การบอกเวลาในภาษาอังกฤษ (Telling time in English)

nokAcademy Profile_Asking and telling time by

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม. 1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดูวีการ “บอกเวลาในภาษาอังกฤษ หรือ Telling time in English กันค่ะ” ไปลุยกันเลย

 

บทนำ

 

NokAcademy_บอกเวลาเป็นภาษาอังกฤษ

ในบทเรียนนี้ครูขอยกตัวอย่างการบอกเวลาที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปใน 2 รูปแบบ ตามที่มาของ Native English หรือ ภาษาอังกฤษของเจ้าของภาษานะคะ  ดังตัวอย่างดังต่อไปนี้

  • British English แบบบริติช
  • American English แบบอเมริกัน

โครงสร้างประโยคคำถาม

NokAcademy_บอกเวลาเป็นภาษาอังกฤษ (3)
ประโยคคำถาม เพื่อถามถึงเวลา เช่น

ถามเวลาแบบ Direct question:

What time is it right now?

= ตอนนี้เป็นเวลากี่โมงแล้ว

เรามักจะเจอคำถามในลักษณะนี้ในสถานการณ์แบบเป็นกันเอง ภาษาที่ใช้จะดูใกล้ชิดสนิทสนมมากกว่า ซึ่งอาจจะเป็นเพื่อนเราที่ถามทาง หรือ คนใกล้ตัว คุณพ่อ คุณแม่ เป็นต้น

 

ถามเวลาแบบ Indirect question: Can I know…= ขอทราบ/ถาม หน่อย…

Can you tell me what time it is?
= ขอถามหน่อยว่ากี่โมงแล้ว

Excuse me, can I know what time it is?
= ขอโทษนะ ขอทราบหน่อยว่าเป็นเวลากี่โมงแล้ว

การถามเวลาในรูปแบบประโยคลักษณะ Indirect questions นี้ ประโยคของเราจะดูเป็นทางการและสุภาพมากยิ่งข้น

บอกเวลาแบบ British English

 

NokAcademy_บอกเวลาเป็นภาษาอังกฤษ (4)

 

ใน British English จะใช้ระบบเวลาแบบ 12 ชั่วโมง โดยจะใช้เลข 1 -12 ตามด้วยคำบอกเวลา a.m. และ p.m. ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปในภาษาอังกฤษนั่นเองค่า

 

การใช้ a.m. และ p.m.

a.m. = ante meridiem ใช้กับเวลา หลังเที่ยงคืน จนถึง ก่อนเที่ยงวัน
(00.01 a.m. – 11.59 a.m.)

p.m. = post meridiem ใช้กับเวลาหลังเที่ยงวัน จนถึง ก่อนเที่ยงคืน
(12.00 p.m. – 11.59 p.m.)

 

หากว่าต้องการบอกเวลาเต็มชั่วโมง ให้เติมคำว่า “o’clock” ท้ายเวลา หรือพูด a.m. และ p.m. ตามด้วยเวลาต่างๆ ก็ได้ เช่นกันค่ะ

 

11.00 a.m. = eleven o’clock in the morning

แปลว่า ตอนนี้เป็นเวลาสิบเอ็ดโมงเช้า

05.00 p.m. = five o’clock in the afternoon

แปลว่า ตอนนี้เป็นเวลาห้าโมงเย็น

การใช้ to กับเวลาที่จะมาถึง (แสดงว่าตอนที่พูดยังไม่ถึงเวลานั้น)

 

NokAcademy_บอกเวลาเป็นภาษาอังกฤษ (6)

 

เวลาที่ผ่านชั่วโมง และเกิน 30 นาทีมาแล้ว ให้บอกนาทีที่เหลือก่อนจะถึงชั่วโมงถัดไป ตามด้วย “to”  และชั่วโมงถัดไป เช่น

 

08.40 p.m. = twenty to nine

แปลว่า อีกยี่สิบนาทีจะถึงเก้านาฬิกาแล้ว

 

สำหรับ การบอกเวลาแบบ British English หากนาฬิกาเป็นเวลา 15 นาทีหรือ 45 นาที ให้ใช้คำว่า a quarter และหากเป็น 30 นาที ให้ใช้ half เช่น

 

06.15 a.m. = a quarter past six

07.30 a.m. = a half past thirty

 

การใช้ “past”

past เป็นคำคุณศัพท์ เมื่อใช้กับการบอกเวลา จะแปลว่า ผ่าน….มา……แล้ว โดยส่วนมากจะใช้กับเวลาที่ผ่านล่วงเลยมาไม่ถึง 30 นาที เช่น

NokAcademy_บอกเวลาเป็นภาษาอังกฤษ (7)

10.20 a.m. = twenty past ten
แปลว่า  ผ่านสิบนาฬิกามามายี่สิบนาทีแล้ว

ถือว่าเป็นการบอกเวลาทางอ้อม เพราะว่าไม่บอกมาตรงๆ มักจะเจอรูปแบบประโยคนี้ในสถานการณ์ปกติ ที่ไม่เร่งรีบ ในชั้นเรียน แต่อาจจะไม่ใช่การถามเวลาก่อนเที่ยงที่น้องๆหิวข้าว เป็นต้น

 บอกเวลาแบบ American English

 

NokAcademy_บอกเวลาเป็นภาษาอังกฤษ (5)

 

การอ่านเวลาแบบชาวอเมริกันนั้นได้กำหนดวิธีการบอกเวลาในภาษาอังกฤษสไตล์ชิวๆ ไม่ซับซ้อนเท่ากับวิธีการของชาวบริติช ซึ่ง American English จะมีการใช้ระบบเวลาแบบ 24 ชั่วโมง โดยจะใช้ตั้งแต่ตัวเลข 0 ไปจนถึง ตัวเลข 24 และส่วนใหญ่จะไม่มี a.m. และ p.m.  ให้ยุ่งยาก ตามสไตล์ easy going ซึ่งเป็นลักษณะนิสัยของคนอเมริกันเลยทีเดียว ง่ายๆ ไม่ทำให้ยุ่งยาก

วิธีการบอกเวลาของชาวอเมริกันคือ ให้บอกเลขชั่วโมงก่อนตามด้วยเลขนาที โดยทั่วมักจะในกรณีที่เป็นทางการมากๆ  เช่น

 

เวลา 21.15 น. = twenty-one fifteen

เวลา 08.09* น. = eight O nine 

ขออธิบายเพิ่มเติม:

*ใช้เสียง O อ่านว่า โอ จะใช้ แทนเลข 0 ใน American English

 

นอกจากนี้ยังมีคำวิเศษณ์เพื่อประมาณเวลา อีกด้วย เช่น about หรือ nearly  ซึ่งแปลว่า ประมาณ หรือ เกือบๆ เช่น

 

เวลา 09.05 น. =It’s about nine o’clock (แม้ว่าจะผ่านมาแล้วตั้ง 5 นาทีก็ตาม)

เวลา 10.28 น.  = It’s nearly half past ten (แม้ว่าจะยังไม่ถึงครึ่งชั่วโมงก็ตาม)

 

บอกเวลาตอนเที่ยง

 

NokAcademy_บอกเวลาเป็นภาษาอังกฤษ (8)

 

ในเวลาเที่ยงคืนหรือเที่ยงวัน สามารถใช้คำว่า “midnight” หรือ “midday / noon” แทนเลข 12 ได้ เช่น  เวลา 00:00 น. แทนช่วงเวลานี้ ว่า midnight หรือ เวลา 12:00 น. แทนช่วงเวลานี้ว่า midday or noon

ส่วนในการพูดอย่างเป็นทางการ สามารถใช้ “a.m.” หรือ “p.m.” ประกอบได้อยู่เหมือนเดิม
เช่น  เวลา 05:15 น. บอกได้ว่า 

It is five fifteen a.m.

= เป็นเวลา ตีห้า  สิบห้านาที

แต่ถ้าไม่เป็นทางการมาก เช่นบอกเวลาเพื่อนที่อยู่ใกล้ๆกัน
ก็สามารถพูดได้ว่า
It is ten fifteen. (ไม่ต้องบอก a.m. ก็ได้ แต่หากช่วงเวลาที่คุยเป็นกลางวัน เพื่อนก็จะเข้าใจไปโดยปริยายว่า มันคือเวลา สิบโมง สิบนาที )

ในกรณีที่ลืมว่า ควรจะใช้ a.m. หรือ p.m. ดี ให้ใช้วลีบอกเวลา เพ่อให้ผู้ที่เราพูดด้วยรู้ว่าเรากำลังบอกเวลาช่วงไหน โดยใช้ in/at แล้วตามด้วยช่วงเวลา เช่น

in the morning = ช่วงเช้า
at midday = เที่ยงวัน
at midnight = เที่ยงคืน
in the afternoon = ตอนบ่าย
in the evening = ตอนเย็น
at night = ตอนกลางคืน

 

แม้ว่าจะมีความแตกต่างกันอยู่ แต่คนที่เลือกใช้ก็คือตัวเราเอง ครูแนะนำให้ดูบริบทการใช้ให้มากนะคะ เช่นตัวอย่างประโยคด้านล่างนี้นะคะ

 

Situation I: At the train station (สถานการณ์เกิดที่ลานชาลาสถานีรถไฟ)

NokAcademy_บอกเวลาเป็นภาษาอังกฤษ (9)

Romeo: Excuse me sir, what time is it now?
= ขอโทษนะครับ ตอนนี้เป็นเวลากี่โมงแล้ว

Tom: It’s a half past ten.
= ตอนนี้ผ่านสิบนาฬิกามาครึ่งชั่วโมงแล้วครับ

Rome: Thank you sir. When will the next train arrive?
= ขอบคุณครับ แล้วรถไฟเที่ยวถัดไปจะมากี่โมงครับ

Tom: It will arrive in a minute.
= เดี๋ยวก็มาแล้วครับ

Situation II: At NokAcademy School (สถานการณ์เกิดที่โรงเรียน นกอะคาเดมี)

NokAcademy_บอกเวลาเป็นภาษาอังกฤษ (10)

Nestie: Jenny, what time is it now?
= เจนนี่ ตอนนี้กี่โมงแล้ว

Jenny: It’s 9 O’ clock. Why did you ask?
= ตอนนี้เก้าโมง ถามทำไม

Nestie: Oh my gosh, we need to go now.
= โอ้ มาย กอด เราต้องไปตอนนี้เลย

Jenny: Why?
= ทำไมล่ะ

Nestie: The class was already begun 10 minutes ago.
= ชั้นเรียนเริ่มเมื่อ 10 นาทีที่แล้ว (เราเข้าชั้นเรียนสาย 10 นาทีแล้ว)

 

น้องๆนักเรียนทุกคน อย่าลืมทบทวนบทเรียน ได้ที่วีดีโอด้านล่างนี้นะคะ แล้วเจอกันใหม่ See you again next time.

 

 

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ศึกษา นิทานเวตาล เรื่องที่10 และคุณค่าที่ซ่อนอยู่ในเรื่อง

​ นิทานเวตาล เป็นนิทานเรื่องเล่าที่แฝงไปด้วยคุณค่าและคติธรรมมากมาย หากแต่เต็มไปด้วยคุณค่า สำหรับฉบับแปลไทยของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์มีด้วยกัน 10 เรื่อง เรื่องที่อยู่ในแบบเรียนภาษาไทย คือเรื่องสุดท้าย ดังนั้นบทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจในนิทานเรื่องนี้เพื่อถอดความหมายและศึกษาคุณค่าทั้งด้านวรรณศิลป์ ด้านเนื้อหา และข้อคิดที่ได้จากเรื่อง ถ้าพร้อมแล้วไปเรียนรู้เรื่องนี้ด้วยเลยค่ะ   ตัวบทเด่นใน นิทานเวตาล เรื่องที่10   บทที่ 1  

การพูดอภิปราย

การพูดอภิปรายอย่างง่าย ทำได้ไม่ยาก

การพูดอภิปราย เป็นแบบการพูดซึ่งมีลักษณะคล้ายการสนทนาทั่วไป แต่ก็มีจุดที่แตกต่างกันอยู่ น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าคืออะไร แล้วสรุปว่าการพูดอภิปรายคืออะไร มีหลักในการพูดอย่างไรได้บ้าง บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักและฝึกพูดให้คล่อง เพื่อที่เมื่อถึงเวลาอภิปราย จะได้ผ่านกันแบบฉลุยไร้กังวล ถ้าอยากเรียนรู้แล้วล่ะก็ ไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความหมายของการพูดอภิปราย   การพูดอภิปราย หมายถึง การพูดเพื่อแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหา

สมบัติของจำนวนเต็ม

สมบัติของจำนวนเต็ม

ก่อนที่น้องๆจะได้เรียนรู้ในเรื่องสมบัติของจำนวนเต็ม น้องๆจำเป็นต้องเรียนเรื่อง การเปรียบเทียบจำนวนเต็ม และเรื่อง จำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์  ซึ่งบทความนี้ได้รวบรวมสมบัติของจำนวนเต็ม ประกอบด้วย สมบัติเกี่ยวกับการบวกและคูณจำนวนเต็ม ได้แก่ สมบัติการสลับที่ สมบัติการเปลี่ยนหมู่ และสมบัติการแจกแจง  รวมไปถึงสมบัติของหนึ่งและศูนย์ เรามาศึกษาสมบัติแรกกันเลย สมบัติเกี่ยวกับการบวกและคูณจำนวนเต็ม สมบัติการสลับที่ สมบัติการสลับที่สำหรับการบวก ถ้า a และ b แทนจำนวนเต็มใดๆ แล้ว a + b =

รากที่สาม

รากที่สาม

ในบทตวามนี้เราจะได้เรียนรู้การหารากที่สามของจำนวนจริงใดๆ ซึ่งทำได้หลายวิธีเช่นเดียวกับการหารากที่สอง อาจใช้การแยกตัวประกอบ การประมาณ การเปิดตาราง และการใช้เครื่องคำนวณ แต่เนื่องจากการประมาณเป็นวิธีที่ยุ่งยาก ในที่นี้จึงจะกล่าวเฉพาะการหารากที่สามโดยการแยกตัวประกอบ การเปิดตาราง และการใช้เครื่องคำนวณ

การอ้างเหตุผล

บทความนี้จะทำให้น้องๆเข้าใจหลักการอ้างเหตุผลมากขึ้นและสามารถตรวจสอบได้ว่า การอ้างเหตุผล สมเหตุสมผลหรือไม่

verb to be

Verb to be ใน Present Simple Tense

สวัสดีน้องๆ ป. 5 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่อง Simple Simple อย่าง Verb to be ใน Present Simple Tense กันครับ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1