อยากเขียนเก่ง เขียนได้ดี ต้องเรียนรู้วิธีใช้ภาษาเขียนให้ถูกต้อง

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทนำ

สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน สำหรับวันนี้เราจะมาเข้าสู่บทเรียนภาษาไทยในเรื่องของระดับภาษา แต่จะเฉพาะเจาะจงไปที่การใช้ภาษาเขียนให้ถูกต้อง เหมาะสม เพื่อให้น้อง ๆ ทุกคนนำไปใช้ในการเขียนข้อสอบ หรือเขียนรายงานเรื่องต่าง ๆ ได้เหมาะสมมากขึ้น เพราะด้วยความที่ภาษาเขียนเป็นภาษาที่มีแบบแผน มีหลักในการเลือกใช้ เราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาเขียนอย่างละเอียด ถ้าน้อง ๆ ทุกคนอยากรู้แล้วว่าวันนี้มีบทเรียนอะไรที่น่าสนใจบ้างต้องมาดูไปพร้อม ๆ กัน

 

ภาษาเขียน

ภาษาเขียน คืออะไร?

 

ภาษาเขียนเป็นอีกหนึ่งช่องทาง หรือเป็นอีกทักษะที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสาร จากกระบวนการคิดไปสู่การเรียบเรียงออกมาเป็นตัวอักษร โดยภาษาเขียนนั้นเป็นภาษาที่มีหลักการใช้ที่ค่อนข้างเคร่งครัดขึ้นมาจากภาษาพูด หรือที่เรียกว่า ภาษาแบบแผน ด้วยความที่มีการแบ่งระดับของภาษาจึงมีผลต่อการใช้ภาษาในงานเขียนรูปแบบต่าง ๆ  ด้วย เช่น ภาษาเขียนแบบทางการ กึ่งทางการ หรือแม้แต่ภาษาเขียนในบทกลอน และยังต้องมีการเลือกสรรคำศัพท์ที่จะใช้ในภาษาเขียนให้เหมาะสมกับบุคคลที่เรากำลังเขียนถึงด้วย

ลักษณะของภาษาเขียน

 

ภาษาเขียน

 

ต้องใช้คำมาตรฐาน หรือใช้ตามแบบแผน 

ลักษณะสำคัญในภาษาเขียนคือการเลือกใช้คำตามแบบแผน หรือเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบุคคล เพื่อให้ดูสุภาพ และเป็นทางการที่สุด เราควรจะจดจำคำบางคำที่จำเป็นต้องใช้ในภาษาเขียน เช่น คำกริยาบางหมวดหมู่ คำสรรพนามที่ใช้เรียกบุคคล
หรือคำศัพท์เฉพาะบางคำ ยกตัวอย่างเช่น

 

ภาษาเขียน

 

ภาษาเขียนจะออกเสียงตามหลักการสะกด

ลักษณะข้อต่อมาของภาษาเขียนที่เราจะสังเกตได้ง่าย ๆ ก็คือ คำในภาษาเขียนจะออกเสียงตามหลักการสะกดคำ ซึ่งมันจะส่งผลต่อการเขียน หรือสะกดคำที่ถูกต้องด้วย โดยเราอาจจะเห็นได้กับบางประโยคในภาษาพูดที่มักจะออกเสียงไม่ชัด ยกตัวอย่างเช่น

 

ภาษาเขียน

 

ภาษาเขียนไม่สามารถสื่ออารมณ์ได้เหมือนภาษาพูด

ในภาษาพูดเวลาที่เราต้องการแสดงออกถึงความรู้สึก เราจะใช้วิธีการปรับโทนเสียงขึ้น – ลง เพื่อแสดงถึงความรู้สึกโกรธ ดีใจ ตื่นเต้นได้ผ่านน้ำเสียงในภาษาพูด แต่ภาษาเขียนเราไม่สามารถสื่อความรู้สึกเหล่านี้ให้กับผู้อ่านผ่านตัวอักษรที่เราเขียนได้ แม้ว่าปัจจุบันจะมีภาษาวัยรุ่น หรือภาษาที่พิมพ์กันในห้องแชตที่สามารถบอกอารมณ์ได้แล้ว แต่ก็ยังไม่ได้ถูกจัดอยู่ในภาษาเขียนตามมาตรฐาน หรือแบบแผน

 

ภาษาเขียนไม่ต้องใส่คำลงท้าย

คำลงท้าย หมายถึง คำที่ใช้พูดลงท้ายประโยคเพื่อแสดงความสุภาพ โดยจะมีทั้งคำที่ใช้ในเพศชาย และเพศหญิง เช่น สวัสดีค่ะ, สวัสดีครับ, ขอบคุณจ้า หรือคิดถึงนะ ซึ่งเมื่อเราใช้ภาษาเขียนก็ไม่จำเป็นต้องใช้คำลงท้ายเหล่านี้เพราะถือเป็นภาษาพูด เพียงแค่เราเขียนให้ถูกหลัก ใช้คำให้ถูกต้องก็ถือเป็นการแสดงความสุภาพในการเขียนแล้ว

 

ภาษาเขียนไม่นิยมใช้คำซ้ำ และคำซ้อน

คำซ้ำ คือ คำที่ต้องใส่เครื่องหมายไม้ยมกเพื่อแสดงถึงการอ่านซ้ำ ๆ แต่ในภาษาเขียนเราไม่นิยมการใช้คำซ้ำ หรือใช้คำที่มีไม้ยมกเยอะ ๆ เช่น เร็วเข้า วิ่ง ๆ ๆ, นอน ๆ ๆ หรือเร็ว ๆ ๆ ซึ่งเป็นจะถือเป็นการใช้คำที่ฟุ่มเฟือย นอกจากนี้ในภาษาเขียนยังไม่ควรใช้คำซ้อน หรือคำสร้อยต่อท้ายเยอะ ๆ เช่น ยิ่งใหญ่อลังการงานสร้างมาก ๆ หรือบ้านหลังนี้ดูสวยงามอร่ามตาจริง ๆ ประโยคเหล่านี้เวลาที่เรานำไปเขียนก็จะดูฟุ่มเฟือยเกินไป

 

บทส่งท้าย

เป็นอย่างไรกันบ้างน้อง ๆ ทุกคน หลังจากได้เรียนรู้หลักการใช้ภาษาเขียน หรือลักษณะของภาษาเขียนที่จะช่วยให้เรามีทักษะการเขียนที่แข็งแรงขึ้น อีกทั้งยังนำไปฝึกฝนกับการเขียนในรูปแบบต่าง ๆ ได้ด้วย น้อง ๆ ต้องไม่ลืมว่าภาษาเขียนนั้นสามารถนำไปพัฒนาเป็นงานเขียน หรืออาชีพในอนาคตได้ด้วย ยิ่งใครที่ชื่นชอบอาชีพนักเขียนแล้ว ความรู้เบื้องต้นของภาษาเขียนเหล่านี้เราก็ต้องจดจำให้ได้ด้วย ถ้าใครอยากเข้าใจเกี่ยวกับภาษาเขียนอย่างละเอียดแนะนำว่าให้ไปดูวีดีโอการสอนจากครูอุ้มด้านล่างนี้ได้เลย

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

มนุสสภูมิ ตอนที่ว่าด้วยกำเนิดของมนุษย์ในไตรภูมิพระร่วง

ไตรภูมิพระร่วงมีจุดมุ่งหมายที่จะชี้ให้เห็นคุณและโทษของโลกทั้งสามที่ไม่แน่นอน เพื่อที่จะให้มนุษย์ตระหนักถึงกรรมดีและกรรมชั่วและพบกับความสุขไม่ว่าจะอยู่ในโลกไหน โดยในตอน มนุสสภูมิ นี้ก็ได้กล่าวถึงการกำเนิดมนุษย์ที่อธิบายโดยใช้หลักความเชื่อทางพุทธศาสนามาอธิบายจึงทำให้วรรณคดีเรื่องนี้เป็นอีกเรื่องที่มีความสนใจเป็นอย่างมากเลยล่ะค่ะ จากที่ครั้งก่อนเราได้เรียนเรื่องนี้กันไปแล้วในส่วนของที่มาและความสำคัญและเนื้อเรื่องย่อ บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เพิ่มเติมแต่เป็นเรื่องของตัวบทเพื่อถอดคำประพันธ์ รวมไปถึงศึกษาคุณค่าที่ปรากฏในเรื่องด้วยค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูกันเลย ตัวบทเด่น ๆ ในไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ     ถอดความ เป็นการอธิบายถึงวิวัฒนาการของทารกในครรภ์ตั้งแต่เริ่มเป็นเซลล์ โดยอธิบายว่าไม่ว่าจะเกิดเป็นชายหรือหญิง ก็จะเริ่มจากการเป็นกลละ แล้วโตขึ้นทีละน้อย เมื่อถึง 7

การพูดอภิปราย

การพูดอภิปรายอย่างง่าย ทำได้ไม่ยาก

การพูดอภิปราย เป็นแบบการพูดซึ่งมีลักษณะคล้ายการสนทนาทั่วไป แต่ก็มีจุดที่แตกต่างกันอยู่ น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าคืออะไร แล้วสรุปว่าการพูดอภิปรายคืออะไร มีหลักในการพูดอย่างไรได้บ้าง บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักและฝึกพูดให้คล่อง เพื่อที่เมื่อถึงเวลาอภิปราย จะได้ผ่านกันแบบฉลุยไร้กังวล ถ้าอยากเรียนรู้แล้วล่ะก็ ไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความหมายของการพูดอภิปราย   การพูดอภิปราย หมายถึง การพูดเพื่อแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหา

การใช้คำคุณศัพท์และการเรียงคำคุณศัพท์

การใช้คำคุณศัพท์และการเรียงคำคุณศัพท์ คำคุณศัพท์ (Adjective) คืออะไร? ก่อนเราจะเริ่มเข้าเนื้อหา ทางผู้เขียนก็อยากจะพูดถึงความหมายและความสำคัญของคำคุณศัพท์ (Adjective) กันก่อน คำคุณศัพท์ (Adjectives) มักจะุถูกใช้ในการอธิบายลักษณะรูปร่างทางกายภาพของทั้งสิ่งของและสิ่งมีชีวิตที่รวมถึงตัวของมนุษย์เอง โดยที่เราจะมาเรียนกันวันนี้คือการที่บางครั้ง คำคุณศัพท์ (Adjective) นั้นจะมีลักษณะที่ถูกใช้อธิบายลักษณะทางกายภาพที่มากกว่าหนึ่งอย่าง ในภาษาไทยของเรา ก็มีการเรียกคำคุณศัพท์ หรือที่เรียกว่า order of adjective ด้วยเหมือนกัน จากศึกษาและพูดคุยกับนักศึกษาศาสตร์ พบว่า การใช้ภาษาไทยในปัจจุบันไม่ได้มีการกำหนดการเรียงลำดับคำคุณศัพท์แบบภาษาอังกฤษที่ชัดเจน

ข้อสอบO-Net เรื่องจำนวนจริง

ข้อสอบO-Net ข้อสอบO-Net ในบทความนี้จะคัดเฉพาะเรื่องจำนวนจริงมาให้น้องๆทุกคนได้ดูว่าที่ผ่านมาแต่ละปีข้อสอบเรื่องจำนวนจริงออกแนวไหนบ้าง โดยบทความนี้พี่ได้นำข้อสอบย้อนหลังของปี 49 ถึงปี 52 มาให้น้องๆได้ดูพร้อมเฉลยอย่างละเอียด เมื่อน้องๆได้ศึกษาโจทย์ทั้งหมดและลองฝึกทำด้วยตัวเองแล้ว น้องๆจะสามารถทำข้อสอบทั้งของในโรงเรียนและข้อสอบO-Net ได้แน่นอนค่ะ ข้อสอบO-Net เรื่องจำนวนจริง ปี 49   1.   มีค่าเท่ากับข้อในต่อไปนี้     60      

การแยกตัวประกอบพหุนาม

การแยกตัวประกอบพหุนาม

การแยกตัวประกอบพหุนาม การแยกตัวประกอบพหุนาม เป็นการแยกตัวประกอบของสมการเพื่อให้ง่ายต่อการหาคำตอบของสมการที่จะต้องเรียนในเนื้อหาถัดไป ในบทความนี้จะพูดถึงพหุนามดีกรี 2 ตัวแปรเดียว พหุนามดีกรี 2 คือ พหุนามที่มีเลขยกกำลังสูงสุด คือ 2 พหุนามดีกรี 2 ตัวแปรเดียว คือ พหุนามที่มีเลขยกกำลังสูงสุดคือ 2 และ มีตัวแปร 1 ตัว เขียนอยู่ในรูป ax² +

คำซ้ำคืออะไร เรียนรู้และเข้าใจหลักการสร้างคำอย่างง่าย

  จากที่ได้เรียนเรื่องการสร้างคำประสมและคำซ้อนไปแล้ว บทเรียนหลักภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้การสร้างคำอีกหนึ่งชนิดที่สำคัญไม่แพ้สองคำก่อนหน้า นั่นก็คือ คำซ้ำ นั่นเองค่ะ คำซ้ำคืออะไร มีวิธีสร้างคำได้อย่างไรบ้าง วันนี้เราไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   คำซ้ำ     คำซ้ำคืออะไร?   คำซ้ำ หมายถึง การสร้างคำขึ้นใหม่ โดยนำคำมูลซึ่งส่วนมากเป็นคำพยางค์เดียวมาซ้ำกันแล้วมีความหมายเปลี่ยนแปลงไป อาจเน้นหนักขึ้น หรือเบาลง

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1