อิศรญาณภาษิต ศึกษาวรรณคดีคำสอนของไทย

อิศรญาณภาษิต

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

อิศรญาณภาษิต เป็นวรรณคดีที่มีเนื้อหาสอนให้ผู้อ่านรู้จักลักษณะของกลอนเพลงยาวและยังสอดแทรกข้อคิดต่าง ๆ ไว้อีกมากมาย บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงประวัติความความเป็นมา ผู้แต่ง ลักษณะคำประพันธ์ของกลอนเพลงยาว และตัวบทที่น่าสนใจ ๆ ในเรื่อง ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วว่าวรรณคดีเรื่องนีมีความเป็นมาและความสำคัญอย่างไร เหตุใดจึงอยู่ในแบบเรียนภาษาไทยในเราได้ศึกษากันอยู่ตอนนี้ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

อิศรญาณภาษิต

 

ความเป็นมาของ

 

อิศรญาณภาษิต (อ่านว่า อิด-สะ-ระ-ยาน-พา-สิด) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เพลงยาวเจ้าอิศรญาณ โดยมาจากชื่อผู้แต่ง คือ หม่อมเจ้าอิศรญาณ (มหากุล) รวมกับ ภาษิต ซึ่งหมายถึง ถ้อยคำที่กล่าวสืบต่อกันมา ดังนั้น คำว่า ‘อิศรญาณภาษิต’ เลยหมายถึงถ้อยคำของหม่อมเจ้าอิศรญาณที่บอกเล่าสืบต่อกันมา จุดเริ่มต้นของวรรณคดีเรื่องนี้มาจากการที่ผู้แต่งน้อยใจที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตรัสบริภาษว่าเป็นบ้า และคนอื่น ๆ ก็พากันเห็นด้วยว่าพระองค์เป็นผู้มีพระจริตที่ไม่ปกติ ทำให้แต่งกลอนเพลงยาวนี้ขึ้นมา ดังนั้นเนื้อหาในเรื่องจึงเต็มไปด้วยการเหน็บแนมประชดประชันและเสียดสีสังคม

 

อิศรญาณภาษิต

 

ลักษณะคำประพันธ์

 

กลอนเพลงยาว กลอนที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงความรักหรือเล่าสู่กันฟัง ขึ้นต้นด้วยวรรรับหรือวรรคที่สองของบท

 

อิศรญาณภาษิต

 

กลอนเพลงยาวในระยะแรกไม่เคร่งครัดในเรื่องฉันทลักษณ์ที่เป็นแบบแผนตายตัว จำนวนคำในแต่ละวรรคมีได้ตั้งแต่ 6-15 คำ การส่งสัมผัสมีลักษณะไม่คงที่

 

ตัวบทที่สำคัญ

 

อิศรญาณภาษิต

 

ถอดความ สอนเรื่องการพึ่งพาอาศัยกันระหว่างหญิงกับชาย ให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข โดยยกสำนวนโบราณมาเปรียบเทียบให้เห็นว่าผู้หญิงเป็นข้าวสารที่ผ่านการขัดสีพร้อมที่จะนำไปหุงอย่างเดียว ไม่สามารถนำมาปลูกใหม่ได้อีก แต่ผู้ชายเปรียบเสมือนข้าวเปลือกที่สามารถนำไปเพาะปลูกและเจริญงอกงามใหม่ได้เรื่อย ๆ

 

 

ถอดความ การที่ไม่ยศถาบรรดาศักดิ์ จะไปเถียงกับใครก็เถียงได้ยาก เพราะไม่มีใครเชื่อ พูดไปไม่มีใครฟัง และนอกจากนี้ยังมีสำนวนไทย ผีบ้านไม่ดี ผีป่าก็พลอย หมายถึง คนในบ้านเป็นใจช่วยให้คนนอกบ้านเข้ามาทำความเสียหายได้

 

 

ถอดความ เสาหินใหญ่ เมื่อถูกผลักเข้าบ่อย ๆ ก็อาจทำให้สั่นคลอนได้ เปรียบเหมือนใจคนที่ถ้าหากฟังคำยุมาก ๆ เข้าก็อาจทำให้ใจหวั่นไหว จึงควรฟังหูไว้หู ไม่เชื่อใครง่าย ๆ

 

 

ถอดความ การจะสร้างอะไรก็ตาม ไม่ควรสร้างให้สูงเกินกว่ากว่าที่ฐานจะรับน้ำหนักไหว มิเช่นนั้นอาจจะทำให้สิ่งที่สร้างมาล้มลง และยังสอนให้รู้จักศึกษาหาความรู้แต่ให้เก็บความรู้นั้นไว้ใช้เมื่อเกิดปัญหา ไม่เอาความรู้ไปโอ้อวด

 

เป็นอย่างไรบ้างคะ หลังจากที่ได้เรียนรู้ความเป็นมาและตัวบทในเรื่องอิศรญาณภาษิต กันไปแล้ว วรรณคดีเรื่องนี้แม้แรกเริ่มจะมีจุดประสงค์มาจากการแต่งเพื่อประชดประชันและเสียดสีสังคม แต่ก็ถือว่าเป็นวรรณคดีอันทรงคุณค่าอีกเรื่องหนึ่ง เพราะได้สอดแทรกข้อคิดต่าง ๆ ไว้มากมาย โดยน้อง ๆ สามารถไปฟังคำอธิบายของตัวบทเด่น ๆ ในเรื่องเพิ่มเติมได้ในคลิปการสอนของครูอุ้มนะคะ สุดท้ายนี้อย่าลืมติดตามบทเรียนต่อไปเพื่อศึกษาคุณค่าในวรรณคดีเรื่องนี้กันนะคะ

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

งานอดิเรก (Hobbies) ในยุคปัจจุบัน

  ในปัจจุบันงานอดิเรก (Hobbies) นอกจากจะเป็นสิ่งที่ทำให้เราสนุกแล้วยังสามารถเพิ่มพูนทักษะใหม่ๆ  ให้เราได้อีกด้วย  หากมีใครก็ตามถามว่า what do you like to do in your free time? คุณชอบทำอะไรในเวลาว่าง ครูเชื่อว่านักเรียนจะต้องมีหลายคำตอบ เพราะปัจจุบันมีหลายสิ่งหลายอย่างให้ทำเยอะมาก แต่เหนือสิ่งอื่นใด งานอดิเรกนั้นต้องทำให้เราสนุกและมีความสุขกับการได้ทำมันแน่ๆ “Do what you love,

ประโยคในภาษาไทย

ทริคสังเกต ประโยคในภาษาไทย รู้ไว้ไม่สับสน

  น้อง ๆ หลายคนคงจะเคยสับสนและมีข้อสงสัยเกี่ยวกับประโยคในภาษาไทยกันมาไม่มากก็น้อย ทำไมอยู่ดี ๆ เราถึงไม่เข้าใจประโยคภาษาไทยที่พูดกันอยู่ทุกวันไปได้นะ? แต่ไม่ต้องกังวลไปนะคะ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ กลับไปทบทวนเกี่ยวกับเรื่องประโยคอีกครั้ง พร้อมเรียนรู้เคล็ดลับการสังเกตประโยคง่าย ๆ จะเป็นอย่างไร ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   ความหมายของประโยค   ประโยค เป็นหน่วยทางภาษาที่เกิดจากการนำคำหลาย ๆ คำ หรือกลุ่มคำ มาเรียงต่อกันอย่างเป็นระบบ มีความสัมพันธ์กัน

กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง

กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ที่มาของวรรณคดีเชิงสารคดี

กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เป็นวรรณคดีที่สำคัญในฐานะสารคดี เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปหาคำตอบของวรรณคดีเรื่องดังกล่าวว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไร ใครเป็นผู้แต่ง พร้อมเรียนรู้ความหมายของกาพย์ห่อโคลงและเนื้อเรื่องโดยสรุปของเรื่องด้วย ไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของ กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง     กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงเป็นบทชมธรรมชาติที่แต่งเพื่อความเพลิดเพลินระหว่างการเดินทางของกระบวนเสด็จทางสถลมารคจากท่าเจ้าสนุกถึงธารทองแดง ซึ่งธารทองแดงในที่นี้ เป็นชื่อลำน้ำที่เขาพระพุทธบาท ซึ่งเป็นบริเวณที่ตั้งของพระตำหนักธารเกษมที่มีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โดยเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรทรงพระนิพนธ์วรรณคดีเรื่องนี้ขึ้นเมื่อครั้งตามเสด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศไปนมัสการพระพุทธบาท ที่จังหวัดสระบุรี   ประวัติเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร   เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร

ประพจน์และการเชื่อมประพจน์

บทความนี้เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับประพจน์ การเชื่อมประพจน์ และการหาค่าความจริง ซึ่งเนื้อหาเหล่านี้เป็นภาษาของคณิตศาสตร์ เราจะเห็นตัวเชื่อมประพจน์ในทฤษฎีบทต่างๆในคณิตศาสตร์ หลังจากอ่านบทความนี้ น้องๆจะสามารถบอกได้ว่าข้อความไหนเป็นหรือไม่เป็นประพจน์ และน้องๆจะสามารถทำข้อสอบเกี่ยวกับตรรกศาสตร์ได้

คำสุภาพและคำผวน

คำสุภาพ คำผวน สองขั้วตรงข้ามในภาษาไทย

คำสุภาพ และคำผวน คำสุภาพและคำผวน คือสองเรื่องในภาษาไทยที่ต่างกันสุดขั้ว ทั้งวิธีใช้ ความหมาย และความสำคัญ บทเรียนภาษาไทยวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับทั้งคำสุภาพ และคำผวนในภาษาไทย ว่าทำไมถึงต่างกันและสามารถใช้ในโอกาสใดได้บ้าง ไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความหมายของคำสุภาพ     คำสุภาพ เป็นการเปลี่ยนแปลงการใช้คำศัพท์เดิมให้เปลี่ยนไปในทางดีขึ้น เพื่อให้ดูสุภาพมากกว่าเดิม ใช้เมื่อต้องการหลีกเลี่ยงเรียกคำที่ไม่น่าฟัง หรือใช้กับคนที่อาวุโสกว่าก็ได้ อาจเรียกอีกอย่างว่าเป็นคำราชาศัพท์

สถิติ (เส้นโค้งความถี่)

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง สถิติ (เส้นโค้งความถี่)  ซึ่งก่อนที่จะเรียนเรื่องนี้ น้องๆจะต้องมีความรู้ในเรื่อง    ค่ากลางของข้อมูล และการวัดการกระจายของข้อมูล สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ สถิติ (ค่ากลางของข้อมูล/การกระจายของข้อมูล) ⇐⇐ เส้นโค้งของความถี่ จะมีอยู่ 3 แบบ คือ เส้นโค้งปกติ เส้นโค้งเบ้ขวา และเส้นโค้งเบ้ซ้าย ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับค่ากลางของข้อมูล  ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (μ)   มัธยฐาน (Med) และฐานนิยม

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1