การอ่านแผนภูมิรูปวงกลม

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้การอ่านแผนภูมิรูปวงกลมรวมทั้งส่วนประกอบต่างที่ควรรู้เกี่ยวกับแผนภูมิรูปวงกลม

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การนำเสนอข้อมูล(presentation of data) เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งต่างๆ มาจัดให้เป็น ระบบเพื่อแสดงข้อเท็จจริง รายละเอียดและข้อเปรียบเทียบต่างๆ ให้ผู้ที่สนใจในข้อมูลนั้นๆ ทราบได้โดยง่าย ชัดเจน รวดเร็วทั้งยังมีความเชื่อมั่นในข้อเท็จจริงเหล่านั้น และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยนิยมคิดข้อมูลให้อยู่ในรูปร้อยละ   

การอ่านแผนภูมิรูปวงกลม

เนื่องจากการนำเสนอข้อมูลในรูปข้อความมีลักษณะเป็นข้อความทำให้ข้อมูลที่เป็นปริมาณไม่เด่นชัดต้องใช้เวลาในการอ่านและวิเคราะห์

ส่วนการนำเสนอข้อมูลในรูปข้อความ รวมถึงตารางมีการแยกข้อมูลที่เป็นปริมาณให้เห็นเด่นชัด ถ้าต้องการนำเสนอข้อมูลที่เป็นปริมาณให้ชัดเจนน่าสนใจและสามารถเปรียบเทียบข้อมูลให้เห็นเป็นรูปภาพดูง่ายขึ้น

เรานิยมนำเสนอด้วยแผนภูมิรูปวงกลมโดยแทนปริมาณในข้อมูลทั้งหมดด้วยพื้นที่ในรูปวงกลมวงหนึ่งและแบ่งพื้นที่ในรูปวงกลมจากจุดศูนย์กลางออกเป็นส่วนของวงกลมย่อยตามส่วนของปริมาณที่นำเสนอแล้วเขียนตัวเลขแสดงข้อมูลกำกับไว้

ถ้าข้อมูลที่ต้องการนำเสนอโดยแผนภูมิรูปวงกลมเป็นปริมาณที่มีค่ามากเรานิยมแสดงข้อมูลเหล่านั้นในรูปร้อยละของปริมาณในข้อมูลทั้งหมดเพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์และให้เห็นเปรียบเทียบได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

1. ส่วนประกอบของแผนภูมิรูปวงกลม 

1.1 ชื่อเรื่อง มีไว้เพื่อบอกว่าแผนภูมิวงกลมนี้ได้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องอะไร เมื่อไร จะเขียนไว้เหนือหรือใต้แผนภูมิก็ได้

1.2 รูปวงกลม โดยแบ่งพื้นที่เป็นส่วน ๆ แสดงรายละเอียดที่สอดคล้องกับชื่อเรื่อง

 1.3 ที่มาหรือแหล่งข้อมูล เพื่อให้ทราบว่าข้อมูลนั้นได้มาจากแหล่งใด เพื่อความน่าเชื่อถือและสะดวกในการค้นคว้าต่อไป

2. การเขียนแผนภูมิรูปวงกลม

หลักการเขียนแผนภูมิรูปวงกลม มีขั้นตอนดังนี้

2.1 หาปริมาณของข้อมูลทั้งหมด  และให้ปริมาณของข้อมูลทั้งหมดแทนมุมรอบจุดศูนย์กลางของวงกลม ที่มีขนาด 360  องศา

2.2 นำปริมาณของข้อมูลแต่ละประเภท มาเทียบหาขนาดของมุมที่จุดศูนย์กลางของวงกลม

2.3 เขียนรูปวงกลม แล้วลากรัศมีของวงกลมเพื่อแบ่งพื้นที่ของรูปวงกลมเป็นส่วนๆตามขนาดของมุมที่จุดศูนย์กลางของวงกลมที่หาได้

 

หมายเหตุ 

  • ข้อมูล 1% คิดเป็นขนาดของมุมที่จุดศูนย์กลางของวงกลม 3.6 องศา
  • ไม่นิยมเขียนขนาดของมุมลงในแผนภูมิ แต่นิยมเขียนตัวเลขแสดงปริมาณจริงของข้อมูลหรือ ร้อยละของข้อมูลแต่ละประเภทกำกับไว้ เพื่อความสะดวกในการอ่านปริมาณของข้อมูลได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว

 แผนภูมิรูปวงกลมนิยมใช้เมื่อต้องการเปรียบเทียบจำนวนย่อยๆกับจำนวนทั้งหมดพร้อมกับการเปรียบเทียบจำนวนย่อยๆด้วยกันเองเหมาะแก่การนำเสนอข้อมูลจำนวนร้อยละ(เปอร์เซ็นต์)มากกว่าแผนภูมิแบบอื่นๆ สามารถแผนภูมิรูปวงกลมได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้

1.หาปริมาณของข้อมูลทั้งหมดและให้ปริมาณของข้อมูลทั้งหมดแทนมุมรอบจุดศูนย์กลางของวงกลมที่มีขนาด 360 องศา

2.นำปริมาณของข้อมูลแต่ละประเภทมาเทียบหาขนาดของมุมที่จุดศูนย์กลางของวงกลม

3.เขียนรูปวงกลม แล้วลากรัศมีของวงกลมเพื่อแบ่งพื้นที่ของรูปวงกลมเป็นส่วนๆตามขนาดของมุมที่จุดศูนย์กลางของวงกลมที่หาได้ การเขียนแผนภูมิรูปวงกลม อาจเรียกสั้น ๆว่า แผนภูมิวงกลม

ตัวอย่างการนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิรูปวงกลม

การนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิรูปวงกลมอาจมีได้หลายลักษณะเช่นอาจเป็นภาพสามมิติเพื่อข้อมูลที่นำเสนอให้เห็นชัดเจนและดูสวยงามโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการเขียนดังตัวอย่างที่จะพบต่อไปนี้

ตัวอย่าง ให้นักเรียนพิจารณาแผนภูมิต่อไปนี้แผนภูมิแสดงร้อยละของรายได้จากการจัดงานการกุศลของโรงเรียนแห่งหนึ่งในปี พ.ศ. 2553

แผนภูมิรูปวงกลม

ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

1. รายได้จากการรับบริจาคเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของการขายอาหาร

2. ถ้ารายได้ทั้งหมดจากการจัดงานเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 425,420 บาทขายบัตรชิงโชคเป็นเงินเท่าไร

3. รายได้จากการขายสินค้ากับรายได้จากการขายบัตรชิงโชครวมกันมากกว่าการรับบริจาคเท่าไรถ้ารายได้จากการขายอาหารเป็นเงิน 90,000 บาท

แผนภูมิรูปวงกลม

คลิปตัวอย่างเรื่องแผนภูมิรูปวงกลม

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น

การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น เป็นกราฟที่นิยมใช้เเสดงความเปลี่ยนเเปลงของข้อมูลของข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยเรียงข้อมูลตามลำดับก่อนหลังของเวลาที่ข้อมูลนั้น ๆ เกิดขึ้น ทำให้เห็นเเนวโน้มของข้อมูลเเละช่วยให้เห็นการเปลี่ยนเเปลงของข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงเเสดงถึงความสัมพันธ์ต่าง ๆ ของข้อมูล ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการพยากรณ์เกี่ยวกับข้อมูลนั้น ๆ ได้ ตัวอย่างรูปเเบบของกราฟเส้นที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างการนำเสนอข้อมูลเเละเเปลความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น  ตัวอย่างที่ 1 จงเขียนกราฟเเสดงจำนวนผลไม้ที่ถูกขายตามข้อมูลดังนี้ วิธีทำ เริ่มจากการสร้างเเกน x เเละเเกน y โดยให้เเกน x เป็น

การหมุน

การแปลงทางเรขาคณิตโดยการหมุน ( Rotation ) เป็นการแปลงที่จุดทุกจุดของรูปต้นแบบเคลื่อนที่ไปเป็นมุมเดียวกันรอบจุดตรึงอยู่กับที่ ที่กำหนดหรือจุดหมุน การหมุนจะหมุนทวนเข็มนาฬิกาหรือตามเข็มนาฬิกา

Suggesting Profile

การใช้ประโยคคำสั่ง คำขอร้อง และคำแนะนำง่ายๆ

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาเรียนรู้เกี่ยวกับ การใช้ประโยคคำสั่ง คำขอร้อง และคำแนะนำง่ายๆ “Easy Imperative Sentences” กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย รูปแบบและโครงสร้างประโยคคำสั่ง Imperative sentence     Imperative sentence ในรูปแบบประโยคบอกเล่าจะ ใช้ Verb base form (V.1)

สมบัติการคูณจำนวนจริง

สมบัติการคูณจำนวนจริง

จากบทความก่อนหน้านี้น้องๆได้เรียนเรื่องสมบัติการบวกจำนวนจริงไปแล้ว บทความนี้พี่ก็จะพูดถึงสมบัติการคูณจำนวนจริงซึ่งมีเนื้อหาคล้ายๆกันกับการบวก และมีเพิ่มสมบัติการแจกแจงเข้ามา เนื้อหาเหล่านี้ล้วนเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะใช้ในการเรียนเนื้อหาบทต่อๆไป เมื่อน้องๆอ่านบทความนี้แล้วน้องๆจะเรียนเนื้อหาบทต่อๆไปได้ง่ายขึ้นแน่นอนค่ะ

some any

การใช้ Some และ Any ตามด้วยคำนาม

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้การใช้ some และ any กันแบบเข้าใจง่ายๆ ถ้าพร้อมแล้วลองไปดูกันเลยครับ

Relative Clause Profile II

Relative Clause

สวัสดีค่ะนักเรียนม. 3 ที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปดู Relative clause หรือ อนุประโยคในภาษาอังกฤษ ที่ทำหน้าที่เหมือนกันกับคำคุณศัพท์ (Adjective) ซึ่งมีหน้าที่ขยายคำนามที่อยู่ข้างหน้า  และจะใช้ตามหลัง Relative Pronoun เช่น  who, whom, which, that, และ whose แต่สงสัยมั้ยคะว่าทำไมต้องเรียนเรื่องนี้ ลองดูตัวอย่างประโยคด้านล่างแล้วจะร้องอ๋อ   Relative

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1