กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า ความเป็นมาของวรรณคดีที่แปลจากภาษาอังกฤษ

กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า เป็นวรรณคดีที่ไทยที่ถูกแปลมาจากภาษาอังกฤษ น้อง ๆ คงจะสงสัยกันใช่ไหมคะว่าทำไมเราถึงได้เรียนวรรณคดีที่ถูกแปลจากภาษาอื่นด้วย บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักวรรณคดีที่ทรงคุณค่าอีกเรื่องหนึ่งว่ามีที่มาและเรื่องย่ออย่างไร ใครเป็นผู้แต่งในฉบับภาษาไทย ถ้าพร้อมที่จะเรียนรู้แล้วก็ไปดูกันเลยค่ะ

 

ความเป็นมา กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า

 

กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า

 

วรรณคดีเรื่องกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า วรรณคดีเรื่องนี้มีที่มาจากกวีนิพนธ์อังกฤษชื่อ Elegy Written in a country churchyard ของ ธอร์มัส เกรย์ กวีชาวอังกฤษ ซึ่งประพันธ์หลังจากที่คนใกล้ชิดของกวีเสียชีวิตลงในเวลาใกล้เคียงกัน เสฐียรโกเศศได้นำมาแปลเป็นภาษาไทย โดยรำพึง ในภาษาไทยมีความหมายว่า คิดถึง ต่อมาพระยาอุปกิตศิลปสารได้นำไปประพันธ์เป็นบทร้อยกรองกลอนดอกสร้อยจำนวน 33 บท

 

กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า

 

ประวัติผู้ประพันธ์บทร้อยกรอง พระยาอุปกิตศิลปสาร

 

พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) เกิดวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2422 เป็นบุคคลสำคัญต่อวงการศึกษาไทยอย่างมาก เนื่องจากเป็นผู้แต่งตำราอักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ และฉันทลักษณ์ แต่นอกจากด้านการศึกษาแล้ว ผลงานด้านการประพันธ์ของพระยาอุปกิจศิลปสารก็ยังโดดเด่นมาก ๆ อีกด้วย ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง และที่สำคัญไปกว่านั้น พระยาอุปกิตศิลปสารยังเป็นผู้บัญญัติคำทักทายที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้อย่างคำว่า “สวัสดี”

 

 

ในการประพันธ์เรื่องนี้ พระยาอุปกิตศิลปสารก็ได้นำคำดั้งเดิมมาประยุกต์ให้กับความเป็นไทย เช่น

ต้นไอวี เปลี่ยนเป็น เถาวัลย์

ต้นเอล์ม เปลี่ยนเป็น ต้นโพธิ์

แมลงบีตเทิล เปลี่ยนเป็น จิ้งหรีดเรไร

 

ลักษณะคำประพันธ์

 

กลอนดอกสร้อยทั้ง 33 บทนี้ ถูกแต่งเพิ่มจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ 1 บท ในแต่ละบทจะประกอบไปด้วยกลอนสุภาพจำนวน 2 บท หรือ 4 คำกลอน (มี 8 วรรค) แต่วรรคแรกจะมี 4-5 โดยคำที่ 2 ของวรรคแรกจะใช้คำว่า “เอ๋ย” และจบคำสุดท้ายของบทด้วยคำว่า “เอย” ลักษณะสัมผัสจะเหมือนกลอนสุภาพทุกประการ

 

 

เรื่องย่อ กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า

 

 

บทประพันธ์กล่าวถึงบุคคลหนึ่งที่ไปนั่งอยู่ในป่าช้าในเวลาพลบค่ำ ศพในป่าช้าเป็นศพของชาวนาชาวไร่ บรรยากาศและเสียงระฆังทำให้รู้สึกวังเวง จึงรำพึงถึงวิญญาณนักรบ กวี นักการเมือง ที่ไม่ว่าจะมีสถานะหรืออาชีพที่ต่างกันอย่างไรสุดท้ายก็ต้องนอนจมใต้กองดินเหมือนกันหมด แม้จะเสียดายชีวิตแต่ก็ไม่มีใครหนีความตายพ้น

 

ถึงแม้ว่ากลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าจะเป็นวรรณคดีที่แปลมาจากภาษาต่างประเทศ แต่ผู้ประพันธ์ก็ไม่ละทิ้งความเป็นไทย เพราะเนื้อเรื่องได้ถูกปรับให้เข้ากับความเป็นไทยมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมหรือบุคคล เรียกได้ว่าเป็นวรรณคดีแปลที่อ่านแล้วยังได้กลิ่นความเป็นไทยอัดแน่นอยู่ทุกตัวอักษรเลยนะคะ ก่อนจะไปศึกษาบทตัวต่อไปในเรื่องของตัวบทเด่น ๆ และคุณค่าที่อยู่ในเรื่อง น้อง ๆ อย่าลืมทบทวนความรู้ในบทนี้ควบคู่กับชมคลิปการสอนของครูอุ้มไปด้วยนะคะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

เลขยกกำลัง

เลขยกกำลัง ที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ

เลขยกกำลัง ที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ เลขยกกำลัง ที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะมีความเกี่ยวข้องกับกรณฑ์ในบทความ จำนวนจริงในรูปกรณฑ์ จากที่เรารู้ว่า จำนวนตรรกยะคือจำนวนที่สามารถเขียนอยู่ในรูปเศษส่วนของจำนวนเต็มได้ เช่น , , , 2 , 3 เป็นต้น ดังนั้นเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ ก็คือจำนวนจริงใดๆยกกำลังด้วยจำนวนที่สามารถเขียนในรูปเศษส่วนของจำนวนเต็ม เช่น , เป็นต้น โดยนิยามของเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ คือ เมื่อ k และ

Passive Voice ในปัจจุบัน

Passive Voice ในรูปปัจจุบัน

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดูการใช้ Passive Voice ในรูปปัจจุบัน กัน ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ   ความหมาย   Passive Voice (แพ็ซซิฝ ว็อยซ) หมายถึงประโยคที่เน้นกรรม โดยการนำโครงสร้างผู้ถูกกระทำขึ้นต้นประโยค และหากว่าต้องการเน้นผู้กระทำให้เติม  “by + ผู้กระทำ” ท้ายประโยค แต่ว่าเราสามารถละ by ไว้ได้น๊า ในบทนี้เราจะไปดูรูปประโยคในปัจจุบันกันจร้า

แผนภูมิแท่ง และการเปรียบเทียบข้อมูล

บทความนี้จะพูดถึงการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของแผนภูมิแท่งไม่ว่าจะเป็นการเปรียบเทียบข้อมูล 2 จำนวน และ 3 จำนวน น้องๆจะสามารถนำข้อมูลที่สำรวจมาเขียนเป็นแผนภูมิแท่งได้และจะง่ายต่อการนำเสนอมากยิ่งขึ้น

จำนวนอตรรกยะ

จำนวนอตรรกยะ

ในบทความนี้เราจะได้รู้จักความหมายของจำนวนอตรรกยะ และหลักการของจำนวนอตรรกยะกับการนำไปประยุกต์

จุด

จุด : เรขาคณิตวิเคราะห์

จุด จุด เป็นตัวบอกตำแหน่งของสิ่งต่างๆ เช่น ตำแหน่งของสถานที่ต่างๆ ในเรื่องเรขาคณิตวิเคราะห์ จุดใช้บอกตำแหน่งในระนาบ 2 มิติ หรือ 3 มิติ เช่น   ระยะทางระหว่างจุดสองจุด เราสามารถหาระยะทางระหว่างจุดสองจุดได้ โดยใช้สูตร โดยจะกำหนดให้  และ  เป็นจุดในระนาบ เราจะได้ว่าระยะห่างระหว่างจุดทั้งสองหาได้จาก ตัวอย่าง ระยะห่างระหว่าง A(1,1) และ

wh- questions

Wh- Questions with do, does, did

สวัสดีน้องๆ ม. 3 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้การถามคำถามโดยใช้ Wh- Questions ในภาษาอังกฤษกันครับ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1