มาสำรวจรอบๆโรงเรียนกันดีกว่า: การใช้ There is/There are แบบเข้าใจง่ายๆ

เชื่อว่าช่วงนี้น้องๆ น่าจะเปิดเทอมกันมาได้สักพักนึงแล้ว แล้วน้องๆ เคยมีเวลาไปสำรวจรอบๆ โรงเรียนของเรากันรึยังเอ่ย? วันนี้พี่จะมาบอกประโยคง่ายๆ ที่ใช้พูดเวลาเจอสิ่งที่น่าสนใจรอบๆโรงเรียนของเรากัน

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ทำความรู้จักกับ There is/There are

พื้นฐานที่ควรมีมาก่อน: Singular/Plural Noun, Countable/Uncountable Noun

There is/There are ถ้าแปลเป็นไทยให้เข้าใจง่ายๆ นั้นจะแปลว่า “มี” ใช้บอกว่ามีสิ่งนั้นอยู่ตรงนั้น มีสิ่งนี้อยู่ตรงนี้ แต่เอ๊ะ!…เราจะเลือกใช้ There is หรือ There are อย่างไรดีล่ะ? น้องๆ ลองดูประโยคตัวอย่างกันเลย

There is a teacher in a classroom.

มีครูคนนึงอยู่ในห้องเรียน

There are students in a cafeteria.

มีเด็กนักเรียน(หลายคน)อยู่ในโรงอาหาร

ถ้าน้องๆ สังเกตจะเห็นว่า There is จะตามด้วยคน 1 คน สิ่ง 1 สิ่ง หรืออะไรที่มีอย่างเดียวเท่านั้น (ในตัวอย่างคือ ครู 1 คน) ซึ่งเราจะเรียกสิ่งนั้นว่าเป็น Singular Noun หรือ คำนามเอกพจน์

ในทางกลับกัน There are จะตามด้วยคนหลายๆคน ของหลายๆอย่าง (ในตัวอย่างคือ เด็กนักเรียนหลายคน) ซึ่งเราเรียกสิ่งนั้นว่าเป็น Plural Noun หรือ คำนามพหูพจน์นั่นเอง

และน้องๆ ทราบหรือไม่ว่า There is นั้นใช้กับคำนามที่นับไม่ได้ (Uncountable Noun) ด้วยนะ (แน่ล่ะ! เพราะว่ามันนับไม่ได้ มันจึงมีค่าเป็น 1 อยู่ตลอดเวลาไง) เช่น

There is rice in my plate.

มีข้าวอยู่ในจานของฉัน

There is milk in a school fridge.

มีนมอยู่ในตู้เย็นของโรงเรียน

*ถ้าน้องๆ คนไหนยังไม่มั่นใจเรื่อง Countable/Uncountable Noun อย่าลืมกลับไปทบทวนกันด้วยนะ 🙂

“There is”

 

“There are”

 

ย่อ There is ให้พูดง่ายๆ สบายปาก

 

ในการพูด There is ในชีวิตจริงนั้น น้องๆ สามารถย่อประโยคให้สั้นลงได้ด้วยนะ ซึ่งการย่อแบบนี้เรียกว่า Contractions (ไม่จำเป็นต้องจำชื่อเรียกมันหรอกนะ)

สำหรับคำย่อของ There is คือ There’s ออกเสียงเหมือนคำว่า There เลย แค่ใส่เสียง s ต่อท้ายแค่นั้นเอง เช่น

There is a burger at a food stall.

มีเบอร์เกอร์ที่ซุ้มขายอาหารด้วยล่ะ (จะแปลว่า “ที่ซุ้มขายอาหารมีเบอร์เกอร์ด้วยล่ะ” ก็ได้นะ)

ย่อได้เป็น

There’s a burger at a food stall.

สำหรับ There are นั้นเราไม่สามารถย่อได้นะ

*การใช้รูป There’s ที่ย่อแบบนี้นิยมใช้ในภาษาพูด (Spoken Language) เท่านั้นนะ ถ้าน้องๆ เอาไปเขียนเรียงความส่งคุณครูให้เขียน There is แบบเต็มๆ ตลอดนะครับ 🙂

 

There’s a burger.

 

แล้วถ้า “ไม่มี” ล่ะ?: Negative Form

 

เรารู้กันไปแล้วใช่ไหมครับว่า There is/There are แปลว่า “มี” แล้วถ้าน้องๆ อยากบอกว่า “ไม่มี” ล่ะ สามารถพูดอย่างไรได้บ้าง? ง่ายมากครับ แค่เติม not ไปข้างหลัง is/are เท่านั้นเอง เช่น

There is not a TV in the class.

ไม่มีทีวีอยู่ในชั้นเรียน (หรือ ในชั้นเรียนไม่มีทีวี)

There is not a dog in school.

ไม่มีสุนัขอยู่ในโรงเรียน (หรือ ในโรงเรียนไม่มีสุนัข)

There are not students in the library.

ไม่มีนักเรียนอยู่ในห้องสมุด (หรือ ในห้องสมุดไม่มีนักเรียน)

There are not parents in the building.

ไม่มีผู้ปกครองอยู่ในอาคาร

ซึ่งในภาษาพูดเราสามารถย่อประโยคปฎิเสธของ There is/There are ได้ดังนี้ครับ

There isn’t a TV in the class. (There is not = There isn’t)

There aren’t parents in the building. (There are not = There aren’t)

Tips: เราสามารถใช้ any ตามหลัง there are not ได้ เพื่อแสดงให้เห็นว่า “ไม่มีสิ่งนั้นเลย” เช่น There are not any students in school on Sunday. (ไม่มีนักเรียนที่โรงเรียนในวันอาทิตย์เลย) หรือใช้กับ Uncountable Noun เช่น There is not any grass in the football field. (ไม่มีหญ้าในสนามฟุตบอลเลย)

There’s a TV.

 

There isn’t a TV.

 

มีถั่วไหม?: Question Form

 

ถ้าเราต้องการถามใครสักคนว่า มี…ไหม? เราสามารถใช้โครงสร้าง There is/There are ถามได้ โดยย้าย Is/Are มาไว้ด้านหน้าประโยค เช่น

Is there a toilet in the building?

มีห้องน้ำในตัวอาคารไหม?

Is there a computer in the library?

มีคอมพิวเตอร์ในห้องสมุดไหม?

(Is there สามารถตอบได้ว่า Yes, there is. หรือ No, there isn’t)

และถ้าเป็นคำนามพหูพจน์และคำนามที่นับไม่ได้ ให้ใช้ any ด้วยเสมอ เช่น

Are there any teachers on the second floor?

มีครูอยู่บนชั้น 2 บ้างไหม?

Is there any juice for students?

มีน้ำผลไม้สำหรับนักเรียนบ้างไหม?

Are there any children in the playground?

มีเด็กๆอยู่ในสนามเด็กเล่นบ้างไหม?

Is there any sugar left?

มีน้ำตาลเหลือบ้างไหม?

(Are there สามารถตอบได้ว่า Yes, there are. หรือ No, there aren’t)

Are there any beans?

 

มีกี่อันกันนะ?: How many … are there?

 

หากน้องๆ ต้องการถามจำนวนของสิ่งนั้นๆว่ามีกี่อัน กี่ชิ้น กี่คน น้องๆ สามารถใช้โครงสร้าง

How many + plural noun + are there?

*ใช้กับคำนามที่นับได้ที่เป็นพหูพจน์เท่านั้น (น้องๆ ยังจำได้ใช่ไหมว่าคำนามที่นับไม่ได้มีค่าเป็น 1 เสมอ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องถามว่ามีเท่าไหร่นั่นเอง)

How many students are there in this room?

ในห้องนี้มีนักเรียนกี่คน?

How many tables are there in the cafeteria?

ในโรงอาหารมีโต๊ะกี่ตัว?

How many food stalls are there around the school?

มีรถเข็นขายอาหารกี่ร้านรอบๆโรงเรียน?

A: How many people are there?

B: There are five people.

 

เห็นไหมครับว่าการใช้ There is/There are นั้นง่ายมากๆ ใช้บอกได้ว่าตรงนั้นมีอะไร ตรงนู้นมีอะไร หรือถามว่ามีอะไรอยู่ตรงนั้นไหม? มีจำนวนเท่าไหร่? ประโยชน์ในการใช้หลากหลายมากๆ ครับ ว่างๆ ลองเดินสำรวจรอบๆ โรงเรียนและฝึกพูดกับคุณครูหรือเพื่อนๆ กันได้นะครับ 🙂

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
เรียนพิเศษออนไลน์ ดูได้ทั้ง 4 รายวิชา - NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ

ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ เรียนรู้บทร้อยกรองจากพุทธศาสนสุภาษิต

สุภาษิต หมายถึงถ้อยคำที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านาน และมีความหมายเป็นคติสอนใจ บางสุภาษิตพูดนำมาแต่งเป็นบทร้อยกรองเพื่อใช้เป็นบทอาขยานให้กับเด็ก ๆ ได้เรียน ได้ฝึกอ่าน รวมไปถึงให้เรียนรู้ข้อคิดจากสุภาษิตได้ง่ายมากขึ้น บทที่เราจะได้เรียนกันในวันนี้คือ ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความเป็นมา ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ     ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญเป็นบทร้อยกรองที่ถูกประพันธ์ขึ้นโดยพระยาอุปกิตศิลปสาร แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ 1 บท และกาพย์ยานี 11

การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

จากบทความที่ผ่านมาเราเรียนเรื่องการให้เหตุผลแบบนิรนัย บทความนี้เป็นเนื้อหาเรื่องการตรวจสอบความสมเหตุสมผลซึ่งมักจะออกสอบทั้งในโรงเรียนและ O-Net หลังจากน้องๆได้อ่านบทความนี้แล้วน้องๆจะทำข้อสอบได้แน่นอนค่ะ

M3 Past Passive

Past Passive คืออะไร

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.3 ทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง Past Passive กันค่ะ ก่อนอื่นจะต้องไปรู้ความหมายกันก่อนน๊าว่ามันคืออะไร พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด   Past Passive คืออะไร   Past หมายถึง อดีต ส่วน Passive มาจากโครงสร้างของ Passive voice (ประโยคที่ประธานถูกกระทำ เน้นกรรม) เมื่อนำมารวมกันแล้วPast

ฟังก์ชันประกอบ

ฟังก์ชันประกอบ

ฟังก์ชันประกอบ ฟังก์ชันประกอบ คือฟังก์ชันที่เกิดจากการหาค่าฟังก์ชันที่ส่งจากเซต A ไปเซต C โดยที่ f คือฟังก์ชันที่ส่งจาก A ไปยัง B และ g เป็นฟังก์ชันที่ส่งจาก B ไปยัง C เราเรียกฟังก์ชันที่ส่งจาก A ไป C นี้ว่า gof  จากรูป

เส้นตรง

เส้นตรง

เส้นตรง เส้นตรง มีสมการรูปแบบทั่วไปคือ Ax + By + C = 0 และสมการรูปแบบมาตรฐานของเส้นตรงจะเขียนอยู่ในรูป y = mx + C ซึ่งจะอยู่ในหัวข้อ “สมการเส้นตรง” เส้นตรงหนึ่งเส้นประกอบไปด้วยจุดหลายจุด ซึ่งจุดเหล่านี้จะทำให้เราสามารถหาความชันได้ และเมื่อเราทราบความชันก็จะสามารถหาสมการเส้นตรงได้นั่นเอง ความชันของเส้นตรง ความชันของเส้นตรง ส่วนใหญ่นิยมใช้ m

เมทริกซ์

เมทริกซ์ และเมทริกซ์สลับเปลี่ยน

เมทริกซ์ เมทริกซ์ (Matrix) คือตารางสี่เหลี่ยมที่บรรจุตัวเลขหรือตัวแปร สามารถนำมาบวก ลบ คูณกันได้ เราสามารถใช้เมทริกซ์ในการการแก้ระบบสมการเชิงเส้นได้ซึ่งจะสะดวกกว่าการแก้แบบกำจัดตัวแปรสำหรับสมการที่มากกว่า 2 ตัวแปร ตัวอย่างการเขียนเมทริกซ์ เรียกว่าเมทริกซ์มิติ 3×3 ซึ่ง 3 ตัวหน้าคือ จำนวนแถว 3 ตัวหลังคือ จำนวนหลัก ซึ่งเราจะเรียกแถวในแนวนอนว่า แถว และเรียกแถวในแนวตั้งว่า หลัก และจากเมทริกซ์ข้างต้นจะได้ว่า

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1