แบบฝึกหัดการให้เหตุผล

แบบฝึกหัดการให้เหตุผล

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

แบบฝึกหัดการให้เหตุผล

 

แบบฝึกหัดการให้เหตุผล ประกอบไปด้วยการให้เหตุผลแบบอุปนัยและการให้เหตุผลแบบนิรนัย ซึ่งแบบฝึกหัดนี้จะช่วยให้น้องๆได้ฝึกฝนการทำโจทย์จนน้องๆเชี่ยวชาญและส่งผลให้น้องๆทำข้อสอบได้แบบไม่ผิดพลาด ถ้าเรารู้เฉยๆเราอาจจะทำข้อสอบได้แต่การที่เราฝึกทำโจทย์ด้วยจะทำให้เราทำข้อสอบได้แน่นอนค่ะ

แบบฝึกหัดเพิ่มเติมและข้อสอบ O-Net

ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นข้อสอบ O-Net ของปีก่อนๆ

 

1.) พิจารณาการอ้างเหตุผลต่อไปนี้

ก. เหตุ 1. ถ้าฝนไม่ตกแล้วเดชาไปโรงเรียน

  2. ฝนตก

     ผล    เดชาไม่ไปโรงเรียน

ข. เหตุ 1. รัตนาขยันเรียน หรือรัตนาสอบชิงทุนรัฐบาลได้

  2. รัตนาไม่ขยันเรียน

      ผล  รัตนาสอบชิงทุนรัฐบาลได้

พิจารณาว่า ก และ ข สมเหตุสมผลหรือไม่

พิจารณา ก เหตุที่ 1 ถ้าฝนไม่ตกแล้วเดชาไปโรงเรียน เขียนเป็นแผนภาพจะได้ ดังนี้
แบบฝึกหัดการให้เหตุผล

จะเห็นว่า ถ้าฝนตก สามารถเป็นไปได้ 2 กรณี คือ 1. เดชาไปโรงเรียน และ 2. เดชาไม่ไปโรงเรียน

ดังนั้น ก ไม่สมเหตุสมผล

 

พิจารณา ข เหตุที่ 1 รัตนาขยันเรียน หรือรัตนาสอบชิงทุนรัฐบาลได้

จะเห็นว่า ถ้ารัตนาไม่ขยันเรียนแล้ว จะเป็นไปได้ 2 กรณี คือ รัตนาสอบชิงทุนได้ กับรัตนาสอบชิงทุนไม่ได้

ดังนั้น ข ไม่สมเหตุสมผล

 

2.) พิจารณาข้อความต่อไปนี้

เหตุ 1. นกเป็นสิ่งมีชีวิต

2. ปลาเป็นสิ่งมีชีวิต

3. คนเป็นสิ่งมีชีวิต

ผล  สัตว์เป็นสิ่งมีชีวิต

ข้อความดังกล่าวเป็นการให้เหตุผลแบบใด

ตอบ  การให้เหตุผลแบบอุปนัย เพราะเป็นการสรุปผลจากประสบการณ์หรือสิ่งที่สังเกตได้

 

3.)   จงพิจารณาเหตุต่อไปนี้

1) ทุกคนที่ชอบกินผลไม้จะชอบกินผัก
2) ทุกคนที่ชอบรสหวานจะชอบกินผลไม้
3) ขาวไม่ชอบกินผัก
4) ดาชอบกินผลไม้

ผลสรุปในข้อใดต่อไปนี้ทำให้การให้เหตุผลสมเหตุสมผล

1. ขาวไม่ชอบรสหวาน

2. ขาวชอบกินผลไม้

3. ดาชอบรสหวาน

4. ดาไม่ชอบรสหวาน

5. ดาไม่ชอบกินผัก

เราจะใช้แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ ในการพิจารณาการให้เหตุผล

แบบฝึกหัดการให้เหตุผล

พิจารณา ข้อ 2 ขาวชอบผลไม้ ข้อนี้เห็นได้ชัดเลยว่าไม่สมเหตุสมผล เนื่องจากขาวอยู่นอกวงกลมของชอบกินผัก ดังนั้นขาวไม่มีทางที่จะชอบกินผลไม้แน่นอน

พิจารณา ข้อ 3 ดาชอบรสหวาน ข้อนี้ไม่สมเหตุสมผล เพราะ จากเหตุที่บอกว่า ดาชอบกินผลไม้ ทำให้เกิดกรณีได้ 2 กรณี คือ ดาชอบรสหวานกับดาไม่ชอบรสหวาน

พิจารณาข้อ 4 ดาไม่ชอบรสหวาน ข้อนี้ก็ไม่สามารถสรุปได้เหมือนกับข้อ 3

พิจารณาข้อ 5 ดาไม่ชอบกินผัก ข้อนี้เห็นได้ชัดเลยว่าไม่สมเหตุสมผล เพราะดาชอบกินผลไม้ แล้วคนที่ชอบกินผลไม้ทุกคนชอบกินผัก ดังนั้นเป็นไปไม่ได้ที่ดาจะไม่ชอบกินผัก

 

4.)

เหตุ 1. นักเรียนชั้น ม.6 ทุกคนว่ายน้ำเป็น

2. คนที่ว่ายน้ำเป็น บางคนขี่จักรยานเป็น บางคนขี่จักรยานไม่เป็น

ถ้าให้ U แทนเซตของคน

A แทนเซตของนักเรียนชั้น ม.6

B แทนเซตของคนที่ขี่จักรยานเป็น

S แทนเซตของคนที่ว่ายน้ำเป็น

ข้อความที่กำหนดให้สอดคล้องกับแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ในข้อใดต่อไปนี้

พิจารณาข้อความที่โจทย์กำหนดให้เป็นแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ ได้ดังนี้

5.) พิจารณาประโยคต่อไปนี้ว่าเป็นการให้เหตุผลแบบอุปนัยหรือนิรนัย

5.1) เกรดเทอมนี้ไม่ดีหรอก เพราะเทอมที่ผ่านมาเกรดก็ไม่ดี

ตอบ เป็นการให้เหตุผลแบบอุปนัย เพราะใช้ประสบการณ์จากเทอมก่อนๆมาสรุป

5.2) เทอมนี้ต้องได้เกรดดีแน่ๆ เพราะคนขยันเรียนจะได้เกรดดี แล้วเทอมนี้ฉันก็ขยันเรียน

ตอบ เป็นการให้เหตุผลแบบนิรนัย เพราะเรากำหนดไว้แล้วว่า คนขยันเรียนจะได้เกรดดี ดังนั้นถ้าเราขยันเรียนต้องได้เกรดดี

5.3) ที่ผ่านมาฉันสังเกตเห็นว่าทุกครั้งที่อากาศร้อนอบอ้าว ฝนจะตกตลอดเลย วันนี้ฝนต้องตกแน่ๆ เพราะอากาศร้อนอบอ้าว

ตอบ เป็นการให้เหตุผลแบบนิรนัย เพราะเหมือนเรากำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่อากาศร้อนอบอ้าวฝนจะตก

5.4) ที่ผ่านมาฉันโชคไม่ค่อยดีเลย วันนี้ฉันต้องโชคไม่ดีอีกแน่ๆ

ตอบ เป็นการให้เหตุผลแบบอุปนัย เพราะใช้ประสบการณ์จากครั้งก่อนๆที่โชคไม่ดี มาสรุปว่าวันนี้ก็ต้องโชคไม่ดีอีก

 

6.) พิจารณาข้อความที่กำหนดให้ แล้วใช้การให้เหตุผลแบบอุปนัย หาคำตอบ

6.1) 

(1×9) + 2 = 11

(12×9) + 3 = 111

(123×9) + 4 = 1111

(___×__) + __ = _____

ตอบ (1234 × 9) + 5 = 11111

 

6.2)

อีกสามพจน์ต่อไปคือ?

ตอบ 1089 × 5 = 5445 , 1089 × 6 = 6534 , 1089 × 7 = 7623

 

เนื้อหาที่ควรรู้ในการทำโจทย์การให้เหตุผล และวีดิโอเพิ่มเติม

หากน้องๆคนไหนยังรู้สึกว่าตัวเองไม่แม่นเรื่องการให้เหตุผลสามารถเข้าไปดูบทความการให้เหตุผลแบบนิรนัยและอุปนัยพร้อมดูตัวอย่างเพิ่มเติมได้ที่

>> การให้เหตุผลแบบอุปนัย

>> การให้เหตุผลแบบนิรนัย

>> การตรวจสอบการให้เหตุผล

หรือสามารถดูวีดิโอ เพิ่มเติมข้างล่างนี้ได้เลย

 

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

Phrasal verb with2 and 3

Two – and Three-Word Phrasal Verbs

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.4 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง “Two – and Three-Word Phrasal verbs“ กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด ทบทวน Phrasal verbs    Phrasal verb คือ กริยาวลี  มีที่มาคือ เป็นการใช้กริยาร่วมกันกับคำบุพบท แล้วทำให้ภาษาพูดดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น  เรามักไม่ค่อยเจอคำลักษณะนี้ในภาษาอังกฤษที่เป็นทางการ  ซึ่งในบทเรียนนี้เราจะไปดูตัวอย่างการใช้  กริยาวลีที่มี 2

nokAcademy Profile_Asking and telling time by

การบอกเวลาในภาษาอังกฤษ (Telling time in English)

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม. 1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดูวีการ “บอกเวลาในภาษาอังกฤษ หรือ Telling time in English กันค่ะ” ไปลุยกันเลย   บทนำ   ในบทเรียนนี้ครูขอยกตัวอย่างการบอกเวลาที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปใน 2 รูปแบบ ตามที่มาของ Native English หรือ ภาษาอังกฤษของเจ้าของภาษานะคะ 

การสะท้อน

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้ภาพที่ได้จากการสะท้อน ( Reflection ) ไปตามแนวแกนต่างๆ หวังว่าน้องๆ จะสามารถนำความรู้ที่ได้จากบทความนี้ ไปประยุกต์ใช้ในห้องเรียนและในชีวิตประจำวันได้อย่างแท้จริง

ฉันท์

ฉันท์ เรียนรู้การแต่งคำประพันธ์โบราณที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย

จากที่เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับวรรณคดีกันมามากมายหลายเรื่อง น้อง ๆ หลายคนคงจะพอจะคุ้นหูและผ่านตากันมาบ้างแล้วกับคำประพันธ์ประเภท ฉันท์ แต่เมื่อเห็นครั้งแรก ด้วยความที่ไม่คุ้นเคยก็อาจจะทำให้น้อง ๆ คิดว่าคำประพันธ์ประเภทนี้แต่งยาก เพราะรู้สึกไม่คุ้นเคยเหมือนอย่างพวกกาพย์หรือกลอน แต่รู้หรือไม่คะ ว่าจริง ๆ แล้วการแต่งฉันท์ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิดเลยค่ะ บทเรียนในวันนี้นอกจากจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ความเป็นมาของฉันท์ รวมไปถึงลักษณะบังคับต่าง ๆ ที่จำเป็นเพื่อฝึกแต่งกันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้กันเลยดีกว่า   ความเป็นมาของ ฉันท์  

ลบไม่ได้ช่วยให้ลืม เช่นเดียวกับการลบเศษส่วนและจำนวนคละ!

บทความที่แล้วเราได้กล่าวถึงการบวกเศษส่วนและจำนวนคละไปแล้ว บทต่อมาก็จะเป็นเรื่องของการลบเศษส่วนและจำนวนคละ ทั้งสองเรื่องนี้มีหลักการคล้ายกันต่างกันที่เครื่องหมายที่บ่งบอกว่าโจทย์ต้องการทราบอะไร ดังนั้นบทความนี้จะอธิบายถึงหลักการลบเศษส่วนและจำนวนคละอย่างละเอียดและยกตัวอย่างให้น้อง ๆเข้าใจอย่างเห็นภาพและสามารถนำไปปรับใช้กับแบบฝึกหัดเรื่องการลบเศษส่วนและจำนวนคละได้

โวหารภาพพจน์ กลวิธีการสร้างจินตภาพที่ลึกซึ้งและสวยงาม

การสร้างจินตภาพอย่างการใช้ โวหารภาพพจน์ เป็นกลวิธีในการใช้ภาษาอีกอย่างหนึ่ง เลือกใช้ถ้อยคำเพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพ หรืออาจเรียกว่าเป็นการแทนภาพนั่นเอง น้อง ๆ คงจะพบเรื่องของโวหารภาพพจน์ได้บ่อย ๆ เวลาเรียนเรื่องวรรณคดี บทเรียนในวันนี้เลยจะพาไปทำความรู้จักกับภาพพจน์ต่าง ๆ ให้มากขึ้นว่ามีอะไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   ความหมายของภาพพจน์     ภาพพจน์ คือถ้อยคำที่เป็นสำนวนโวหารทำให้นึกเห็นภาพ ถ้อยคำที่เรียบเรียงอย่างมีชั้นเชิงเป็นโวหาร มีเจตนาให้มีประสิทธิผลต่อความคิด เป็นกลวิธีทางภาษาที่มุ่งให้เกิดความรู้ความเข้าใจจินตนาการ เน้นให้เกิดอรรถรสและสุนทรีย์ในการสื่อสารที่ลึกซึ้งกว่าการบอกเล่าแบบตรงไปตรงมา  

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1