เสภาขุนช้างขุนแผน จากนิทานชาวบ้านสู่วรรณคดีราชสำนัก

เสภาขุนช้างขุนแผน

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของกลอนเสภาและเป็นที่ยอมรับกันในหมู่นักวรรณคดีว่าเป็นเลิศทั้งในด้านเนื้อเรื่องและการประพันธ์ มีมากมายหลายตอน หลายสำนวนและหลายผู้แต่ง แต่บทเรียนที่น้อง ๆ จะได้ศึกษากันในวันนี้เป็น เสภาขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา จะมีเนื้อหาและความเป็นมาอย่างไรเราไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ

 

ความเป็นมาของ เสภาขุนช้างขุนแผน

 

ขุนช้างขุนแผนสันนิษฐานว่าเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในสมัยอยุธยา จากพงศาวดารทำให้ทราบว่าขุนแผนรับราชการอยู่ในสมัยสมเด็จพระพันวษา หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2034-พ.ศ 2072 ต่อมามีการนำเรื่องขุนช้างขุนแผนมาแต่งเป็นกลอนสุภาพและบทเสภาโดยใช้กรับเป็นเครื่องประกอบจังหวะ

 

เสภาขุนช้างขุนแผน

 

การชำระเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน

 

ขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณคดีที่นิยมสืบเนื่องยาวนานเกือบ 400 ปี เพราะเนื้อเรื่องมีความยาวมาก ไม่สามารถขับเสภาให้จบในวันเดียวได้ ใครชอบตอนไหนก็แต่งตอนนั้นทำให้เนื้อเรื่องไม่ปะติดปะต่อกัน เหตุการณ์สลับกัน ชื่อตัวละครไม่ตรงกัน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 มีแต่งบทเสภาขึ้นมาใหม่ ทำให้วรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนนั้นได้มีการปรับเปลี่ยนจากวรรณคดีชาวบ้านเป็นวรรณคดีราชสำนัก และเมื่อถึงรัชกาลที่ 3 บทเสภาสำนวนหลวงก็สมบูรณ์ ภายในได้มีการแต่งเพิ่มอีกเล็กน้อย แต่เมื่อได้รับการตีพิมพ์ในปี พ.ศ 2415 ก็ไม่มีใครแต่งเพิ่มอีก

ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และกรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา กรมการหอพระสมุดวชิรญาณร่วมกันชำระเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน โดยเลือกสรรสำนวนที่ดีเลิศ ถูกต้อง มารวมกันและเชื่อมให้เป็นเรื่องเดียวกัน เทียบเคียงกับต้นฉบับหลายสำนวน ตัดออก แต่งเพิ่ม และพิมพ์บทเสภาที่ไม่เคยพิมพ์มาก่อนรวมไปด้วย รวมทั้งเป็น 43 ตอน

 

เสภาขุนช้างขุนแผน

 

ลักษณะคำประพันธ์

 

ลักษณะคำประพันธ์กลอนเสภาเป็นกลอนสุภาพ เสภาเป็นกลอนขั้นเล่าเรื่องอย่างนิทาน จึงใช้คำมากเพื่อบรรจุข้อความให้ชัดเจนแก่ผู้ฟัง มีข้อบังคับคือ คำสุดท้ายของวรรคต้น ส่งสัมผัสไปยังคำใดคำหนึ่งใน 5 คำแรกของวรรคหลัง สัมผัสวรรคอื่นและสัมผัสระหว่างบทเหมือนกลอนสุภาพ

เสภาขุนช้างขุนแผน

เรื่องย่อ วรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา

 

ตอน ขุนช้างถวายฎีกานั้นเป็นตอนที่กล่าวถึงเหตุการณ์หลังจากที่ขุนช้างได้พานางวันทองกลับไปอยู่สุพรรณบุรี ส่วนจมื่นไวยไปอยู่บ้านพ่อ แต่เมื่อกลับไปอยู่แล้วก็ทำให้จมื่นไวยเกิดความรู้สึกคิดถึงแม่ ทำให้จมื่นไวยเกิดความคิดที่จะพานางวันทองกลับมาอยู่บ้านด้วยกันแบบพ่อ แม่ และลูก จึงบุกไปที่เรือนขุนช้างเพื่อลักพาตัวนางวันทอง แต่นางวันทองในตอนนั้นกลัวว่าจะเกิดปัญหาขึ้นภายหลัง จึงให้จมื่นไวยไปปรึกษาขุนแผนผู้เป็นพ่อก่อน แต่จมื่นไวยไม่ยอม นางวันทองจึงต้องยอมไปกับลูก

ด้านขุนช้างเมื่อตื่นขึ้นมาแล้วไม่เห็นนางวันทองก็โกรธ จะไปตามนางวันทองกลับมาให้ได้ จมื่นไวยมที่กลัวว่าขุนช้างจะมาเอาเรื่อง จึงให้หมื่นวิเศษผลไปบอกขุนช้างว่าตนป่วยหนัก อยากเห็นหน้าแม่จึงให้คนไปตามนางวันทองมาอยู่ด้วยพักหนึ่งแล้วจะส่งตัวกลับมาอยู่กับขุนช้างตามเดิม แต่ขุนช้างก็ยังโมโหที่จมื่นไวยทำอะไรไม่เกรงใจจึงร่างคำร้องถวายฎีกาแล้วลอยคอมายังเรือพระที่นั่งของสมเด็จพระพันวษาเพื่อถวายฎีกา ทำให้สมเด็จพระพันวษาทรงพิโรธ สั่งให้เฆี่ยนขุนช้าง 30 ที แล้วปล่อยไป ต่อมาพระองค์ทรงได้อ่านคำฟ้องของขุนช้างแล้วก็ทรงกริ้วหนัก ให้ทหารไปตามตัวนางวันทอง ขุนแผน และจมื่นไวยมาเข้าเฝ้าทันที

 

 

ขุนแผนเกรงว่านางวันทองจะมีภัย จึงเสกคาถาและขี้ผึ้งให้นางวันทองทาปากเพื่อให้พระพันวษาเมตตาแล้วจึงพาไปเข้าเฝ้า เมื่อพระพันวษาเห็นนางวันทองก็ใจอ่อน ตรัสถามเรื่องราวจากนางและเห็นว่าสาเหตุของความวุ่นวายทั้งหมดนี้เกิดจากนางวันทองจึงให้นางตัดสินใจว่าจะอยู่กับใคร นางวันทองประหม่า พูดไม่ออก ไม่รู้จะอยู่กับใคร เพราะนางเองก็รักขุนแผนกับลูกชาย แต่ขุนช้างก็ดีกับนาง ท่าทีของนางทำพระพันวษากริ้วมาก เพราะเห็นว่านางวันทองเป็นหญิงแพศยา หลายใจ จึงสั่งให้ประหารชีวิตนางวันทอง

 

 

ขุนช้างถวายฎีกาเป็นอีกตอนหนึ่งจากตอนทั้งหมดของเสภาขุนช้างขุนแผนที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีและยอดเยี่ยมที่สุด จากที่ได้เรียนรู้ที่มาและเรื่องราวอย่างย่อของตอนนี้กันไปแล้ว ในบทเรียนครั้งต่อไปน้อง ๆ ก็จะได้รู้ถึงตัวบทที่น่าสนใจและคุณค่าที่ได้จากวรรณคดีเรื่องนี้กันด้วย แต่ก่อนจะไป น้อง ๆ อย่าลืมทบทวนบทเรียนด้วยการชมคลิปการสอนสนุก ๆ จากครูอุ้มนะคะ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

เทคนิคการใช้ Yes, No Questions M.1

เทคนิคการใช้ Yes, No Questions ในภาษาอังกฤษ

  สวัสดีค่ะนักเรียน ม.  1 ที่น่ารักทุกคนวันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิคและวิธีการอย่างง่ายในการใช้ประโยค Yes/No questions กันค่ะไปลุยกันเลยค่า Yes, No Questions คืออะไร คือ ประโยคคำถามที่ต้องการคำตอบรับ (Yes) หรือปฏิเสธ (No) เป็นการถามที่ผู้ถามอาจจะมีข้อมูลอยู่บ้างว่า ว่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ หรือผู้ถามอาจจะถามเพื่อให้มั่นใจว่าเป็นจริงตามที่เข้าใจหรือเปล่า ในที่นี้ครูจึงแยกออกเป็น 3 ชนิดค่ะ คือ ประโยคคำถามที่ขึ้นต้นด้วย

การหารทศนิยมในระดับชั้นป.5

บทความนี้จะกล่าวถึงหลักการหารทศนิยม 2 รูปแบบก็คือ การหารทศนิยมด้วยจำนวนเต็ม และการหารทศนิยมด้วยทศนิยม หลังจากที่น้องๆ ได้อ่านบทความนี้แล้ว รับรองว่าจะทำให้เข้าใจการหารทศนิยมได้มากขึ้นและสามารถนำวิธีคิดไปแก้โจทย์การหารทศนิยมได้

ความรู้เกี่ยวกับ การสื่อสาร มีอะไรบ้างที่เราควรรู้?

ความรู้เกี่ยวกับการสื่อสาร เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากในปัจจุบัน แม้ว่าเราจะสื่อสารกับผู้คนอยู่แล้วทุกวัน แต่จะทำอย่างไรให้ตนเองสามารถสื่อสารได้อย่างถูกต้อง มีเรื่องไหนที่ควรรู้และควรระวัง บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องการสื่อสารให้ดียิ่งขึ้นไปอีก ถ้าอยากรู้แล้วว่าจะเป็นอย่างไรก็ไปดูกันเลยค่ะ   การสื่อสาร คืออะไร?   เป็นกระบวนการถ่ายทอดหรือแลกเปลี่ยนความคิด ข้อมูล ข้อเท็จจริง ความรู้ ความรู้สึก จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง ให้มีความเข้าใจตรงกัน     การสื่อสารสำคัญอย่างมากตั้งแต่ในชีวิตประจำวันไปจนถึงอุตสาหกรรม การปกครอง การเมืองและเศรษฐกิจ

มนุสสภูมิ ตอนที่ว่าด้วยกำเนิดของมนุษย์ในไตรภูมิพระร่วง

ไตรภูมิพระร่วงมีจุดมุ่งหมายที่จะชี้ให้เห็นคุณและโทษของโลกทั้งสามที่ไม่แน่นอน เพื่อที่จะให้มนุษย์ตระหนักถึงกรรมดีและกรรมชั่วและพบกับความสุขไม่ว่าจะอยู่ในโลกไหน โดยในตอน มนุสสภูมิ นี้ก็ได้กล่าวถึงการกำเนิดมนุษย์ที่อธิบายโดยใช้หลักความเชื่อทางพุทธศาสนามาอธิบายจึงทำให้วรรณคดีเรื่องนี้เป็นอีกเรื่องที่มีความสนใจเป็นอย่างมากเลยล่ะค่ะ จากที่ครั้งก่อนเราได้เรียนเรื่องนี้กันไปแล้วในส่วนของที่มาและความสำคัญและเนื้อเรื่องย่อ บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เพิ่มเติมแต่เป็นเรื่องของตัวบทเพื่อถอดคำประพันธ์ รวมไปถึงศึกษาคุณค่าที่ปรากฏในเรื่องด้วยค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูกันเลย ตัวบทเด่น ๆ ในไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ     ถอดความ เป็นการอธิบายถึงวิวัฒนาการของทารกในครรภ์ตั้งแต่เริ่มเป็นเซลล์ โดยอธิบายว่าไม่ว่าจะเกิดเป็นชายหรือหญิง ก็จะเริ่มจากการเป็นกลละ แล้วโตขึ้นทีละน้อย เมื่อถึง 7

อิศรญาณภาษิต

อิศรญาณภาษิต ศึกษาวรรณคดีคำสอนของไทย

อิศรญาณภาษิต เป็นวรรณคดีที่มีเนื้อหาสอนให้ผู้อ่านรู้จักลักษณะของกลอนเพลงยาวและยังสอดแทรกข้อคิดต่าง ๆ ไว้อีกมากมาย บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงประวัติความความเป็นมา ผู้แต่ง ลักษณะคำประพันธ์ของกลอนเพลงยาว และตัวบทที่น่าสนใจ ๆ ในเรื่อง ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วว่าวรรณคดีเรื่องนีมีความเป็นมาและความสำคัญอย่างไร เหตุใดจึงอยู่ในแบบเรียนภาษาไทยในเราได้ศึกษากันอยู่ตอนนี้ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ     ความเป็นมาของ   อิศรญาณภาษิต (อ่านว่า

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1