เสียงสระในภาษาไทย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

เสียงในภาษาไทยมีทั้งหมด 3  เสียงคือพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ จากที่เราได้ทำความเข้าใจในเรื่องเสียงพยัญชนะกันไปแล้ว วันนี้เราจะมาเรียนรู้อีกเสียงหนึ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กันก็คือเรื่องเสียงสระนั่นเองค่ะ เสียงสระจะมีกี่ชนิด แบ่งเป็นชนิดใดบ้าง ไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

 

เสียงสระ

เสียงสระเป็นเสียงที่เกิดจากลมภายในปอด เปล่งออกมาโดยใช้การเคลื่อนไหวของลิ้นและริมฝีปาก เสียงที่ได้จะแบ่งออกได้ดังนี้ค่ะ

สระเดี่ยว

สระเดี่ยวหรือสระแท้ มีทั้งหมด 18 เสียง เสียงสั้นและเสียงยาวจับกันได้ 9 คู่

การออกเสียงสระเดี่ยว

การออกเสียงสระเดี่ยวแบ่งได้ตามตำแหน่งของลิ้นในการออกเสียง และรูปของริมฝีปาก

  1. การออกเสียงสระหน้า ลิ้นอยู่ในตำแหน่งหน้า ริมฝีปากรี สระในกลุ่มนี้ได้แก่ สระอิ สระอี สระเอะ สระเอ สระแอะ และ สระแอ
  2. การออกเสียงสระกลาง ลิ้นจะอยู่ในตำแหน่งหลังค่อยไปทางกลาง ริมฝีปากรี สระในกลุ่มนี้ได้แก่ สระอึ สระอือ สระเออะ สระเออ สระอะ และ สระอา
  3. การออกเสียงสระหลัง ลิ้นจะอยู่ในตำแหน่งหลัง ริมฝีปากห่อ สระในกลุ่มนี้ได้แก่ สระอุ สระอู สระโอะ สระโอ สระเอาะ และ สระออ

สระประสมหรือสระเลื่อน

คือสระที่ประสมระหว่างหนึ่งกับอีกสระหนึ่งเพื่อให้เป็นเสียงใหม่ มีทั้งหมด 3 เสียง ได้แก่

เอีย  เกิดจาก สระอี + สระอา

เอือ เกิดจาก สระอือ + สระอา

อัว เกิดจาก สระอู + สระอา

ทริคการจำ

 

สระประสม เอีย เอือ อัว ทั้งหมดเป็นสระเสียงยาว ส่วนถ้าเป็นสระเสียงสั้นอย่าง

สระเอียะ  เกิดจาก สระอิ+สระอะ

สระเอือะ เกิดจาก สระอึ+สระอะ

สระอัวะ เกิดจาก สระอุ + สระอะ

คำที่มีสระเหล่านี้ในภาษาไทยมีน้อย ส่วนใหญ่เป็นคำที่ไม่มีความหมาย ใช้สำหรับการเลียนเสียงบางอย่างเท่านั้น ถ้าเปลี่ยนให้เป็นเสียงยาวความหมายก็ไม่ต่างกัน ทำให้สระประสมเสียงสั้นถูกนับรวมให้เป็นพวกเดียวกับสระประสมเสียงยาวนั่นเองค่ะ

 

ข้อสังเกต

  • การดูสระต้องดูจากเสียง ไม่ดูจากรูป
  • อำ ใอ ไอ นับเป็นสระอะที่มีพยัญชนะร่วมด้วย

 

การแบ่งเสียงสระในอดีตกับปัจจุบันแตกต่างกันอย่างไร

 

เนื่องจากปัจจุบันมีการปรับปรุงตำราและใช้หลักเกณฑ์ใหม่ในการแบ่ง เพื่อไม่ให้สับสน เรามาดูข้อเปรียบเทียบระหว่างการแบ่งเสียงสระแบบเก่ากับแบบใหม่กันดีกว่าค่ะ

1. การแบ่งเสียงสระแบบเก่า จะแบ่งออกเป็น 32 เสียง มีสระเดี่ยว 24 เสียงและสระเกิน 8 แต่ในปัจจุบันเราตัดสระเกินออกแล้วแบ่งเป็นสระเดี่ยว 18 เสียง สระประสม 3 เสียง รวมกันเป็น 21 เสียง

2. แบบเดิมจะนับสระเสียงสั้นกับเสียงยาวว่ามี 24 แบ่งเป็น 12 คู่ แต่แบบใหม่จะนับเป็น 18 เสียง 9 คู่ โดยแยกสระเอีย สระเอือ สระอัวออกมาให้เป็นสระประสมแต่ไม่แยกเสียงสระสั้นเป็นคู่เหมือนสระเดี่ยว ทำให้สระประสมมี 3 เสียงคือ สระเอีย สระเอือ และสระอัว

3. การแบ่งเสียงแบบเดิมจะนับสระเกินเข้าไปด้วย แต่ในปัจจุบันสระเกินถูกนับเป็นพยางค์ที่มาจากการรวมกันของสระกับตัวสะกด แต่ยังมียัง 8 เสียงเหมือนเดิมคือ อำ ไอ ใอ เอา ฤ ฤา ฦ ฦา

 

แม้จำนวนสระจะดูเหมือนเยอะจนอาจทำให้น้อง ๆ หลายคนสับสน แต่ถ้าลองศึกษาดูแล้วจะรู้ว่ามีวิธีจำที่ไม่ยากเลยค่ะ แต่ถ้าน้อง ๆ คนไหนยังไม่เข้าใจเรื่องเสียงสระมากพอ อยากจะเห็นตัวอย่างมากกว่านี้เผื่อว่าไปเจอในข้อสอบ ก็ตามไปดูคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มได้เลยค่ะ ในคลิปจะมีการยกตัวอย่างเพิ่มเติมและอธิบายไว้อย่างละเอียดเพื่อให้น้อง ๆ สามารถเข้าใจโจทย์เวลาลงสนามจริงได้ ไปดูกันเลยค่ะ

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

วิธีใช้คำราชาศัพท์ ใช้อย่างไรให้เหมาะสม

ราชาศัพท์ เป็นถ้อยคำที่ใช้พูดกับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ พระภิกษุสงฆ์ รวมถึงคำสุภาพที่ใช้กับคนทั่วไป การใช้คำราชาศัพท์ เป็นเรื่องที่มีปัญหาอยู่มาก เพราะการใช้ที่ไม่ถูกต้อง บทเรียนที่เราจะได้เรียนรู้กันในวันนี้น้อง ๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ วิธีใช้คำราชาศัพท์ สำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ทั้งคำนาม และคำสรรพนาม ว่าเราควรแทนตัวเองหรือพระองค์อย่างไรให้ถูกต้อง ถ้าอยากรู้แล้ว ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   ลักษณะการใช้คำราชาศัพท์   คำราชาศัพท์มีไว้ใช้สำหรับคนธรรมดาทั่วไปพูดกับผู้ที่มีศักดิ์สูงกว่าอย่าง กษัตริย์ พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์

อยากเขียนเก่ง เขียนได้ดี ต้องเรียนรู้วิธีใช้ภาษาเขียนให้ถูกต้อง

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน สำหรับวันนี้เราจะมาเข้าสู่บทเรียนภาษาไทยในเรื่องของระดับภาษา แต่จะเฉพาะเจาะจงไปที่การใช้ภาษาเขียนให้ถูกต้อง เหมาะสม เพื่อให้น้อง ๆ ทุกคนนำไปใช้ในการเขียนข้อสอบ หรือเขียนรายงานเรื่องต่าง ๆ ได้เหมาะสมมากขึ้น เพราะด้วยความที่ภาษาเขียนเป็นภาษาที่มีแบบแผน มีหลักในการเลือกใช้ เราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาเขียนอย่างละเอียด ถ้าน้อง ๆ ทุกคนอยากรู้แล้วว่าวันนี้มีบทเรียนอะไรที่น่าสนใจบ้างต้องมาดูไปพร้อม ๆ กัน   ภาษาเขียน คืออะไร?  

การชักชวน และแนะนำในภาษาอังกฤษ

วิธีการพูดเสนอแนะ ชักชวน และแนะนำในภาษาอังกฤษ

  สวัสดีค่ะนักเรียน ม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูวิธีการพูดให้ข้อเสนอแนะ ชักชวน และแนะนำกันค่ะซึ่งในการเสนอแนะ หรือชักชวนนั้น ผู้พูดจะแสดงความคิดเห็นเสนอแนะ เพื่อให้กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยกัน มีการใช้ภาษาหลายระดับ และใช้รูปประโยคหลายชนิด เช่นเดียวกับการพูดในความหมายต่างๆ ที่ผ่านมาเราจึงต้องใช้รูปประโยคต่างๆ เช่นประโยคบอกเล่า คำสั่ง ชักชวน เพื่อให้ผู้ฟังทำตาม รวมถึงเทคนิคการตอบรับและปฏิเสธ ดังในตัวอย่างรูปแบบประโยคด้านล่างนะคะ   1. ประโยคบอกเล่า (Statement)  

การแยกตัวประกอบ

การแยกตัวประกอบ

การแยกตัวประกอบ การแยกตัวประกอบ ของจำนวนนับใด หมายถึง การเขียนจำนวนนับนั้นในรูปการคูณของ ตัวประกอบเฉพาะ  ซึ่งในบทความนี้ได้นำเสนอวิธีการ รวมถึง โจทย์การแยกตัวประกอบ ไว้มากมาย น้องๆสามารถศึกษาเรียนรู้ได้ดวยตนเองโดยที่มีวิธีการแยกตัวประกอบ 2 วิธี ดังนี้ การแยกตัวประกอบ  โดยการคูณ  การแยกตัวประกอบ  โดยการหาร (หารสั้น)         ก่อนอื่นน้องๆมาทบทวน ความหมายของตัวประกอบและจำนวนเฉพาะ

การเก็บรวบรวมข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำคัญมากทางสถิติ เพื่อใช้ในการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ โดยข้อมูลที่ได้มีหลากหลายรูปแบบ อาจจะเป็นตัวเลข ข้อความ หรือรูปภาพ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ตอบสนองวัตถุประสงค์หรือเป็นเรื่องที่เราสนใจ โดยสามารถจำแนกข้อมูลได้ตามลักษณะและแหล่งที่มาของข้อมูล ได้แก่ จำแนกตามลักษณะของข้อมูล แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) คือ ข้อมูลที่วัดค่าได้ แสดงเป็นตัวเลข ซึ่งสามารถนำมาใช้เปรียบเทียบกันได้โดยตรง เช่น จำนวนบุตรในครอบครัว,

วัฒนธรรมกับภาษา

วัฒนธรรมกับภาษา ความสัมพันธ์ของสองสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น

มนุษย์ก่อให้เกิดภาษา และภาษาก็ก่อให้เกิดวัฒนธรรม น้อง ๆ สงสัยกันหรือไม่คะว่ามนุษย์ วัฒนธรรมกับภาษา เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกันได้อย่างไร บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงเรื่องราวที่ว่านี่กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้กันเลยค่ะ   มนุษย์ วัฒนธรรมกับภาษา   วัฒนธรรม คืออะไร วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น รากศัพท์ในภาษาละตินมีความหมายว่าการเพาะปลูก แต่ไม่ได้ใช้แค่ในเชิงเกษตรกรรม แต่จะรวมไปถึงการปลูกฝังในด้านต่าง ๆ ทั้งให้การศึกษา ความเคารพ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลง

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1