ที่มาของขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณกรรมที่เชื่อว่ามีเค้าเรื่องจริงในสมัยอยุธยา มีมากมายหลายตอน แต่ตอนที่ถูกนำมาให้เด็กได้เรียนกันมีด้วยกันสองตอนคือกำเนิดพลายงามและขุนช้างถวายฎีกา สำหรับตอนที่น้อง ๆ จะได้เรียนรู้กันในวันนี้คือตอน กำเนิดพลายงาม ซึ่งคือว่าเป็นตอนที่สำคัญอย่างมากเพราะเป็นเหมือนจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมดของเรื่อง ตอนนี้จะมีความเป็นมา เรื่องย่อ และมีความดีเด่นอย่างไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูพร้อมกันเลยค่ะ

 

ความเป็นมา

 

ขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณคดีที่มีมาอย่างยาวนาน แต่ในสมัยรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้ชำระเสภาขุนช้างขุนแผน ได้ทรงประชุมกวีเอกสมัยนั้น ช่วยกันแต่งคนละตอนสองตอน สุนทรภู่ก็ได้รับมอบหมายให้ร่วมแต่งด้วย และท่านคงต้องแต่งอย่างสุดฝีมือทำให้ตอน กำเนิดพลายงาม กลายเป็นอีกหนึ่งผลงานเอกของท่าน

 

 

ลักษณะคำประพันธ์

 

กลอนเสภา เป็นคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งแต่งเพื่อใช้ขับ เพราะใช้เป็นกลอนขับ จึงกำหนดคำไม่แน่นอน มุ่งการขับเสภาเป็นสำคัญ จึงใช้คำ ๗ คำ ถึง ๙ คำ การส่งสัมผัสนอกเหมือนกับกลอนสุภาพ แต่ไม่บังคับหรือห้ามเสียงสูง ต่ำ ตามจำนวนคำแต่ละวรรค อยู่ในเกณฑ์กลอน ๗-๙ มีแผนผังดังนี้

 

 

ตัวละคร

 

กำเนิดพลายงาม

 

ขุนแผน ลูกของขุนไกรพลพ่ายกับนางทองประศรี เมื่อเติบโตรับราชการได้ความดีความชอบจนได้กินตำแหน่งเป็น “ขุนแผนแสนสะท้าน” ปลัดซ้ายในกรมตำรวจภูบาล

ขุนช้าง ลูกของขุนศรีวิชัยกับนางเทพทอง เกิดมาก็หัวล้าน รูปร่างน่าเกลียด ยิ่งเติบใหญ่ หัวก็ยิ่งล้านกว่านกตะกรุม คางและอกมีขนขึ้นรุงรังดูน่าเกลียดน่ากลัวจนเด็กเล็กต่างร้องไห้ตกใจกลัว นอกจากนี้รับราชการกรมตำรวจภูบาล กรมเดียวกับขุนแผน

นางวันทอง เป็นลูกของพันศรโยธากับนางศรีประจัน ต่อมาล้มป่วยเกือบตาย จึงเปลี่ยนชื่อเป็นวันทอง เป็นเพื่อนเล่นสมัยเด็กของขุนช้างและขุนแผน ต่อมาได้เป็นภรรยาของขุนแผนและขุนช้าง มีลูกชื่อพลายงาม ซึ่งเกิดกับขุนแผน

พลายงาม ลูกของขุนแผนกับนางพิมพิลาไลย เมื่อพลายงามเติบใหญ่ รับราชการได้เป็นมหาดเล็ก

นางทองประศรี ภรรยาขุนไกรพลพ่าย แม่ของพลายแก้วหรือขุนแผน มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ที่ตำบลวัดตะไกร มีนิสัยมั่นคง เด็ดขาด มุทะลุ

 

เรื่องย่อ ตอน กำเนิดพลายงาม

 

ในตอนที่ขุนแผนถูกจำคุกอยู่ที่เมืองหลวง ขณะนั้นนางวันทองซึ่งกำลังตั้งครรภ์ได้ถูกขุนช้างลักพาตัวมาอยู่ด้วย เมื่อครบสิบเดือนจึงได้ให้กำเนิดบุตรชาย นางให้ชื่อลูกว่า พลายงาม ทีแรกขุนช้างคิดว่าพลายงามคือลูกของตัวเอง แต่เมื่อพลายงามยิ่งโตก็ยิ่งงาม หน้าตาละม้ายคล้ายพ่อที่แท้จริงซึ่งก็คือขุนแผน จนกระทั่งวันหนึ่งขุนช้างรู้ว่าไม่ใช่ลูกของตน จึงลวงไปทำร้ายและเอาท่อนไม้ทับจะให้ตาย ขุนช้างทิ้งพลายงามไว้ในป่าแต่พรายของขุนแผนช่วยไว้ได้ นางวันทองจึงพลายงามเดินทางไปอยู่กับย่าทองประศรีที่กาญจนบุรี พลายงามอยู่กับย่าจนโต ได้บวชเป็นเณรและเล่าเรียนวิชาความรู้เก่งกล้าทั้งเวทมนตร์ คาถา และการสงคราม เมื่อมีโอกาสขุนแผนได้ให้จมื่นศรีนำพลายงามเข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็ก

 

กำเนิดพลายงาม

 

ตอนกำเนิดพลายงามแสดงการปะทะกันของอารมณ์รักและอารมณ์เกลียดชังอย่างน่าตื่นเต้น ตัวละครมีบุคลิกโดดเด่นชัดเจน แสดงภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอย่างน่าสนใจ มีความไพเราะงดงามทางวรรณศิลป์ สมกับเป็นฝีมือการแต่งของสุนทรภู่ซึ่งเราจะได้เรียนเรื่องตัวบทที่น่าสนใจกันในบทต่อไป สำหรับบทเรียนเรื่องความเป็นมาของตอนกำเนิดพลายงาม น้อง ๆ สามารถติดตามชมคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มได้เพื่อฟังสรุปเรื่องย่อ ไปชมกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

like love enjoy ving

การแนะนำตัวเองและให้ข้อมูลโดยใช้ “Like”, “Love”, และ “Enjoy”

สวัสดีน้องๆ ม. 1 ทุกคนนะครับ คราวที่แล้วเราได้อ่านเรื่องการใช้ประโยคคำสั่ง ขอร้อง และคำแนะนำกันไปแล้ว วันนี้เราจะมาดูวิธีการแนะนำตัวเอง และให้ข้อมูลคร่าวๆ เกี่ยวกับตัวเราแบบง่ายๆ กันครับ

M1 This, That, These, Those

การใช้ This, That, These, Those

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง การใช้ This, That, These, Those ในภาษาอังกฤษ กันค่ะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจ้า   บทนำ ก่อนที่นักเรียนจะไปเรียนเรื่อง การใช้  This, That, These, Those ครูอยากจะให้ลองดูตัวอย่างของการใช้ This, That, These, Those (Determiners) และ

ความน่าจะเป็นกับการตัดสินใจ

ความน่าจะเป็นกับการตัดสินใจ บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง ความน่าจะเป็นกับการตัดสินใจ สำหรับบางเหตุการณ์ความรู้เรื่องความน่าจะเป็นเพียงอย่างเดียว  อาจไม่เพียงพอที่จะช่วยตัดสินใจได้  จำเป็นจะต้องหาองค์ประกอบอื่นมาช่วยในการตัดสินใจด้วย  นั่นคือผลตอบแทนของการเกิดเหตุการณ์นั้น ซึ่งก่อนที่จะเรียนเรื่องนี้ น้องๆจะต้องมีความรู้ในเรื่อง ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ ⇐⇐ ผลตอบแทนของเหตุการณ์อาจหมายถึง ผลตอบแทนที่ได้หรือผลตอบแทนที่เสีย  เช่น  ในการเล่นแทงหัวก้อย  ถ้าออกหัว พีชจะได้เงิน 2 บาท และถ้าออกก้อย พอลจะต้องเสียเงิน 3 บาท เงิน 2 บาทที่พอลจะได้รับเป็นผลตอบแทนที่ได้ 

เรียนรู้ตัวบทเด่นของบทละครพูดคำฉันท์เรื่องดัง มัทนะพาธา

มัทนะพาธา เป็นบทละครพูดคำฉันท์ที่ประพันธ์โดยรัชกาลที่ 6 ซึ่งพระองค์ทรงคิดขึ้นเองไม่ได้แปลหรือดัดแปลงมาจากเรื่องใด จากการศึกษาความเป็นมาในบทเรียนคราวที่แล้วทำให้เราได้รู้ที่มา ลักษณะคำประพันธ์รวมไปถึงเรื่องย่อของเรื่องกันไปแล้ว บทเรียนในวันนี้เราจะศึกษาตัวบทเด่น ๆ ของเรื่องกันนะคะว่ามีบทใดที่ได้ชื่อว่าเป็นวรรคทอง ถอดความ พร้อมทั้งเรียนรู้คุณค่าของานประพันธ์ชิ้นนี้อีกด้วย ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ใน มัทนะพาธา     ถอดความ บทนี้เป็นคำพูดของฤษีกาละทรรศินที่กำลังอธิบายให้ศุภางค์ แม่ทัพของท้าวชัยเสนว่าเหตุใดพระฤษีจึงเห็นว่าการห้ามปรามความรักระหว่างพระชัยเสนกับมัทนาเป็นสิ่งไร้ประโยชน์ โดยบอกว่า

การเขียนเรียงความ

เทคนิคการเขียนเรียงความง่าย ๆ ที่จะช่วยถ่ายทอดความคิดให้เป็นขั้นตอน

การเขียนเรียงความ เป็นทักษะการเขียนที่มีสำคัญมาก เพราะเป็นการถ่ายทอดความคิดให้ออกมาอยู่ในรูปของตัวอักษร จะมีวิธีเขียนอย่างไรบ้างนั้น บทเรียนในวันนี้จะทำให้น้อง ๆ มีความรู้ความเข้าใจถึงวิธีการเขียนเรียงมากขึ้น จะเป็นอย่างไรนั้น ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ     เรียงความ เป็นทักษะการเขียนที่แสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิด ความเห็น ความเข้าใจของผู้เขียน มีรูปแบบและวิธีการเขียนที่มีแบบแผน เพื่อถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นตัวอักษรให้น่าอ่าน และยังเป็นพื้นฐานของการเขียนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบทความหรือนวนิยายอีกด้วย โดยประเภทของการเขียนเรียงความมีดังนี้ 1. เรื่องที่เขียนเพื่อความรู้ 2. เรื่องที่เขียนเพื่อความเข้าใจ

สมมูลและนิเสธ

สมมูลและนิเสธของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ

“สมมูลและนิเสธ” ของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ สมมูลและนิเสธ เราเคยเรียนกันไปแล้วก่อนหน้านี้ แต่เป็นของประพจน์ p, q, r แต่ในบทความนี้จะเป็นสมมูลและนิเสธของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ ซึ่งก็จะเอาเนื้อหาก่อนหน้ามาปรับใช้กับประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ สิ่งที่เราจะต้องรู้และจำให้ได้ก็คือ การสมมูลกันของประพจน์ เพราะจะได้ใช้ในบทนี้แน่นอนน ใครที่ยังไม่แม่นสามารถไปอ่านได้ที่ บทความรูปแบบของประพจน์ที่สมมูลกัน  นิเสธของตัวบ่งปริมาณ เมื่อเราเติมนิเสธลงไปในประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ ข้อความต่อไปนี้จะสมมูลกัน กรณี 1 ตัวแปร ∼∀x[P(x)] ≡ ∃x[∼P(x)] ∼∃x[P(x)]

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1