การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

จากบทความที่ผ่านมาเราเรียนเรื่องการให้เหตุผลแบบนิรนัย บทความนี้เป็นเนื้อหาเรื่องการตรวจสอบความสมเหตุสมผลซึ่งมักจะออกสอบทั้งในโรงเรียนและ O-Net หลังจากน้องๆได้อ่านบทความนี้แล้วน้องๆจะทำข้อสอบได้แน่นอนค่ะ
การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

การตรวจสอบความสมเหตุสมผล สามารถตรวจสอบได้หลายวิธี วิธีที่นิยมที่สุดคือ การตรวจสอบโดยใช้แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ โดยเราจะวาดแผนภาพตามเหตุทุกกรณีแล้วเราจะพิจารณาว่าเป็นไปตามผลสรุปที่โจทย์ให้มาหรือไม่

การให้เหตุผล

สมเหตุสมผล เมื่อแผนภาพแสดงผลสรุปตามที่กำหนดมา

ไม่สมเหตุสมผล เมื่อมีบางกรณีทำให้ผลสรุปไม่จริง

แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์กับประโยคที่เจอบ่อย

ให้ A และ B เป็นเซตใดๆ

1.) สมาชิกทุกตัวของ A เป็นสมาชิกของ B

แปล ทุกตัวของ A อยู่ใน B

การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

2.) ไม่มีสมาชิกใดใน A ที่เป็นสมาชิกของ B

แปล ไม่มี A ที่อยู่ใน B

การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

 

3.) สมาชิกบางตัวของ A เป็นสมาชิกของ B

แปล มีบางตัวของ A ที่อยู่ใน B

 

4.) มีสมาชิกบางตัวของ A ไม่เป็นสมาชิกของ B

แปล มีบางตัวของ A ที่ไม่อยู่ใน B แสดงว่า บางตัวก็ยังอยู่ใน B

 

ตัวอย่างการตรวจสอบความสมเหตุสมผล

1.)

เหตุ 1. นักกีฬาทุกคนสุขภาพดี

2. แป้งสุขภาพดี

ผล    แป้งเป็นนักกีฬา

สิ่งแรกที่ต้องทำคือ พิจารณาว่าเซตไหนควรจะเป็นเซตที่ใหญ่ที่สุด

จากเหตุที่ 1 นักกีฬา “ทุกคน” สุขภาพดี แสดงว่า นักกีฬาจะต้องอยู่ในเซตของสุขภาพดี

ให้ H เป็นเซตของสุขภาพดี และ S เป็นเซตของนักกีฬา

จากเหตุที่ 1 นำมาเขียนเป็นแผนภาพได้ ดังนี้

พิจารณาเหตุที่ 2 แป้งสุขภาพดี

การที่แป้งสุขภาพดีนั้น แน่นอนว่าต้องอยู่ใน H แน่ๆ แต่แป้งอาจจะอยู่ใน S หรือไม่ก็ได้ ดังนั้น ผลสรุปที่บอกว่า แป้งเป็นนักกีฬาจึง ไม่สมเหตุสมผล เพราะแป้งไม่เป็นนักกีฬาก็ได้

 

2.)

เหตุ 1. สัตว์มีปีกบางตัวบินได้

2. สัตว์มีปีกทุกตัวมี 2 ขา

3. เป็ดเป็นสัตว์มีปีก

ผล  เป็ดมี 2 ขา

เนื่องจากข้อนี้ เหตุที่ 1 ไม่มีคำว่า “ทุก” แต่มีคำว่า “บางตัว” ดังนั้น จะได้แผนภาพดังนี้การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

เหตุที่ 2 สัตว์มีปีกทุกตัวมี 2 ขา แสดงว่าเซตของ มีปีกอยู่ในเซตบอง มี 2 ขา เขียนแผนภาพได้ดังนี้

เหตุที่ 3 เป็นเป็นสัตว์มีปีก เขียนแผนภาพได้ดังนี้

จะเห็นว่า เป็ดสามารถอยู่ได้ 2 ที่ คือ อาจจะบินได้ หรือไม่ได้ แต่ไม่ว่าจะอยู่ตรงไหน เป็ดก็ยังอยู่ในเซตของมี 2 ขาอยู่ดี ดังนั้น ข้อนี้จึง สมเหตุสมผล

 

3.)

เหตุ 1. สัตว์มีปีกบางตัวบินได้

2. สัตว์มีปีกทุกตัวมี 2 ขา

3. เป็ดเป็นสัตว์มีปีก

ผล  เป็ดบินได้

โจทย์ข้อนี้จะเห็นว่าคือโจทย์เดียวกันกับข้อ 2 แต่ผลสรุปต่างกัน พิจารณาแผนภาพ ดังนี้

การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

จะเห็นว่าเป็ดมี 2 จุด คืออยู่นอกวงกลมที่บินได้กับอยู่ในวงกลมบินได้ ดังนั้น ผลสรุปนี้ ไม่สมเหตุสมผล เพราะเป็ดอาจจะบินได้หรือบินไม่ได้ก็ได้

 

4.)

เหตุ 1. ทุกคนที่อ่านหนังสือ ทำข้อสอบได้

2. ธิดาสอบได้

ผล ธิดาอ่านหนังสือ

พิจารณาเหตุที่ 1 ทุกคนที่อ่านหนังสือ ทำข้อสอบได้ เขียนเป็นแผนภาพๆได้ดังนี้

จากนั้นพิจารณาเหตุที่ 2 ธิดาสอบได้ เขียนเป็นแผนภาพได้ดังนี้

กรณีที่ 1 

 

กรณีที่ 2 

จากรูปจะเห็นว่าเป็นไปได้ 2 กรณี จะได้ว่า ธิดาไม่จำเป็นต้องอ่านหนังสือก็ได้

ดังนั้น การให้เหตุผลข้อนี้ ไม่สมเหตุสมผล

 

5.)

เหตุ 1. ไม่มีคนที่ได้เกรด 4 ที่ขี้เกียจ

2. สมาร์ทไม่ขี้เกียจ

ผล สมาร์ทได้เกรด 4

พิจารณาเหตุที่ 1 ไม่มีคนคนที่ไดเเกรด 4 ที่ขี้เกียจ เมื่อวาดเป็นแผนภาพจะได้เป็นวงกลม 2 วง ที่ไม่ซ้อนทับกัน

  การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

พิจารณาเหตุที่ 2 สมาร์ทไม่ขี้เกียจ เป็นได้ 2 กรณี ดังนี้

กรณีที่ 1     

กรณีที่ 2     

จะเห็นว่าการที่สมาร์ทไม่ขี้เกียจไม่จำเป็นจะต้องได้เกรด 4

ดังนั้นการให้เหตุผลข้อนี้ ไม่สมเหตุสมผล

 

วีดีโอ การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

 

 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบความสมเหตุสมผล

 

 

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

NokAcademy_ ม.5 M6 Gerund

Gerund พร้อมแนวข้อสอบ ม.6

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.6 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง “Gerund” กันจร้า พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ   ความหมายของ Gerund อธิบายแบบง่ายๆ เลยว่า Gerund หรือ Ing-form ในบริติชอิงลิช ที่จริงแล้ว มันก็คือ คำกริยาเติม ing (V-ing) แล้วหน้าที่เป็นคำนาม ในภาษาไทยถูกนำมาใช้ในไวยากรณ์เรียกว่า กริยานาม นั่นเองจร้า

นิราศภูเขาทอง ศึกษาตัวบทที่น่าสนใจและคุณค่าที่แฝงอยู่ในเรื่อง

  นิราศภูเขาทองเป็นหนึ่งในนิราศที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีของสุนทรภู่ เป็นงานอันทรงคุณค่าที่ใช้เป็นแบบเรียนภาษาไทยในปัจจุบัน เรามาถอดคำประพันธ์ตัวบทที่น่าสนใจในนิราศภูเขาทองกันดีกว่าค่ะว่ามีบทไหนที่เด่น ๆ ควรศึกษาและจดจำไว้เพื่อไม่ให้พลาดในการทำข้อสอบ ถอดคำประพันธ์ นิราศภูเขาทอง   เนื่องจากนิราศภูเขาทองมีหลายบท ในที่นี้จะเลือกเฉพาะบทที่เด่น ๆ มาศึกษากันนะคะ เราไปดูกันที่บทแรกเลยค่ะ   ถอดคำประพันธ์ บทนี้เป็นการเปรียบเทียบการดื่มเหล้ากับความรัก เหล้าเป็นอบายมุข เมื่อดื่มเข้าไปจะทำให้มีอาการมึนเมา สติสัมปชัญญะไม่ครบถ้วน แต่เมื่อเวลาผ่านไปอาการมึนเมาเหล่านั้นก็จะหายไป แต่หากหลงมัวเมาอยู่กับความรัก ไม่ว่าจะใช้เวลาเท่าไหร่ก็หายไปง่าย ๆ  

NokAcademy_บอกเวลาเป็นภาษาอังกฤษ

เรียนรู้เกี่ยวกับการบอกเวลา

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้น ม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไป เรียนรู้เกี่ยวกับการบอกเวลา กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย Let’s go! การแบ่งประเภท     ในบทเรียนนี้ครูขอยกตัวอย่างการบอกเวลาที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปใน 2 รูปแบบ ตามที่มาของ Native English หรือ ภาษาอังกฤษของเจ้าของภาษา นะคะ  ดังตัวอย่างดังต่อไปนี้  

บทนมัสการมาตาปิตุคุณ

บทนมัสการมาตาปิตุคุณ และอาจาริยคุณ บทอาขยานที่ควรค่าแก่การจำ

จนถึงตอนนี้น้อง ๆ คงได้เรียนวรรณคดีกันมามากมายหลายเรื่อง แต่ละเรื่องก็อาจจะมีการใช้ลักษณะคำประพันธ์ที่ต่างกันออกไป หรือซ้ำกันบ้าง บทนมัสการมาตาปิตุคุณ และอาจาริยคุณ ก็เป็นหนึ่งในวรรณคดีไทยที่อยู่ในแบบเรียนของน้อง ๆ แต่ความพิเศษคือลักษณะคำประพันธ์ที่น้อง ๆ อาจจะไม่เคยได้ยินมาก่อนอย่าง อินทรวิเชียร์ฉันท์ 11 จะเป็นอย่างไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วไปเรียนรู้วรรณคดีเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของบทนมัสการมาตาปิตุคุณ และอาจาริยคุณ   บทนมัสการมาตาปิตุคุณ และอาจาริยคุณ เป็นบทร้อยกรองขนาดสั้น มีเนื้อหาแสดงคุณของบิดามารดาและครูอาจารย์ ประพันธ์ขึ้นโดย

ระบบสมการเชิงเส้น

ระบบสมการเชิงเส้น

ระบบสมการเชิงเส้น ระบบสมการเชิงเส้น คือระบบสมการที่มีดีกรีเป็นหนึ่ง ซึ่งก็คือเลขชี้กำลังของตัวแปรเป็นหนึ่งนั่นเอง ซึ่งในตอนมัธยมต้นน้องๆได้เรียนระบบสมการเชิงเส้น 2 ตัวแปรไปแล้ว ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร เช่น แล้วเราก็แก้สมการหาค่า x, y  (ซึ่งอาจจะมีคำตอบหรือไม่มีก็ได้) แต่ในบทความนี้น้องๆจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบสมการเชิงเส้น n ตัวแปร นั่นก็คือน้องๆจะต้องหาคำตอบของตัวแปร n ตัวตัว ซึ่งการหาคำตอบนั้นมีหลายวิธีไม่ว่าจะเป็นการใช้เมทริกซ์ (ซึ่งน้องๆจะได้เรียนในบทความถัดๆไป) หรือการแก้สมการธรรมดาและในข้อสอบส่วนใหญ่จะเน้นให้น้องๆหาคำตอบในระบบสมการเชิงเส้นที่ไม่เกิน 3 ตัวแปร เพราะถ้าเกินกว่านั้นอาจจะใช้เวลาในการหาคำตอบมาก

การบรรยายลักษณะ และ ความรู้สึก โดยใช้คำคุณศัพท์

การบรรยายลักษณะและความรู้สึก โดยใช้คำคุณศัพท์ Adjective

ทบทวนความหมายและหน้าที่ของคำคุณศัพท์   คำคุณศัพท์หรือ Adjective มีตัวย่อคือ Adj.  ทำหน้าที่ขยายคำนามหรือสรรพนามที่อยู่ในประโยค คำนามหรือสรรพนาม ณ ที่นี้ ก็คือ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ นั่นเองค่า นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ขยายในที่นี้เพื่อบอกให้รู้ว่าคำนามหรือสรรพนามเหล่านั้นมีลักษณะยังไง  และในบทนี้ครูจะพาไปดูการใช้คำคุณศัพท์บอกลักษณะและความรู้สึก (Descriptive Adjective) กันนะคะ ไปลุยกันเลย   การใช้คำคุณศัพท์ (Adjective)

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1