคล้องจองกัน

1. สัมผัสสระ เป็นคำตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปที่มีเสียงสระพ้องกัน ถ้ามีตัวสะกด มาตราตัวสะกดนั้นก็ต้องเป็นมาตราตัวสะกดเดียวกัน

2. สัมผัสอักษร คำที่มีพยัญชนะต้นเสียงเดียวกัน อาจเป็นพยัญชนะตัวเดียวกัน พยัญชนะควบชุดเดียวกัน หรือเป็นพยัญชนะเสียงต่ำคู่เสียงสูงก็ได้

3. สัมผัสใน เป็นการสัมผัสที่ไม่บังคับ คำ 2 คำที่คล้องจองจะอยู่ในวรรคเดียวกัน สามารถสัมผัสได้ทั้งสระและอักษร สัมผัสในช่วยให้บทร้อยกรองมีความไพเราะมากขึ้น

4. สัมผัสนอก เป็นสัมผัสบังคับ ดังนี้

  • สัมผัสระหว่างวรรค

– คำสุดท้ายของวรรคสดับ สัมผัสกับคำที่ 3 หรือ 5 ของวรรครับ

– คำสุดท้ายของวรรครับ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรครอง

– คำสุดท้ายของวรรครอง สัมผัสกับคำที่ 3 หรือ 5 ของวรรคส่ง

  • สัมผัสระหว่างบท

– คำสุดท้ายของวรรคส่ง สัมผัสกับคำสุดท้ายของบทต่อไป

 

กลอนสุภาพ

 

กลอนสุภาพ แต่งอย่างไรให้ไพเราะ

 

กลอนสุภาพ

 

การแต่งกลอน ต้องเขียนให้เป็นเรื่องราว สามารถสื่อความหมายได้ แต่นอกจากเนื้อหาแล้ว ความไพเราะก็จะอยู่ที่การใช้ภาษา การเลือกคำมาแต่ง รวมไปถึง คำท้ายวรรค การลงเสียงวรรณยุกต์ท้ายวรรคที่จะช่วยให้กลอนมีความไพเราะมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะไม่มีการบังคับ แต่เสียงวรรณยุกต์ก็มีความสำคัญ เพราะจะทำให้กลอนที่แต่งมีความไพเราะมากขึ้นนั่นเองค่ะ ตัวอย่างเช่น ถ้าคำสุดท้ายของวรรครับเป็นเสียงวรรณยุกต์เดียวกันกับคำสุดท้ายของวรรครอง เวลาอ่านแล้วจะรู้สึกว่ากลอนบทนั้นเป็นบทเรียบ ๆ ไม่น่าสนใจ

 

การลงเสียงวรรณยุกต์

วรรคสดับ เลี่ยงเสียงสามัญ

วรรครับ เสียงเอก โท จัตวา

วรรครอง เสียงสามัญ ตรี

วรรคส่ง เสียงสามัญ ตรี

 

รูปตัวอย่างบทกลอนที่ไพเราะ จากเรื่องพระอภัยมณี

 

หลังจากได้เรียนรู้เรื่องการแต่งกลอนสุภาพไปอย่างคร่าว ๆ แล้วไม่ยากเลยใช่ไหมคะ สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่อ่านวิธีแต่งกลอนสุภาพแล้วยังไม่เห็นภาพชัดเจน ก็สามารถไปติดตามดูคลิปการสอนของครูอุ้มได้เลยค่ะ ในคลิป ครูอุ้มจะอธิบายวิธีการแต่งกลอนสุภาพอย่างละเอียด ดูจบแล้ว ก็สามารถฝึกแต่งกลอนด้วยตัวเองได้ทันที ไปชมกันเลยค่ะ

 

ฝึกแต่งกลอนสุภาพ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ศึกษาตัวบทและคุณค่าที่แฝงอยู่ในสุภาษิตพระร่วง

สุภาษิตพระร่วง   หลังได้เรียนรู้เรื่องประวัติความเป็นมาของสุภาษิตพระร่วงไปแล้ว น้อง ๆ ก็คงอยากรู้ใช่ไหมคะว่าในเรื่องสุภาษิตพระร่วงนั้นสอดแทรกคำสอนเรื่องใดไว้บ้าง รวมถึงคุณค่าที่อยู่ในวรรณคดีอันทรงคุณค่าเรื่องนี้ด้วย บทเรียนวันนี้จะพาน้อง ๆ ทุกคนไปศึกษาตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจในสุภาษิตพระร่วงพร้อมเรียนรู้ถึงคุณค่าของเรื่องนี้กันค่ะ   ศึกษาตัวบทที่น่าสนใจในเรื่องสุภาษิตพระร่วง     คำสอนที่ปรากฏในตัวบท ควรเรียนเพื่อนเป็นประโยชน์แก่ตัวเอง เป็นเด็กควรเรียนหนังสือ พอโตขึ้นค่อยหาเงิน ทำอะไรให้เหมาะสมกับวัย อย่าเอาของคนอื่นมาเป็นของตัวเอง อย่ารีบด่วนสรุปเรื่อง่าง ๆ ให้ประพฤติตนตามแบบวัฒนธรรมที่ดีงาม

แผนภูมิแท่ง และการเปรียบเทียบข้อมูล

บทความนี้จะพูดถึงการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของแผนภูมิแท่งไม่ว่าจะเป็นการเปรียบเทียบข้อมูล 2 จำนวน และ 3 จำนวน น้องๆจะสามารถนำข้อมูลที่สำรวจมาเขียนเป็นแผนภูมิแท่งได้และจะง่ายต่อการนำเสนอมากยิ่งขึ้น

การใช้ตัวเชื่อม (Connective words): First,… Second,… Third,… Fourth,… Finally,…

 การใช้ตัวเชื่อม (Connective words) สวัสดีค่ะนักเรียน ม.2 ทุกคน วันนี้ครูมีเทคนิคที่จะทำให้ทุกคนนำไปปรับใช้กับงานเขียนด้วย  การใช้ตัวเชื่อม (connective words) ในภาษาอังกฤษกันค่ะ โดยปรกติแล้วงานเขียนแบ่งออกออกเป็นสองรูปแบบหลักๆคือ เรียงความ (Essay Writing) กับ พารากราฟ (Paragraph Writing) ขอสรุปสั้นๆง่ายๆ ให้ทุกคนเข้าใจว่า Essay คือเรียงความเพราะฉะนั้นจะยาวกว่า Paragraph ที่เป็นเพียงย่อหน้าหนึ่งเท่านั้นนั่นเองค่ะ 

เรียนรู้ตัวบทเด่นของบทละครพูดคำฉันท์เรื่องดัง มัทนะพาธา

มัทนะพาธา เป็นบทละครพูดคำฉันท์ที่ประพันธ์โดยรัชกาลที่ 6 ซึ่งพระองค์ทรงคิดขึ้นเองไม่ได้แปลหรือดัดแปลงมาจากเรื่องใด จากการศึกษาความเป็นมาในบทเรียนคราวที่แล้วทำให้เราได้รู้ที่มา ลักษณะคำประพันธ์รวมไปถึงเรื่องย่อของเรื่องกันไปแล้ว บทเรียนในวันนี้เราจะศึกษาตัวบทเด่น ๆ ของเรื่องกันนะคะว่ามีบทใดที่ได้ชื่อว่าเป็นวรรคทอง ถอดความ พร้อมทั้งเรียนรู้คุณค่าของานประพันธ์ชิ้นนี้อีกด้วย ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ใน มัทนะพาธา     ถอดความ บทนี้เป็นคำพูดของฤษีกาละทรรศินที่กำลังอธิบายให้ศุภางค์ แม่ทัพของท้าวชัยเสนว่าเหตุใดพระฤษีจึงเห็นว่าการห้ามปรามความรักระหว่างพระชัยเสนกับมัทนาเป็นสิ่งไร้ประโยชน์ โดยบอกว่า

ฟังก์ชันลอการิทึม

ฟังก์ชันลอการิทึม ฟังก์ชันลอการิทึม คือฟังก์ชันผกผันของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล จากที่ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลคือ คู่อันดับ (x, y) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่ส่งจากจำนวนจริงไปยังจำนวนจริงบวก โดยที่ ดังนั้นฟังก์ชันดังกล่าวซึ่งเป็นฟังก์ชันผกผันของเอกซ์โพเนนเชียล ก็คือ คู่อันดับ (y, x)  หรืออาจจะบอกได้อีกแบบคือ คู่อันดับ (x, y) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์จากจำนวนจริงบวกไปยังจำนวนจริง โดยที่ จัดรูปใหม่ ได้เป็น (อ่านว่าล็อก x ฐาน

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1