กราฟแสดงคำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทความนี้ได้แนะนำการเขียน กราฟแสดงคำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว  ซึ่งจะเชื่อมโยงกับสัญลักษณ์ของอสมการทั้ง 5 สัญลักษณ์ คือ มากกว่า (>), น้อยกว่า (<), มากกว่าหรือเท่ากับ (≥), น้อยกว่าหรือเท่ากับ (≤) และ ไม่ท่ากับ(≠) โดยเขียนแสดงบนเส้นจำนวน

จุดทึบและจุดโปร่ง

เราจะเลือกใช้จุดทึบ (•) และจุดโปร่ง (°) แทนสัญลักษณ์อสมการ ดังนี้

มากกว่า (>) ใช้จุดโปร่ง

น้อยกว่า (<) ใช้จุดโปร่ง

ไม่ท่ากับ (≠) ใช้จุดโปร่ง

มากกว่าหรือเท่ากับ (≥) ใช้จุดทึบ

น้อยกว่าหรือเท่ากับ (≤) ใช้จุดทึบ

สรุป  

จุดโปร่ง ใช้แทนสัญลักษณ์ มากกว่า (>)  น้อยกว่า (<)  และ ไม่ท่ากับ (≠)

จุดทึบ ใช้แทนสัญลักษณ์ น้อยกว่าหรือเท่ากับ (≤) และ มากกว่าหรือเท่ากับ (≥)

ตัวอย่างการเขียนกราฟ(เส้นจำนวน)

ตัวอย่างที่ 1  จงเขียนกราฟแสดงคำตอบของอสมการต่อไปนี้

1)   x  ≥  14

อธิบายเพิ่มเติม มากกว่าหรือเท่ากับ (≥) เขียนจุดทึบ ลากเส้นขนานกับเส้นจำนวนชี้ไปทางขวากราฟแสดงคำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

 

 

2)   a  <  -5

อธิบายเพิ่มเติม น้อยกว่า (<) ใช้จุดโปร่ง ลากเส้นขนานกับเส้นจำนวนชี้ไปทางซ้าย

กราฟแสดงคำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว2

 

 

 

3)   x  ≠ 9

อธิบายเพิ่มเติม ไม่ท่ากับ (≠) ใช้จุดโปร่ง ลากเส้นขนานกับเส้นจำนวนชี้ไปทางซ้ายและขวา

กราฟแสดงคำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว3

 

 

 

4)   -7 < x < 7

    อธิบายเพิ่มเติม อ่านว่า x มากกว่า – 7 แต่น้อยกว่า 7 ใช้จุดโปร่ง ลากเส้นขนานกับเส้นจำนวนเชื่อมระหว่างจุดสองจุด

กราฟแสดงคำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว4

 

 

 

5)   -9 ≤ x ≤ 18   

    อธิบายเพิ่มเติม อ่านว่า x มากกว่าหรือเท่ากับ – 9 แต่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 18 ใช้จุดทึบ ลากเส้นขนานกับเส้นจำนวนเชื่อมระหว่างจุดสองจุด

กราฟแสดงคำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว5

 

 

 

ตัวอย่างที่ 2  จงหาว่ากราฟแสดงคำตอบในแต่ละข้อต่อไปนี้แสดงจำนวนใดบ้าง

 1กราฟแสดงคำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

ตอบ  จำนวนจริงทุกจำนวนตั้งแต่ –10 จนถึง 40  หรือเขียนแทนด้วย –10 ≤ x ≤ 40

ตอบ  จำนวนจริงทุกจำนวนที่มากกว่าหรือเท่ากับ  –20  หรือเขียนแทนด้วย  x  ≥  – 20

ตอบ  จำนวนจริงทุกจำนวนที่มากกว่า -15  หรือเขียนแทนด้วย x  >  – 15

ตอบ  จำนวนจริงทุกจำนวนยกเว้น 20  หรือเขียนแทนด้วย x ≠ 20

ตอบ จำนวนจริงทุกจำนวนที่น้อยกว่า 8  หรือเขียนแทนด้วย  x  <  8

ตอบ  จำนวนจริงทุกจำนวนยกเว้น 0  หรือเขียนแทนด้วย x ≠ 0

เมื่อน้องๆเรียนรู้เรื่องการเขียน กราฟแสดงคำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้เส้นจำนวน จะทำให้น้องๆสามารถเขียนกราฟของอสมการได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ สามารถเลือกใช้จุดทึบและจุดโปร่งแทนสัญลักษณ์ของอสมการได้อย่างถูกต้อง ซึ่งน้องๆสามารถนำความรู้จากบทความนี้ไปต่อยอดในการเรียนเรื่องอสมการในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ โดยสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ อสมการ ⇐⇐

วิดีโอ กราฟแสดงคำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

        คลิปวิดีโอนี้ได้รวบรวม การเขียน กราฟแสดงคำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ซึ่งเป็นคลิปสั้นๆ ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย แฝงไปด้วยสาระความรู้ และเทคนิค ที่จะทำให้น้องๆมองวิชาคณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่าย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ม.1 หลักการใช้ Past Simple

หลักการใช้ Past Simple Tense

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง หลักการใช้ Past Simple   ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด Past Simple Tense     หลักการใช้ง่ายๆ ใช้กับเหตุการณ์ หรือการกระทำที่เกิดขึ้นและจบลงในอดีต มักมีคำหรือกลุ่มคำของอดีตมากำกับ ตัวอย่างประโยคทั่วไปที่มักเจอบ่อยๆ   บอกเล่า I saw Jack yesterday.

โคลงนฤทุมนาการ โคลงสุภาษิตสอนใจรู้ไว้ไม่เป็นทุกข์

หลังจากได้ศึกษาเรื่องโคลงโสฬสไตรยางค์ไปแล้ว น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าในโครงสุภาษิตยังมีเรื่องอื่นอีกด้วย และในบทเรียนที่น้อง ๆ จะได้เรียนต่อไปนี้ก็คือเรื่อง โคลงนฤทุมนาการ เป็นโคลงสุภาษิต ที่ใช้โคลงสี่สุภาพในการประพันธ์เหมือนโคลงโสฬสไตรยางค์ แต่จะมีความหมาย และเนื้อหาอย่างไรบ้าง ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   โคลงนฤทุมนาการ คืออะไร     ก่อนที่จะไปเรียนรู้ว่าในโคลงนฤทุมนาการมีอะไรบ้างนั้น เรามาดูกันที่ความหมายก่อนเลยค่ะ คำว่า นฤทุมนาการ มาจากคำศัพท์ต่าง

สมบัติการคูณจำนวนจริง

การให้เหตุผลแบบอุปนัย

การให้เหตุผลแบบอุปนัย การให้เหตุผลแบบอุปนัย คือ การนำประสบการณ์มาสรุปผล เช่น เราไปซื้อผลไม้แล้วเราชิมผลไม้ 2-3 ลูก ปรากฏว่า มีรสหวาน เราเลยสรุปว่าผลไม้ทั้งกองนั้นหวาน เป็นต้น ซึ่งการสรุปผลอาจจะเป็นจริงหรือเท็จก็ได้ อาจจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้สรุป ดังนั้น ผลสรุปไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น เหตุ เมื่อวานแป้งตั้งใจเรียน วันนี้แป้งตั้วใจเรียน ผลสรุป  พรุ่งนี้แป้งจะตั้งใจเรียน การให้เหตุผลแบบนี้ เหมือนเป็นการคาดคะเนเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไป ซึ่งการคาดคะเนนี้อาจจะจริงหรือเท็จก็ได้

การให้เหตุผลแบบนิรนัย

การให้เหตุผลแบบนิรนัย

จากบทความที่แล้วเราได้เรียนเรื่องการให้เหตุผลแบบอุปนัยไปแล้ว บทความนี้พี่จะพูดถึงการให้เหตผลแบบนิรนัย ซึ่งแน่นอนว่ามักจะเจอในข้อสอบ O-Net แต่น้องๆไม่ต้องกังวลว่าจะทำไม่ได้ หากน้องได้อ่านบทความนี้แล้วน้องๆจะทำข้อสอบเกี่ยวกับการให้เหตุผลได้แน่นอนค่ะ

โจทย์ปัญหาสัดส่วน 2

บทความนี้น้องๆจะได้เรียนรู้หลักการที่ใช้ในการแก้โจทย์ปัญหาสัดส่วนด้วยวิธีการที่หลากหลายและเข้าใจง่าย สามารถนำไปช่วยในแก้โจทย์ปัญหาในห้องเรียนของน้องๆได้

Relative Clause Profile II

Relative Clause

สวัสดีค่ะนักเรียนม. 3 ที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปดู Relative clause หรือ อนุประโยคในภาษาอังกฤษ ที่ทำหน้าที่เหมือนกันกับคำคุณศัพท์ (Adjective) ซึ่งมีหน้าที่ขยายคำนามที่อยู่ข้างหน้า  และจะใช้ตามหลัง Relative Pronoun เช่น  who, whom, which, that, และ whose แต่สงสัยมั้ยคะว่าทำไมต้องเรียนเรื่องนี้ ลองดูตัวอย่างประโยคด้านล่างแล้วจะร้องอ๋อ   Relative

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1