ระบบสมการเชิงเส้น

ระบบสมการเชิงเส้น

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ระบบสมการเชิงเส้น

ระบบสมการเชิงเส้น คือระบบสมการที่มีดีกรีเป็นหนึ่ง ซึ่งก็คือเลขชี้กำลังของตัวแปรเป็นหนึ่งนั่นเอง ซึ่งในตอนมัธยมต้นน้องๆได้เรียนระบบสมการเชิงเส้น 2 ตัวแปรไปแล้ว

ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร เช่น

ระบบสมการเชิงเส้น

ระบบสมการเชิงเส้น

แล้วเราก็แก้สมการหาค่า x, y  (ซึ่งอาจจะมีคำตอบหรือไม่มีก็ได้)

แต่ในบทความนี้น้องๆจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบสมการเชิงเส้น n ตัวแปร นั่นก็คือน้องๆจะต้องหาคำตอบของตัวแปร n ตัวตัว ซึ่งการหาคำตอบนั้นมีหลายวิธีไม่ว่าจะเป็นการใช้เมทริกซ์ (ซึ่งน้องๆจะได้เรียนในบทความถัดๆไป) หรือการแก้สมการธรรมดาและในข้อสอบส่วนใหญ่จะเน้นให้น้องๆหาคำตอบในระบบสมการเชิงเส้นที่ไม่เกิน 3 ตัวแปร เพราะถ้าเกินกว่านั้นอาจจะใช้เวลาในการหาคำตอบมาก

เรามาดูนิยามของสมการเชิงเส้น n ตัวแปรกันค่ะ

 

บทนิยาม

สมการเชิงเส้น n ตัวแปร หมายถึง สมการที่เขียนอยู่ในรูป ระบบสมการเชิงเส้น โดยที่ \inline a_1,a_2,...,a_n,b\in \mathbb{R} และ \inline x_1,x_2,...,x_n เป็นตัวแปร

 

***สมการเชิงเส้น กับระบบสมการเชิงเส้นไม่เหมือนกันนะจ๊ะ***

โดยสมการเชิงเส้นคือ สมการเดี่ยวๆ 1 สมการ

แต่ระบบสมการเชิงเส้น คือ สมการหลายๆสมการ  เช่น

ระบบสมการเชิงเส้น

ระบบสมการเชิงเส้น

ระบบสมการเชิงเส้น

 

การรตรวจคำตอบของระบบสมการคือ การแทนค่า \inline x_1,x_2,...,x_n ที่เราหาได้ลงไปในสมการทุกสมการในระบบแล้วทำให้สมการเหล่านั้นเป็นจริง และการแก้สมการนั้นสมการอาจจะใช้วิธีการกำจัดตัวแปร (เหมาะสำหรับสมการที่ไม่เกิน 3 ตัวแปร)

ตัวอย่างการแก้สมการ

 

ตัวอย่างต่อไปนี้จะใช้วิธีการกำจัดตัวแปรในการแก้สมการพร้อมกับตรวจสอบคำตอบของระบบสมการ

1.) แก้ระบบสมการพร้อมตรวจคำตอบ

\inline 2x-3y+z=8   ——-(1)

\inline -x+4y+2z=-4   —(2)

\inline 3x-y+2z=9   ——-(3)

 

วิธีแก้สมการ

สังเกตสมการที่ 2 และ 3 เราสามารถกำจัด z ได้ โดยการนำ (3) – (2) จะได้

\inline 3x-y+2z-(-x+4y+2z)   =  \inline 9-(-4)

\inline 4x-5y                                            =  \inline 13  ——–(4)

จะเห็นว่าสมการที่ 4 ไม่มีตัวแปร z แล้ว ดังนั้นตอนนี้เรามีสมการ 2 ตัวแปรแล้ว 1 สมการ

ต้องทำสมการ 2 ตัวแปรอีก 1 สมการร เพื่อจะนำมาแก้สมการ 2 ตัวแปรได้

และตอนนี้สมการที่เรายังไม่ได้ยุ่งเลยคือสมการที่ 1 ดังนั้น เราจะกำจัดตัวแปรตัวแปร z โดยใช้สมการที่ 1 ช่วย

นำสมการที่ 1 คูณด้วย 2 ทั้งสมการ จะได้

ระบบสมการเชิงเส้น                   = \inline 2(8)

\inline 4x-6y+2z                      = \inline 16    ——–(5)

จะสังเกตเห็นว่าสามารถกำจัดตัวแปร z ได้แล้ว โดยนำไป ลบ สมการรที่ 2 หรือ 3 ก็ได้

ในที่นี้จะนำไปลบกับสมการที่ 3 นั่นคิอ (5) – (3) จะได้

ระบบสมการเชิงเส้น   =  \inline 16-9

ระบบสมการเชิงเส้น                                             =  \inline 7  ————(6)

ตอนนี้เราได้ สมการ 2 ตัวแปรมาอีกหนึ่งสมการแล้ว ทีนี้เราก็สามารถทำการแก้สมการ 2 ตัวแปรได้แล้ว

\inline 4x-5y                                            =  \inline 13  ——–(4)

\inline x-5y                                              =  \inline 7  ———(6)

(4) – (6)  จะได้

ระบบสมการเชิงเส้น                       =  \inline 13-7

\inline 3x                                                     =  \inline 6

\inline x                                                       =  \inline 2

แทน x = 2 ใน (6) จะได้

\inline 2-5y=7  ดังนั้น y = -1

แทนค่า x = 2 และ y = -1 ในสมการที่ 1 จะได้

ระบบสมการเชิงเส้น

\inline 4+3+z=8

ดังนั้น z = 1

 

วิธีการตรวจคำตอบ

แทน ค่า x, y และ z ที่ได้จากการแก้ระบบสมการ ลงไปในสมการที่ 1, 2 และ 3

(1)    ระบบสมการเชิงเส้น   สมการเป็นจริง

(2)   \inline -2+4(-1)+2(1)=-2-4+2=-4  เป็นจริง

(3)   \inline 3(2)-(-1)+2(1)=6+1+2=9  เป็นจริง

 

สรุปหลักการแก้ระบบสมการ 3 ตัวแปร โดยวิธีกำจัดตัวแปร

  1. กำจัดตัวแปรให้เหลือ 2 สมการ 2 ตัวแปร
  2. แก้สมการ 2 ตัวแปร
  3. นำค่าตัวแปรที่หาได้ทั้งสองค่าแทนในสมการที่มีสามตัวแปร เพื่อหาค่าของตัวแปรที่เหลือ
  4. ได้ค่าครบทั้งสามค่าแล้ว นำไปตรวจคำตอบ 

 

วิดีโอทบทวนเรื่อง ระบบสมการเชิงเส้น 2 ตัวแปร

(ในระดับมัธยมต้น)

 

 

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
เรียนพิเศษออนไลน์ ดูได้ทั้ง 4 รายวิชา - NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

_ม2 Present Continuous Tense Profile

Present Continuous Tense

สวัสดีนักเรียนชั้นม.3 ที่น่ารักทุกคนค่า วันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง ” Present Continuous Tense” พร้อมทั้งตัวอย่างสถานการณ์ใกล้ตัว และข้อสอบวัดความเข้าใจหลังเรียนแบบปังๆกันจร้า หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย เริ่มกับการใช้ Present Continuous Tense   อธิบายสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนั้น เช่น Danniel is playing a football at the moment.

การเปลี่ยนแปลงของประโยค

การเปลี่ยนแปลงของประโยค ศึกษาธรรมชาติของภาษาที่ยังไม่ตาย

ภาษาเป็นกลไกสำคัญที่จะต้องเปลี่ยนแปลงควบคู่ไปกับสังคมมนุษย์ คำและประโยคในทุกภาษาอาจเปลี่ยนแปลงหรือหายไปพร้อมกับความเจริญและเสื่อมของสังคมตามยุคสมัย ภาษาที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจะถูกนับเป็นภาษาที่ตายแล้ว ภาษาไทยเป็นอีกภาษาหนึ่งที่ยังคงมีความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของประโยค หนึ่งในเรื่องราวที่น่าสนใจของเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางภาษา จะมีอะไรบ้างนั้น เราไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   การเปลี่ยนแปลงทางภาษา     ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษา   1. เกิดจากปัจจัยทางสังคม   2. ลักษณะการออกเสียงของผู้พูด ในบางครั้งผู้พูดจะไม่สามารถออกเสียงคำได้อย่างถูกต้องทุกคำ

โจทย์ปัญหาการคูณทศนิยม

จากบทความที่แล้วเราได้วิเคราะห์โจทย์ปัญหาการบวกและการลบทศนิยมไปแล้ว บทความนี้จึงจะเป็นการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาที่เกี่ยวกับการคูณ รวมไปถึงการแสดงวิธีทำที่จะทำให้น้อง ๆ เข้าใจ และสามารถนำไปใช้ได้จริง

เรียนรู้ความเหมือนที่แตกต่างของคำพ้อง

  น้อง ๆ หลายคนคงจะเคยเห็นฝาแฝดกันมาบ้างใช่ไหมคะ แล้วรู้หรือเปล่าคะว่าในภาษาไทยเรานั้นก็มีฝาแฝดเหมือนกัน แต่ฝาแฝดนั้นถูกเรียกว่า คำพ้อง นั่นเองค่ะ หลายคำในภาษาไทยมีจุดที่เหมือนกันแต่ก็มีส่วนที่ต่างกันออกไปด้วย เพื่อไม่ให้สับสนว่าคำไหนคือคำไหน อ่านอย่างไร หมายความว่าอะไรกันแน่ วันนี้เราไปเรียนรู้เรื่องคำพ้องพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   คำพ้อง   ความหมายของคำพ้อง     ประเภทของคำพ้อง     คำพ้องเสียง

บวกเศษส่วนและจำนวนคละให้ถูกต้องตามหลักการ

การบวกคือพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ต้องเจอมาตั้งแต่ระดับอนุบาล แต่นั่นคือการบวกจำนวนเต็มโดยหลักการคือการนับรวมกัน แต่การบวกเศษส่วนและจำนวนคละนั้นเราไม่สามารถนับได้เพราะเศษส่วนไม่ใช่จำนวนนับ บทความนี้จึงจะพาน้อง ๆมาทำความเข้าใจกับหลักการบวกเศษส่วนและจำนวนคละ อ่านบทความนี้จบรับรองว่าน้อง ๆจะเข้าใจและสามารถบวกเศษส่วนจำนวนคละได้เหมือนกับที่เราสามารถหาคำตอบของ 1+1 ได้เลยทีเดียว

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1