การบวก ลบ คูณ หารจำนวนเต็ม

ารบวก-ลบ-คูณ-หารจำนวนเต็ม

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทความนี้จะทำให้น้องๆ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง การบวก ลบ คูณ หารจำนวนเต็ม มากยิ่งขึ้น ซึ่งได้รวบรวมตัวอย่างไว้อย่างหลากหลายและอธิบายไว้อย่างละเอียด โดยก่อนที่น้องๆจะเรียนเรื่องนี้จะต้องเรียนรู้เรื่อง จำนวนตรงข้าม และ ค่าสัมบูรณ์ เพื่อใช้ในการบวก ลบ จำนวนเต็ม ซึ่งมีวิธีการดังตัวอย่างต่อไปนี้

การบวกจำนวนเต็ม

การบวกจำนวนเต็มบวก โดยใช้ค่าสัมบูรณ์ ให้น้องๆทบทวนการหาค่าสัมบูรณ์ ดังนี้

|-12|=   12

|4|=   4

เนื่องจาก   ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเต็มบวก และ จำนวนเต็มลบ ถอดค่าสมบูรณ์ได้ จำนวนเต็มบวก เสมอ               

การบวกจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มบวก          

ตัวอย่างที่ 1   จงหาผลบวกของจำนวนต่อไปนี้

1)   3 + 4

วิธีทำ      3 + 4 = | 3 | + | 4 |

      = 3 + 4

      = 7

ตอบ   7

2)   3 + 9

วิธีทำ      3 + 9  = | 3 | + | 9 |

       = 3 + 9

       = 12

ตอบ  12

        การบวกจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มบวก ทำได้โดยการนำค่าสัมบูรณ์มาบวกกัน  ผลลัพธ์ที่ได้เป็นจำนวนเต็มบวก

การบวกจำนวนเต็มลบด้วยจำนวนเต็มลบ

ตัวอย่างที่ 2   จงหาผลบวกของจำนวนต่อไปนี้  

1)   (-3) + (-4)  

วิธีทำ (-3) + (-4) = -7

ตอบ  -7

2)  (-4) + (-1)

วิธีทำ  (-4) + (-1)  =  -5

ตอบ   -5

          การบวกจำนวนเต็มลบกับจำนวนเต็มลบ  ผลลัพธ์ที่ได้เป็นจำนวนเต็มลบ

การบวกจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มลบ 

ตัวอย่างที่ 3  จงหาผลบวกของจำนวนต่อไปนี้

1)   6 + (-4)  

วิธีทำ   6 + (-4) = 2

ตอบ   2

2)   2 + (-6)

วิธีทำ  2 + (-6) = -4

ตอบ   -4

3)   3 + (-2)

วิธีทำ  3 + (-2) = 1

ตอบ   1

4)   7 + (-5)

วิธีทำ  7 + (-5) = 2

ตอบ   2

การบวกจำนวนเต็มลบด้วยจำนวนเต็มบวก 

ตัวอย่างที่ 4  จงหาผลบวกของจำนวนต่อไปนี้

1)   (-2) + 5

วิธีทำ   (-2) + 5 = 3

ตอบ   3

2)  (-5) + 3

วิธีทำ   (-5) + 3 = -2

ตอบ   -2

3)  (-7) + 5

วิธีทำ   (-7) + 5 = -2

ตอบ   -2

4)  (-4) + 10

วิธีทำ   (-4) + 10 = 6

ตอบ   6

          การบวกจำนวนเต็มบวกกับจำนวนเต็มลบ ทำได้โดยการนำจำนวนที่มีค่าสัมบูรณ์มากกว่าเป็นตัวตั้ง แล้วลบด้วยจำนวนที่มีค่าสัมบูรณ์น้อยกว่า ผลลัพธ์ที่ได้เป็นจำนวนเต็มบวกหรือจำนวนเต็มลบตามจำนวนที่มีค่าสัมบูรณ์มากกว่า

การลบจำนวนเต็ม

การลบจำนวนเต็มคือการบวกด้วยจำนวนตรงข้าม เช่น จำนวนตรงข้ามของ 2 คือ -2 , จำนวนตรงข้ามของ 8 คือ -8

ตัวอย่างที่ 5  จงหาผลลบของจำนวนต่อไปนี้

1)   7 – 12

วิธีทำ   7 – 12  =  7 + (-12)

                      =  -5

ตอบ       -5

2)  (-8) – 2

วิธีทำ    (-8) – 2  =  (-8) + (-2)

                         =  -10    

ตอบ       -10

3)   3 – (-5)

วิธีทำ    3 – (-5)       =  3 + 5

                               =  8

ตอบ       8

4)   (-3) – (-8)

วิธีทำ      (-3) – (-8)   =   (-3) + 8

                                =   5    

ตอบ       5

5)   8 – 5

วิธีทำ    8 – 5  =  8 + (-5)

                     =     3

ตอบ       3

6)   (-9) – 4

วิธีทำ        (-9) – 4   =  (-9) + (-4)

                              =  -13    

ตอบ       -13

7)   6 – (-4)

วิธีทำ    6 – (-4)       =  6 + 4

                               =  10

ตอบ       10

8)   (-8) – (-2)

วิธีทำ        (-8) – (-2)   =   (-8) + 2

                                  =   -6    

ตอบ       -6

9)   (-8) – 4

วิธีทำ   (-8) – 4  =  (-8) + (-4)

                         =  -12

ตอบ      -12

10)   (-9) – (-3)

วิธีทำ   (-9) – (-3)  =  (-9) + 3

                             =  -6

ตอบ      -6

การคูณจำนวนเต็ม

การคูณจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มบวก

ตัวอย่างที่ 6  จงหาผลคูณของจำนวนเต็มต่อไปนี้

1)   3 x 2  

วิธีทำ        3 x 2  =   | 3 | x | 2 |

                         =   3 x 2

                         =   6

ตอบ     6

2)   4 x 7  

วิธีทำ        4 x 7  =   | 4 | x | 7 |

                         =   4 x 7

                         =   28

ตอบ     28

3)   4 x 10

วิธีทำ       4 x 10  =   | 4 | x | 10 |

                         =   4 x 10

                         =   40

ตอบ     40

4)   6 x 9  

วิธีทำ  6 x 9  =   | 6 | x | 9 |

                         =   6 x 9

                         =   54

ตอบ     54

       การคูณจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มบวก  คำตอบที่ได้เป็นจำนวนเต็มบวกที่มี  ค่าสัมบูรณ์เท่ากับผลคูณของค่าสัมบูรณ์ของสองจำนวนนั้น (บวกคูณบวกได้บวก)

การคูณจำนวนเต็มลบด้วยจำนวนเต็มลบ

ตัวอย่างที่ 7  จงหาผลคูณของจำนวนเต็มต่อไปนี้

1)   (-2)(-5) = 0

วิธีทำ   (-2)(-5)  =   | -2 | x | -5 |

                         =   2 x 5

                         =   10

ตอบ     10

(2)  (-7)(-3) = 0

วิธีทำ       (-7)(-3)   =  | -7 | x | -3 |

                              =   7 x 3

                              =   21

ตอบ     21

       การคูณจำนวนเต็มลบด้วยจำนวนเต็มลบ คำตอบที่ได้เป็นจำนวนเต็มบวกที่มี  ค่าสัมบูรณ์เท่ากับผลคูณของค่าสัมบูรณ์ของสองจำนวนนั้น (ลบคูณลบได้บวก)

ตัวอย่างที่ 8  จงหาผลลัพธ์ของจำนวนต่อไปนี้

1)   [(-2)(4)](-9) 

วิธีทำ   [(-2)(4)](-9)  =  (-8) (-9)

                                =   72

ตอบ     72

2)    [ 5(-7)] 6 

วิธีทำ     [ 5(-7)]6   =  (-35) 6

                              =    -210

ตอบ     -210

3)   [ 2(-5)](-4) 

วิธีทำ     [ 2(-5)](-4)  =   (-10) (-4)

                                 =   40

ตอบ     40

4)   9[ (-5)(-4)]  

วิธีทำ   9[(-5)(-4)]   =  9 x 20

                               =   180

ตอบ     180

การหารจำนวนเต็ม

ตัวอย่างที่ 9  จงหาผลหารของจำนวนเต็มต่อไปนี้

1)   36 ÷ 6

หาจำนวนเต็มที่คูณกับ 6 แล้วได้ 36

เนื่องจาก 6 x 6 = 36 

ดังนั้นจำนวนที่ต้องการคือ 6

นั่นคือ 36 ÷ 6 = 6

2)   (-54) ÷ (-9)

หาจำนวนเต็มที่คูณกับ -9 แล้วได้ -54

เนื่องจาก (-9) x 6 = -54 

ดังนั้นจำนวนที่ต้องการคือ 6

นั่นคือ (-54) ÷ (-9) = 6

         การหารจำนวนเต็ม เมื่อตัวตั้งและตัวหารเป็นจำนวนเต็มบวกทั้งคู่ หรือจำนวนเต็มลบทั้งคู่ จะได้คำตอบเป็นจำนวนเต็มบวก (ลบหารด้วยลบ หรือ บวกหารด้วยบวก ได้บวกเสมอ)

ตัวอย่างที่ 10  จงหาผลหารของจำนวนเต็มต่อไปนี้

1)   72 ÷ (-9)

หาจำนวนเต็มที่คูณกับ -9 แล้วได้ 72

เนื่องจาก (-9) x (-8) = 72 

ดังนั้นจำนวนที่ต้องการคือ -8

นั่นคือ 72 ÷ (-9) = -8

2)   (-36) ÷ 6

หาจำนวนเต็มที่คูณกับ 6 แล้วได้ -36

เนื่องจาก 6 x (-6) = -36 

ดังนั้นจำนวนที่ต้องการคือ -6

นั่นคือ (-36) ÷ 6 = -6

         การหารจำนวนเต็ม เมื่อตัวตั้งและตัวหารตัวใดตัวหนึ่งเป็นจำนวนเต็มลบ โดยที่อีกตัวหนึ่งเป็นจำนวนเต็มบวก จะได้คำตอบเป็นจำนวนเต็มลบ (ลบหารด้วยบวก หรือ บวกหารด้วยลบ ได้ลบเสมอ)

ตัวอย่างที่ 11  จงหาผลหารของจำนวนเต็มต่อไปนี้

1)   14 ÷ (-7) = -2    (หาจำนวนที่คูณกับ -7 แล้วได้ 14 คือ -2)

2)   12 ÷ 3 = 4    (หาจำนวนที่คูณกับ 3 แล้วได้ 12 คือ 4)

3)   (-21) ÷ 3 = -7    (หาจำนวนที่คูณกับ 3 แล้วได้ -21 คือ -7)

4)   (-35) ÷ (-5) = 7    (หาจำนวนที่คูณกับ -5 แล้วได้ -35 คือ 7)

5)   40 ÷ 8 = 5    (หาจำนวนที่คูณกับ 8 แล้วได้ 40 คือ 5)

สรุป
  • การบวกจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มบวก ได้เป็นจำนวนเต็มบวก
  • การบวกจำนวนเต็มลบกับจำนวนเต็มลบ ได้เป็นจำนวนเต็มลบ
  • การบวกจำนวนเต็มบวกกับจำนวนเต็มลบ ได้เป็นจำนวนเต็มบวกหรือจำนวนเต็มลบตามจำนวนที่มีค่าสัมบูรณ์มากกว่า    
  • การคูณจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มบวก  ได้เป็นจำนวนเต็มบวก (บวกคูณบวกได้บวก)
  • การคูณจำนวนเต็มลบด้วยจำนวนเต็มลบ ได้เป็นจำนวนเต็มบวก (ลบคูณลบได้บวก)
  •  การหารจำนวนเต็ม ลบหารด้วยลบ ได้บวก หรือ บวกหารด้วยบวก ได้บวก
  • การหารจำนวนเต็ม ลบหารด้วยบวก ได้ลบ หรือ บวกหารด้วยลบ ได้ลบ

คลิปวิดีโอ การบวก ลบ คูณ หารจำนวนเต็ม

        คลิปวิดีโอนี้ได้รวบรวมวิธี การบวก ลบ คูณ หารจำนวนเต็ม ไว้อย่างละเอียด ซึ่งเป็นคลิปสั้นๆ ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย แฝงไปด้วยสาระความรู้ และเทคนิค รวมถึงการอธิบาย ตัวอย่าง และสอนวิธีคิดที่จะทำให้วิชาคณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่าย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

เพลงพื้นบ้าน เรียนรู้วิถีชีวิตของผู้คนในอดีตผ่านบทเพลง

ในอดีตประเทศไทยจัดว่าเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก ประชาชนมีชีวิตที่สุขสบาย เมื่อมีเวลาว่างก็มักรวมตัวกันในชุมชนเพื่อร้องรำทำเพลง เล่นกันสนุกสนาน หรือในงานเทศกาลต่าง ๆ บทเพลงที่ใช้ร้องเล่นกันนั้นเรียกว่า เพลงพื้นบ้าน ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันไปแล้วแต่ท้องถิ่น บทเรียนในวันนี้เราจะไปพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของเพลงพื้นบ้านในแต่ละถิ่นของประเทศไทยกันว่าจะมีอะไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ   เพลงพื้นบ้าน   เพลงพื้นบ้าน หมายถึง เพลงของชาวบ้านในท้องถิ่นต่าง ๆ ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นจะมีการร้องเล่นที่แตกต่างกันออกไปตามสภาพของท้องถิ่นนั้น ๆ นิยามเล่นกันในเทศกาลต่าง ๆ หรืองานที่มาร่วมรื่นเริงกัน

เรียนรู้และเข้าใจเรื่องคำซ้อนในภาษาไทย

คำซ้อน เป็นหนึ่งในบทเรียนหลักภาษาไทยเรื่องการสร้างคำ น้อง ๆ หลายคนอาจจะเคยสับสนกับวิธีสร้างคำซ้อน ไม่รู้ว่าแบบไหนกันแน่ที่เรียกว่าคำซ้อน เพราะภาษาไทยเรานั้นก็มีคำมากมายเหลือเกิน วันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องคำซ้อนให้มากขึ้น รับรองว่าไม่ยากแน่นอนค่ะ   คำซ้อน     ความหมายของคำซ้อน   คำซ้อน คือ คำที่เกิดจากการนำคำตั้งแต่ 2 คำ ขึ้นไปมาเรียงต่อกัน โดยคำที่นำมาซ้อนกันจะต้องเป็นคำที่มีความหมายเหมือนกัน ใกล้เคียงกัน ตรงข้ามกัน หรืออาจมีเสียงที่คล้ายกัน

แยกให้ออก บอกให้ถูกสำนวน สุภาษิต คำพังเพยแตกต่างกันอย่างไร?

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคนกลับมาเข้าสู่เนื้อหาการเรียนภาษาไทยกันอีกเช่นเคย สำหรับวันนี้จะเป็นบทเรียนที่ทั้งสนุก มีสาระ และเป็นเนื้อหาที่เราต้องได้เจอบ่อย ๆ ในการเรียนภาษาไทยอย่างเรื่องสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย น้อง ๆ อาจจะเคยได้ผ่านหูผ่านตากันมาบ้างเพราะเป็นบทเรียนที่ได้เริ่มเรียนตั้งแต่ช่วงประถมศึกษาแล้ว แต่วันนี้เราจะมาเรียนรู้ในเชิงลึกขึ้นไปอีกเกี่ยวกับวิธีการสังเกตระหว่างสำนวน สุภาษิต และคำพังเพยนั้นมีความเหมือน หรือแตกต่างกันอย่างไร มีตัวอย่างประกอบให้ทุกคนได้ดูด้วย ถ้าน้อง ๆ คนไหนพร้อมแล้วก็ไปลุยกับเนื้อหาของวันนี้ได้เลย   สำนวน สำนวน

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก

ศึกษาตัวบทและคุณค่าที่อยู่ใน บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก เป็นบทละครพูดเรื่องแรกของไทยที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ประพันธ์ โดยมุ่งหวังให้ละครเป็นตัวช่วยกล่อมเกลาจิตใจประชาชน แต่นอกจากตัวบทจะมีความโดดเด่นจนได้รับความนิยมอย่างมากแล้ว ยังแฝงแนวคิดมากมายไว้ในเรื่อง จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปเรียนรู้เรื่องพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ใน บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก     ตัวบทที่ 1    พระยาภักดี : ใครวะ อ้ายคำ : อ้างว่าเป็นเกลอเก่าของใต้เท้า

สอบเข้าม.4 MWIT อยากสอบติดต้องเตรียมตัวอย่างไร

สอบเข้าม.4 มหิดลวิทยานุสรณ์ สวัสดีค่ะน้อง ๆ ทุกคน ใครที่กำลังหาข้อมูลเพื่อเตรียมตัวสอบเข้า ม.4 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์กันอยู่บ้าง?  วันนี้พี่แอดมิน NockAcademy ได้ทำการสรุปขั้นตอนการสมัครและการเตรียมตัวสอบมาให้แล้ว! มีรายละเอียดอะไรบ้างไปดูกันเลย… โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์หรือที่เราเรียนสั้น ๆ ว่า MWIT เป็นโรงเรียนที่บริหารและจัดการการเรียนการสอนในด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์โดยมุ่งเน้นไปที่ความเป็นเลิศในวิชาดังกล่าว และค้นหานักเรียนที่มีศักยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สูงเพื่อพัฒนาศักยภาพได้อย่างเต็มประสิทธิภาพในการเรียนการสอน ซึ่งช่วงการรับสมัครจะอยู่ในช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปี ผู้ที่ต้องการสมัครสอบต้องมีคุณสมบัติดังนี้ คุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกเข้า ม.4 1. เป็นผู้ที่มีความต้องการเข้าเรียนในโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์และต้องการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์

ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ ซึ่งได้กล่าวถึงขั้นตอนและวิธีการหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ และยกตัวอย่างประกอบ อธิบายอย่างละเอียด ซึ่งก่อนจะเรียนเรื่อง ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์น้องๆสามารถทบทวน การทดลองสุ่มและเหตุการณ์ ได้ที่  ⇒⇒ การทดลองสุ่มและเหตุการณ์ ⇐⇐ ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ (probability) คือ  อัตราส่วนระหว่างจำนวนเหตุการณ์ที่สนใจ (n(E)) กับจำนวนแซมเปิลสเปซ (n(S)) ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้พร้อม ๆ กัน ใช้สัญลักษณ์ “P(E)”  แทนความน่าจะเป็นของการเกิดเหตุการณ์ที่สนใจ โดยที่ 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1