การบอกปริมาณต่าง ๆในชีวิตประจำวัน เช่น ความสูง น้ำหนัก อุณหภูมิร่างกาย การจ่ายเงินในร้านสะดวกซื้อ ราคาสินค้า และอีกมากมาย บางทีไม่สามารถบอกเป็นปริมาณที่เป็นจำนวนเต็มได้ เนื่องจากเราไม่สามารถใช้หน่วยจำนวนเต็มอย่างเดียวในการวัด ถือว่าไม่เพียงพอต่อการบอกปริมาณ จึงต้องมีการเขียนปริมาณจากการวัดออกมาในรูปแบบของ ทศนิยม และเกิดความความสัมพันธ์ของทศนิยมกับการวัด
ทศนิยมกับหน่วยการชั่ง
น้ำหนัก 1 กิโลกรัม เท่ากับ น้ำหนัก 1,000 กรัม
น้ำหนัก 100 กรัม อาจเรียกว่า น้ำหนัก 1 ขีด
น้ำหนัก 1 กิโลกรัม เท่ากับ น้ำหนัก 10 ขีด
ทศนิยมกับหน่วยการตวง
1 ลูกบาศก์เซนติเมตร เท่ากับ 1,000 หรือ 103 ลูกบาศก์มิลลิเมตร
1 ลูกบาศก์เมตร เท่ากับ 1,000,000 หรือ 106 ลูกบาศก์เซนติเมตร
1 ลูกบาศก์เซนติเมตร เท่ากับ 1 มิลลิลิตร
1 ลิตร เท่ากับ 1,000 หรือ 103 มิลลิลิตร
1 ลิตร เท่ากับ 1,000 หรือ 103 ลูกบาศก์เซนติเมตร
1,000 ลิตร เท่ากับ 1 ลูกบาศก์เมตร
ทศนิยมกับหน่วยวัดความยาว
10 มิลลิเมตร เท่ากับ 1 เซนติเมตร
100 เซนติเมตร เท่ากับ 1 เมตร
1,000 เมตร เท่ากับ 1 กิโลเมตร
ทศนิยมกับจำนวนเงิน
1 บาท = 100 สตางค์