I Should Have Done It! โครงสร้างประโยค “รู้งี้”

สวัสดีน้องๆ ม. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับหลักไวยากรณ์เล็กๆ น้อยๆ ที่ได้ใช้ประโยชน์มากๆ นั่นคือเรื่องการใช้ should have + past participle นั่นเองครับ จะเป็นอย่างไรลองไปดูกันเลยครับ
should have

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Should Have + Past Participle

ในภาษาอังกฤษเราจะใช้โครงสร้าง should have + past participle (กริยาช่อง 3) ในการพูดถึงเรื่องราวในอดีตที่ “ไม่ได้เกิดขึ้นจริง” บางที่อาจจะบอกว่า “ใช้เล่าถึงอดีตที่ตรงข้ามกับความจริงในปัจจุบัน” ซึ่งโครงสร้างนี้มีความหมายว่า “ควรจะ” หรือ “น่าจะ” ใช้แสดงอารมณ์เสียดาย หรือผิดหวังที่เราไม่ได้ทำสิ่งนั้นๆ นั่นเองครับ ซึ่งโครงสร้างของมันก็คือ

should have done

ซึ่งเราสามารถเขียนแบบย่อได้เป็น should’ve

 

ตัวอย่างการใช้ในประโยคบอกเล่า

I should’ve done that.
= (ในตอนนั้น)ฉันน่าจะทำมัน

I should’ve called you last night.
(ฉันน่าจะโทรหาเธอเมื่อคืนนี้)
= ความจริงคือไม่ได้โทรและรู้สึกผิด

You should’ve told me beforehand.
(คุณน่าจะบอกฉันก่อนหน้านี้นะ)
= ความจริงคือไม่ได้บอก

 

Shouldn’t Have + Past Participle

หากเราต้องการทำเป็นประโยคปฏิเสธ เราสามารถเติม not ไว้ข้างหลัง should ได้เลยครับ และสามารถเขียนย่อได้เป็น shouldn’t ซึ่งจะแปลว่า “ไม่น่า…เลย” และเราสามารถเขียนโครงสร้างของมันได้ดังนี้

shouldn't have done

 

ตัวอย่างการใช้แบบประโยคปฏิเสธ

I shouldn’t have done that.
(ฉันไม่น่าทำมันเลย)
= ความจริงคือทำลงไปแล้ว

You shouldn’t have called me. I was in an important meeting.
(คุณไม่ควรโทรหาฉันเลย ตอนนั้นฉันกำลังมีประชุมสำคัญ)
= สามารถอนุมานได้ว่าเขาโทรมาตอนที่เธอกำลังอยู่ในที่ประชุม

She shouldn’t have bought that bag. It’s on sale for 90% today.
(เธอไม่น่าซื้อกระเป๋าใบนั้นเลย ตอนนี้มันกำลังเซลล์ 90%)
= ความจริงคือเธอซื้อกระเป๋ามาแล้วในราคาเต็ม

Mike shouldn’t have left you alone in the cinema.
(ไมค์ไม่ควรทิ้งเธอไว้ในโรงภาพยนตร์คนเดียวเลย)
= ความจริงคือเขาทิ้งเธอไว้ในโรงภาพยนตร์คนเดียว

 

น้องๆ จะเห็นว่าเรื่อง Should Have + Past Participle นั้นเป็นไวยากรณ์เรื่องเล็กๆ แต่สำคัญและได้ใช้บ่อยๆ มากในชีวิตประจำวัน เพราะบางครั้งเราก็เผลอทำอะไรลงไปแล้วค่อยมานึกเสียดาย หรือรู้สึกผิดทีหลังอยู่บ่อยๆ เลยล่ะครับ แต่ถ้าไม่อยากรู้สึกเสียดายทีหลังน้องๆ สามารถตั้งใจดูวิดีโอเรื่องนี้เพิ่มเติมได้ด้านล่างนี้เลยครับ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การให้เหตุผลแบบนิรนัย

การให้เหตุผลแบบนิรนัย

จากบทความที่แล้วเราได้เรียนเรื่องการให้เหตุผลแบบอุปนัยไปแล้ว บทความนี้พี่จะพูดถึงการให้เหตผลแบบนิรนัย ซึ่งแน่นอนว่ามักจะเจอในข้อสอบ O-Net แต่น้องๆไม่ต้องกังวลว่าจะทำไม่ได้ หากน้องได้อ่านบทความนี้แล้วน้องๆจะทำข้อสอบเกี่ยวกับการให้เหตุผลได้แน่นอนค่ะ

โวหารภาพพจน์ กลวิธีการสร้างจินตภาพที่ลึกซึ้งและสวยงาม

การสร้างจินตภาพอย่างการใช้ โวหารภาพพจน์ เป็นกลวิธีในการใช้ภาษาอีกอย่างหนึ่ง เลือกใช้ถ้อยคำเพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพ หรืออาจเรียกว่าเป็นการแทนภาพนั่นเอง น้อง ๆ คงจะพบเรื่องของโวหารภาพพจน์ได้บ่อย ๆ เวลาเรียนเรื่องวรรณคดี บทเรียนในวันนี้เลยจะพาไปทำความรู้จักกับภาพพจน์ต่าง ๆ ให้มากขึ้นว่ามีอะไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   ความหมายของภาพพจน์     ภาพพจน์ คือถ้อยคำที่เป็นสำนวนโวหารทำให้นึกเห็นภาพ ถ้อยคำที่เรียบเรียงอย่างมีชั้นเชิงเป็นโวหาร มีเจตนาให้มีประสิทธิผลต่อความคิด เป็นกลวิธีทางภาษาที่มุ่งให้เกิดความรู้ความเข้าใจจินตนาการ เน้นให้เกิดอรรถรสและสุนทรีย์ในการสื่อสารที่ลึกซึ้งกว่าการบอกเล่าแบบตรงไปตรงมา  

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ความเป็นมาและเรื่องย่อ

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร   พงศาวดาร คือเรื่องราวความเป็นมาของเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับประเทศชาติ เรื่องนี้น้อง ๆ ก็คงจะเคยได้ยินและรู้จักกันมาพอสมควรแล้วใช่ไหมคะ แต่น้อง ๆ เคยได้ยินเรื่อง โคลงภาพพระราชพงศาวดาร กันมาบ้างหรือเปล่าคะว่าคืออะไร ทำไมถึงมีทั้งโคลง ภาพ และพงศาวดารในเรื่องเดียวกันได้ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ย้อนอดีตไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของโคลงภาพพระราชพงศาวดาร วรรณคดีไทยที่ทรงคุณค่าอีกเรื่องหนึ่ง ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ ประวัติความเป็นมาและจุดประสงค์ในการแต่งโคลงภาพพระราชพงศาวดาร    

สำนวนนี้มีที่มา เรียนรู้ความหมายและที่มาของ สำนวนไทย

สำนวนไทย เป็นสิ่งที่คนรุ่นก่อนใช้ความคิดและประสบการณ์สั่งสอนลูกหลาน เกิดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมด้านคติธรรมที่แสดงถึงความรุ่งเรืองทางภาษาของประเทศไทย บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้สำนวนไทยที่เห็นกันบ่อย ๆ แต่หลายคนอาจจะใช้ไม่ถูกต้อง ไม่รู้ความหมายที่ถูกต้อง พร้อมทั้งเรียนรู้ที่มาของสำนวนด้วย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้กันเลยค่ะ   สำนวนไทย   สำนวนไทย หมายถึง ถ้อยคำที่คมคายซึ่งเป็นถ้อยคำที่ใช้พูดสื่อสารกันโดยมีความหมายที่กว้างและลึกซึ้ง เป็นความหมายโดยนัย ไม่ได้แปลตรงตัวเพื่อใช้เป็นคำพูดในเชิงสั่งสอน เตือนสติ มุ่งสอนใจหรือชี้แนะให้ประพฤติปฏิบัติตาม   ที่มาของสำนวนไทย   สำนวนไทยมีมูลเหตุและที่มาของการเกิดหลายประการ

มารยาทในการพูด

มารยาทในการพูดที่ดีมีอะไรบ้างที่เราควรรู้

บทนำ   สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน กลับเข้ามาสู่เนื้อหาสาระดี ๆ อีกครั้ง โดยวันนี้จะเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับมารยาทในการพูด และจะต่อจากเนื้อหาเมื่อครั้งที่แล้วอย่างเรื่องมารยาทในการฟัง ซึ่งถือเป็นบทเรียนที่มีประโยชน์มาก ๆ เมื่อเราต้องไปพูดต่อหน้าที่สาธารณะ หรือพูดคุยสนทนากับเพื่อน ๆ คุณครู พ่อแม่ของเรา เพื่อให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ เราก็ควรเรียนรู้มารยาทที่ดีในการพูดไปด้วย ถ้าน้อง ๆ ทุกคนพร้อมแล้วมาดูกันว่าวันนี้จะมีเนื้อหาอะไรมาฝากกันบ้าง     การพูด

E6 This, That, These, Those

This, That, These, Those

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.6 ที่น่ารักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง This, That, These, Those กันค่ะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจ้า   เข้าสู่บทเรียน   ก่อนที่นักเรียนจะไปเรียนเรื่อง การใช้  This, That, These, Those ครูอยากจะให้ลองดูตัวอย่างของการใช้ This, That, These, Those (Determiners) และ This,

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1