บทพากย์เอราวัณ ที่มาของวรรณคดีพากย์โขนอันทรงคุณค่า

บทพากย์เอราวัณ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทนำ

สวัสดีน้อง ๆ ทุกคนยินดีต้องรับเข้าสู่เนื้อหาวิชาภาษาไทยที่จะมาให้สาระความรู้ดี ๆ ซึ่งวันนี้เราจะมาเรียนรู้ความเป็นมาของวรรณคดีเรื่องหนึ่งที่มักจะใช้ในการแสดงโขน นั่นก็คือบทพากย์เอราวัณแน่นอนว่าน้อง ๆ ในระดับมัธยมต้นจะต้องได้เรียนเรื่องนี้ เพราะเป็นวรรณคดีอีกเรื่องที่แสดงถึงพระปรีชาสามารถของรัชกาลที่ 2 ในด้านกวีนิพนธ์จากการที่เลือกใช้ถ้อยคำภาษาที่สวยงามเพื่อมาบรรยายถึงลักษณะของช้างเอราวัณได้อย่างดี ดังนั้น ถ้าพร้อมแล้วมาดูกันว่าวันนี้เรามีเนื้อหาที่น่าสนใจอะไรมาฝากน้อง ๆ กันบ้างดีกว่า

บทพากย์เอราวัณ

ประวัติความเป็นมา

สำหรับวรรณคดี บทพากย์เอราวัณ เป็นอีกหนึ่งผลงานการพระราชนิพนธ์ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ซึ่งถือเป็นบทที่นิยมนำไปใช้ในการแสดงโขน โดยได้เค้าโครงเรื่องมาจาก รามายณะ ของอินเดีย ในเนื้อเรื่องจะมุ่งเน้นไปที่การบรรยายถึงความงดงามของกระบวนทัพที่มีอินทรชิตจำแลงกายลงมาเป็นพระอินทร์อีกทั้งยังมีลูกสมุนยักษ์ที่จำแลงกายลงมาเป็นเหล่าเทวดา และช้างเอราวัณที่มีรูปร่างสง่างาม ซึ่งรัชกาลที่ 2 ทรงใช้ลักษณะคำประพันธ์อย่างกาพย์ฉบัง 16 มาพรรณนาถึงรูปร่างของช้างตัวนี้ไว้ได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน จนกลายเป็นเป็นบทพากย์เอราวัณที่เราจะได้เรียนกันต่อไปนี้นั่นเอง

บทพากย์เอราวัณ

เรื่องราวก่อนเกิดบทพากย์เอราวัณ

ก่อนที่เราจะมาดูตัวบท หรือถอดความตัวบทที่น้อง ๆ เคยได้เรียนมาเราต้องมาดูเหตุการณ์หรือเรื่องราวก่อนจะมีบทพากย์เอราวัณ เป็นการเล่าถึงภูมิหลังที่มาจากเรื่องรามเกียรติ์ ตอน ศึกอินทรชิต โดยเนื้อเรื่องนั้นมีอยู่ว่า รณพักตร์ หรืออินทรชิต ซึ่งเป็นลูกของทศกัณฑ์กับนางมณโฑตอนที่มีอายุครบ 14 ปีก็ได้เรียนวิชากับ “มหากาลอัคคี” ฤๅษีโคบุตรและเพียรบำเพ็ญตบะจนทำให้มหาเทพทั้ง 3  (พระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม) ได้ประทานอาวุธวิเศษให้ 3 อย่าง โดยพระอิศวรประทานศรพรหมาสตร์ และพรที่สามารถแปลงร่างเป็นพระอินทร์ได้ พระพรหมประทานศรนาคบาศ และพรที่ว่าหากศีรษะของรณพักตร์ตกลงพื้นจะเกิดไฟบรรลัยกัลป์ล้างโลกมีวิธีเดียวคือต้องนำพานแว่นฟ้าหรือพานแก้วของพระพรหมเท่านั้มารองศีรษะเท่านั้นจึงจะระงับเหตุได้ ส่วนพระนารายณ์ได้ประทานศรวิษณุปาณัม ซึ่งหลังจากที่รณพักตร์ได้รับอาวุธวิเศษเหล่านี้ไปแล้วก็ได้ขึ้นไปบนสวรรค์เพื่อท้ารบกับพระอินทร์ เพราะรณพักตร์นั้นเคยสู้กับกองทัพพระราม พระลักษณ์มาหลายต่อหลายครั้งแต่ก็พ่ายแพ้กลับไป ครั้งนี้จึงได้คิดอุบายด้วยการใช้ยักษ์ที่ชื่อ “การุณราช” แปลงกายเป็น “ช้างเอราวัณ” และให้ยักษ์ “โลทัน” แปลงกายมาเป็นเหล่าเทวดาในกระบวนทัพ ส่วนตนนั้นจะแปลงกายเป็นพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ และการสู้รบครั้งนี้รณพักตร์ก็เป็นฝ่ายที่ได้ชัยชนะกลับไปจนได้รับฉายานามใหม่ว่า ” อินทรชิต” ที่มีความหมายว่าเป็นผู้พิชิตพระอินทร์ได้

บทส่งท้าย

สำหรับเนื้อหาวันนี้ที่เรานำมาฝากน้อง ๆ ทุกคน จะเป็นที่มาและภูมิหลังของบทพากย์เอราวัณ หวังว่าทุกคนจะได้สาระความรู้เพิ่มขึ้น ครั้งต่อไปเราจะมาดูตัวบทที่น่าสนใจ และถอดความร่วมกันเพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจเนื้อเรื่อง และสนุกไปกับการเรียนวรรณดดีเรื่องนี้มากขึ้นด้วย เพราะฉะนั้นอย่าลืมติดตามเนื้อหาส่วนต่อไป และถ้าใครที่อยากจะฟังครูอุ้มสอนเรื่องนี้เพิ่มเติมก็สามารถเข้าไปดูที่คลิปด้านล่างนี้ได้เลย

 

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
เรียนพิเศษออนไลน์ ดูได้ทั้ง 4 รายวิชา - NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ทฤษฎีบทพีทาโกรัส

ทฤษฎีบทพีทาโกรัส

บทความนี้น้องๆจะได้เรียนรู้กี่ยวกับการพิสูจน์ที่ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ระหว่างด้านทั้งสามของสามเหลี่ยมมุมฉาก กำลังสองของด้านตรงข้ามมุมฉากเท่ากับผลรวมของกำลังสองของอีกสองด้านที่เหลือในแง่ของพื้นที่

การหารเลขยกกำลัง

การหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก

การหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก บทความนี้ ได้รวบรวมตัวอย่าง การหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก ซึ่งทำได้โดยการใช้สมบัติการหารของเลขยกกำลัง ก่อนจะเรียนรู้ ตัวอย่างการหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก น้องๆจำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่อง การคูณเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ การคูณเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก ⇐⇐ สมบัติของการหารเลขยกกำลัง  am ÷ an  = am – n     (ถ้าเลขยกกำลังฐานเหมือนกันหารกัน ให้นำเลขชี้กำลังมาลบกัน)

เรนจ์ของความสัมพันธ์

เรนจ์ของความสัมพันธ์ เรนจ์ของความสัมพันธ์ r คือ สมาชิกตัวหลังของคู่อันดับในความสัมพันธ์ r เขียนแทนด้วย   กรณีที่ r เขียนแบบแจกแจงสมาชิก เราสามารถหาโดเมนได้เลยโดย คือสมาชิกตัวหลัง เช่น = {(2, 2), (3, 5), (8, 10)} จะได้ว่า  = {2, 5,

NokAcademy_ม5 การใช้ Modal Auxiliaries

Modal Auxiliaries ที่สำคัญ

สวัสดีค่านักเรียนชั้นม.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดู ” Modal Auxiliaries หรือ Modal verbs “ ที่ใช้บ่อยพร้อมเทคนิคการใช้งานง่ายๆกันค่า Let’s go! ไปลุยกันเลยจร้า รู้จักกับ Modal Auxiliaries   Modal Auxiliaries คือ กริยาช่วยกลุ่ม  Modal verbs หรือ 

จำนวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะ

จำนวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะ

จำนวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะ บทความนี้จะทำให้น้องๆ รู้จัก จำนวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะ  น้องๆหลายคนคุ้นเคยกับจำนวนเฉพาะมาบ้างแล้ว แต่น้องๆทราบหรือไม่ว่า ตัวประกอบเฉพาะคืออะไร ซึ่งน้องๆจะได้เรียนรู้จากตัวอย่างที่ได้รวบรวมไว้ในบทความนี้ โดยได้นำเสนออกมาในรูปแบที่เข้าใจง่าย ทำให้น้องๆสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งเนื้อหาในบทความนี้เป็นเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกับความหมายของ ตัวประกอบ  ตัวประกอบของจำนวนเต็มใด ๆ  คือ จำนวนที่หารจำนวนนั้นได้ลงตัว  ถ้าจำนวนที่ 2 หารได้ลงตัว เรียกว่า จำนวนคู่  ส่วนจำนวนที่

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1