นิราศภูเขาทอง ศึกษาตัวบทที่น่าสนใจและคุณค่าที่แฝงอยู่ในเรื่อง

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

นิราศภูเขาทองเป็นหนึ่งในนิราศที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีของสุนทรภู่ เป็นงานอันทรงคุณค่าที่ใช้เป็นแบบเรียนภาษาไทยในปัจจุบัน เรามาถอดคำประพันธ์ตัวบทที่น่าสนใจในนิราศภูเขาทองกันดีกว่าค่ะว่ามีบทไหนที่เด่น ๆ ควรศึกษาและจดจำไว้เพื่อไม่ให้พลาดในการทำข้อสอบ

ถอดคำประพันธ์ นิราศภูเขาทอง

 

เนื่องจากนิราศภูเขาทองมีหลายบท ในที่นี้จะเลือกเฉพาะบทที่เด่น ๆ มาศึกษากันนะคะ เราไปดูกันที่บทแรกเลยค่ะ

 

ถอดคำประพันธ์

บทนี้เป็นการเปรียบเทียบการดื่มเหล้ากับความรัก เหล้าเป็นอบายมุข เมื่อดื่มเข้าไปจะทำให้มีอาการมึนเมา สติสัมปชัญญะไม่ครบถ้วน แต่เมื่อเวลาผ่านไปอาการมึนเมาเหล่านั้นก็จะหายไป แต่หากหลงมัวเมาอยู่กับความรัก ไม่ว่าจะใช้เวลาเท่าไหร่ก็หายไปง่าย ๆ

 

ถอดคำประพันธ์

บทนี้สอนเกี่ยวกับการพูดว่าหากเราพูดดีก็จะเป็นศรีแก่ตัว แต่หากเราพูดไม่ดีก็อาจจะสร้างความเดือดร้อนให้มาถึงตัวเราหรืออาจจะทำร้ายคนรอบข้างด้วย

 

นิราศภูเขาทอง

ถอดคำประพันธ์

ในบทนี้สุนทรภู่เปรียบคนที่ไม่ดีเป็นผลมะเดื่อ เนื่องจากว่าผลมะเดื่อที่สุกก็จะมีสีสันสดใสสวยงามแต่ข้างในกลับมีหนอนและแมลงหวี่อยู่ เปรียบได้กับคนที่ฉากหน้าเหมือนเป็นคนดีแต่ข้างในเลวร้าย

 

นิราศภูเขาทอง

ถอดคำประพันธ์

ในบทนี้เล่าถึงที่มาของอำเภอสามโคก ซึ่งในอดีตเป็นเมืองท่าสำคัญในการค้าขาย และชื่อของจังหวัดปทุมธานีที่มาจาก ปทุม(ดอกบัว) + ธานี(เมือง) จึงแปลได้ว่าเมืองแห่งดอกบัว

 

นิราศภูเขาทอง

ถอดคำประพันธ์

บทนี้กล่าวถึงตอนที่สุนทรภู่เดินทางไปถึงเจดีย์ภูเขาทองแล้วเห็นว่าฐานเจดีย์ร้าวและแตกออกหมดแล้ว เมื่อเห็นอย่างนั้นจึงเกิดความรู้สึกปลงว่าแม้แต่เจดีย์ที่สร้างด้วยปูนยังทรุดโทรมได้แล้วจะนับประสาอะไรกับชื่อเสียงและเกียรติยศที่ไม่มีความแน่นอน วันหนึ่งมี แต่วันหนึ่งอาจจะเสียไปทั้งหมด

 

คุณค่าที่อยู่ในเรื่อง

 

นิราศภูเขาทอง

 

นิราศภูเขาทองไม่เพียงแต่เป็นบทกลอนนิราศที่บันทึกการเดินทางเท่านั้นแต่ยังแฝงคุณค่าไว้ในเรื่องมากมาย

คุณค่าด้านวรรณศิลป์

 

นิราศภูเขาทอง มีการใช้ภาพพจน์อุปมาเปรียบเทียบของสองสิ่ง มีการใช้ฉันทลักษณ์ที่งดงาม ทั้งสัมผัสสระ สัมผัสอักษร และการเล่นคำ

 

ตัวอย่างที่ 1

ดูน้่าวิ่งกลิ้งเชี่ยวเป็นเกลียวกลอก         กลับกระฉอกฉาดฉัดฉวัดเฉวียน
บ้างพลุ่งพลุ่งวุ้งวงเหมือนกงเกวียน      ดูเปลี่ยนเปลี่ยนคว้างคว้างเป็นหว่างวน

 

ตัวอย่างที่ 2

ไม่เห็นคลองต้องค้างอยู่กลางทุ่ง                พอหยุดยุงฉู่ชุมมารุมกัด
เป็นกลุ่มกลุ่มกลุ้มกายเหมือนทรายซัด        ต้องนั่งปัดแปะไปมิได้นอน

 

ตัวอย่างที่ 3

แสนวิตกอกเอ๋ยมาอ้างว้าง                    ในทุ่งกว้างเห็นแต่แขมแซมสลอน
จนดึกดาวพราวพร่างกลางอัมพร          กระเรียนร่อนร้องก้องเมื่อสองยาม
ทั้งกบเขียดเกรียดกรีดจังหรีดเรื่อย       พระพายเฉื่อยฉิวฉิววะหวิวหวาม
วังเวงจิตรคิดคะนึงร่าพึงความ               ถึงเมื่อยามยังอุดมโสมนัส

 

นิราศภูเขาทองโดดเด่นในเรื่องการเลือกใช้คำที่สวยมาก มีเนื้อหาลึกซึ้งกินใจได้โดยไม่ต้องใช้คำยาก ๆ อ่านแล้วเข้าใจได้ว่ากวีต้องการจะสื่อถึงอะไรโดยไม่ต้องตีความให้ซับซ้อน

 

คุณค่าด้านสังคม

 

นอกจากจะพรรณนาถึงสิ่งที่พบเจอแล้ว กวียังเลือกที่จะสอดแทรกข้อคิดต่าง ๆ ลงไปในเรื่องเป็นระยะ

 

ตัวอย่างที่ 1

ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์           มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต

แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร      จะชอบผิดในมนุชษย์เพราะพูดจา

จากตัวอย่าง เมื่อกวีเดินทางมาถึงบางพูด ก็แทรกข้อคิดสอนใจเกี่ยวกับการพูด

 

ตัวอย่างที่ 2

ถึงบางเดื่อโอ้มะเดื่อเหลือประหลาด        บังเกิดชาติแมลงหวี่มีในไส้

เหมือนคนพาลหวานนอกย่อมขมใน        อุปไมยเหมือนมะเดื่อเหลือระอา

จากตัวอย่าง เมื่อเดินทางมาถึงบางเดื่อ กวีก็ได้ยกเรื่องของผลมะเดื่อขึ้นมาเปรียบเทียบกับคนไม่ดีเพื่อเป็นข้อคิดและเตือนใจเรื่องการคบคน

 

ตัวอย่างที่ 3

งิ้วนรกสิบหกองคุลีแหลม     ดังขวากแซมเสี้ยมแทรกแตกไสว
ใครท่าชู้คู่ท่านครั้นบรรลัย     ก็ต้องไปปีนต้นน่าขนพอง

เมื่อถึงบ้านงิ้ว กวีกล่าวถึงเรื่องราวของบาปกรรมเกี่ยวกับการผิดศีลข้อ 3 ว่าเมื่อตกนรกไปก็จะต้องไปปีนต้นงิ้ว

 

คุณค่าด้านประวัติศาสตร์

 

ในบางครั้งเมื่อเดินทางอำเภอหรือย่านชุมชน กวีจะเล่าถึงประวัติศาสตร์และที่มาของเมืองนั้น ๆ เช่น ที่มาของชื่อเมืองปทุมธานี หรือวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในย่านชุมชนตลาดขวัญ ทำให้นอกจากจะได้เพลิดเพลินกับความสวยงามของภาษาแล้วยังได้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์เพิ่มอีกด้วย

 

ตัวอย่าง

โอ้คิดมาสารพัดจะตัดขาด          ตัดสวาทตัดรักมิยักไหว
ถวิลหวังนั่งนึกอนาถใจ               ถึงเกาะใหญ่ราชคราม พอยามเย็น
ดูห่างย่านบ้านช่องทั้งสองฝั่ง     ระวังทั้งสัตว์น้ำจะทำเข็ญ
เป็นที่อยู่ผู้ร้ายไม่วายเว้น             เที่ยวซ่อนเร้นตีเรือเหลือระอา

ในอดีตชาวบ้านเรียกตำบลท้ายเกาะในอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานีว่าเกาะใหญ่ เนื่องจากในบริเวณนั้นมีคลองเกาะใหญ่ แยกมาจากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ส่วนราชครามที่อยู่ในวรรคเดียวกันนั้นคือชื่อเดิมของอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันถูกเปลี่ยนเป็นตำบลราชครามแต่ยังอยู่ในอำเภอบางไทร

 

จากการศึกษาตัวบทเด่น ๆ และรู้ถึงคุณค่าของนิราศภูเขาทอง น้อง ๆ คงจะเห็นกันแล้วใช่ไหมคะว่านิราศภูเขาทองนอกจากจะแต่งด้วยถ้อยคำที่ไพเราะแล้วยังสอดแทรกเรื่องราว ๆ ต่างไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ ข้อคิดในการดำเนินชีวิต สุนทรภู่พรรณนาถึงสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างซาบซึ้งและเข้าใจง่าย โดยที่น้อง ๆ ไม่ต้องตีความในซับซ้อนเลย และสำหรับน้อง ๆ คนไหนที่อยากจะฟังคำอธิบายเกี่ยวกับตัวบทให้เห็นภาพมากขึ้น ก็ไปชมกันได้ตามคลิปด้านล่างนี้เลยค่ะ

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ พูดอย่างไรให้ถูกต้อง

  คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ ถือเป็นเรื่องสำคัญ ที่น้อง ๆ หลายคนอาจจะต้องพบเจอถ้าหากว่านับถือศาสนาพุทธ เพราะว่าเราอาจมีโอกาสได้สนทนากับพระระหว่างทำบุญก็ได้ วันนี้เราจะมาเรียนรู้คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์กันนะคะว่าแตกต่างจากคำราชาศัพท์สำหรับราชวงศ์และสุภาพชนทั่วไปอย่างไร ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ ใช้อย่างไร     แม้คำว่าราชาศัพท์ จะสามารถแปลตรงตัวได้ว่าเป็นถ้อยคำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์ แต่ในปัจจุบันนี้คำราชาศัพท์ยังครอบคลุมไปถึงพระบรมวงศานุวงศ์ พระภิกษุสงฆ์ และสุภาพชน หรือเรียกอีกนัยว่าคำสุภาพ สำหรับคำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์จะต่างกับราชวงศ์และสุภาพชน และยังขึ้นอยู่กับสมณศักดิ์ของพระสงฆ์อีกด้วย โดยสามารถเรียงลำดับได้ดังนี้

โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ

โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ บทความนี้ ได้รวบรวม โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ ซึ่งการแก้โจทย์ปัญหานั้น น้องๆจะต้องอ่านทำความเข้าใจกับโจทย์ให้ละเอียด และพิจารณาอย่างรอบคอบว่าโจทย์กำหนดอะไรมาให้บ้างและโจทย์ต้องการให้หาอะไร จากนั้นจะสามารถหาค่าของสิ่งที่โจทย์ต้องการได้โดยใช้ความรู้เรื่องการคูณไขว้ สัดส่วน และร้อยละ ก่อนจะเรียนรู้เรื่องนี้ น้องๆจำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่อง สัดส่วน เพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ สัดส่วน ⇐⇐ โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสัดส่วน ตัวอย่างที่ 1  อัตราส่วนของอายุของนิวต่ออายุของแนน เป็น 2

ที่มาของขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม

​ขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณกรรมที่เชื่อว่ามีเค้าเรื่องจริงในสมัยอยุธยา มีมากมายหลายตอน แต่ตอนที่ถูกนำมาให้เด็กได้เรียนกันมีด้วยกันสองตอนคือกำเนิดพลายงามและขุนช้างถวายฎีกา สำหรับตอนที่น้อง ๆ จะได้เรียนรู้กันในวันนี้คือตอน กำเนิดพลายงาม ซึ่งคือว่าเป็นตอนที่สำคัญอย่างมากเพราะเป็นเหมือนจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมดของเรื่อง ตอนนี้จะมีความเป็นมา เรื่องย่อ และมีความดีเด่นอย่างไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมา   ขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณคดีที่มีมาอย่างยาวนาน แต่ในสมัยรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้ชำระเสภาขุนช้างขุนแผน ได้ทรงประชุมกวีเอกสมัยนั้น ช่วยกันแต่งคนละตอนสองตอน สุนทรภู่ก็ได้รับมอบหมายให้ร่วมแต่งด้วย และท่านคงต้องแต่งอย่างสุดฝีมือทำให้ตอน

การพูดรายงานหน้าชั้น พูดอย่างไรให้ได้ใจผู้ฟัง

การพูดรายงานหน้าชั้น เป็นการแสดงผลงานศึกษาค้นคว้าโดยนำมาบอกเล่า ชี้แจง นำเสนอให้ผู้อื่นได้ทราบด้วย การพูดรายงานจึงมีความสำคัญในฐานะที่เป็นการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ความคิด บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้กันว่าหลักในการพูดรายงานหน้าชั้นนั้นมีอะไรบ้าง พูดอย่างไรจึงจะดึงดูดผู้ฟัง รวมไปถึงมารยาทขณะที่ออกไปพูดด้วย จะเป็นอย่างไรบ้างนั้นเราไปดูกันเลยค่ะ   หลักการพูดรายงานหน้าชั้น     1. กล่าวทักทายผู้ฟัง แนะนำผู้ร่วมงาน หัวข้อ จุดประสงค์ การทักทายถือเป็นการสร้างความประทับใจแรกให้แก่ผู้ฟัง ไม่ว่าหัวข้อที่เราจะนำมาพูดหน้าชั้นคืออะไร แต่หากเราพูดเนื้อหาขึ้นมาเลยแบบไม่มีปี่ไม่ขลุ่ย ก็อาจจะทำให้ผู้ฟังไม่อยากฟัง หรือคิดว่าการพูดหน้าชั้นของเราเป็นเรื่องน่าเบื่อ

การโต้วาที

โต้วาที และยอวาที แต่งต่างกันอย่างไร?

การพูดมีมากมายหลายประเภท แล้วแต่จุดประสงค์ของผู้พูดว่าต้องการจะสื่อสารออกมาในรูปแบบใด แต่จะมีอยู่ประเภทหนึ่งที่มีหัวข้อให้พูดและต้องแบ่งออกเป็นสองฝ่าย โดยไม่ได้มีเจตนาเพื่อมาทะเลาะกัน เพราะเรากำลังหมายถึงการพูดโต้วาทีและการยอวาที ที่เป็นการพูดแสดงความคิดเห็นในลักษะที่ต่างกัน แต่จะต่างกันอย่างไรบ้างนั้น เราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   การโต้วาที     การโต้วาที เป็นการแสดงความคิดเห็นโต้แย้งด้วยเหตุผลเพื่อให้ชนะอีกฝ่าย โดยจะแบ่งผู้พูดออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายญัตติและฝ่ายคัดค้านญัตติ และมีกรรมการคอยตัดสินว่าจะให้ฝ่ายใดชนะ โดยแต่ละฝ่ายจะต้องมีข้อมูลเพื่อมาสนับสนุนการพูดของตัวเอง หักล้างแนวคิดของอีกฝ่ายและต้องมีปฏิภาณไหวพริบ   องค์ประกอบของการโต้วาที  

Question Tag

การใช้ Tag Questions หรือ Question Tag ในการถาม – ตอบ เกี่ยวกับประเทศและสัญชาติ

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป. 6 ที่น่ารักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้ในหัวข้อเรื่อง การใช้ Tag Questions หรือ Question Tag ในการถาม – ตอบ เกี่ยวกับประเทศและสัญชาติ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย ความหมาย Question แปลว่า คำถาม ส่วนคำว่า Tag จะแปลว่า วลี ที่นำมาใช้ต่อท้ายประโยค เพื่อทำให้เป็นประโยคคำถาม ดังนั้น

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1