ถอดคำประพันธ์ กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า พร้อมศึกษาคุณค่าในเรื่อง

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

ในบทเรียนก่อนหน้าเราได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมา ลักษณะคำประพันธ์และเรื่องย่อกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าไปแล้ว บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะต่อเนื่องกับครั้งก่อนโดยการพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องตัวบทเด่น ๆ ถอดคำประพันธ์ กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า พร้อมทั้งศึกษาคุณค่าที่แฝงอยู่ในเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม เนื้อหา หรือด้านวรรณศิลป์ ถ้าน้อง ๆ พร้อมจะเรียนวรรณคดีเรื่องนี้ต่อไปแล้ว ก็ไปลุยพร้อมกันเลยค่ะ

 

ถอดคำประพันธ์ กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า

 

ถอดคำประพันธ์ กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า

 

สกุลเอ๋ยสกุลสูง

ชักจูงจิตชูศักดิ์ศรี

อำนาจนำความสง่าอ่าอินทรีย์

ความงามนำให้มีไมตรีกัน

ความร่ำรวยอวยสุขให้ทุกอย่าง

เหล่านี้ต่างรอตายทำลายขันธ์

วิถีแห่งเกียรติยศทั้งหมดนั้น

แต่ล้วนผันมาประจบหลุมศพเอย

 

ถอดคำประพันธ์

ความหมายของบทนี้ กล่าวถึงคนที่ศักดิ์สูง ๆ ว่าการมีอำนาจเป็นตัวทำให้มีเพื่อน มีความสุข มีเงิน แต่สุดท้ายไม่ว่าจะมีพร้อมแค่ไหนทุกคอย่างต่างก็ต้องพบกับความตายเข้าสักวัน ชื่อเสียง เกียรติยศที่เคยมี ในบั้นปลายชีวิตก็ต้องไปลงเอยในหลุมศพเหมือนคนอื่น ๆ

 

กองเอ๋ยกองข้าว

กองสูงราวโรงนายิ่งน่าใคร่

เกิดเพราะการเก็บเกี่ยวด้วยเคียวใคร

ใครเล่าไถคราดฟื้นฟื้นแผ่นดิน

เช้าก็ขับโคกระบือถือคันไถ

สำราญใจตามเขตประเทศถิ่น

ยึดหางยามยักไปตามใจจินต์

หางยามผินตามใจเพราะใครเอย

 

ถอดคำประพันธ์

บทนี้กล่าวถึงการทำงานของชาวนาไทย โดยพูดถึงกองข้าวในโรงนาว่าเก็บเกี่ยวโดยชาวนาที่เช้ามาก็ขี่โคกระบือไปไถนา ปลูกข้าวให้พวกเราคนไทยกินกัน

 

 

คุณค่าที่อยู่ในกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า

 

 

ด้านสังคม

  • ดัดแปลงให้เข้ากับบริบทสังคมไทย

เนื่องจากวรรณคดีถูกแปลมาจากกวีพิพนธ์อังกฤษ ความต่างของวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมทำให้หากใช้ของเดิม คนไทยที่อ่านก็อาจจะไม่เข้าใจและไม่เห็นภาพ พระอุปกิตศิลปสารจึงได้ดัดแปลงให้เข้ากับบริบทสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อ สภาพสังคม ความเชื่อ หรือแม้แต่พันธ์ุไม้ต่าง ๆ เช่น เปลี่ยนจากต้นเอล์มเป็นต้นโพธิ์ หรือตัวบุคคล เช่น เปลี่ยนจาก จอห์น แฮมพ์เด็น นักการเมืองชาวอังกฤษ เป็นชาวบ้านบางระจัน หรือเปลี่ยนจอห์น มิลตัน กวีชาวอังกฤษเป็น ศรีปราชญ์ ซึ่งเป็นที่รู้จักของคนไทยโดยทั่วไป

ด้านเนื้อหา

  • แนวคิด คำสอน

แนวคิดคำสอนหลักของบทประพันธ์นี้คือกล่าวถึงสัจธรรมของชีวิต สังขารไม่เที่ยง แต่ก็มีเรื่องของการละกิเลส การปล่อยวาง การใช้ชีวิตเรียบง่ายแต่ก็เปี่ยมไปด้วยความสุข กล่าวโดยรวมคือสอนให้ผู้อ่านได้เข้าใจชีวิตและปล่อยวางเพื่อให้ชีวิตมีความสุข

ด้านวรรณศิลป์

  • ความงดงามด้านวรรณศิลป์

แม้จะเป็นวรรณคดีแปล แต่เพราะพระยาอุปกิตศิลปสารเป็นผู้ประพันธ์ร้อยกรอง จึงทำให้ภาษาที่ใช้นั้นมีความงดงาม มีการใช้สัทพจน์เลียนเสียงธรรมชาติ เล่นสัมผัสพยัญชนะ สัมผัสสระ ซ้ำคำ ใช้อุปมา นอกจากนี้ยังมีการคำถามเชิงวาทศิลป์ในบทประพันธ์เช่น คำว่า เคียวใคร, ใครเล่า เรียกได้ว่าเป็นวรรณคดีที่แต่งดีและอัดแน่นไปด้วยคุณค่าทางด้านวรรณศิลป์มากมาย

 

ถอดคำประพันธ์ กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า

 

สรุปคุณค่าที่อยู่ในเรื่อง

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ หลังจากที่ได้เรียนรู้ตัวบทและคุณค่าของวรรณคดีเรื่องกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า ก่อนหน้านี้เราได้เรียนเรื่องประวัติความเป็นมา ลักษณะคำประพันธ์ และเรื่องย่อกันไปแล้ว บทเรียนในวันนี้ก็ถือว่าทำให้เนื้อหาครบถ้วนมากขึ้น น้อง ๆ น่าจะเข้าใจและเห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้นใช่ไหมคะว่าทำไมกวีนิพนธ์ของอังกฤษถึงถูกแปลมาอยู่ในฉบับภาษาไทยและเป็นหนึ่งในแบบเรียนภาษาของเราในปัจจุบัน เพราะวรรณคดีเรื่องนี้ไม่เพียงแต่จะให้ข้อคิดแต่ยังมีคุณค่าด้านวรรณศิลป์เต็มเปี่ยม เหมาะแก่การเรียนรู้และศึกษามาก ๆ เลยค่ะ สุดท้ายนี้ น้อง ๆ อย่าลืมหมั่นทบทวนบทเรียนและชมคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อฟังคำอธิบายนะคะ ครูอุ้มจะอธิบายคำศัพท์และการถอดคำประพันธ์ ถ้าดูจบแล้ว รับรองว่าถ้าเจอในข้อสอบ ต้องทำได้อย่างผ่านฉลุยแน่นอน

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ฟังก์ชันลอการิทึม

ฟังก์ชันลอการิทึม ฟังก์ชันลอการิทึม คือฟังก์ชันผกผันของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล จากที่ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลคือ คู่อันดับ (x, y) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่ส่งจากจำนวนจริงไปยังจำนวนจริงบวก โดยที่ ดังนั้นฟังก์ชันดังกล่าวซึ่งเป็นฟังก์ชันผกผันของเอกซ์โพเนนเชียล ก็คือ คู่อันดับ (y, x)  หรืออาจจะบอกได้อีกแบบคือ คู่อันดับ (x, y) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์จากจำนวนจริงบวกไปยังจำนวนจริง โดยที่ จัดรูปใหม่ ได้เป็น (อ่านว่าล็อก x ฐาน

การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่

การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่

การแจกแจงความถี่ของข้อมูล (Frequency distribution)              การแจกแจงความถี่ของข้อมูล  เป็นวิธีการทางสถิติอย่างหนึ่งที่ใช้ในการจัดข้อมูลที่มีอยู่ให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อความสะดวกในการนำเสนอและการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น  มี 2 ลักษณะ คือ ตารางแจกแจงความถี่แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น และ ตารางแจกแจงความถี่แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น การสร้างตารางแจกแจงความถี่ แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่ แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น เหมาะสำหรับข้อมูลที่มีค่าจาการสังเกตไม่มากนักหรือไม่ซับซ้อน  1.

ความหมายและความสำคัญของ คำราชาศัพท์

  คำราชาศัพท์ เป็นวัฒนธรรมทางภาษาของประเทศไทยที่ให้ความสำคัญกับระดับของผู้พูดและผู้ฟัง น้อง ๆ หลายคนคงคุ้นเคยกันมาบ้างแล้วเวลาฟังข่าวในพระราชสำนัก แต่รู้หรือไม่คะว่าความหมายจริง ๆ ของคำราชาศัพท์คืออะไร มีใครบ้างที่เราต้องใช้คำราชาศัพท์ด้วย บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทบทวนเรื่องคำราชาศัพท์พร้อมเรียนรู้คำราชาศัพท์ในหมวดร่างกายที่ใช้กับพระมหากษัตริย์กันค่ะ   ความหมายของคำราชาศัพท์     คำราชาศัพท์ หมายถึง คำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ รวมไปถึงพระสงฆ์ โดยที่มีคำศัพท์และลักษณะการใช้ที่แตกต่างกันออกไปตามระดับภาษา ฐานะของบุคคลในสังคมไทยแบ่งตามวัยวุฒิและชาติวุฒิได้ดังนี้ 1.

มงคลสูตร

รอบรู้เรื่องมงคลสูตรคำฉันท์ วรรณคดีพระพุทธศาสนาที่มาของหลักมงคล 38

บทนำ   สวัสดีน้อง ๆ ทุกคนกลับมาพบกับบทเรียนภาษาไทยที่น่าสนใจอีกเช่นเคย สำหรับเนื้อหาวันนี้เราจะขอหยิบยกวรรณคดีพระพุทธศาสนามาเล่าให้ทุกคนได้ฟังกันบ้าง ซึ่งวรรณคดีที่เราได้เลือกมานั่นก็คือเรื่อง มงคลสูตรคำฉันท์ เชื่อว่าน้อง ๆ มัธยมปลายหลายคนคงจะคุ้นเคยกับเรื่องนี้กันดีอยู่แล้ว เพราะเป็นวรรณคดี ที่สอนบรรทัดฐานของการกระทำความดีตามวิถีของชาวพุทธ และเป็นที่มาของหลักมงคล 38 ประการด้วย ดีงนั้น เดี๋ยววันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปรู้จักกับวรรณคดีเรื่องนี้ให้มากขึ้น ถ้าพร้อมแล้วก็เตรียมตัวเข้าสู่เนื้อหากันได้เลย     ประวัติความเป็นมา เรื่อง

สำนวนไทยที่เราควรรู้ และตัวอย่างการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

น้อง ๆ เคยเป็นกันหรือเปล่าคะ เวลาที่อยากจะพูดอะไรสักอย่างแต่มันช่างยาวเหลือเกิน กว่าจะพูดออกมาหมดนอกจากคนฟังจะเบื่อแล้วยังอาจทำให้เขาไม่สนใจคำพูดของเราเลยก็เป็นไปได้ เพราะอย่างนั้นแหละค่ะในภาษาไทยของเราจึงต้องมีสิ่งที่เรียกว่าสำนวนขึ้นมาเพื่อใช้บอกเล่าเรื่องราวที่ถูกกลั่นกรองออกมาจนได้คำที่สละสลวย รวมใจความยาว ๆ ให้สั้นลง ทำให้เราไม่ต้องพูดอะไรให้ยืดยาวอีกต่อไป บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทบทวนความรู้เรื่อง สำนวนไทย รวมถึงตัวอย่างสำนวนน่ารู้ในชีวิตประจำวันเพิ่มเติมด้วยค่ะ จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย   ความหมายและลักษณะของ สำนวนไทย   สำนวน หมายถึง ถ้อยคำหรือสำนวนพูดหรือเขียนที่มีความหมายไม่ตรงกับรากศัพท์หรือตรงไปตรงมาตามพจนานุกรม แต่เป็นถ้อยคำที่มีความหมายเป็นอย่างอื่น

ฟังก์ชันผกผัน

ฟังก์ชันผกผัน ฟังก์ชันผกผัน หรืออินเวอร์สฟังก์ชัน เขียนแทนด้วย เมื่อ เป็นฟังก์ชัน จากที่เรารู้กันว่า ฟังก์ชันนั้นเป็นความสัมพันธ์ ดังนั้นฟังก์ชันก็สามารถหาตัวผกผันได้เช่นกัน แต่ตัวผกผันนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นฟังก์ชันเสมอไป เพราะอะไรถึงไม่จำเป็นจะต้องเป็นฟังก์ชัน เราลองมาดูตัวอย่างกันค่ะ ให้ f = {(1, 2), (3, 2), (4, 5),(6, 5)}  จะเห็นว่า f เป็นฟังก์ชัน

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1