ร่ายสุภาพ เรียนรู้บทร้อยกรองที่แต่งง่ายที่สุด

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

หลังจากที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวรรณคดีมามากมาย น้อง ๆ หลายคนก็คงจะเห็นคำประพันธ์ประเภท ร่าย ผ่านตากันมาบ้างแล้วใช่ไหมคะ ถึงแม้ว่าคำประพันธ์นี้จะไม่ได้มีมากที่สุด แต่ก็เป็นอีกหนึ่งคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองที่มีมาตั้งแต่โบราณ แถมยังแต่งง่ายมากที่สุดอีกด้วย จะเป็นอย่างไรนั้น เราไปเรียนรู้การแต่งคำประพันธ์อย่าง ร่ายสุภาพ พร้อมกันเลยค่ะ

 

ร่าย คืออะไร?

 

ร่าย แปลว่า อ่าน เสก หรือ เดิน เหรือแปลว่าป็นคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองแบบหนึ่งก็ได้ ร่ายเป็นบทประพันธ์ที่แต่งง่าย มีความเก่าแก่ ปรากฏในวรรณคดีสำคัญของไทยหลายเรื่อง เช่น ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก ลิลิตพระลอ ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นต้น
ร่ายเป็นคำประพันธ์ที่มีคนนิยมแต่งกันแพร่หลาย ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน

 

ร่ายสุภาพ

 

ร่ายไม่เคร่งเรื่องจำนวนคำในวรรคเหมือนคำประพันธ์ชนิดอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีลักษณะการส่งสัมผัสเป็นพิเศษกว่าคำประพันธ์ชนิดอื่น เพราะร่ายจะส่งสัมผัสต่อกันระหว่างวรรคทุกวรรคไปจนจบ

 

ประเภทของร่าย

 

ร่ายมี 4 ประเภท เรียงลำดับตามการกำเนิดจากก่อนไปหลังได้ ดังนี้:

 

ร่ายสุภาพ

 

ร่ายสุภาพ

 

ในบทเรียนเรื่องแต่งร่ายวันนี้ ร่ายประเภทที่น้อง ๆ จะได้เรียนคือร่ายสุภาพ นิยมแต่งกันแพร่หลายมาจนปัจจุบัน

 

ร่ายสุภาพ

 

 

 

ฉันทลักษณ์ของ ร่ายสุภาพ

 

คณะ

1. ร่ายสุภาพ 1 บท ไม่จำกัดจำนวนวรรค แต่ต้องไม่น้อยกว่า 5 วรรค

2. วรรคหนึ่งมี 5 คำ หรือจะมากกว่า 5 ก็ได้ แต่จังหวะในการอ่านต้องไม่เกิน 5

3. เมื่อจบบท ต้องจบที่โคลงสองสุภาพ

 

สัมผัส

1.บังคับสัมผัสระหว่างวรรคหรือสัมผัสนอกซึ่งเป็นสัมผัสสระ

2. คำสุดท้ายของวรรคหน้าส่งสัมผัสไปยังคำที่1,2 หรือ 3 ของวรรคถัดไป

3. อาจมีสัมผัสภายในวรรคที่เรียกว่าสัมผัสใน ซึ่งเป็นได้ทั้งสัมผัสสระและสัมผัสพยัญชนะ

 

เอกโท

1. ร่ายสุภาพบังคับรูปวรรณยุกต์เอกและโทใน 3 วรรคสุดท้ายที่เป็นโคลงสองสุภาพ

ถ้าคำสัมผัสที่ส่งเป็นคำเป็นหรือคำตาย คำที่รับสัมผัสจะต้องเป็นคำเป็นหรือคำตายด้วย และคำสุดท้ายของบท ห้ามใช้คำตาย

 

คำสร้อย

 

 

1. เติมสร้อยในตอนสุดท้ายของบทได้อีก 2 คำ หรือจะเติมทุก ๆ วรรคของบทก็ได้

2. แต่ถ้าถึงโคลงสองจะต้องเว้นให้คำสร้อยของโคลงสองเอง

3. สร้อยชนิดนี้ต้องเหมือนกันทุกวรรค เรียกว่า สร้อยสลับวรรค

 

โคลงสองสุภาพ

 

เป็นข้อบังคับที่จะต้องมีในการแต่งร่ายสุภาพเมื่อจบบท เรามาดูกันค่ะว่าการแต่งโคลงสองสุภาพนั้นมีลักษณะอย่างไร

 

 

ฉันทลักษณ์ของโคลงสองสุภาพ

 

คณะ

1.โคลงสองสุภาพ 1 บทมี 14 คำ ไม่รวมคำสร้อย

2. โคลงสองสุภาพ 1 บท แบ่งเป็น 3 วรรค

3. วรรคที่ 1 และ 2 มี 5 คำ

4. วรรคที่ 3 มี 4 คำ หลังวรรคที่ 3 อาจมีคำสร้อยต่อท้ายหรือจะไม่มีก็ได้

 

สัมผัส

1. คำสุดท้ายของวรรคที่ 1 ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ 2

2. โคลงสองสุภาพไม่บังคับสัมผัสระหว่างบท แต่อาจมีการเพิ่มสัมผัสระหว่างบทเพื่อความไพเราะโดยส่งสัมผัสจากคำสุดท้ายของวรรคที่ 3 ไปยังคำใดคำหนึ่งในวรรคที่ 1 ของบทถัดไป

3. อาจมีสัมผัสภายในวรรคที่เรียกว่าสัมผัสใน ซึ่งเป็นได้ทั้งสัมผัสสระและสัมผัสพยัญชนะ เพื่อเสริมให้โคลงไพเราะยิ่งขึ้น

 

เอกโท

1.มีคำวรรณยุกต์เอกหรือคำตาย 3 คำ

2. คำที่มีรูปวรรณยุกต์โท 3 คำ

3. คำเอกจะอยู่ที่คำที่ 4 ของวรรคแรก คำที่ 2 ของวรรคที่ 2 และคำที่ 1 ของวรรคที่ 3

4. คำโทอยู่ที่คำที่ 5 ของวรรคแรก คำที่ 5 ของวรรคที่ 2 และคำที่ 2 ของวรรคที่ 3

5. ในกรณีที่หาคำเอกโทมาลงไม่ได้ สามารถใช้คำเอกโทษและโทโทษได้

 

ร่ายสุภาพเป็นหนึ่งในคำประพันธ์ ประเภทบทร้อยกรองที่ต้องบอกว่าแต่งง่ายที่สุดและไม่ซับซ้อนเหมือนประเภทอื่น ๆ เลย ลักษณะบังคับก็มีไม่มาก น้อง ๆ คนไหนที่ไม่คุ้นหูกับร่ายสุภาพและเคยเข้าใจว่าเป็นคำประพันธ์ที่แต่งยาก ต้องคิดกันใหม่แล้วลองแต่งเล่น ๆ เพื่อเป็นการฝึกฝนและทบทวนบทเรียนไปในตัว สุดท้ายนี้ถ้าน้อง ๆ คนไหนยังมีจุดที่ยังข้องใจ ไม่เข้าใจอยู่ ก็สามารถตามไปดูคลิปการสอนของครูอุ้มได้เลยค่ะ รับรองว่าถ้าฟังที่ครูอุ้มสอนจบ การแต่งร่ายสุภาพจะกลายเป็นเรื่องง่าย ๆ สำหรับน้อง ๆ ทุกคนแน่นอนค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

เรียนรู้เรื่อง Present Tense โดยมีคำบอกเวลา และเเต่งประโยคให้เข้ากับคำศัพท์เรื่องสถานที่ต่�

เรียนรู้เรื่อง Present Tense โดยมีคำบอกเวลา และเเต่งประโยคให้เข้ากับคำศัพท์เรื่องสถานที่ต่างๆ

สวัสดีนักเรียนชั้นม.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดูวิธีการบอกข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับ  “เรื่อง Present Tense โดยมีคำบอกเวลา และเเต่งประโยคให้เข้ากับคำศัพท์เรื่องสถานที่ต่างๆ” พร้อมทั้งตัวอย่างสถานการณ์ใกล้ตัวกันค่ะ ไปลุยกันโลดเด้อ Let’s go!   ทบทวน Present Simple Tense     Present แปลว่า ปัจจุบัน ดังนั้น Present Simple

ป6 การใช้ประโยคคำสั่งในชีวิตประจำวัน

การใช้ประโยคคำสั่งในชีวิตประจำวัน

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.6 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาเรียนรู้เกี่ยวกับ “การใช้ประโยคคำสั่งในชีวิตประจำวัน (Imperative sentence in daily life)” กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด ประเภทของประโยค ” Imperative sentence “     Imperative sentence ในรูปแบบประโยคบอกเล่าจะ ใช้ Verb base

การอ่านบทร้อยแก้ว อ่านอย่างไรให้น่าฟัง

หลังจากที่เราได้เรียนรู้เรื่องการบทร้อยกรองไปแล้ว วันนี้เราจะมาพูดถึงบทร้อยแก้วกันบ้าง ซึ่งน้อง ๆ หลายคนคงจะรู้จักบทร้อยแก้วกันดีอยู่แล้ว เพราะเป็นสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวัน แต่น้อง ๆ ทราบไหมคะว่า การอ่านบทร้อยแก้ว ก็มีวิธีอ่านที่ถูกต้องเหมือนกัน เพราะการที่เราอ่านไม่ถูกต้องนั้นก็อาจจะทำให้ไม่น่าฟัง น่าเบื่อ รวมไปถึงอาจทำให้ใจความที่ผู้แต่งต้องการจะสื่อสารคลาดเคลื่อนได้อีกด้วย ถ้าอยากรู้แล้วว่ามีหลักเกณฑ์และวิธีอ่านอย่างไร ไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ร้อยแก้วคืออะไร ?   บทข้อความทั่วๆ ไป ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน โดยต้องเขียนเป็นประโยค ข้อความติดต่อกัน

สมการเอกซ์โพเนนเชียล

สมการเอกซ์โพเนนเชียล

สมการเอกซ์โพเนนเชียล สมการเอกซ์โพเนนเชียล เป็นสมการที่จะมีเลขชี้กำลังเป็นตัวแปร เช่น ,   จากบทความที่ผ่านมาเราได้พูดถึงฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลไปแล้ว ในบทความนี้น้องๆจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการแก้สมการเอกซ์โพเนนเชียลซึ่งมีหลายวิธี  ซึ่งเรื่องสมการเอกซ์โพเนนเชียลนี้มักจะออกสอบบ่อยเรียกได้ว่าทุกปีเลย ดังนั้นวันนี้เราเลยยจะมาสอนน้องๆแก้สมการ และให้เทคนิคการแก้สมการเอกซ์โพเนนเชียล สำหรับใครที่ยังไม่ได้ทำความรู้จักกับฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลสามารถเข้าไปดูตามลิงค์นี้เลยค่ะ !!!ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล!!! การแก้สมการเอกซ์โพเนนเชียล วิธีที่ 1 : ทำฐานให้เหมือนกัน เมื่อฐานเท่ากันแล้ว เราก็จะได้ว่าเลขชี้กำลังก็จะเท่ากันด้วย ตัวอย่าง    วิธีที่ 2 : ทำเลขชี้กำลังให้เหมือนกัน

Profile

การตั้งประโยคคำถามแบบมีกริยาช่วยนำหน้าและ Wh-questions

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดู ความแตกต่างของ ประโยคคำถามที่มีกริยาช่วยนำหน้า กับ Wh-questions กันค่ะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย มารู้จักกับกริยาช่วย   Helping verb หรือ Auxiliary verb กริยาช่วย หรือ ภาษาทางการเรียกว่า กริยานุเคราะห์  คือกริยาที่วางอยู่หน้ากริยาหลัก (Main verb) ในประโยค  ทำหน้าที่ช่วยกริยาอื่นให้มีความหมายตาม

เรียนรู้การเขียนเชิงวิชาการ อย่างง่ายเพียง 4 ขั้นตอน

การเขียนเชิงวิชาการ อาจจะดูเป็นการเขียนที่ยากในความคิดของหลาย ๆ คน เพราะดันมีคำว่า วิชาการ อยู่ด้วยนั่นเอง แต่น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าที่จริงแล้วการเขียนเชิงวิชาการนั้นไม่ได้ยุ่งยากและซับซ้อนเลย แถมยังมีวิธีขั้นตอนการเขียนที่ง่าย ๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอนเท่านั้น ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วว่ามันจะง่ายขนาดนั้นจริงหรือ? เราไปหาคำตอบของเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   การเขียนเชิงวิชาการ คืออะไร?   คือ องค์ความรู้เชิงวิชาการที่ได้จากการตกผลึกทางความคิดของผู้เขียนที่ต้องการถ่ายทอดหรือสื่อสารให้ผู้อื่นได้รับรู้ผ่านกระบวนการเรียบเรียง โดยอาศัยการศึกษาค้นคว้า สำรวจ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1