เรียนรู้เรื่อง ส่วนประกอบของประโยค

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ประโยค คือถ้อยคำต่าง ๆ ที่นำมาเรียงกันแล้วมีใจความสมบูรณ์ว่าใครกำลังทำอะไร ที่ไหน และเมื่อไหร่ บทเรียนในวันนี้ น้อง ๆ จะได้เรียนรู้เรื่อง ส่วนประกอบของประโยค เพื่อให้เข้าใจมากขึ้นว่าประโยคที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ประกอบด้วยอะไรบ้าง ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ

 

ส่วนประกอบของประโยค

 

โดยทั่วไปประโยคจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ภาค คือ ภาคประธานและภาคแสดง

 

ส่วนประกอบของประโยค

 

  • ภาคประธาน คือ ส่วนของผู้ทำอาการ หรือบทประธาน อาจมีส่วนขยายหรือไม่มีก็ได้ คำที่ทำหน้าที่ผู้กระทำอาการ ได้แก่ คำนาม หรือคำสรรพนาม
  • ภาคแสดง คือ ส่วนที่แสดงอาการหรือบอกการกระทำของประธาน คำที่แสดงอาการ ได้แก่ คำกริยา และต้องประกอบด้วยบทอื่น ๆ เช่น บทกรรม บทประกอบกริยาหรือส่วนเติมเต็ม อาจมีส่วนขยายหรือไม่มีก็ได้

ส่วนประกอบของประโยค

 

ชนิดของประโยค

 

 

ประโยคแบ่งได้ 2 ชนิด ตามส่วนประกอบของประโยค ดังนี้

 

ประโยค 2 ส่วน คือ ประโยคที่ประกอบด้วย บทประธาน และบทกริยา

ตัวอย่าง

แมวนอน

อธิบาย : แมวทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค นอนทำหน้าที่เป็นกริยา เมื่อนำมารวมกันแล้วผู้รับสารจะสามารถเข้าใจได้ทันทีว่าหมายถึงอะไร โดยที่ไม่ต้องมีกรรมมารองรับก็ได้ใจความ

 

ประโยค 3 ส่วน คือ ประโยคที่ประกอบด้วย บทประธาน บทกริยา และบทกรรม

ตัวอย่าง

น้องอ่านหนังสือ

อธิบาย : น้องทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค อ่านเป็นกริยา หนังสือเป็นกรรม ประโยคนี้เป็นประโยคสามส่วนที่ไม่สามารถขาดกรรมไปได้ เพราะถ้าตัดกรรมออกไปก็ไม่ทราบว่าน้องกำลังอ่านอะไร มีความหมายกำกาม ไม่ชัดเจนและไม่ได้ใจความ

 

ตัวอย่างส่วนประกอบของประโยค

 

 

แก้ว > ประธาน

ลูกชายนายกอบ > ขยายประธาน

ชอบกิน > กริยา

มะพร้าว > กรรม

น้ำหอม > ขยายกรรม

อย่างมาก > ขยายกริยา

 

จบไปแล้วนะคะสำหรับบทเรียนเรื่องส่วนประกอบของประโยค เห็นไหมคะว่าไม่มีอะไรยากหรือซับซ้อนเกินความเข้าใจเลย ถ้าลองแยกส่วนของประโยคออกมาตามตารางที่สรุป ก็จะทำให้น้อง ๆ พินิจประโยคได้ง่ายขึ้น ว่าอะไรทำหน้าที่อะไร สุดท้ายนี้น้อง ๆ อย่าลืมหมั่นทบทวนบทเรียนด้วยการทำแบบฝึกหัดและดูคลิปการสอนของครูอุ้ม ซึ่งในคลิปครูอุ้มได้ยกตัวอย่างประโยคแล้วนำมาอธิบายให้น้อง ๆ เข้าใจมากขึ้น รับรองว่าดูแล้ว ไม่ว่าจะเจอประโยคแบบไหน ก็แยกส่วนได้สบาย ๆ เลยค่ะ ไปชมกันเลย

 

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

NokAcademy_ ม4 Passive Modals (2)

Passive Modals คืออะไร

สวัสดีค่านักเรียนชั้นม.4 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดู ” Passive Modals“ ที่ใช้บ่อยพร้อมเทคนิคการใช้งานง่ายๆกันค่า Let’s go! ไปลุยกันเลยเด้อ ทบทวนสักหน่อย   ก่อนอื่นเราจะต้องทบทวนเรื่อง Modal verbs หรือ Modal Auxiliaries กันก่อนจร้า แล้วจากนั้นเราจะไปลงลึกเรื่อง Passive voice หรือโครงสร้างประธานถูกกระทำที่คุ้นหูกันหากใครที่ลืมแล้วก็ไม่เป็นไรน๊า มาเริ่มใหม่ทั้งหมดกันเลยจร้า กลุ่มของ

กราฟของความสัมพันธ์

กราฟของความสัมพันธ์ กราฟของความสัมพันธ์ r คือเซตของจุดในระนาบx, y โดยที่แต่ละจุดคือสมาชิกของความสัมพันธ์ r นั่นเอง อธิบายให้เข้าใจง่ายคือ เมื่อเราได้เซตของความสัมพันธ์ r ที่มีสมาชิกในเซตคือคู่อันดับแล้ว เราก็นำคู่อันดับแต่ละคู่มาเขียนกราฟนั่นเอง เช่น r = {(1, 1), (1, 2), (2, 2), (3, 4)} นำมาเขียนกราฟของความสัมพันธ์

การเขียนประกาศ เขียนเชิงกิจธุระได้อย่างไรบ้าง?

การเขียนเชิงกิจธุระหมายถึงหน้าที่ที่พึงกระทำ การเขียนเชิงกิจธุระมีมากมายหลายแบบ บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ การเขียนประกาศ ซึ่งเป็นการเขียนเชิงกิจธุระรูปแบบหนึ่ง เราไปดูพร้อมกันเลยค่ะว่าการเขียนประเภทนี้จะมีวิธีการอย่างไรบ้าง   การเขียนเชิงกิจธุระ   การเขียนประกาศ   ประกาศ เป็นการสื่อสารที่ใช้เผยแพร่โดยกว้าง ให้บุคคลทุกระดับในหน่วยงานหรือบุคคลภายนอกได้อ่านและมีความเข้าใจที่ตรงกัน โดยอาศัยสื่อสาธารณะชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นการแจ้งให้ทราบและปฏิบัติตาม อย่างเช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ป้ายประกาศต่าง ๆ การใช้ภาษาในการประกาศนั้นจะไม่ใช้ข้อความยาว ๆ

กราฟแสดงคำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

บทความนี้ได้แนะนำการเขียน กราฟแสดงคำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว  ซึ่งจะเชื่อมโยงกับสัญลักษณ์ของอสมการทั้ง 5 สัญลักษณ์ คือ มากกว่า (>), น้อยกว่า (<), มากกว่าหรือเท่ากับ (≥), น้อยกว่าหรือเท่ากับ (≤) และ ไม่ท่ากับ(≠) โดยเขียนแสดงบนเส้นจำนวน จุดทึบและจุดโปร่ง เราจะเลือกใช้จุดทึบ (•) และจุดโปร่ง (°) แทนสัญลักษณ์อสมการ ดังนี้ มากกว่า

ศัพท์บัญญัติ

ศัพท์บัญญัติ เรียนรู้การยืมคำและบัญญัติขึ้นใหม่

น้อง ๆ หลายคนอาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยกับคำว่า ศัพท์บัญญัติ สักเท่าไหร่ บทเรียนวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับศัพท์บัญญัติที่ว่านั่นกันค่ะว่าคืออะไร มีที่มาและมีหลักเกณฑ์ในการสร้างอย่างไรบ้าง ถ้าน้อง ๆ พร้อมที่จะเรียนรู้กันแล้ว ก็ไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   การบัญญัติศัพท์คืออะไร     การบัญญัติศัพท์ คือการกำหนดคำศัพท์จากภาษาต่างประเทศขึ้นมาใหม่ในภาษาไทย เพื่อใช้สื่อความหมายบางอย่างโดยเฉพาะในศาสตร์แขนงใดแขนงหนึ่ง หรือเพื่อใช้ในการเขียนเอกสารของงานราชการ ตามเจตนาของผู้บัญญัติ ซึ่งคำศัพท์ที่เกิดจากวิธีการเช่นนี้จะเรียกว่า ศัพท์บัญญัติ โดยทั่วแล้วศัพท์บัญญัติมักจะมาจากภาษาอังกฤษ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1