การเขียนประกาศ เขียนเชิงกิจธุระได้อย่างไรบ้าง?

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การเขียนเชิงกิจธุระหมายถึงหน้าที่ที่พึงกระทำ การเขียนเชิงกิจธุระมีมากมายหลายแบบ บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ การเขียนประกาศ ซึ่งเป็นการเขียนเชิงกิจธุระรูปแบบหนึ่ง เราไปดูพร้อมกันเลยค่ะว่าการเขียนประเภทนี้จะมีวิธีการอย่างไรบ้าง

 

การเขียนเชิงกิจธุระ

 

การเขียนประกาศ

 

ประกาศ เป็นการสื่อสารที่ใช้เผยแพร่โดยกว้าง ให้บุคคลทุกระดับในหน่วยงานหรือบุคคลภายนอกได้อ่านและมีความเข้าใจที่ตรงกัน โดยอาศัยสื่อสาธารณะชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นการแจ้งให้ทราบและปฏิบัติตาม อย่างเช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ป้ายประกาศต่าง ๆ การใช้ภาษาในการประกาศนั้นจะไม่ใช้ข้อความยาว ๆ หรือละเอียดซับซ้อนเกินกว่าการทำความเข้าใจของผู้อ่าน โดยเฉพาะส่วนที่สำคัญ ๆ ที่จะต้องเขียนให้ชัดเจน ซึ่งการเขียนประกาศนั้นจะสามารถแบ่งแยกย่อยออกไปได้อีก 2 ประเภท ดังนี้

 

การเขียนประกาศ

 

การเขียนประกาศอย่างเป็นทางการ

 

การเขียนประกาศ

 

การประกาศอย่างเป็นทางการจะยาวและละเอียดเพราะมักเกี่ยวเนื่องกับตัวบทกฎหมาย แต่ไม่ใช่ข้อความที่อ่านยาก หรือวกไปวนมา เพราะเป็นประกาศที่มีจุดมุ่งหมายในการแจ้งให้บุคคลทั่วไปได้ทราบและปฏิบัติตาม ภาษาที่ใช้จะเป็นทางการตามลักษณะของประกาศ กระชับ มีลักษณะที่คล้ายกับหนังสือราชการ มักเป็นประกาศขององค์การและหน่วยงานราชการต่าง ๆ ในประกาศนั้นจะประกอบไปด้วยชื่อหน่วยงานหรือองค์การที่ออกประกาศ เรื่องที่ประกาศ เนื้อหาของเรื่องที่ประกาศและในเนื้อความก็จะประกอบไปด้วยเหตุผลความเป็นมาเพื่อเกริ่นนำเล็กน้อยก่อนจะบอกจุดประสงค์และรายละเอียด ตามตัววันเดือนปีขณะที่ออกประกาศ สุดท้ายเป็นการลงนามผู้ออกประกาศ

 

การเขียนประกาศ

 

การเขียนประกาศอย่างไม่เป็นทางการ

 

การเขียนประกาศ

 

ประกาศอย่างไม่เป็นทางการเป็นประกาศทั่ว ๆ ไป ที่ออกจากหน่วยงาน บุคคลหรือองค์การ เพื่อแจ้งข้อมูลให้ประชาชนทั่วไปทราบ เช่น ประกาศรับสมัครงาน ประกาศร่วมอบรมทักษะต่าง ๆ ประกาศเชิญให้เข้าร่วมประกวดเขียนนิยาย เป็นต้น ในเนื้อหาของการประกาศประเภทนี้ก็จะแตกต่างจากประกาศอย่างเป็นทางการ คือยังมีชื่อหน่วยงาน หรือองค์กร เรื่องที่ประกาศ เนื้อความอันประกอบไปด้วยเหตุผล ความเป็นมา จุดประสงค์ รายละเอียด ปิดท้ายด้วยลงวันที่ของวันที่ประกาศ แต่ภาษาที่ใช้จะไม่ได้เป็นทางการเท่าหนังสือราชการ มีเนื้อหากระชับ ไม่ซับซ้อน

 

 

ข้อจำกัดของการเขียนประกาศ

 

เมื่อประกาศถูกประกาศออกไปแล้ว ผู้รับสารจะไม่สามารถซักถามใด ๆ เกี่ยวกับประกาศได้หากมีข้อสงสัย ทำไมการเขียนประกาศนั้นจะต้องคำนึงถึงผู้รับสารเป็นอันดับแรกว่าการเขียน เขียนไปแล้วคนจะเข้าใจได้มากน้อยแค่ไหน เพราะถ้าหากเขียนไม่เข้าใจ ไม่ชัดเจน ก็จะทำให้การสื่อสารคลาดเคลื่อน ทำให้การประกาศที่เขียนออกไปนั้นไม่เกิดประโยชน์

 

ประกาศที่ดีจะต้องมีลักษณะอย่างไร?

 

การเขียนประกาศ เป็นสิ่งที่เราได้ใช้และได้เห็นกันอยู่ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นบทเรียนในเรื่องการเขียนเรื่องนี้จึงมีความสำคัญมาก น้อง ๆ จะต้องได้ใช้ในอนาคตอย่างแน่นอนค่ะ ก่อนจากกัน ถ้าน้อง ๆ คนไหนอยากฟังคำอธิบายเพิ่มเติมให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น ก็อย่าลืมตามไปดูคลิปการสอนของครูอุ้มนะคะ รับรองว่าจะเข้าใจการเขียนในลักษณะนี้และสามารถเขียนกันได้ทุกคนแน่นอนค่ะ ไปดูกันเลยนะคะ

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

โวหารภาพพจน์ กลวิธีการสร้างจินตภาพที่ลึกซึ้งและสวยงาม

การสร้างจินตภาพอย่างการใช้ โวหารภาพพจน์ เป็นกลวิธีในการใช้ภาษาอีกอย่างหนึ่ง เลือกใช้ถ้อยคำเพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพ หรืออาจเรียกว่าเป็นการแทนภาพนั่นเอง น้อง ๆ คงจะพบเรื่องของโวหารภาพพจน์ได้บ่อย ๆ เวลาเรียนเรื่องวรรณคดี บทเรียนในวันนี้เลยจะพาไปทำความรู้จักกับภาพพจน์ต่าง ๆ ให้มากขึ้นว่ามีอะไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   ความหมายของภาพพจน์     ภาพพจน์ คือถ้อยคำที่เป็นสำนวนโวหารทำให้นึกเห็นภาพ ถ้อยคำที่เรียบเรียงอย่างมีชั้นเชิงเป็นโวหาร มีเจตนาให้มีประสิทธิผลต่อความคิด เป็นกลวิธีทางภาษาที่มุ่งให้เกิดความรู้ความเข้าใจจินตนาการ เน้นให้เกิดอรรถรสและสุนทรีย์ในการสื่อสารที่ลึกซึ้งกว่าการบอกเล่าแบบตรงไปตรงมา  

ฟังเพื่อจับใจความ

วิเคราะห์ สังเคราะห์ แยกแยะ 3 วิธีที่จะช่วยให้เราฟังเพื่อจับใจความได้อย่างดี

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน สำหรับเนื้อหาในบทเรียนภาษาไทยวันนี้ต้องขอบอกเลยว่าสนุก และไม่หนักจนเกินไป เพราะเป็นเรื่องของทักษะการฟังเพื่อจับใจความที่เราสามารถฝึกฝน เรียนรู้ แล้วนำไปใช้ในการเรียน หรือการใช้ชีวิตประจำวันของเราได้ โดยวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันว่าการฟังเพื่อจับใจความมันคืออะไร แตกต่างไปจากการฟังแบบทั่วไปอย่างไร แล้วลักษณะของการฟังเพื่อจับใจความมีอะไรบ้าง ถ้าทุกคนพร้อมแล้วอย่ารอช้าเรามาเริ่มต้นเข้าสู่เนื้อหาในวันนี้กันเลยดีกว่า     กระบวนการในการฟังของมนุษย์ การฟังเป็นกระบวนการรับสารของมนุษย์อีกอย่างหนึ่งที่ใช้ในการสื่อสาร มนุษย์ใช้กระบวนการรับรู้เสียงต่าง ๆ ผ่านหู และใช้สมองในการแปลความหมาย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมนุษย์มีกระบวนการเรียนรู้อยู่หลัก ๆ  5 

ความยาวรอบรูปเเละพื้นที่ของวงกลม

ความยาวรอบรูปเเละพื้นที่ของวงกลม ความยาวรอบรูปของวงกลม หรือเรียกว่า ความยาวเส้นรอบวงของวงกลม คือ ความยาวของเส้นรอบวงกลมสามารถคำนวณได้ ดังนี้ โดย:  C        คือ ความยาวของเส้นรอบวง (หน่วยเป็น เมตร, เซนติเมตร, มิลิเมตร เป็นต้น) π         คือ อัตราส่วนระหว่างเส้นรอบวงกับรัศมี มีค่าประมาณ 22/7 หรือ

like love enjoy ving

การแนะนำตัวเองและให้ข้อมูลโดยใช้ “Like”, “Love”, และ “Enjoy”

สวัสดีน้องๆ ม. 1 ทุกคนนะครับ คราวที่แล้วเราได้อ่านเรื่องการใช้ประโยคคำสั่ง ขอร้อง และคำแนะนำกันไปแล้ว วันนี้เราจะมาดูวิธีการแนะนำตัวเอง และให้ข้อมูลคร่าวๆ เกี่ยวกับตัวเราแบบง่ายๆ กันครับ

สมบัติการคูณจำนวนจริง

สมบัติการคูณจำนวนจริง

จากบทความก่อนหน้านี้น้องๆได้เรียนเรื่องสมบัติการบวกจำนวนจริงไปแล้ว บทความนี้พี่ก็จะพูดถึงสมบัติการคูณจำนวนจริงซึ่งมีเนื้อหาคล้ายๆกันกับการบวก และมีเพิ่มสมบัติการแจกแจงเข้ามา เนื้อหาเหล่านี้ล้วนเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะใช้ในการเรียนเนื้อหาบทต่อๆไป เมื่อน้องๆอ่านบทความนี้แล้วน้องๆจะเรียนเนื้อหาบทต่อๆไปได้ง่ายขึ้นแน่นอนค่ะ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1